เมื่อกลิ่นอายแห่งเทศกาลคริสต์มาสเดินทางมาถึง สิ่งที่เราหนีไม่พ้นคงเป็นบรรดาต้นคริสต์มาส (ที่เดี๋ยวนี้แต่ละห้างมีผู้สนับสนุนต้นคริสต์มาสสารพัดสี จนแทบจะกลายร่างเป็นสายรุ้งอยู่แล้ว) ไหนจะของขวัญ การ์ดอวยพรส่งความสุข และที่ขาดไม่ได้เลย คือลุงซานตาคลอสใจดีกับหมู่กวางเรนเดียร์ของเขานั่นเอง
แต่ใครจะไปรู้ว่า
เทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวพันกับพระอาทิตย์มาก่อน!
แต่ใครจะไปรู้ว่าเทศกาลคริสต์มาสเกี่ยวพันกับวันนี้ด้วย
(ใช่ วันนี้ วันที่ 22 ธันวานี่แหละ!)
ก่อนที่จะพิศวงงงงวยกันไปมากกว่านี้
มินิมอร์ขอพาไปรู้จักกับวันคริสต์มาสและซานตาคลอสในรูปแบบที่แหวก แตกต่าง
ชวนตกตะลึงไม่เหมือนที่ไหน ๆ แน่นอน รับรอง!
planwallpaper.com
ก่อนอื่นต้องย้อนกลับไปถึงยุคโรมัน
(ก็บอกแล้วว่ามินิมอร์จะพาไปไกลกว่าที่อื่น) ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 2,000 ปีก่อน วันนี้ (ย้ำอีกครั้ง วันที่ 22 ธันวาคมนี่แหละ)
เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรออกไปไกลแสนไกลจากโลกมากที่สุดในรอบปี
เลยทำให้วันนี้เป็นวันที่มีช่วงกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปีเช่นกัน (พวกเธอกำลังจะวิ่งออกไปแหงนหน้ามองฟ้าล่ะสิ
เรารู้นะ!)
เจ้าวันที่มีกลางคืนยาวนานที่สุดนี้ ในยุคโรมันเขาเรียกวันนี้กันว่า “วันบรูมา” แต่ด้วยระบบปฏิทิน ระบบการนับวันเมื่อ 2,000 ปีก่อนยังไม่ตรงเป๊ะกับระบบการนับวันแบบปัจจุบัน ทำให้ชาวโรมันดั๊นบันทึกไว้ว่าวันที่กลางคืนยาวนานที่สุดคือวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี (เอาน่าในประวัติศาสตร์ไหน ๆ ก็มีการบันทึกผิดพลาดกันบ้างทั้งนั้น)
romeacrosseurope.com
convertwall.com
หลักฐานความอลหม่านของการนับ‘วันคริสต์มาส’ ยังปรากฏร่องรอยให้เราเห็นอยู่ในปัจจุบันไม่ว่า ในกลุ่มชาวคริสต์ แบบกรีกออโธด็อกซ์แถบยุโรปตะวันออก และรัสเซียเดิม ที่ยังนับว่าวันประสูติของพระเยซูตรงกับวันที่ 7 มกราคม และยังคงเรียกวันที่ 7 มกราคมว่าเป็นวันคริสต์มาสถึงทุกวันนี้!
หรือกลุ่มชาวคริสต์ที่อยู่ไกลออกไปทางตะวันออกของกรุงโรม เคยนับว่าวันที่ 6 มกราคม เป็นวันประสูติของพระเยซู จนกระทั่งเจอการนับวันคริสต์มาสแบบโรม เลยปรับเปลี่ยนเป็นวันที่ 25 ธันวาคม ตามอย่างโรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4
ก่อนจะงุนงงกับตัวเลข ประวัติศาสตร์ และการนับวันคริสต์มาสที่คลาดเคลื่อนไปมากกว่านี้ มินิมอร์ชวนคุณตอบเล่น ๆ ว่า แล้วซานตาคลอสล่ะ ยังคิดว่าถ้าซานตาคลอส หรือนักบุญ นิโคลัสแห่งเมืองไมรา (ที่ว่ากันว่าคือซานตาคลอสคนแรกของโลก) ยังมีชีวิตอยู่ เขาจะเดินทางไปรอบโลกได้ยังไง บรรดากวางเรนเดียร์จะยังใช้การได้ในโลกศตวรรษที่ 21 เหรอ ? เอ๊ะ แล้วซานตาคลอสจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กบ้านไหนที่ดื้อจนไม่สมควรได้ของขวัญ หรือทำตัวน่ารักจนสมควรได้ของขวัญทั้งกระสอบไป ?
olddesignshop.com
อาร์เธอร์
ซี คลาร์ค นักเขียนนิยายไซไฟเคยกล่าวไว้ว่า ‘เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยก็ไม่ต่างอะไรจากเวทมนตร์’ นั่นไงล่ะ! ถ้าภารกิจของซานต้าในอดีตถูกนับเป็นเวทมนตร์
แต่ถ้าภารกิจซานต้าในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นการขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น
(เรารู้ทันคุณแล้ว คุณลุงซานต้า เย่!)
เกรกอรี่
โมนเป็นคนเขียนหนังสือเรื่อง ‘THE TRUTH ABOUT SANTA’ หรือที่มีชื่อไทยเก๋ ๆ ว่า ‘รู้ทันซานต้า’ ขึ้นมา
โมนอธิบายทุกตำนานของซานต้าไว้ด้วยหลักการแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเร้าใจ เช่น
การเดินทางของซานต้ากับการวาร์ป และการจับว่าเด็กคนไหนเป็นเด็กดีหรือเด็กดื้อจากกล้องและคอมพิวเตอร์
“เมื่อเลื่อนของซานต้าทะยานออก เครื่องวาร์ปจะสร้างช่องคล้าย ๆ ปากทางเข้าของรูหนอนขึ้นในอากาศ กวางเรนเดียร์จะดึงซานต้าและเลื่อนทะลุเข้าไปในลูกโป่งกาลอวกาศ และไปโผล่ที่ทางออกคล้าย ๆ ทางอกของรูหนอนที่อยู่บนท้องฟ้าในอีกทีหนึ่ง” - รู้ทันซานต้า
“โชคดีที่ซานต้ามีซอฟต์แวร์สำหรับช่วยวิเคราะห์ภาพและจับเฉพาะไฮไลต์จากวิดีโอเหล่านี้ได้ ซึ่งมันช่วยให้การทำงานวุ่นวายน้อยลงมากทีเดียว คอมพิวเตอร์และกล้องจะทำงานแทนคนทั้งหมด จะวิเคราะห์ภาพแต่ละช็อตจากวิดีโอและจำแนกคนแต่ละคน” - รู้ทันซานต้า
lovethispic.com
“วันคริสต์มาสต์” ในภาพประวัติศาสตร์ และ “ซานต้า” ซึ่งถูกอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ที่มินิมอร์พาไปอ่านวันนี้ อาจไม่เหมือนตำนานที่ถูกเล่าต่อ
ๆ กันมาในแบบที่เราเคยได้ยิน
ไม่ว่าเราจะเลือกเชื่อแบบไหน แต่สิ่งหนึ่งที่มินิมอร์คิดว่ามันไปด้วยกันได้
คือการเลือกที่จะเชื่อตำนานที่พร้อม ๆ กับการหาข้อมูลประกอบการเชื่อนั้น – อย่างน้อย ๆ ด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์เราก็ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของการเฉลิมฉลองศาสนาคริสต์ที่ถูกยกให้สำคัญเทียบเท่าดวงอาทิตย์
และด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์คุณลุงซานต้าใจดี ก็ยังคงหัวเราะโฮ่ โฮ่
โฮ่และแจกของขวัญให้กับเด็กทั่วโลกได้อย่างที่เป็นมาตลอด จริงไหมล่ะ …