โปรเจกต์สนุกๆ ที่เกิดขึ้นเมื่องานโฆษณาไม่ได้สนใจแค่เงิน แต่ยังใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคด้วย
Search #artboard
เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในกับผลงานชุด 'Thai Uprising/มวลมหาประชาชน' ของ รศ.สุธี คุณาวิชยานนท์ ในงานนิทรรศการ 'The Truth - to Turn It Over' ที่จัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะกวางจู ประเทศเกาหลีใต้ และน่าสนใจที่ว่าข้อถกเถียงนี้ไม่ได้เกิดจากศิลปินและศิลปะเท่านั้น แต่เกิดขึ้นเพราะความผิดที่ผิดทางและนัยยะทางการเมือง
มีเหล่าดีไซเนอร์เก่งๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ร่วมถึงในประเทศของเรา แน่นอนว่าการทำงานให้แก่ลูกค้าก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็น แต่การนำงานออกแบบมาปรับใช้ในรูปแบบหรือช่องทางอื่นๆ ก็ยังมีอีกมาก อย่างโปรเจกต์ดีๆ ที่ลอนดอนในชื่อ Secret 7
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณี คือสิ่งที่เราต่างศึกษากันมาตั้งแต่สมัยอยู่ในห้องเรียน เราจดจำ วิเคราะห์ วิจารณ์ ถกเถียง และอ้างอิง จากสิ่งเหล่านี้ เพื่อหาจุดร่วมที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดในยุคสมัยของเรา เหมือนกับศิลปินที่เราจะพูดถึงในวันนี้ เขาต่อยอดงานศิลปะจากอดีตโดยการทำลายมัน
: คิดว่าผู้ที่อ่านคอลัมน์ Artboard ทุกท่านคงมีความสนใจงานศิลปะและงานออกแบบกันบ้างไม่มากก็น้อย และคาดว่าหลายๆ ท่านก็คงใช้วันหยุดเดินทางไปเสพผลงานศิลปะในสถานที่ต่างๆ อย่างหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ หรืองานอีเวนต์ต่างๆ อยู่บ้าง แต่วันนี้ผมจะมาชวนทุกท่านไปชมงานศิลปะใน 'สลัม'
มีสักกี่เรื่องในชีวิต ที่คุณเชี่ยวชาญและเข้าใจมันจริงๆ ในเมื่อเราทุกคนมีแค่สองมือสองเท้ากับอีกหนึ่งสมอง นั่นหมายถึงทุกคนย่อมมีข้อจำกัด แถมความรู้ในแต่ละด้านก็ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทมากมายเพื่อจะศึกษาให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ไม่ต้องหนักใจไปครับ ถ้าทำคนเดียวไม่ได้ ก็ช่วยๆ กันทำหลายๆ คนสิ
สำนักพิมพ์ Penguin เป็นชื่อที่นักอ่านทั่วโลกรู้จัก เราคงจำกันได้ดีกับเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของสีส้มที่มาคู่กับโลโก้นกเพนกวินน่ารักบนหน้าปกที่อยู่บนแผงหนังสือมาอย่างยาวนาน นอกจากเรื่องของงานเขียนแล้ว ความแข็งแรงของอาร์ตไดเรกชั่นจากสำนักพิมพ์นี้ยังถูกพูดถึงและได้รับความสนใจอยู่เสมอ รวมถึงการ redesign ครั้งใหม่ในปี 2016 นี้อีกด้วย
หลายคนที่อาศัยอยู่คอนโดฯ หรือหอพัก พวกเขาติดต่อกับชาวต่างประเทศ ทราบข่าวในญี่ปุ่น รู้เรื่องอัลบั้มออกใหม่ในอังกฤษ แต่ส่วนมากไม่รู้จักแม้กระทั่งชื่อของคนที่อาศัยอยู่ห้องข้างๆ—เหล่า social designer ต่างรู้เรื่องนี้กันดี พวกเขาจึงพยายามสร้างผลงานที่น่าสนใจเพื่อให้เรากลับมามองเห็นคุณค่าของสังคมจริงๆ มากขึ้น
ประโยชน์อย่างหนึ่งของของเล่น คือการเปิดจินตนาการให้แก่เด็กๆ ทำให้เกิดการจดจำและเรียนรู้ แต่เฉพาะเด็กๆ เท่านั้นหรือที่ควรจะเรียนรู้ เปิดความคิด และจินตนาการให้กว้าง หรือผู้ใหญ่เองก็ควรเช่นเดียวกัน บางทีอาจจะต้องการมากกว่าเด็กๆ ด้วยซ้ำ อย่างที่สตูดิโอออกแบบจากสกอตแลนด์กำลังทำ
ผ่านวันขึ้นปีใหม่มาสักพักแล้ว คาดว่าหลายๆ คนคงเข้าสู่รูปแบบของการทำงานหรือศึกษาเล่าเรียนกันอย่างเต็มตัว แต่ก่อนจะเริ่มต้นการต่อสู้ที่จะมาถึงตลอดทั้งปีนี้ ทุกคนได้วางแผนอะไรไว้บ้าง หรือมีสิ่งที่อยากปรับปรุงแก้ไขหรือเปล่า ถ้ายังไม่ได้คิดเรื่องนี้ เรามี New Year’s resolution ดีๆ ของดีไซเนอร์ทั่วโลกมาแชร์ให้ฟัง
นักออกแบบหลายคนพยายามมองหาความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง แต่ไอ้ความเป็นตัวเองที่เรามองหากันนั้น มันอยู่ที่ไหนกัน มันมาจากไหนแน่ มันมีจริงไหม เราสร้างมันขึ้นมาได้หรือเปล่าหรือจริงๆ แล้ว ความเป็นตัวเรามันอยู่ในตัวเราเองจริงๆ ตามชื่อของมัน
พูดถึงเด็กๆ กับศิลปะ คุณนึกถึงอะไร? ดินน้ำมัน สีเทียน รูปภูเขา และดวงอาทิตย์กลมๆ มีขีด 3-4 เส้นรอบๆ สิ่งเหล่านี้คงเก่าไปแล้ว เพราะยังมีวิธีอีกมากมายที่ทำให้เด็กๆ ได้สนุกและรู้จักกับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์
ขั้นตอนที่สำคัญก่อนที่จะเกิดผลงานออกแบบใดๆ ก็ตาม คือการรับรู้ เรารับรู้จากลูกค้า จากประสบการณ์ จากหนังสือ จากตัวบุคคล จากสิ่งรอบตัว ฯลฯ และนำมันมาวิเคราะห์หาวิธีในการทำงาน แต่เจ้าสิ่งที่เรารู้นั้นนอกจากจะช่วยนำทางให้เราได้แล้ว มันยังพาเรา 'หลงทาง' ได้ด้วย หรืออาจจะพาเราไปสู่ทางตันเลยก็ได้
หลายคนเชื่อว่างานออกแบบถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา แต่ความจริงงานออกแบบยังมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ การทำให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงปัญหา และนี่คือตัวอย่างของงานออกแบบที่น่าสนใจ ที่จะทำให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาหมอกควันจากไฟป่าที่มีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย ซึ่งกำลังลุกลามไปทั่วภูมิภาคอยู่ ณ ขณะนี้