เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เล่นแร่แปรวัตถุดิบ...รวมเรื่องชุดโดยนักเรียนเขียนเรื่องอ่าน-คิด-เขียน
บทนำ: เล่นแร่แปรวัตถุดิบ
  • รวมเรื่องชุดโดยนักเรียนเขียนเรื่อง 2018

    "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ" เป็นคอลัมน์ที่รวบรวมงานเขียนของนักเรียนเขียนเรื่องจากรายวิชา 2201432 ศิลปะการเขียนร้อยแก้ว (Thai Prose Writ) ซึ่งจัดการเรียนการสอนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2561 ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2562 ฉันเองในฐานะผู้สอนและนิสิตในทั้ง 17 คนในคลาสเรียกกิจกรรมนี้อย่างลำลองว่า "งานกลุ่ม-เขียนเดี่ยว" ความคิดเบื้องหลังการออกแบบกิจกรรมนี้ก็มีที่มาดังนี้




    • ฉันเชื่อว่า นักเขียนที่ดีต้องทำงานตามโจทย์ได้ จึงออกแบบกิจกรรมนี้โดยกำหนดวัตถุดิบกึ่งบังคับเลือก คือฉันเป็นผู้คัดสรรวัตถุดิบเพื่อให้แต่ละกลุ่มส่งสมาชิกทุกคนมาเลือกวัตถุดิบนั้น
    • ฉันเชื่อว่า นักเขียนในปัจจุบันต้องสามารถ "ทำงานเป็นทีม" ได้ โดยเฉพาะงาน online content ที่กองบรรณาธิการประกอบด้วย content creator ประจำกอง ฉันจึงออกแบบกิจกรรมให้เป็น "การทำงานกลุ่ม" โดยจำลองทุกคนในทีมเป็นนักเขียนประจำที่ต้องเขียนงานเป็นชุด (หรือซีรีส์) เพื่อเผยแพร่ต่อกันเพื่อสร้างให้เกิด "กระบวนการระดมความคิดเพื่อก่อเรื่อง" ขึ้น
    • ฉันเชื่อว่า การอ่านเปิดพื้นที่ความหมายไม่รู้จบให้แก่ตัวบท (text) จึงกำหนด outcome ของการเขียนงานชิ้นนี้ให้เป็นงานชุดที่สามารถอ่านแต่ละเรื่องในฐานะงานเดี่ยวอย่างเป็นเอกเทศได้ หรือจะอ่านเรื่องเดี่ยวในฐานะที่เชื่อมต่อกับงานเรื่องอื่นในชุด ก็จะเปิดความหมายของการอ่านให้กว้างขวางและครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

    จะว่าไป กิจกรรมครั้งนี้ก็เหมือนเราสร้างทีมกีฬาขึ้นมาทีมหนึ่ง สมมุติว่าเป็นทีมบาสเกตบอลแล้วกันเนอะ ทุกคนยังคงมีสิทธิ์ในการเล่นตามตำแหน่งหน้าที่ของตน ออกลีลาการเล่นตามรูปแบบเฉพาะตัว เพื่อ สร้างงานเขียนที่มีสารสำคัญ หรือ key message อย่างเป็นเอกเทศ   การชูทบอลลงห่วง ก็เหมือนการสร้าง  key message ร่วมของงานชุดซึ่งสมาชิกในกลุ่มออกแบบไว้ อย่างไรก็ตาม ความหมายเป็นของผู้อ่าน ขอเชิญท่านไปสัมผัสงานเขียนทั้ง 17 ชิ้นด้วยตัวเองต่อไปนะคะ



    ต่อไป เราจะเล่าถึงกระบวนการออกแบบกิจกรรมอย่างละเอียด วัตถุดิบที่แต่ละกลุ่มเลือกใช้  พร้อมแนะนำผลงานแต่ละชุดเพื่อชวนให้ทุกคนเข้าไปสัมผัสงานของนักเรียนเขียนเรื่องกันค่ะ

  • กว่าจะเป็นกิจกรรม “เล่นแร่แปรวัตถุดิบ” ใน “งานกลุ่ม-เขียนเดี่ยว”

    หลังจากนักเรียนเขียนเรื่องในรายวิชา ศิลปะการเขียนร้อยแก้ว ได้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่มีทั้งรูปแบบงานเดี่ยว ได้แก่ การเขียนเรื่องจากมุมมองของตนเองและการพลิกเปลี่ยนมุมมองในงานเขียนโดยกำหนดโจทย์ให้นักเรียนเขียนเรื่องเปลี่ยนไปใช้มุมมองอื่นๆ จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน และงานกลุ่ม ซึ่งข้าพเจ้าตั้งชื่อโจทย์สั้นๆ ว่า “ตก (หลุม) รัก”  โดยกำหนดให้แต่ละกลุ่มซึ่งมีสมาชิก 2 – 3 คนระดมสมองเพื่อเขียนเรื่องเดียวกันไปแล้วนั้น  ในกิจกรรมต่อมา ข้าพเจ้าตั้งใจออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเชื่อมต่อประสบการณ์การทำงานเป็นทีมเข้ากับการทำงานเพียงลำพังไว้ในกิจกรรมชื่อ “เล่นแร่แปรวัตถุดิบ” ใน “งานกลุ่ม-เขียนเดี่ยว” กล่าวคือ นักเรียนเขียนเรื่องจะเป็นสมาชิกของกลุ่มใหม่ที่มีสมาชิก 2 – 3 คนเช่นเดิม “งานกลุ่ม” หมายถึงกระบวนการกลุ่มซึ่งเป็นภาพจำลองของกองบรรณาธิการที่มีหน้าที่ช่วยระดมสมองประลองความคิดในการจัดการกับวัตถุดิบที่ข้าพเจ้าคัดสรรไว้ให้แต่ละกลุ่มเลือกใช้ในการเขียนเรื่อง และตกลงเรื่องสารสำคัญ (key message) ในการสื่อสารของแต่ละเรื่องให้ชัดเจน ส่วนผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะเป็น “งานเดี่ยว” ที่เป็น “ชุด” หรือซีรีส์ หมายถึงเป็นงานที่มีสมาชิกแต่ละคนเป็นผู้เขียนหลักในแต่ละชิ้นงาน โดยที่ผู้เขียนแต่ละคนจะมีอิสระในการสร้างสรรค์งานอย่างเป็นเอกเทศตราบเท่าที่ยังคงเชื่อมต่อประเด็นการสื่อสารกับงานเขียนชิ้นอื่นๆ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในกระบวนการกลุ่มว่าจะต่อยอดประเด็นการสื่อสารซึ่งกันและกันอย่างไร  ดังได้กล่าวไปข้างต้นว่าเราเปรียบเทียบกระบวนการทำงานเป็นทีมเพื่อสื่อสารสำคัญเป็นการเล่นบาสเกตบอลแล้ว  แต่หากเราเน้นไปที่การจัดการกับวัตถุดิบแล้ว ก็อาจเปรียบเทียบกิจกรรมนี้ได้กับรายการแข่งทำอาหารยอดนิยมที่กำหนดให้เชฟเลือกวัตถุดิบในห้องครัว โดยที่เชฟแต่ละคนจะต้องสร้างสรรค์อาหารที่เสิร์ฟเป็นคอร์สเดียวกัน เช่น บางกลุ่มอาจจะออกแบบเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก และมีของหวานปิดท้าย หรือบางกลุ่มอาจจะอยากเสิร์ฟเป็นอาหารจานหลัก 2 จานที่มีรสชาติตัดกันชนิดที่เมื่อเสิร์ฟให้ผู้อ่านได้ลิ้มรสคู่กันแล้วจะช่วยให้เจริญอาหารประเทืองความคิดมากยิ่งขึ้น เป็นต้น



    วัตถุดิบหลักของการสร้างสรรค์ในคราวนี้มี 4 ประเภท ได้แก่


    1. บทกวีคำซ้ำ ของ จ่าง แซ่ตั้ง จำนวน 6 เรื่องซึ่งประกอบด้วย “ลอย,” “เด็ก,” “ปลา,” “อาหาร
    มื้อกลางวัน,” “ดอกไม้” และ “หมาสีขาว” [1]

    ภาพถ่ายจ่าง แซ่ตั้ง (2477-2533) หน้าหอศิลป์ของตนเอง 
    ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.greatstarsartshow.com/art/11488

    ผลงานกวีวรรณรูป (concrete poetry) โดย จ่าง แซ่ตั้ง


    2. บทกวีในหนังสือรวมบทกวีชุด ไกลกว่ารั้วบ้านของเราเอง ของ โรสนี นูรฟารีดา จำนวน 6 เรื่อง
    ซึ่งประกอบด้วย “ไม่ใช่ในนามพระเจ้าองค์ใด,” “ผีเสื้อไม่ใช่ปูเสฉวน,” “หนักอึ้งอยู่ใต้เปลือกตา,” “เราต่างพูดว่าไม่เป็นไร,” “หลงทางในประเทศของตัวเอง” และ “ขยะบางชิ้นถูกเก็บรักษาอย่างดี” [2]

    ขอบคุณรูปภาพจาก https://yala-patani-naratiwat.blogspot.com/2016/08/2559_5.html

    3. ความเรียงเกี่ยวกับดอกไม้ในหนังสือ เรื่องเล่าของดอกไม้ ซึ่งเขียนโดยรักษิตา วาดภาพประกอบ
    โดยบุษกร
    จำนวน 6 เรื่องได้แก่ “แม่ดอกกระถินริมรั้ว,” “เอ๋ย...เจ้าช่อดอกแก้ว,” “ดาวเรืองเหลืองลออ,” “ดอกไม้ของใบหญ้า,” “บัว...ดอกไม้ของวันวานและวันนี้” และ “นักเดินทางน้อยๆ...ต้อยติ่ง” [3]


    ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.freeformbooks.com/product/115/เรื่องเล่าของดอกไม้

    4. คำในหนังสือ คลังคำ ของ รองศาสตราจารย์ ดร.นววรรณ พันธุเมธา ซึ่งนักเรียนเขียนเรื่องแต่ละ
    กลุ่มสุ่มเลือกเลขหน้าและลำดับคำจากในหนังสือ มีจำนวน 6 คำ ได้แก่ “เพาะ,” “คล่องแคล่ว,” “ผ้าขาวม้า,” “บางที,” “หวังดี” และ “เทียม” [4]

    ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.rimkhobfabooks.com/

    สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะเป็นผู้คัดสรรวัตถุดิบแต่ละชนิดให้แก่กลุ่มของตนเองโดยรับผิดชอบวัตถุดิบที่เพื่อนสมาชิกแต่ละคนได้คัดสรรมาร่วมกัน โจทย์นี้ออกแบบขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเขียนเรื่องรู้จักการนำแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับ (input) มาผ่านกระบวนการคิดโดยอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดสู่การสร้างงานเขียนหรือผลิตผลทางศิลปะ (output) โดยไม่กำหนดเนื้อหา ลีลา และวิธีการนำเสนอ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า กระบวนการดังกล่าวก็เข้าทำนอง “เล่นแร่แปรเรื่อง” โดยสร้างงานเขียนชิ้นใหม่ที่ “ได้รับแรงบันดาลใจ” มาจากวัตถุดิบต้นทางอันหลากหลายใช่หรือไม่ ข้าพเจ้ายอมรับว่าหลักคิดในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้มีที่มาจากวิธีคิดเช่นนั้น ทว่ากระบวนการทำงานของนักเรียนเขียนเรื่องในครั้งนี้ค่อนข้างจะเป็นรูปธรรมและออกจากเดินทางไกลจากแรงบันดาลไปมาก อาจจะเป็นเพราะรูปแบบกิจกรรมที่เป็นงานกลุ่ม-เขียนเดี่ยว และโจทย์ที่กำหนดให้เขาและเธอวิเคราะห์วัตถุดิบที่ได้รับและนำมาผสมผสานไว้ในงานเขียนชุดของตนเองในรูปแบบใดก็ได้ทั้งรูปแบบปรากฏชัดและแฝงอยู่ เพื่อสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกและความหมายร่วมที่สมาชิกในกลุ่มร่วมกันกำหนดขึ้นเป็นข้อตกลงร่วม ทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ว่าเป็นกระบวนการหรือโจทย์ที่มอบให้คือส่วนผสมที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง “อิสรภาพ” และ “ข้อตกลง” ซึ่งถือเป็นปรัชญาเบื้องหลังการ

    ------------------
    [1]จ่าง แซ่ตั้ง. คำซ้ำ (ฉบับสองภาษา: ไทย - อังกฤษ)PAMELA ARCHER and GIOVANNI CUTOLO , บรรณาธิการ. แปลโดย MAYARA VISEKUL และ PRAKIN ZUMSAI(อัดสำเนา), 1967-1968.
    [2]โรสนี  นูรฟารีดา. ไกลกว่ารั้วบ้านของเราเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ผจญภัย, 2559.
    [3]รักษิตา. เรื่องเล่าของดอกไม้. กรุงเทพฯ: ฟรีฟอร์ม, 2552.                                                            [4]นววรรณ พันธุเมธา. คลังคำ. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2549.ลูกเอย....เด็กเอย....ถูกบันทึกด้วยทางของ “ครรลอง” ลอยล่องไปตามภาวะสัมพันธ์ยังมี 


  • ผลงานโดยนักเรียนเขียนเรื่อง 2018

    ผลงานสืบเนื่องจากกิจกรรม "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ" นี้มีทั้งหมด  6 ชุด ได้แก่ ชุด "ต้นไม้" "หมู่บ้านล้านดอก" "ชะตากรรม" "เด็กเด็กเด็ก" "LUNCH" และ "ความทรงจำ" งานเขียนในแต่ละชุดประกอบด้วยเรื่องที่เป็นประเภทเรื่องสั้นทั้งหมด และเรื่องสั้นผสมกับความเรียง  ข้อความต่อจากนี้เป็นวัตถุดิบต่างๆ ที่แต่ละกลุ่มเลือกใช้ ผู้สนใจสามารถคลิกที่ชื่อเรื่องเพื่อเข้าถึงงานเขียนเรื่องนั้นๆ  งานแต่ละเรื่องจะตั้งชื่อโดยใช้ชื่อชุด ตามด้วยเครื่องหมาย : และชื่อเรื่องนั้นๆ  เช่น "ชะตารรม: กรำชะตา"  และ "ชะตากรรม: กำชะตา"  กล่าวคือ ทั้งเรื่องสั้น "กรำชะตา" และ "กำชะตา" อยู่ในรวมเรื่องสั้นชื่อชุด ชะตากรรม ผู้สนใจสามารถอ่านแต่ละเรื่องโดยเอกเทศก็ได้ แต่เราแนะนำว่า หากอ่านทุกเรื่องในชุดเดียวกัน ก็อาจช่วยให้เกิดอรรถรสแปลกใหม่และอาจเข้าถึง key message ที่ลุ่มลึกมากขึ้น

    ขอฝากงานเขียนชุดนี้ไว้ในอ้อมอ่านด้วยนะคะ
    ด้วยความรักยิ่ง

    หัตถกาญจน์ อารีศิลป
    บรรณาธิการ


    ผลงานชุด “ต้นไม้” ประกอบด้วยเรื่อง 

    - เรื่องสั้น “พักพิง” โดย บุณฑริกา จิตพินิจกุล
    - ความเรียง “ต้นไม้โตขึ้นบ้าง หรือ กระถางเล็กลงหน่อย” โดย ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์
    - เรื่องสั้น  “ ‘กระถิน’ ปลูกลงดินไม่ได้” โดย จุฬารัตน์ กุหลาบ

    วัตถุดิบ
    - บทกวีคำซ้ำเรื่อง “ลอย” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
    - บทกวีเรื่อง “ไม่ใช่ในนามพระเจ้าองค์ใด” ของ โรสนี นูรฟารีดา
    - ความเรียงเรื่อง “แม่ดอกกระถินริมรั้ว” ของ รักษิตา
    - คำว่า “เพาะ” ในคลังคำ ของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา


    ผลงานชุด “หมู่บ้านล้านดอก” ประกอบด้วย

    - เรื่องสั้น “ดอกบัว”  โดย นันทวัน มงคลสถิต                                                                                                 - เรื่องสั้น “กะฮอม”   โดย เมธินี โสภา                                                                                                                  - เรื่ิองสั้น “ดาวเรือง”  โดย ณฐพร ส่งสวัสดิ์ 

    วัตถุดิบ
    - บทกวีคำซ้ำเรื่อง “ดอกไม้” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
    - บทกวีเรื่อง “หลงทางในประเทศของตัวเอง” ของ โรสนี นูรฟารีดา
     - ความเรียงเรื่อง “บัว...ดอกไม้ของวันวานและวันนี้” ของ รักษิตา
     - คำว่า “หวังดี” ในคลังคำ ของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา


    ผลงานชุด “ชะตากรรม” ประกอบด้วยเรื่อง 

    - เรื่องสั้น “กรำชะตา” โดย พิชญา วินิจสร
    - เรื่องสั้น “กำชะตา” โดย ณิชมน จันทวงศ์

    วัตถุดิบ
    -บทกวีคำซ้ำเรื่อง “ปลา” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
    -บทกวีเรื่อง “หนักอึ้งอยู่ใต้เปลือกตา” ของ โรสนี นูรฟารีดา
    -ความเรียงเรื่อง “ดาวเรืองเหลืองลออ” ของ รักษิตา
    -คำว่า “ผ้าขาวม้า” ในคลังคำ ของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา


    ผลงานชุด “เด็กเด็กเด็ก” ประกอบด้วย

    ความเรียง ฉันผิดที่เป็นเด็กสายศิลป์” โดย ธนวิชญ์ นามกันยา 
    - เรื่องสั้น คุยกับเด็กในความทรงจำ”  โดย ปิยภัทร จำปาทอง 
    - เรื่องสั้น ดอกแก้วแลดาวเหนือ”  โดย กัลยรัตน์ ธันยดุล  


    วัตถุดิบ

    - บทกวีคำซ้ำเรื่อง “เด็ก” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
    - บทกวีเรื่อง “ผีเสื้อไม่ใช่ปูเสฉวน” ของ โรสนี นูรฟารีดา
    - ความเรียงเรื่อง “เอ๋ย...เจ้าช่อดอกแก้ว” ของ รักษิตา
    - คำว่า “คล่องแคล่ว” ในคลังคำของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา


    ผลงานชุด “LUNCH” ประกอบด้วย 

    - เรื่องสั้น “อาหารกลางวันบนชั้น 21” โดย วรันพร ตียาภรณ์  
    - เรื่องสั้น อาหารฝันกลางวัน” โดย ชัญญานุช ปั้นลายนาค  
    - เรื่องสั้น “อาหารกลางวันที่เจ้าบ้านหายไป” โดย ณิชา เวชพานิช


    วัตถุดิบ
    - บทกวีคำซ้ำเรื่อง “อาหารมื้อกลางวัน” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
    - บทกวีเรื่อง “เราต่างพูดว่าไม่เป็นไร” ของ โรสนี นูรฟารีดา
    - ความเรียงเรื่อง “ดอกไม้ของใบหญ้า” ของ รักษิตา
    - คำว่า “บางที” ในคลังคำ ของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา


    ผลงานชุด “ความทรงจำ” ประกอบด้วย

    - ความเรียงเรื่อง “ให้ความทรงจำเป็นเหมือน ‘ขยะ’” โดย สิริโชค โกศัลวิตร  
     - เรื่องสั้น “ชื่อที่ไม่มีวันลืม” โดย ปุณยาพรสุข ศาลาสุข 
    - เรื่องสั้น This white dog and that white wolf โดย พิมพ์ภาณิณ โชติมา

    วัตถุดิบ
    - บทกวีคำซ้ำเรื่อง ขาว” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
    - บทกวีเรื่อง ขยะบางชิ้นถูกเก็บรักษาอย่างดี” ของ โรสนี นูรฟารีดา
    - ความเรียงเรื่องนักเดินทางน้อยๆ...ต้อยติ่ง”  ของ รักษิตา 
    - คำว่า เทียม” ในคลังคำ ของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in