เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เล่นแร่แปรวัตถุดิบ...รวมเรื่องชุดโดยนักเรียนเขียนเรื่องอ่าน-คิด-เขียน
เด็กเด็กเด็ก: ฉันผิดที่เป็นเด็กสายศิลป์
  •  เรื่องโดย...ธนวิชญ์ นามกันยา   ผลงานลำดับที่  9  ในคอลัมน์ "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ" 
    คลิกเพื่ออ่าน.....บทนำ: เล่นแร่แปรวัตถุดิบ...รวมเรื่องชุดโดยนักเรียนเขียนเรื่อง 2018 ได้ที่นี่


    นานเท่าไห่รก่อนดักแด้จะกลายร่างเป็นผีเสื้อ

    นานเท่าปูเสฉวนหาเปลือกหอยใหม่เพื่อใช้เป็นบ้าน

    นานเท่าลูกนกเกิดใหม่หัดบิน

    นานเท่างูเฒ่าลอกคราบ

    นานเท่ากบจำศีล

    หรือนานเท่าเต่าทะเลย้อนกลับมาที่ชายหาดเดิมเพื่อวางไข่

     

    จะต้องถูกผู้ใหญ่เบียดเบียนบีบบังคับไปอีกเท่าไหร่กัน?..

     

    ทำไมไม่เรียนสายวิทย์ล่ะสายศิลป์จบมาจะไปทำอะไรได้”

    นี่คือคำถามที่ผมถูกถามอยู่บ่อยครั้งในช่วงชีวิตม.ปลาย เป็นคำถามที่ถูกถามจากคุณป้าข้างบ้าน หรือแม้แต่ญาติผู้ใหญ่ที่รู้จักหลายต่อหลายครั้งจนผมชินขาเสียแล้วการถูกถามแบบนี้หลายๆ ครั้ง มันทำให้ผมได้กลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่าสุดท้ายแล้ว‘คุณค่า’ ของผมมันขึ้นอยู่กับแค่สายการเรียนที่จะอยู่กับเราแค่ 3 ปีแค่นั้นจริงๆ หรือ”

     

    เด็กแต่ละคนมีล้วนแล้วแต่มีทักษะความสามารถที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความสนใจและฝักใฝ่ในสิ่งเหล่านั้น ผมเชื่อแบบนี้มาโดยตลอด แต่ทำไมกันนะตลอดเวลาที่ผมใช้ชีวิตในการเป็นนักเรียนมาตั้งแต่เด็ก ผมถึงได้รู้สึกว่าผู้ใหญ่รอบตัวถึงได้ให้ค่ากับวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มากขนาดนั้น

     

    สิ่งที่ผมรู้สึกมันชัดเจนขึ้นเรื่อยๆเมื่อผมได้มีโอกาสเข้ามาใช้ชีวิตช่วงมัธยมปลาย ในโรงเรียนชายล้วนชื่อดังแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯแถวๆ ริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง ในโรงเรียนแห่งนั้นมี 14 ห้องต่อระดับชั้น แบ่งเป็นห้อง Gifted 4 ห้องได้แก่ห้อง1-4 ห้องวิทย์อีกจำนวนหนึ่ง และมีห้องสายศิลป์แค่ไม่กี่ห้อง ซึ่งผมอยู่ในห้องของสายศิลป์เหล่านั้นห้อง 14 ห้องรั้งท้าย

     

    ความไม่เท่าเทียมมันชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆในความรู้สึกของผม มีครูหลายคนที่ตั้งใจให้ความรู้ แต่ก็มีหลายคนที่มักจะหลุดปากพูดบ่อยๆว่า “ฉันไม่อยากมาสอนห้องนี้เลยสักนิด ไม่อยากแม้แต่จะเข้ามาเจอเด็กแบบพวกเธอ” แน่นอนว่าสาเหตุเดาได้ไม่ยากที่ครูท่านนั้นพูดแบบนั้นอาจเป็นเพราะช่วงมัธยมต้นของโรงเรียนนี้ มีการกำหนดเงื่อนไขในการเข้าเรียนสายแต่ละสายโดยเด็กที่เกรดต่ำจะถูกปัดมาอยู่ห้องสายศิลป์ ทำให้ห้องของผมถูกมองว่าจะมีเด็กเกเรเยอะเป็นส่วนใหญ่แต่คำถามที่ติดค้างในใจของผมก็คือ ทำไมคนเกรดน้อยถึงจะต้องมาอยู่สายศิลป์ล่ะ ทำไมคนเกรดน้อยถึงไปอยู่สายวิทย์ไม่ได้ถ้าเค้าคนนั้นอยากเรียนสายวิทย์ล่ะ เพราะเหตุนี้เองมันเลยเป็นค่านิยมให้ผู้ใหญ่มองว่าสายวิทย์ดีกว่าสายศิลป์หรือเปล่า

     

    ผลพวงของค่านิยมนี้ก็ทำให้อาชีพหลักๆที่ได้รับความนิยม ถูกพูดถึง เชิดชูและยกย่องนั่นก็คืออาชีพหมอ หากครอบครัวไหนมีลูกเป็นหมอละก็เชื่อผมเถอะว่าพ่อแม่ครอบครัวคนอื่นๆ ล้วนแล้วแต่ชื่นชมเป็นแน่

     

    ความคาดหวังเริ่มถูกแทนที่ด้วยความกังวลเมื่อผมบอกใครหลายคนรวมไปถึงพ่อแม่ว่าอยากเรียนคณะอักษรฯโชคดีที่พ่อแม่ผมไม่ได้กดดันอะไรเพียงแต่บอกว่าขอให้จบมาแล้วมีงานทำนั่นก็เป็นพอผมดีใจที่พ่อแม่คิดอย่างนั้นแต่ถ้าหากเรื่องนี้พ่อแม่ยอมรับไม่ได้และจะบังคับให้ผมเรียนคณะสายวิทย์ต่อนั่นคงลำบากสำหรับผมแน่ๆ

     

    แม้ว่ามีเป้าหมายถึงชัดเจนว่าตั้งใจจะเรียนคณะสายศิลป์แต่สิ่งที่ได้จากโรงเรียนกลับไม่มีอะไรมาช่วยซัพพอร์ตในด้านการเข้ามหาวิทยาลัยเลยแม้แต่น้อยสิ่งที่เป็นประโยชน์สิ่งเดียวสำหรับผมนั้นคือภาษาอังกฤษทางโรงเรียนได้จัดหาติวเตอร์มาติวให้เด็กเพื่อที่เด็กจะได้อะไรดีๆกลับไปไม่มากก็น้อย แต่เชื่อมั้ยครับว่าแม้กระทั่งแพทเลขหรือวิทย์ที่ผมไม่มีความจำเป็นจะต้องสอบก็ยังถูกบังคับให้นั่งฟังอยู่ตรงนั้น เสียเวลาไปเกือบครึ่งวันแทนที่จะได้เอาเวลาไปนั่งทำโจทย์ภาษาที่สามศึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนสอบ

     

    แย่ไปกว่านั้นคือครูที่สอนภาษาที่สามที่ผมเรียนมีเพียงแค่คนเดียวแต่สอนทั้ง 3 ระดับ โดยที่โรงเรียนไม่สนใจหรือช่วยหาครูผู้สอนมาเพิ่มเลยแม้แต่น้อยไม่มีการจัดการติวพิเศษของภาษาที่สามหรือแม้แต่การไปทำกิจกรรมแข่งประกวดภาษาที่สามกับโรงเรียนอื่น เด็กๆยังต้องนั่งรถเพื่อไปแข่งเอง ไม่มีรถจากโรงเรียนคอยไปรับไปส่งเลยซึ่งต่างจากเด็กสายวิทย์ที่มักจะมีรถตู้ของโรงเรียนไปรับไปส่งเสมอยิ่งถ้าหากได้รางวัลอะไรมาแล้วละก็จะต้องมีพิธีการมอบโล่รางวัลหน้าเสาธงรวมถึงเชิญผู้ปกครองของเด็กเหล่านั้นมาที่โรงเรียนด้วยเห็นความต่างมั้ยละครับ

     

    สุดท้ายแล้วเด็กอย่างผมก็ต้องพึ่งพาตัวเองฝ่ายเดียวขยันเอง อ่านหนังสือด้วยตัวเอง ทบทวนด้วยตัวเอง เรียนพิเศษด้วยเงินของตัวเองสุดท้ายพอสอบติดหรือคะแนนสอบออกมาดี คนที่ได้ชื่อเสียงกลับกลายเป็นโรงเรียนที่ไม่ได้เห็นความสำคัญของสายศิลป์เสียอย่างนั้น

     

    การเชิดชูยกย่องเด็กที่เก่งมันไม่ใช่สิ่งที่ผิดเลยครับแต่การละเลยเด็กที่ไม่เก่งหรือละเลยสายการเรียนที่ไม่ถูกมองว่าเป็นที่นิยมนี้ต่างหากเป็นสิ่งที่ผมค่อนข้างไม่เห็นด้วยในเมื่อเด็กเลือกที่จะเรียนสายการเรียนใดแล้ว ผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นทั้งพ่อแม่ ญาติพี่น้องครู คนรอบตัวก็ควรจะสนับสนุนไม่ใช่หรือครับ

     

    การที่ไปกำหนดและวาดทางของอนาคตของเด็กเองว่าสายนี้ดี สายนี้ไม่ดีมันดีแล้วอย่างนั้นหรือ เด็กก็เหมือนกับกระดาษขาวประสบการณ์ในชีวิตก็เหมือนสีที่เลอะไปกับกระดาษสีขาวนั้นและแน่นอนว่าในโลกนี้ไม่ได้มีแค่สีขาวกับสีดำแต่เพียงอย่างเดียวมันยังมีสีอีกมากมายหลากหลายที่สามารถแต่งแต้มบนกระดาษสีขาวเหล่านั้นได้ประสบการณ์ที่ต่างกัน สีที่ต่างกันย่อมก่อให้เกิดความแตกต่างเป็นธรรมดาแต่ทำไมผู้ใหญ่หลายๆ คนจะต้องกำหนด ครรลอง ให้เด็ก สาดสีที่ตัวเองอยากให้เป็นใส่กระดาษขาวเหล่านั้นด้วย

     

    คุณรู้ผีเสื้อไม่ใช่ปูเสฉวน

    ไม่ใช่นก

    ไม่ใช่งู

    ไม่ใช่กบ

    ไม่ใช่เต่าทะเล

    โมงยามแห่งการก้าวข้ามของแต่ละสายพันธุ์แตกต่าง [1]

     

    สุดท้ายแล้วทางเดินชีวิต การตัดสินใจ เป็นของใครกันแน่ ?



    ------------------------------------------------------

    [1] บางส่วนจากบทกวีเรื่อง “ผีเสื้อไม่ใช่ปูเสฉวน” ใน โรสนี  นูรฟารีดา. ไกลกว่ารั้วบ้านของเราเอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ผจญภัย, 2559.

    [2] กว่าจะเป็นงานเขียนชิ้นนี้ -"รู้สึกว่าเขียนได้ค่อนข้างง่ายเพราะเป็นประสบการณ์ที่เกิดกับตัวเอง และตั้งใจจะสื่อสารให้ผู้ใหญ่ที่อ่านได้ตระหนักคิด หรือก่อให้เกิดการตั้งคำถามกับตัวเอง" - ธนวิชญ์ นามกันยา 

    ------------------------------------------------------

    ผู้สนใจสามารถคลิกที่ชื่อเรื่องเพื่อเข้าถึงงานเขียนเรื่องนั้นๆ  

    ผลงานชุด “เด็กเด็กเด็ก” ประกอบด้วย
    ความเรียง ฉันผิดที่เป็นเด็กสายศิลป์” โดย ธนวิชญ์ นามกันยา 
    - เรื่องสั้น คุยกับเด็กในความทรงจำ”  โดย ปิยภัทร จำปาทอง 
    - เรื่องสั้น ดอกแก้วแลดาวเหนือ”  โดย กัลยรัตน์ ธันยดุล  

    วัตถุดิบ

    - บทกวีคำซ้ำเรื่อง “เด็ก” ของ จ่าง แซ่ตั้ง
    - บทกวีเรื่อง “ผีเสื้อไม่ใช่ปูเสฉวน” ของ โรสนี นูรฟารีดา
    - ความเรียงเรื่อง “เอ๋ย...เจ้าช่อดอกแก้ว” ของ รักษิตา
    - คำว่า “คล่องแคล่ว” ในคลังคำของ รศ.ดร.นววรรณ พันธุเมธา

    ------------------------------------------------------

    ผลงานเรื่องอื่นๆ สืบเนื่องจากกิจกรรม "เล่นแร่แปรวัตถุดิบ"

    ผลงานชุด “LUNCH” ประกอบด้วย 

    - เรื่องสั้น “อาหารกลางวันบนชั้น 21” โดย วรันพร ตียาภรณ์  
    - เรื่องสั้น อาหารฝันกลางวัน” โดย ชัญญานุช ปั้นลายนาค  
    - เรื่องสั้น “อาหารกลางวันที่เจ้าบ้านหายไป” โดย ณิชา เวชพานิช


    ผลงานชุด “ความทรงจำ” ประกอบด้วย
    - ความเรียงเรื่อง “ให้ความทรงจำเป็นเหมือน ‘ขยะ’” โดย สิริโชค โกศัลวิตร   
    - เรื่องสั้น “ชื่อที่ไม่มีวันลืม” โดย ปุณยาพรสุข ศาลาสุข 
    - เรื่องสั้น This white dog and that white wolf โดย พิมพ์ภาณิณ โชติมา

    ผลงานชุด “ต้นไม้” ประกอบด้วยเรื่อง 

    - เรื่องสั้น “พักพิง” โดย บุณฑริกา จิตพินิจกุล
    - เรื่องสั้น  “ต้นไม้โตขึ้นบ้าง หรือ กระถางเล็กลงหน่อย” โดย ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์
    - เรื่องสั้น  “ ‘กระถิน’ ปลูกลงดินไม่ได้” โดย จุฬารัตน์ กุหลาบ

    ผลงานชุด “หมู่บ้านล้านดอก” ประกอบด้วย

    - เรื่องสั้น “ดอกบัว”  โดย นันทวัน มงคลสถิต                                                                                                 - เรื่องสั้น “กะฮอม”   โดย เมธินี โสภา                                                                                                                  - เรื่ิองสั้น “ดาวเรือง”  โดย ณฐพร ส่งสวัสดิ์ 


    ผลงานชุด “ชะตากรรม” ประกอบด้วยเรื่อง 
    - เรื่องสั้น “กรำชะตา” โดย พิชญา วินิจสร
    - เรื่องสั้น “กำชะตา” โดย ณิชมน จันทวงศ์


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in