แบบนี้ก็มีด้วย? วิธีแบ่งพรมแดนประเทศแบบไม่ใช้กำลังแต่ใช้เหล้า

พูดถึงข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นมาเมื่อไหร่ ก็อดจินตนาการถึงสงคราม ทหาร และการใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกันไม่ได้ (นึกแล้วก็ชวนหดหู่) แต่วันนี้มินิมอร์จะพามาดูข้อพิพาทการแบ่งพื้นที่ระหว่างแคนนาดาและเดนมาร์คที่แม้จะยืดเยื้อยาวนานมากว่า 30 ปี (โห นานไม่ใช่เล่น ๆ นะเนี่ย) แต่ก็ไม่มีความสูญเสียสักนิด มีแต่สาดเหล้าและอารมณ์ขันใส่กัน (แปลกดีใช่ไหมล่ะ)


creative commons

ต้นเหตุของข้อพิพาทกว่า 3 ทศวรรษ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นเกาะร้างห่างรักทางตอนเหนือของทะเลอาร์กติกที่มีชื่อว่า เกาะ Hans นี่เอง โดยเกาะที่ว่านี้มีพื้นที่ไม่ถึงครึ่งตารางไมล์และเป็นเกาะเปล่าเปลือยไร้ซึ่งผู้คนและทรัพยากรธรรมชาติ แต่มันดันบังเอิญตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งเดนมาร์ค 12 ไมล์ และห่างจากชายฝั่งแคนนาดา 12 ไมล์เท่า ๆ กัน ทำให้ เกาะ Hans ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง 2 ประเทศพอดิบพอดี (อะไรจะบังเอิญได้ขนาดนี้)


yourfactboy.wordpress.com

แม้ตามแผนที่และกฎหมายสากลเกาะ Hans จะเป็นพื้นที่ของทั้ง 2 ประเทศ แต่ในปี 1933 ศาลยุติธรรมถาวรระหว่างประเทศแห่งองค์การสันนิบาตแห่งชาติก็ได้ตัดสินให้เกาะ Hans ตกเป็นของเดนมาร์ค แต่ภายหลังองค์การสันนิบาตแห่งชาติ ได้กลายเป็นองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ทำให้คำตัดสินว่าเกาะ Hans เป็นของเดนมาร์คดูไม่มีน้ำหนักไป (โห เซ็งเลยนะเนี่ย)

เรื่องราวยังไม่จบเพียงเท่านั้น เพราะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็นก็ได้เกิดกระแสการแย่งชิงการเป็นเจ้าของเกาะนี้ขึ้นมาอีกครั้ง! 


news.nationalpost.com

ในปี 1984 รัฐมนตรีของเดนมาร์คคนหนึ่งเดินทางไปยังเกาะ Hans แล้วตัดสินใจปักธงเดนมาร์คลงไป (คงคิดว่าตัวเองเป็นนีลอาร์มสตรอง ปักธงลงบนดวงจันทร์สินะ) แถมยังเขียนข้อความทิ้งไว้ว่า "ยินดีต้อนรับสู่เกาะของเดนมาร์ค" และทิ้งขวดเหล้าของเดนมาร์คไว้บนเกาะนั้นด้วย (ให้รู้กันไปเลยว่ามาฉลอง) จากนั้นเป็นต้นมาสงครามขวดเหล้าก็ได้เริ่มต้นขึ้น


worldatlas.com

ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่จากแคนนาดาหรือเดนมาร์คเดินทางไปที่เกาะ Hans ก็จะทิ้งขวดเหล้าจากประเทศตัวเอง และข้อความสั้น ๆ กวน ๆ ที่ชวนให้เฮฮากันระหว่าง 2 ประเทศ มากกว่าจะชวนให้เกิดความขัดแย้ง จนขณะนี้เกาะ Hans กำลังจะกลายเป็นพื้นที่ที่ทั้ง 2 ประเทศวางแผนจะให้เป็นพื้นที่บริหารจัดการร่วมกันในอนาคต (เย้! ไม่ต้องแย่งกันแล้ว)

มินิมอร์ว่าดี๊ดีที่ความขัดแย้งและการแบ่งกันไม่ลงตัว ไม่จำเป็นต้องจบลงด้วยการใช้กำลังหรือทะเลาะกันเสมอไป มิตรภาพ อารมณ์ขัน และการเจรจาก็เป็นอีกวิธีที่สามารถทำให้ความขัดแย้งสามารถจบลงได้อย่างลงตัวเนอะ ว่าไหม


ที่มา