อวสานมนุษย์อู้! หยุดพิมพ์=งานหาย 'Flowstate'แอปฯกระตุ้นการทำงานที่โหดกว่าเดดไลน์

เรารู้คุณก็เคยอู้ ! เวลานั่งพิมพ์งานต๊อกแต๊กน่ะทุกคนต้องเคยแอบอู้บ้างอยู่แล้ว จะเพราะขี้เกียจ  วอกแวกไปเล่นอย่างอื่น (เรียกสวย ๆ ว่าพักสมองหาแรงบันดาลใจ) หรือจะหัวตันคิดไม่ออกจริงๆ ก็เถอะ  แต่ผลออกมาก็คืองานไม่เสร็จเหมือนกันอยู่ดี (ฮือ) เนื้องจากการอู้เนี่ยมันเป็นปัญหาสุดจะสากล  วันนี้เราเลยมีตัวช่วยที่โหดยิ่งกว่าเดดไลน์มานำเสนอกัน รับรองว่าได้ผล เพราะถ้ายังอู้อยู่อีกละก็ ปัญหาใหญ่มาแน่ !



iTunes.apple.com

สิ่งที่เราบอกว่าโหดร้ายยิ่งกว่า Deadline คือแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Flowstate นั่นเอง ถ้าถามว่าโหดกว่ายังไง ก็เอาเป็นว่าถ้าเราอู้หยุดพิมพ์เมื่อไร งานที่เราปั่นมาก่อนหน้านั้นจะหายไป  (แค่นึกใจก็พังแล้ว กรี๊ดดด)  สิ่งเดียวที่จะทำให้เรารอดพ้นจากการที่งานหายวับไปคืออะไรน่ะหรอ ก็คือพิมพ์ต่อไปห้ามหยุดเกิน 7 วินาทีไงล่ะ (โอ๊ยยย พักแค่ 7 วินาทีก็ไม่ได้หรอออ ใจร้าย)


giphy.com

ในหน้าแอปฯ Flowstate นั้นก็มินิมอลสุด ๆ  เมื่อเข้ามาก็มีให้เราเลือกแค่ 2 อย่างเท่านั้นเอง คือฟอนท์และระยะเวลาที่เราจะปั่นงานกันโดยเริ่มที่ 5 นาที ไปจนถึง 3 ชั่วโมง  แต่ไม่ว่าเวลาจะเลือกสั้นหรือยาวก็บอกเลยว่ามีเวลาอู้ได้แค่ 5 วินาทีเท่าเดิมนะเธ๊อออ เรียกได้ว่าจามฟืดนึงลืมตาขึ้นมางานก็อาจจะหายกลายเป็น 0 แล้ว แถมกดออกหนีมาก่อนก็ไม่รอดนะจ๊ะ หายเหมือนกัน  โหดยิ่งกว่ามีผู้คุมมาโบยหลังเร่งให้งานเสร็จอีก กรี๊ดดด

    

hailoverman.com

ซึ่งคนทำแอปฯ สุดโหดนี้เขาก็ไม่ได้ทำเจ้า Flowstate นี่มาด้วยความซาดิสม์สะใจส่วนตัวแต่อย่างใดนะ เขาก็มีคอนเซปต์ของเขามาชัดเหมือนกั๊น !

เล่าคร่าว ๆ ก็คือว่าในวงการจิตวิทยาเองได้มีการศึกษาภาวะ Flow ซึ่งเป็นภาวะที่คนเราจะรีดความสามารถและทักษะต่างๆ มาได้อย่างสุดความสามารถ แถมจะทำได้อย่างเวรี่ลื่นไหล สนุก ลืมวันลืมคืน  แถมงานออกมาดีอีกต่างหาก  ซึ่งการจะเข้าถึงภาวะนี้เขาว่ามันจะต้องมีความท้าทายสูง ๆ เข้ามากระตุ้นด้วย   ซึ่งนอกจากเดดไลน์แบบจริง ๆ แล้ว ความท้าทายในการทำงานโดยใช้แอปฯนี้ก็คือการที่ถ้าเราหยุดแล้วงานจะหายไปนั่นเอง 


hailoverman.com

อ่านถึงตรงนี้หากเริ่มรู้สึกอยากอวสานมนุษย์อู้ (และใจกล้าแกร่งพอ) ละก็ กดเข้าไปสอยกันได้ทั้ง iOS  ทั้ง OSX เลย โดยราคาอยู่ที่ 15$ และ 10$  อ่านดูอาจจะรู้สึกว่าแพ๊งแพง แต่ถ้างานไหลได้จริงอะไรจริงก็คุ้มอยู่นะเราว่า :p

ที่มาtheverge,learning-theories,hailoverman