เรื่องสั้นโดย...นันทวัน มงคลสถิต ผลงานลำดับที่ 4 ในคอลัมน์ "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ"
คลิกเพื่ออ่าน.....บทนำ: เล่นแร่แปรวัตถุดิบ...รวมเรื่องชุดโดยนักเรียนเขียนเรื่อง 2018 ได้ที่นี่
ขากลับจากโรงพยาบาลผมเพิ่งสังเกตเห็นว่าที่เสาประตูรั้วสีขาวที่คุ้นเคยนั้นมีกระถางต้นไม้จิ๋วที่ใส่อะไรสักอย่างมาตั้งอยู่พอเข้าไปใกล้จนเห็นชัดแล้วว่ามันไม่ใช่กระถางต้นไม้จิ๋ว
แต่มันคือกระปุกรูปทรงคล้ายดอกบัวข้างในมีไม้ปั่นหูวางอยู่แน่นกระปุกยิ่งมองก็ยิ่งไม่เข้าใจ ผมตัดสินใจถามแม่ว่า
แม่ทำหน้าเบื่อหน่ายกับคำถามของผมแล้วตอบ“นี่พึ่งจะเห็นหรอ อะแกดูให้มันดี ๆ หน่อยกระปุกที่แกว่านั้นน่ะไม่ใช้ไม้ปั่นหูธรรมดานะโว้ยแต่เป็นสินค้ารูปแทนที่สมาคมลัทธิปุกปุยเขาทำออกมาใหม่”
ผมเถียงกลับ“อ้าว แล้วยังไงอะมันก็แค่ไม้ปั่นหูอะ แล้วทำไมแม่ต้องเอากระปุกไม้ปั่นหูมาวางหน้าบ้านด้วยเล่า”
“ยังอีกยังจะมาเถียงอีกนะ ลูกคนนี้นิ เดี๊ยะๆ” แม่ขมวดคิ้วแล้วยกมือชี้นิ้วคาดโทษมาที่ผม
เอาแล้ว แม่เริ่มมีน้ำโหแล้ว ฟังจากน้ำเสียงตะกี้ถ้าผมอยู่ใกล้แม่กว่านี้นะผมว่าผมคงจะโดนตีไปสักป๊าบสองป๊าบและผมเดาว่าแม่ต้องบ่นต่อไปอีกแน่ๆ ไม่สิผมฟันธงเลยละกันว่าแม่จะต้องบ่นผมต่ออีกแน่นอน
3 2 1 . .
นั้นไงทีตอนซื้อหวยแล้วไม่เป็นแบบนี้บ้างนะเอ๊ะ แม่พูดว่าอะไรนะ ผมขมวดคิ้วมุ่นกับคำตอบของแม่ประหนึ่งว่าถ้าคิ้วผมมันเป็นเชือกเงื่อนตายแล้วพูดว่า
“ห้ะ อะไรนะผมเนี่ยนะ”
และนั้นเป็นคำพูดสุดท้ายของบทสนทานาก่อนเข้าบ้านของผมกับแม่เพราะหลังจากนั้นผมไม่ได้เถียงอะไรกับแม่อีกเป็น เพราะผมประหลาดใจและไม่เข้าในตัวผมคนก่อนหน้าที่ทำไมผมต้องหัวอ่อนอะไรขนาดนั้นกันนะน่าหงุดหงิดตัวเองซะเหลือเกิน ทำไมกันนะทำไมผมยังจำอะไรไม่ได้ซักที ผมอยากรู้ทำไมผมต้องทำอะไรแบบนี้เป็นอะไรที่สิ้นเปลืองเหลือเกินมันจะมีสักกี่คนกันที่คันหูและจะต้องมาเดินผ่านหน้าบ้านผมด้วยนะถึงจะได้ใช้ ยิ่งคิดก็ยิ่งปวดหัว
หลังจากเห็นผมเงียบไปสีหน้าแม่กลับมาวิตกกังวลและลูบหัวผมแล้วพูดว่า “เอาน่าตาแมนลูกแม่ของแบบนี้มันต้องใช้เวลา เดียวมันก็จะดีขึ้นนะ แกรู้ใช่ไหมว่าแม่หวังดีอยากให้ความทรงจำแกกลับมาแกจำได้ใช่มั้ยว่าแม่ใช่คนพูดหวานนะ ”
ผมกอดแม่ด้วยใบหน้าที่น้ำตาคลอที่ผมพยามฝืนไม่ให้มันไหลเพราะไม่อยากให้แม่เป็นห่วงมากกว่านี้
มาถึงตรงนี้ทุกคนคงรู้แล้วล่ะว่าผมความจำเสื่อมใช่ผมครับความจำเสื่อมการอุบัติเหตุรถชนที่หน้าบ้านตัวเอง หมอบอกว่าผมมีอาการสูญเสียความทรงจำบางส่วนจากอุบัติเหตุรถชน ต้องมาพบตามที่หมอนัดเพื่อให้การรักษาอย่างต่อเนื่องและคืนความทรงจำทั้งหมดมาได้ซึ่งผมก็เป็นเคสที่น่าเป็นห่วงอีก เพราะอาการกระทบกระเทือนของผมไม่ได้รุนแรงมากนักความทรงจำผมควรจะกลับมาได้แล้ว แต่จึงมาเป็นภาระให้แม่ดูแลแทนที่จะฝ่ายที่ควรดูแลแม่ในวัยที่แม่แก่ตัวลงมากแล้วก็ตามอ้อส่วนพ่อผมนะหรอ ท่านเสียไปตั้งแต่ผมเด็ก ๆ แล้ว ทั้งชีวิตผมก็เหลือแค่แม่คนเดียวถึงผมไม่รู้ว่าก่อนหน้านี้ผมจะเป็นแบบไหนผมก็ผมมั่นใจผมต้องไม่ให้แม่ผมมาเหนื่อยใจคอยดูแลพาไปนู้นนี่เพื่อกระตุ้นให้ความจำผมกลับมาแบบนี้แน่ๆ
เราสองแม่ลูกก็ทำตามทุกอย่างที่หมอแนะนำเริ่มจากการให้ทวนความทรงจำใหม่ทั้งหมดเรื่อยมาจนความทรงจำส่วนที่หายไปเริ่มกลับมาจนเกือบปกติและกลับทำงานได้
ผมกับแม่เราเริ่มรื้อฟื้นความทรงจำกันใหม่ทั้งหมดโดยแม่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของครอบครัวและหมู่บ้านของเราแม่พาผมเดินไปรอบ ๆ หมู่บ้านทำให้ความทรงจำผมกลับมาบ้างอย่างการพาผมไปเจอเพื่อนชาวผกากรองที่ผมเคยเล่นด้วยสมัยเด็กบ่อยๆ ที่ลานหมู่บ้านที่ทำให้รู้เรื่องตำนานดอกกะฮอม และเรื่องราวของลัทธิปุกปุยที่แม่กับผมเวอร์ชั่นก่อนหน้าเลื่อมใสซะเหลือเกิน
แม่เล่าว่าบ้านเรานับถือลัทธิปุกปุยเหมือนๆ กับในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็นับถือลัทธินี้ เพราะเป็นที่พึ่งและช่วยแนะนำการดำเนินชีวิตให้ชีวิตมีแก่นมีสารขึ้นแม่อธิบายด้วยความใจเย็นว่าลัทธินี้มีหลักในการกระทำสิ่งๆหนึ่งด้วยความเต็มใจและหวังดีมีสิ่งแทนในการเคารพบูชาคำสอนท่านปุกปุยคือเสี้ยวก้อนนุ่นจากก้อนนุ่นที่งอกออกจากดอกบัวของท่านปุกปุยปลูกไว้เพื่อเป็นการระลึกถึงคำสอนนั้น และเสริมว่าครอบครัวเราเลยเปลี่ยนนามสกุลใหม่กันเป็น“หวังดีกูล” เพราะแม่รู้สึกว่าการเชื่อและทำตามลัทธินี้แล้วทำให้แม่ดำเนินชีวิตต่อไปได้หลังจากพบมรสุมชีวิตจากการสูญเสียพ่อผมไป
ตอนแรกผมเริ่มดีใจที่ความทรงจำที่หายไปเริ่มกลับมาจนหมดยกเว้นแต่เรื่องของลัทธิกับตัวผมที่คิดว่ายังไงถ้าเราตอนนี้ไม่เชื่อก็คงไม่เป็นไรความคิดคนมันเปลี่ยนกันได้แต่ยิ่งนานวันเข้าส่วนลัทธิที่เริ่มหลอกหลอนผมจนผมไม่เป็นอันทำงานทั้งคนรู้จักที่มาจากสมาคมลัทธิที่เข้ามาเรื่องราวต่างๆ ที่ผมไปร่วมทำกิจกรรมหรือเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมออกแบบสินค้าใหม่ของลัทธิเอยหรือโครงการเผยแพร่เอยมันทำให้ผมต้องการจะรู้เหตุผลของตัวเองในตอนนั้นทำไมถึงทำ อย่างแรกคือการเห็นแม่ตัวเองบูชาก้อนนุ่นอยู่ทุกวันและพยายามกึ่งบังคับให้ผมทำด้วยซึ่งก้อนนุ่นนั้นที่เชื่อว่าเป็นส่วนแบ่งจากก้อนงอกออกจากดอกบัวตามที่เจ้าลัทธิบอก
วันหนึ่งผมตัดสินใจถามว่าแล้วก้อนจริงๆ ที่งอกตกลงแล้วมีกี่ก้อน หลังจากได้คำตอบว่าก้อนนุ่นจริงที่งอกจากดอกบัวของเจ้าลัทธิมีแค่อันเดียวผมนี่อึ้งไปเลย ผมไม่เข้าใจว่าแม่เชื่อไปได้ยังไงว่าส่วนหนึ่งก้อนนุ่นอันนั้นจะแบ่งมาถึงแม่แล้วเขามาหวังดีอะไรแม่บูชาสิ่งแทนมาเท่าไหร่เนี่ยแค่เชื่อคำสอนก็พอแล้วรึเปล่ากราบไหว้แบบนี้มันดูงมงายและยึดติดกับตัววัตถุเกินไปรึเปล่า
และไหนจะธรรมเนียมสำหรับชาวลัทธิที่เคร่งอย่างบ้านผมคือกระโดดตบ 3 ทีที่หน้าประตูบ้านก่อนออกจากบ้าน
ครั้งนี้ผมกับแม่ทะเลาะกันจริงจังแม่เดินหนีผมด้วยหน้าเปื้อนน้ำตาไปที่หลบหลังบ้าน ผมเลยตัดสินในจะไปสงบสติอารมณ์ที่ลานหมู่บ้านแต่ด้วยความฉุนเฉียวรีบเดินออกไปจึงไม่ได้ดูเลยใช่ครับ ผมถูกรถเฉียวและหมดสติไป
ผมลืมตามามองเห็นเพดานสีขาวและกลิ่นสะอาดผมว่าผมอยู่โรงพยาบาลอีกแล้วแน่ ๆ แต่ครั้งนี้ผมจำได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับผมได้ทั้งหมดแล้วทั้งตัวผมเวอร์ชั่นก่อนหน้าและผมหลังจากความทรงจำหายไปเพราะอะไรนะหรอ . . .
เพราะตัวผมในเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้เพราะอยู่ในสภาวะที่ต้องการที่พึ่งเหมือนกับแม่เมื่อแม่พบลัทธินี้แล้วชีวิตเราดีขึ้นนั้นเราจึงเชื่อและเลื่อมใสปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดจึงไม่คิดตั้งคำถามและดำเนินชีวิตตามนี้กันเรื่อยมา
ส่วนตัวผมในเวอร์ชั่นความทรงจำหายก็หมดคำถามแล้วเช่นกันเมื่อมองย้อนกลับมาดูสิ่งที่ตัวเองสงสัยว่าทำไมต้องกระโดดตบก่อนออกจากบ้านก็เพราะเป็นการทำให้ร่างกายมีสติตื่นตัวก่อนออกไปไหนอย่างการที่ผมไม่ได้กระโดดตบก่อนออกจากบ้านทำให้ง่วงไม่มีสติไม่มองทางจนทำให้ถูกรถชนก็ไม่ต่างกับว่าการย้ำว่าเราต้องมีสติอยู่ตลอดเวลาในรูปแบบที่ต่างกันและการไม่เข้าในแม่ที่ต้องบูชาก้อนนุ่นที่เชื่อว่างอกจากดอกบัวนั้นเป็นเครื่องเตือนใจที่คอยย้ำให้เรากระทำตามคำสอนว่าสัญลักษณ์
ผมหันไปรอบๆ ห้องเห็นแม่นั่งหลับผงกหัวอย่างอิดโรยพร้อมด้วยคราบน้ำตาที่ยังแห้งไม่หมด ผมเอ่ย“แม่ครับ ผมขอโทษ”
แม่สะดุ้งตื่นล้วรีบวิ่งเข้ามาหาผมที่เตียง “เป็นยังไงบ้าง กินน้ำไหมลูก”
ผมส่ายหน้าช้า ๆ เป็นการตอบปฏิเสธ จากนั้นแม่กดเรียกหมอมาดูอาการผม
เสียงทักจากคุณหมอ“ว่าไงคุณสมชาย หวังดีกูล, สงสัยว่าครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดทายที่เราจะเจอกันแล้วสินะ”
สิ้นเสียงของคุณหมอ
ตามด้วยเสียงหวีดยินดีของแม่อีกระลอก
ก่อนที่ผมจะตัดสินใจผมเลือกเรียนรู้และอยู่กับตัวตนทั้งสองต่อไป
----------------
กว่าจะเป็นงานเขียนชิ้นนี้
"รู้สึกท้าทายและสนุกไปในคราวเดียวกันกับการที่ต้องใส่วัตถุดิบแถมยังต้องคุมธีมหลักไว้ให้ได้อีกบวกกับการตัดสินใจแต่ง
ผู้สนใจสามารถคลิกที่ชื่อเรื่องเพื่อเข้าถึงงานเขียนเรื่องนั้นๆ
ผลงานชุด “หมู่บ้านล้านดอก” ประกอบด้วย
- เรื่องสั้น “ดอกบัว” โดย นันทวัน มงคลสถิต - เรื่องสั้น “กะฮอม” โดย เมธินี โสภา - เรื่ิองสั้น “ดาวเรือง” โดย ณฐพร ส่งสวัสดิ์
วัตถุดิบ
- บทกวีคำซ้ำเรื่อง “ดอกไม้” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
- บทกวีเรื่อง “หลงทางในประเทศของตัวเอง” ของ โรสนี นูรฟารีดา
- ความเรียงเรื่อง “บัว...ดอกไม้ของวันวานและวันนี้” ของ รักษิตา
- คำว่า “หวังดี” ในคลังคำ ของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา
-----------------
ผลงานเรื่องอื่นๆ สืบเนื่องจากกิจกรรม "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ"
ผลงานชุด “ชะตากรรม” ประกอบด้วยเรื่อง
- เรื่องสั้น “กรำชะตา” โดย พิชญา วินิจสร
- เรื่องสั้น “กำชะตา” โดย ณิชมน จันทวงศ์
ผลงานชุด “เด็กเด็กเด็ก” ประกอบด้วย
- ความเรียง “ฉันผิดที่เป็นเด็กสายศิลป์” โดย ธนวิชญ์ นามกันยา
- เรื่องสั้น “คุยกับเด็กในความทรงจำ” โดย ปิยภัทร จำปาทอง
- เรื่องสั้น “ดอกแก้วแลดาวเหนือ” โดย กัลยรัตน์ ธันยดุล
ผลงานชุด “LUNCH” ประกอบด้วย
- เรื่องสั้น “อาหารกลางวันบนชั้น 21” โดย วรันพร ตียาภรณ์
- เรื่องสั้น “อาหารฝันกลางวัน” โดย ชัญญานุช ปั้นลายนาค
- เรื่องสั้น “อาหารกลางวันที่เจ้าบ้านหายไป” โดย ณิชา เวชพานิช
ผลงานชุด “ความทรงจำ” ประกอบด้วย
- ความเรียงเรื่อง “ให้ความทรงจำเป็นเหมือน ‘ขยะ’” โดย สิริโชค โกศัลวิตร
- เรื่องสั้น “ชื่อที่ไม่มีวันลืม” โดย ปุณยาพรสุข ศาลาสุข
- เรื่องสั้น “This white dog and that white wolf” โดย พิมพ์ภาณิณ โชติมา
ผลงานชุด “ต้นไม้” ประกอบด้วยเรื่อง
- เรื่องสั้น “พักพิง” โดย บุณฑริกา จิตพินิจกุล
- เรื่องสั้น “ต้นไม้โตขึ้นบ้าง หรือ กระถางเล็กลงหน่อย” โดย ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์
- เรื่องสั้น “ ‘กระถิน’ ปลูกลงดินไม่ได้” โดย จุฬารัตน์ กุหลาบ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in