4 วิธีเดินทางทั้งบก น้ำ และอากาศ ที่มนุษย์ใช้กันตั้งแต่อดีตจนวันนี้นั้นมีเรื่องราวอะไรซ่อนอยู่

มนุษย์เคลื่อนย้ายตัวเองไปสู่พื้นที่อื่นกันเป็นเรื่องปกติ และการเคลื่อนย้ายขยับขยายอาณาเขตของนวัตกรรมเครื่องทุ่นแรงหรือ ‘ยานพาหนะ’ ฝีมือมนุษย์ออกไปอย่างน่าสนใจ และต่อไปนี้คือตัวอย่างของผลผลิตจากความพยายามโยกย้ายตัวเองสู่เส้นทางใหม่ๆ ที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำ 

เดินเท้า 
การเดินเป็นวิธีสามัญที่สุดที่มนุษย์ใช้ในการเคลื่อนย้ายตัวเอง แต่เคยสงสัยไหมว่ามนุษย์เริ่ม ‘เดิน’ สองเท้าตั้งแต่เมื่อไหร่  นักวิทยาศาสตร์บอกว่าคำตอบของคำถามนี้มีหลายโมเดล แต่โมเดลที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือมนุษย์เริ่มหัดเดินสองเท้าเพื่อหาอาหาร! เพราะเมื่อสองมือว่างการเสาะหาอาหารก็ทำได้สะดวกกว่าเดิม ทั้งยังใช้เครื่องมือเพื่อต่อสู้หรือออกล่าได้ง่ายขึ้นด้วย
 
เรือ 
    มนุษย์ใกล้ชิดกับน้ำมาตั้งแต่อดีต เรือจึงเป็นพาหนะแรกๆ ที่เราคิดค้น โดยในยุคแรกเกิดจากการค้นพบไม้มวลเบาลอยน้ำได้โดยบังเอิญ ต่อมานักวิทยาศาสตร์จึงคิดค้นหลักการพื้นฐานในการสร้างเรือจนพบว่า ต้องคำนึงถึง ‘ความหนาแน่น’ (น้ำหนักของวัตถุเมื่อเทียบกับปริมาตรหนึ่งหน่วย) ของวัสดุเป็นสำคัญ โดยเรือต้องมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำถึงจะลอยได้แบบสบาย 

รถยนต์ 
ในอดีตการเดินทางทางบกไม่ใช่เรื่องง่าย จนปี ค.ศ.1886 นาย Karl Benz วิศวกรชาวเยอรมันได้สร้างรถยนต์คันแรกขึ้น โดยติดตั้งอุปกรณ์เปลี่ยนเชื้อเพลิงของเหลวให้เป็นแก๊ส (แบบสันดาปภายใน) เข้ากับกลไกเครื่องจักร ซึ่งเมื่ออากาศและน้ำมันถูกส่งเข้าไปในเครื่องนี้ก็จะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงส่งให้กลไกของเครื่องจักรทำงานและพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง  

เครื่องบิน 
ว่ากันว่าความฝันร่วมของมนุษยชาติคืออยากบินได้เหมือนนก—แน่นอนว่าเครื่องบินตอบโจทย์นั้นได้อย่างสมบูรณ์ โดยอาศัยแรงยกใต้ปีกทั้งสองข้างในการขับเคลื่อน ซึ่งการคำนวณแรงดังกล่าวต้องยึดหลักอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) ที่ว่าเมื่อเครื่องบินเร่งความเร็ว ปีกของเครื่องบินจะปะทะกับอากาศ ยิ่งปะทะเร็ว แรงต้านจากใต้ปีกจะยิ่งมาก และยกให้เครื่องบินลอยอยู่บนอากาศอย่างอัศจรรย์ 


เนื้อหาบางส่วนจากคอลัมน์ core ในนิตยสาร giraffe ฉบับที่ 38 ติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ readgiraffe