(18++)ใครว่าคำหยาบต้องไม่ดี? บรรเทาความเจ็บได้ ช่วยเรื่องความจำด้วย โห! ขนาดนั้นเลย?

ถูกสอนมาตั้งแต่ยังเล็กว่าคำหยาบเป็นเรื่องไม่ดี๊ ไม่ดี ห้ามพูดนะจ๊ะเด็ก ๆ แล้วเคยสงสัยมั้ยว่าถ้าคำหยาบมันไม่ดีจริง ทำไมมันยังถูกพูดซ้ำ ๆ พูดเรื่อย ๆ แถมใคร ๆ ก็พูดกัน นอกเหนือจาก รู้ทันทุกคำด่า แล้ว มินิมอร์ขออาสาพาไปไขข้อข้องใจกับโลกแห่งคำหยาบคาย ณ บัดนี้ นี้ นี้ นี้ (ทำเสียงก้องทำไม!)



1.เรื่องดี ๆ ไม่รู้จักจำ สมองจำคำหยาบคายได้ดีกว่านะรู้ยัง

popsugar.com

Juliette Siegfried ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาวะที่ทำงานมากว่า 25 ปี บอกว่ามนุษย์มีสมองส่วนที่ดูแลเรื่องภาษา (Werincke) และมีสมองส่วนที่ดูแลเนื้อหาทางอารมณ์ของภาษา (Broca) ช่างแบ่งงานกันทำได้อย่างน่ารักจริง ๆ

ด้วยความสงสัยใคร่รู้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญเขาเลยสแกนสมองดู ทำให้รู้ว่าเวลาเราพูดหรือได้ยินคำหยาบคาย สมองที่ดูแลด้านอารมณ์ของภาษาจะถูกกระตุ้นมากเป็นพิเศษ ดังนั้นแทนที่คำหยาบคายจะถูกจำในฐานะคำ ภาษา ตรงส่วนสมองส่วน Werincke เหมือนคำอื่น ๆ มันกลับถูกจำไว้ในส่วนของอารมณ์แทน 


giphy.com

พูดง่าย ๆ ก็คือท่องศัพท์สารพัดภาษาแทบตายมันก็ถูกจำในส่วน Werincke ในขณะที่คำหยาบคายทำให้เราเกิดอารมณ์อะไรบางอย่าง (ไม่ว่าเราจะตั้งใจหรือไม่) เราก็จะจำมันได้ดี๊ดีกว่าคำทั่วไปเลยล่ะ (มิน่าเรียนภาษานี่จำคำหยาบ ๆ ได้ก่อนคำอื่นเลย เด็ก ๆ ก็จำคำหยาบ ๆ ได้ดีนักแหละ) ลองประยุกต์คำหยาบกับการเรียนรู้ดูสิ อาจจะเวิร์คก็ได้นา

2.หลุดคำหยาบบ๊อยบ่อย เหมือนหยุดไม่ได้ เอ๊ะ หรือสมองส่วนควบคุมคำหยาบคายเราผิดปกติกันนะ ?


cvr.org.au

เคยประสบปัญหาหยุดพูดคำหยาบไม่ได้กันหรือเปล่า ? สมองของคนเรามีการควบคุมการพูด และการเขียน เพื่อให้เข้ากับสังคมที่เราอยู่ (ก็แน่แหละ ถ้าไม่มีสมองส่วนนี้ อยู่ ๆ จะหลุดอาเฮีย หมา ควาย ออกมาโดยไม่ต้องแคร์สื่อ แคร์สังคม แคร์คนที่เราพูดด้วยเลยก็คงจะไม่งาม)

ความพีคก็คือถ้าสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเรื่องภาษานี้ดั๊นผิดปกติหรือเกิดความเสียหายขึ้นมา มันจะทำให้มนุษย์คนนั้นพูดด้วยสมองส่วนอารมณ์อย่างเดียว พูดง่าย ๆ คือเราจะควบคุมตัวเองไม่ได้เลย จะหลุดคำหยาบคายหรือหลุดคำแสดงอารมณ์ออกมาแบบไม่ดูตาม้าตาเรือทั้งสิ้น อ้อ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล่น ๆ เพราะโรคนี้มีคนเป็นกันจริง ๆ คือโรค Aphasia นั่นเอง

3.พูดกันดี ๆ ก็พอแล้ว ทำไมมนุษย์อย่างเราต้องพูดหยาบ ๆ กันล่ะ ?

newsfeed.time.com

Timothy Jay นักจิตวิทยาบอกว่า คำหยาบคายส่วนใหญ่เป็นคำต้องห้ามในสังคม (คืออยู่ ๆ จะพูดขึ้นมามันก็ไม่โอเคอ่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคำเกี่ยวกับเรื่องเพศ สิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย การดูหมิ่นศาสนาหรือ การล้อพ่อล้อแม่ (นั่นสิเนอะ เป็นคำที่สังคมห้ามพูดเด็ดขาด ถ้าพูดก็ดูไม่ดีอ่ะ)  

การได้พูดคำแบบหยาบค๊ายหยาบคาย จึงเป็นการได้ปลดปล่อยคำที่เวลาปกติเราถูกสังคมกดไว้ว่าห้ามพูด (ก็มันไม่เหมาะสม ไม่ดีงามอ่ะ) เพราะคำหยาบคายไม่ได้แปลว่าการด่า ความเกลียดชังเท่านั้น บางทีเราก็ใช้แสดงอารมณ์อื่น ๆ ทั้งดีใจ สนุก ตื่นเต้น (โอ๊ยยย ดีใจเฮีย ๆ เลย) คำหยาบคายจึงเป็นการระบายอารมณ์ ระบายความรู้สึก ระบายสิ่งที่เวลาปกติโดนกดไว้ ถือเป็นการลดความตึงเครียดอย่างหนึ่ง (คำหยาบก็มีข้อดีเหมือนกันแฮะ)

4. เพราะพูดคำหยาบ จึงไม่เจ็บปวด (ขนาดนั้นเลย ?)


ask.com

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราสะดุดล้ม มีดบาด น้ำมันกระเด็น แล้วเราสบถคำหยาบออกมาดัง ๆ มันถึงช่วยให้เรารู้สึกโอเคขึ้น (โอเคขึ้นจริงอ่ะ ?)

Melissa Mohr ผู้เขียนหนังสือเรื่องประวัติศาสตร์สังเขปของคำหยาบ (หืออ เขาก็ศึกษาเรื่องนี้กันอย่างจริงจังเนอะ) ซึ่งตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด Mohr ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง  พบว่าว่าการได้ยินหรือพูดคำหยาบมันมีผลถึงระดับร่างกาย (ไม่ใช่แค่จิตใจ) เพราะทุกครั้งที่เราพูดหรือได้ยินคำหยาบคาย ร่างกายของเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลงความนำไฟฟ้าบนผิวหนังของเรา (ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด)(อะไรจะขนาดนั้นเนี่ย)


giphy.com

จากการทดลองพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เอามือจุ่มลงไปในถังน้ำแข็ง 2 กลุ่ม มีกลุ่มหนึ่งที่สบถคำหยาบไปจุ่มไป กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้ตะโกนอะไรเล้ยย กลุ่มที่สบถไปจุ่มไปสามารถทนความเจ็บปวดจากความเย็นและจุ่มมือในถังน้ำแข็งได้นานกว่า อื้อหือ ใครจะไปรู้ว่าคำหยาบคายบรรเทาความเจ็บได้จริง ๆ (เอ่อ บรรเทานะ ไม่ได้ทำให้ไม่เจ็บ)

5.ไฮโซเขาไม่พูดคำหยาบกันหรอกแก มันกระดากปากอ่ะ (เหรอ ?)


thinglink.com

อย่าทำเป็นเล่นไป มนุษย์พูดคำหยาบเป็นปกติเลยล่ะ (แหนะ ไม่เชื่อสินะ) จากงานวิจัยพบว่าชั่วชีวิตของเรา พูดคำหยาบ 0.3-0.7% ของคำพูดทั้งหมด (ซึ่งมินิมอร์เชื่อเหลือเกินว่าถ้ามาสำรวจคนไทยน่าจะเยอะกว่านี้อีกหลายเท่าตัว)

ฟังเผิน ๆ 0.7 มันดูเหมือนเป็นสัดส่วนที่น้อยสินะ แต่มินิมอร์บอกเลยว่าเราเรียกสรรพนามแทนตัว (ฉัน เรา หนู ผม) แค่ 1% ตลอดชีวิตเรา คำหยาบคายจึงเป็นสัดส่วนที่ธรรมดาและเป็นเรื่องปกติมากกว่าที่เราคิด และการพูดคำหยาบไม่เกี่ยวกับชนชั้นล่าง หรือความไม่มีการศึกษา เพราะใคร ๆ ก็พูดกันจ้ะ เพียงแต่ทุกคนรู้ขอบเขตว่าตรงไหนพูดได้แค่ไหนนั่นเอง (คนที่พูดผิดเวลาและสถานที่นั่นแหละที่ต้องระวัง เนอะ)(เอ หรือที่หยาบใส่คนอื่นไปทั่วแบบไม่ดูกาลเทศะนี่เขาอาจเป็นโรค Aphasia ก็ได้นะ ส่งไปพบแพทย์เถอะจ้ะ


giphy.com

ไม่ได้บอกว่ามาพูดคำหยาบตลอดเวลากันเถอะ แค่คำหยาบก็มีช่วงเวลาที่เหมาะสมของมัน บางคนอาจพูดกับเพื่อนที่สนิท (พูดคำหยาบแล้วก็ยิ่งสนุก) บางคนใช้แสดงอารมณ์ที่มันแบบ เฮ้ย คำดี ๆ สื่อไม่พออ่ะ ไม่ว่าจะเลือกใช้ในรูปแบบใด มินิมอร์เชื่อว่าถ้าใช้ให้อยู่ในเวลา สถานที่ บุคคลที่คุยด้วยให้เหมาะสมได้ ในคำหยาบก็พอมีเรื่องราวดี ๆ ของมันอยู่เหมือนกันนี่นา  


ที่มา: psychcentral.comnewsfeed.time.comhealthguidance.org