ตอนที่แล้วว่ากันด้วยความยาวววหลัก นาที และ ชั่วโมง ซึ่งนั่นเทียบไม่ได้เลยกับผู้ท้าชิงเพลง 3 อันดับสุดท้าย ที่มีความยาวถึงระดับ วัน-เดือน-ปี สิ่งที่ทำให้ 3 อันดับนี้แตกต่างจาก 2 เพลงแรก คือ 3 เพลงนี้ไม่ได้มีการวางขายจริงเกิดขึ้น (แหงสิ ลองอ่านไปเรื่อยๆ แล้วจะบรรลุเองว่า 'ใครจะไปซื้อวะ') อย่างที่บอกไว้ในตอนแรก ในที่สุด เราก็มาถึงจุดที่'มนุษย์'ต้องการที่จะทำเพลงที่ยาวที่สุดในโลกขึ้นมาให้ได้ เพราะว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อทุบสถิติ พวกเราต้องท้าทายกินเนสบุ๊ก
3. เพลงที่ยาวที่สุดในโลก ที่มีการบันทึกเสียงเกิดขึ้น
“Subterranea” แต่งและบันทึกเสียงโดย ธอม ยอร์ค นักร้องนำวง Radiohead ผู้โด่งดัง เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2015 ที่ผ่านมา เพลงนี้มีความยาวทั้งสิ้น 432 ชั่วโมง ( 18 วันบนโลกมนุษย์ ) ธอมแต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อเป็น soundtrack ประกอบงานศิลปะชื่อ The Panic Office ของเพื่อนเขา Stanley Donwood ที่จัดแสดง ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตเรีย - โชคไม่ดี ที่ ธอม ยังไม่มีโครงการที่จะปล่อยเพลงนี้ออกวางขายจริงๆ
หรือจริงๆแล้ว อาจจะเป็นโชคดีของพวกเราก็ได้ ลองคิดดูสิว่า เพลงความยาว 432 ชั่วโมง ถ้าหากวางขายในรูปแบบ MP3 256 kbps มาตรฐาน iTune เพลงนี้จะกินพื้นที่เก็บข้อมูลมากมายขนาดไหน? คิดออกไหม? เฉลยให้: Subterranea.mp3 จะใช้พื้นที่เก็บไฟล์ประมาณ 47.46 กิ๊กกะไบต์ - แหม่ๆ สมัยนี้ HDD ยิ่งแพงๆอยู่นะ
และแล้วก็มาถึง แชมป์โลกตัวจริงเสียงจริง
4. เพลงที่ยาวที่สุดในโลก #2
เพลงที่ถูกแต่งโดย Jem Finer ชื่อเพลง “Longplayer” โดยให้คอมพิวเตอร์เขียนโน้ตเพลงความยาว 1000 ปีขึ้นมา จากนั้นจึงสร้างเครื่องจักรขึ้นมาเพื่อเล่นมันอย่างต่อเนื่อง เครื่องที่ว่าหน้าตาเป็นถ้วยๆ และเสียงดนตรีที่ออกมาก็ประมาณเสียงเคาะถ้วยในห้องก้องๆ โดยเครื่องจักรนี้เริ่มต้นเล่นเพลง “ Longplayer” มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2000 ไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2999 ( ก็คือ 1000 ปีนั่นเอง) โดยเขาการันตีว่า จะไม่มีการเกิด pattern ของตัวโน้ตที่ซ้ำกันเด็ดขาดในช่วงเวลา 1000 ปีนี้ (นึกออกใช่มะ? ถ้ามี pattern ตัวโน้ตซ้ำกันเมื่อไหร่ ก็จะมีคนแย้งขึ้นมาได้ทันทีว่า เฮ้ย! เอ็งกำลังเล่นเพลงเดิมซ้ำรอบที่สองอยู่นะโว้ยยย)
ถ้าใครอยากฟัง ก็ลอง copy ข้อความนี้ แล้วแปะในคำสั่ง Open Stream ใน iTune (คำสั่งนี้อยู่ในหมวด File)
หรือกดดูหน้าค่าตาของเครื่องจักรได้ตามนี้
5. เพลงที่ยาวที่สุดในโลก #1
แต่ถ้าคุณไม่คิดว่า ตัวโน้ตมั่วๆที่สุ่มสร้างขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์นับเป็นเพลง ก็มีอีกทางออกให้ได้ฟัง นั่นคือ ออร์แกนใบโบสถ์ St. Burchardi เมือง Halberstadt ในประเทศเยอรมัน ซึ่งได้กำลังเล่นเพลง “Organ2/ASLSP (As Slow aS Possible)” ประพันธ์โดย John Cage ไว้เมื่อปี 1985 โดย John Cage กำกับไว้หลังแต่งว่า “ให้เล่นเพลงนี้ให้ช้าที่สุด” - ออร์แกนที่ว่าก็เลยเริ่มเล่นเพลงนี้มาตั้งแต่ วันที่ 5 กันยายน 2001 และ(คาดว่า)จะเล่นต่อไปไม่หยุดจนกว่าจะถึงปี 2640 ( แค่ 639 ปีเอง สบายๆ ) ถ้าคุณกำลังคิดว่า มันเป็นไปได้หรือ ที่คนจะเล่นออร์แกนได้นานขนาดนั้น? ไอ้ออร์แกนตัวนี้มันทำงานอย่างไร? อธิบายสั้นๆ คือ ใต้ออร์แกนจะมีกลไกเพื่อเป่าลมลากเสียงโน้ตออร์แกนให้ยาวไปเรื่อยๆ เรื่อยๆแบบไม่มีที่สิ้นสุด ลากยาวไปจนกว่าจะมีใครสักคนมาเปลี่ยนโน้ต แล้วไอ้คนกลุ่มนั้นก็ค่อยตกลงกันว่าจะเปลี่ยนทุกๆกี่ปี ก็เลยได้เป้นเพลงที่ช้าที่สุดตามที่ John Cage ปรารถนาไว้นั่นเอง ฟังดูฉลาดแกมโกงเหมือนกันนะ
อัพเดตล่าสุดตอนนี้ ออร์แกนกำลังเล่นโน้ตถึงตัวที่ 11 ละ อดใจรออีกหน่อย ไม่กี่ปีก็จะเข้าโน้ตตัวที่ 12 เอง
<< อ่านเพิ่มเติม : เพลงที่สั้นที่สุดในโลกตอนที่ (ตลกมาก ไม่อ่านถือว่าพลาด) >>