7 เรื่อง 7 สิ่ง ที่รู้ก็ดี แต่ไม่รู้ก็ได้ ของ INSIDE OUT

        ชั่วโมงนี้ไม่พูดถึงไม่ได้เลยกับแอนิเมชั่นไอเดียบรรเจิดที่กำลังมาแรงอย่าง ‘Inside out’ ที่ช่วยฉุดกระฉากชื่อ Pixar ให้กลับมาโดดเด่นอีกครั้ง หลังจากฟอร์มตกไปหลายปีกับงานแอนนิเมชั่น 3 เรื่องล่าสุดของพวกเขาอย่าง Car 2, Brave, และ Monster University ที่เหล่านักวิจารณ์รวมถึงบรรดาแฟนคลับแอนนิเมชั่นของ Pixar มองว่า มาตรฐานไม่ถึงขั้น หากเทียบกับเรื่องอื่นๆที่พวกเขาเคยสร้างมาก่อนหน้านั้น
        
        สำหรับบ้านเรา ‘Inside out’ เพิ่งเข้ามาได้อาทิตย์กว่า กระแสกำลังร้อนแรง หลายคนดูแล้ว หลายคนยังไม่ได้ดู ฉะนั้นจึงยังพูดอะไรมากไม่ได้เพราะเดี๋ยวจะไปสกิดโดน[spoil] เนื้อเรื่องเข้าจนได้ ดังนั้นตอนนี้จึงเอาแค่ 7 เรื่อง 7 สิ่ง ที่รู้ก็ดี แต่ไม่รู้ก็ได้(อ้าว) มาให้คนที่ดูแล้วและยังไม่ได้ดู ‘Inside out’ มารู้จักแอนนิเมชั่นมาแรงเรื่องนี้กันให้มาขึ้นกว่าเดิม

1. มีการทำรีเสิร์จขั้นเทพ
        กว่าจะออกมาเป็นเรื่องราวและอารมณ์ในหัวของเด็กสาววัยรุ่นอย่างในหนัง ทีมงาน Pixar ต้องเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางนักวิทยาศาสตร์ , นักประสาทวิทยา , นักจิตวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันกับการทำงานในสมองและพฤติกรรมของวัยรุ่น ก่อนจะถ่ายทอดออกมาเป็น ‘Inside out’ ให้เราได้ดูในที่สุด


2. จาก 27 ตัดออกเหลือแค่ 5 
        ระหว่างการระดมสมองของทีมงานแอนนิเมชั่นเรื่องนี้ พวกเขาได้คิดค้นและออกแบบตัวละครแทนอารมณ์ที่อยู่ในหัวของไรลี่ย์ไว้ถึง 27 แบบ ก่อนจะตัดให้เหลือแค่ 5แบบ อย่างในปัจจุบัน เพราะผู้กำกับอย่าง พีท ด็อคเตอร์ รู้สึกว่ามันแออัดมากเกินไปที่จะมีอารมณ์ถึง 27 แบบป้วนเปี้ยนอยู่ในหนัง(ยกตัวอย่างอารมณ์ที่ถูกตัดออก เช่น ความภาคภูมิใจ ความสุขบนความทุกข์ของคนอื่น)  ความหื่น(อันนี้ใส่เอง... ไม่น่าจะมีนะ?)


3. เหรียญอีกด้านของ Toy story
        หลายคนเอาหนังเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับแอนนิเมชั่นรุ่นบุกเบิกขั้นตำนานของค่ายอย่าง Toy story ว่าเป็นเหมือนเหรียญอีกด้านหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้ เพราะการเล่าถึงเรื่องราวของเด็กที่กำลังจะเติบโตสู่การเป็นวัยรุ่นเหมือนกัน Toy story คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภายนอกของวัยรุ่นที่โตเกินกว่าจะเล่นของเล่นได้อีกต่อไป ส่วน Inside out คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงภายในความคิดของเด็กวัยรุ่นว่าแตกต่างจากวัยเด็กก่อนหน้านี้อย่างไร และเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน จึงไม่น่าแปลกที่แอนนิเมชั่นน้องใหม่ล่าสุดเรื่องนี้จะทำรายได้ใกล้เคียงกับแอนนิเมชั่นรุ่นพี่แล้วในตอนนี้


4. เปิดตัวแรงแซง Avatar
        Avatar เป็นหนังต้นฉบับ (Original film) ที่เคยทำรายได้เปิดตัวสูงสุดไว้ที่ 77ล้านเหรียญในปี 2009 แต่ในปีนี้ ‘Inside out’ เปิดตัวด้วยรายได้ที่อเมริกาถึง 90.4ล้านเหรียญฯ ซึ่งถือเป็นหนังต้นฉบับ (Original film) ที่ทำรายได้เปิดตัวสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่หากนับรายได้เปิดตัวของแอนนิเมชั่นจากค่ายเดียวกัน Inside out ถือเป็นแอนนิเมชั่นเปิดตัวเป็นอันดับสอง เป็นรองเพียงแค่ Toy Story 3 ที่เปิดตัวด้วยรายได้ 110,3 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น แถมตอนนี้ Inside Out ก็ได้โกยรายได้จากทั่วโลกไปแล้วถึง 637ล้านเหรียญ จากทุนสร้างเพียงแค่ 175ล้านเหรียญ 


5. มอบรางวัลออสการ์สาขาแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมให้ตอนนี้เลยก็ไม่มีใครว่า
        นักวิจารณ์แทบทุกคนลงความเห็นว่าออสการ์สาขาแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมในปีหน้าคงเป็นการต่อสู้กันเองระหว่างแอนนิเมชั่นค่าย Pixar อย่าง Inside out  กับ The Good Dinosaur เพราะไม่เห็นว่าจะมีเรื่องใดเข้ามาเบียดแย่งตำแหน่งไปจากสองเรื่องนี้ได้เลย ส่วนคะแนนวิจารณ์จากเว็บไซด์ชื่อดังทั้ง มะเขือเทศเน่า (Rottentomatoes) กับ Metacritics ก็ให้คะแนนสูงถึง 98% และ 94% เรียกได้ว่าทั่วทั้งโลกนี้หาคนที่ไม่ชอบแอนนิเมชั่นเรื่องนี้ได้น้อยมากจริงๆ


6. จริงๆแล้ว Inside out ควรเป็น แอนนิเมชั่นลำดับที่ 16 ของ Pixar
        เป็นที่ทราบกันดีว่า Inside out เป็น แอนนิเมชั่นเรื่องที่ 15 ของ Pixar นับตั้งแต่ Toy story ภาคแรกออกฉายในปี 1995 แต่ความจริงแล้วก่อนหน้านี้  The Good Dinosaur มีกำหนดเข้าฉายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2014 แต่ด้วยความที่ดิสนีย์ได้ปรับวันฉายหนังในเครือครั้งใหญ่บวกกับการปลด บ็อบ ปีเตอร์สัน ออกจากตำแหน่งผู้กำกับ ทำให้ The Good Dinosaur ต้องเลื่อนฉายมาในวัน thanksgiving หรือวันที่ 25 พฤศจิกายน ในปีนี้แทน จึงทำให้ในปีที่แล้วกลายเป็นปีที่ไม่มีแอนนิเมชั่นจาก Pixar ออกสู่สายตาชาวโลกเลย หลังจากที่ทำสถิติปล่อยแอนนิเมชั่นออกมาทุกปีนับตั้งแต่ปี 2005

7. Lava แอนนิเมชั่นอุ่นเครื่องที่จะทำให้คุณน้ำตาไหล
        Lava เป็นผู้กำกับคนละคนกับคนที่กำกับ Inside out ชื่อของเขาคือ เจมส์ ฟอร์ด เมอร์ฟี่ย์ เขาได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างแอนนิเมชั่นความยาว 7 นาทีนี้มาจากเพลงสุดคลาสสิกอย่าง Somewhere Over the Rainbow และ What a Wonderful World โดยให้เหตุผลที่เลือกใช้ Lava เพราะว่ามันเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า Love ดังเช่นเนื้อร้องตอนจบที่ร้องว่า I Lava You นั้นเอง

และ ถ้าใครที่ยังไม่เคยฟังเพลงประกอบสุดน่ารัก ขอเชิญรับฟังได้เลยครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก  japclub.comMovies For Youmanager.co.thboxofficemojo.commajorcineplex.commthai.comjediyuth.comnpr.org