ศิลปะแบบกลับตาลปัตร! จับเซรามิกจริงมาเปลี่ยนเป็น'ภาพดิจิทัล 8 บิท' น่ารักอ่ะ



หากพูดถึงเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิก ทุกคนจะคิดถึงอะไรกันนะ? ก็คงจะเป็นดินเหนียว เครื่องเคลือบ ภาชนะเก่า ๆ ที่เอาไว้ใส่ดอกไม้ หรือไม่ก็ชุดจานชามที่วางอยู่บนโต๊ะอาหาร คงไม่มีใครคิดถึงเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกในมุมมองของงานศิลปะและกราฟิกเลยสินะ! (คืออะไรอ่ะ? ไม่เห็นรู้จักเลย) 

วันนี้มินิมอร์จะพาทุกคนไปรู้จักสิ่งที่ 'Toshiya Masuda' เรียกว่า "ช่องว่างระหว่างภาพ" ลืมภาพเซรามิกแบบเดิม ๆ ไปได้เลยนะจ้ะ!



"เนื่องจากการควบคุมความรู้สึกต่าง ๆ ของคนเราขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ที่เคยผ่านมา หลาย ๆ สิ่งจึงกลายเป็นความรู้สึกในใจโดยที่เราเองไม่รู้ตัว" 'Masuda' ศิลปินชาวญี่ปุ่น วัย 39 ปี เล่าว่า "ช่องว่างระหว่างภาพ" คือสิ่งที่เค้าพยายามจะบรรลุถึงงานศิลปะโดยการผลิตภาพจากดิจิตอลโดยใช้เซรามิก (เห้ย เจ๋งอะ!)


ผลงานของ Masuda ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของสิ่งของทั่วไปที่เราพบเห็นกันในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าผ้าใบ สก๊อตเทป ดอกไม้ หรือแม้กระทั่งไข่ดาว (น่ารักจนอยากจะกินจริง ๆ ซะเลย)

ถ้าสังเกตเจ้าเซรามิกเหล่านี้ใกล้ ๆ จะเห็นได้ว่า นี่คือบล็อกเซรามิกสีสันนับร้อยที่ถูกประกอบเข้าด้วยกันอย่างละเอียดรอบคอบ (โหยยยย ทำได้ยังไงเนี่ย?) และนี่คือสิ่งที่ศิลปินชาวญี่ปุ่นต้องการสะท้อนให้เห็นว่า โลกที่เรากำลังอาศัยอยู่ คือโลกที่เสมือนจริง ที่มักจะมีรอยต่อระหว่าง 'ของจริง' และ 'ของปลอม'

ศิลปะ'ช่องว่างระหว่างภาพ'เป็นการหยิบจับเอาศิลปะแบบดิจิทัลมาผสมผสานกับการสร้างสรรค์บนโลกจริงๆ ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่าระหว่าง 'โลกจริง' กับ 'โลกเสมือน' มันมีแค่เส้นกั้นบาง ๆ เท่านั้น ส่วนพวกเราจะได้รับประโยชน์หรือโทษจากโลกเสมือนก็อย่าลืมนะ! ว่าตัวเรานี่แหละที่เป็นคนเลือกเอง


ที่มา: spoon-tamago.com