เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เอาตัวรอดใน app jp lingsomusomu
06 : ทำไมมีแพทย์หญิง แล้วไม่มีแพทย์ชาย ?
  • สวัสดีค่ะทุกคนน <3

    วันนี้ส้มก็กลับมาพร้อมกับคอนเทนต์ที่น่าสนุก (?) อีกแล้วนะคะ
    อาจจะเร็วกว่ากำหนดไปสักหน่อย เพราะตอนแรกกะว่าจะอัพวีคละ 1 ตอน
    แต่พอดีว่ามันเกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นมาน่ะสิคะ ?
    ก็เลยคิดว่าไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ใช้เวลาตอนตี 4 ที่สมองกำลังแล่นพอดี มาเขียนบล็อกเลยแล้วกัน!
    (เพื่อน ๆ ไม่ต้องเป็นห่วงนะคะ เรานอนไม่หลับไม่ใช่เพราะเป็นโรคอะไร
    แต่เพราะเมื่อ 2 ทุุ่มเพิ่งนอนไปค่ะ แหะ ๆ ?)

    จริง ๆ ที่อยากรีบเขียนโพสต์นี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนอนไม่หลับ
    แต่อีกส่วนนึงเป็นเพราะว่าหัวข้อที่เราจะพูดถึงวันนี้ เป็นหัวข้อที่เรารู้สึกสนุกและสนใจมาก จนอยากรีบมาเขียนก่อนอารมณ์ตัวเองจะจางลงไปค่ะ! 

    แต่ ! ก่อนจะเข้าเรื่อง
    อยากถามทุกคนว่า มีใครเคยสังเกตไหมคะว่า
    ทำไม ? มี "แพทย์หญิง" แล้วไม่มี "แพทย์ชาย"
    ทำไม ? เราเรียกพยาบาลผู้ชายว่า "บุรุษพยาบาล" แต่เรียกพยาบาลผู้หญิงแค่คำว่า "พยาบาล"
    คำตอบของเรื่องนี้อยู่ในบล็อกนี้แล้วค่ะ!

    ทฤษฎีที่สามารถอธิบายปรากฎการณ์นี้ได้ก็คือ

    ทฤษฎี markness (marked) /unmarkness (unmarked) 
    หรือภาษาไทยที่แปลว่า ความเด่น/ความไม่เด่น นั่นเองค่ะ

    อธิบายนี้เป็นภาษาคนง่าย ๆ เลยก็คือ
    ปกติแล้วคนเราจะมีสิ่งที่เรียกว่า default ที่กำหนดอิมเมจของสิ่งต่าง ๆ อยู่ในภาษาตัวเองค่ะ
    เวลาเราพูดว่า หมอ/แพทย์ ภาพแรกที่เด้งเข้ามาในหัวของผู้ใช้ภาษาไทยก็น่าจะเป็น 'ผู้ชาย' ใช่ไหมคะ ดังนั้นเราจึงต้องเติมคำว่า แพทย์หญิง เข้าไปเพื่อให้เกิดความไม่ปกติ เหมือนเพิ่มการรับรู้พิเศษเข้าไปนั่นเองค่ะ

    เช่น คำว่า 'เนื้อ' ที่คนไทยจะเข้าใจตรงกันว่า เนื้อ=เนื้อวัว 
    สิ่งที่เราไม่ต้องพูดก็เข้าใจตรงกันนี้ จะเรียกว่า unmarked ค่ะ
    แต่ ! ถ้าเราจะพูดถึงเนื้ออื่น ๆ เราก็ต้องเพิ่มคำว่า 'เนื้อหมู' 'เนื้อไก่' 'เนื้อปลา' เข้าไป
    เราจะเรียกการเพิ่มเข้าไปนี้ว่า marked ค่ะ

    ดังนั้น จากคำถามด้านต้น แสดงว่า
    แพทย์ คือ unmarked และ แพทย์หญิง คือ marked 
    พยาบาล คือ unmarked และ บุรุษพยาบาล คือ marked 
    นั่นเองค่ะ

    ส่วนตัวรู้สึกว้าวจนเผลอยกมือขึ้นมาปิดปากตอนได้เรียนหัวข้อนี้เลยล่ะค่ะ 55555555
    แบบว่า 'ทำไมเรื่องใกล้ตัวเราแค่นี้เราถึงไม่เคยสังเกตเลยนะ?'

    แต่แต่แต่ ! ความว้าวมันยังไม่จบแค่นี้ค่ะ
    ความน่าสนุกต่อมาของเรื่องนี้มันอยู่ตรงที่

    'ผู้ใช้ภาษาแต่ละภาษามีการรับรู้ที่ต่างกันค่ะ' 

    ยกตัวอย่างเลยก็เช่น 

    1. เนื้อ ที่เราพูดถึงไปด้านบน
    คนไทยอาจจะมี default มาในหัวว่า เนื้อ=เนื้อวัว
    แต่คนญี่ปุ่นกลับไม่ได้มี default แบบนั้นน่ะสิคะ
    กลับกันถ้าเราไปบอกแค่ว่า 肉(にく)เขาก็อาจจะทำหน้างงใส่ว่า 'ก็มันเนื้ออะไรล่ะ?'
    ภาษาญี่ปุ่นจึงต้องมีคำว่า 牛肉(ぎゅうにく, เนื้อวัว) นั่นเองค่ะ
    นั่นแสดงว่า 
    คนไทย unmarked = เนื้อ (=เนื้อวัว)
        marked = เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา ฯลฯ
    คนญี่ปุ่น unmarked = ไม่มี
          marked = 肉(เนื้อวัว)、肉(เนื้อไก่)、肉(เนื้อหมู)、肉(เนื้อปลา) ฯลฯ
    นั่นเองค่ะ

    2. 'ชา'
    คนไทยส่วนใหญ่อาจจะนึกถึง 'ชาสีน้ำตาล' 
    ดังนั้น เวลาเราต้องการพูดถึงชาสีเขียว เราจึงต้องเพิ่มคำเข้าไปว่า 'ชาเขียว' นั่นเองค่ะ
    ในทางตรงกันข้าม คนญี่ปุ่น เวลาพูดว่า お茶(おちゃ, ชา)ในหัวจะกลับนึกถึง ชาสีเขียว
    ดังนั้น เวลาต้องการจะพูดถึงชาสีน้ำตาล เขาจึงต้องมีคำว่า 紅茶(こうちゃ)ชาตะวันตก
    ซึ่งตัว 紅 จะมีความหมายว่าสีแดงเข้ม นั่นเองค่ะ
    นั่นแสดงว่า 
    คนไทย unmarked = ชา (=ชาสีน้ำตาล)    
                 marked = ชาเขียว 
    คนญี่ปุ่น unmarked = お茶 (=ชาสีเขียว)      
                  marked = 茶 (=ชาสีน้ำตาล) 
    นั่นเองค่ะ

    จริง ๆ ถ้าอยากพิสูจน์เรื่องนี้แบบง่าย ๆ 
    ทุกคนก็สามารถลองพิมพ์คำว่า 'ชา' เข้าไปในกูเกิ้ล แล้วลองเปิดแท็ปรูปขึ้นมา จะพบดังนี้ค่ะ


    แต่ถ้าหากพิมพ์คำว่า 'お茶' เข้าไปก็จะพบว่า...


    เอ่อ แค่มองโทนสีผ่าน ๆ ก็รู้ได้ถึงความแตกต่างเลยจริงไหมคะ5555555555?
    จริง ๆ เรื่องคำว่า 'ชา' ในภาษาญี่ปุ่นเนี่ย ตอนเริ่มเรียนแรก ๆ เราก็สงสัยเหมือนกันนะคะ 
    ว่าทำไมต้องมีคำว่า 紅茶 ชาตะวันตก เพราะถ้าพูดเป็นภาษาไทยมันจะแปลกมาก ๆ ค่ะ
    เช่น 'พี่คะ ขอชาตะวันตกค่ะ' แปลกจนแบบ ?-? 5555555555 
    แต่พอได้เรียนเรื่องนี้ก็ได้รู้ที่มาที่ไปของคำนี้ ก็รู้สึกว่า 

    "อืมๆ ทุกอย่างมันมีเหตุผลของมันแหละเนอะ"

    แค่เราลองหาคำตอบให้มัน สิ่งใกล้ ๆ ตัวก็อาจจะกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้นมาทันทีเลยค่ะ!


    เรื่อง marked/unmarked นี้ ดูเผิน ๆ อาจจะไม่มีอะไร เป็นสิ่งที่รู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้
    แต่จริง ๆ เราสามารถหยิบจับประเด็นนี้ขึ้นมาอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้อีกมากมายเลยนะคะ
    ก็สามารถหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาอธิบายต่อได้เช่นกันค่ะ 

    ถ้าใครสนใจว่ามันสามารถเอามาอธิบายเรื่องนี้ได้ยังไง 
    รออีกสักแปปนะคะ เราจะมาเขียนเรื่องนี้ให้ได้อ่านกันในตอนหน้าแน่นอนค่า ?
    (จริง ๆ อยากเขียนในนี้ต่อเลย แต่ผู้อ่านน่าจะเหนื่อยกันพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ?)

    สำหรับวันนี้ก็ ขอบคุณที่อ่านกันมาจนถึงตอนนี้นะคะ 
    หวังว่าจะได้รับความรู้และเอนจอยไปกับการอ่านบล็อกของเราค่ะ

    -somusomu-





เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
iinkkiko (@iinkkiko)
เรื่องนี้เป็นคำในชีวิตประจำวันของเราแต่พอได้มารู้แบบนี้ก็ว้าวจริงค่ะ เขียนได้เข้าใจง่ายมากเลยค่า อ่านเพลินมาก รออ่านตอนต่อไปนะค้า
Nozomi Ymd (@fb2864022327020)
เรื่อง marked/unmarked ที่เป็นคำศัพท์ น่าสนใจใช่ไหมครับ
ส่วนใหญ่เกี่ยงข้องกับวัฒนธรรม เพราะฉะนั้น โลกเปลี่ยนแล้ว คำก็เปลี่ยน เช่น

(เมื่อก่อน)
電話 (unmarked) = โทรศัพท์บ้าน
携帯電話 (marked) = โทรศัพท์มือถือ

(เมื่อก่อน)
固定電話 (marked) = โทรศัพท์บ้าน
電話 (unmarked) = โทรศัพท์มือถือ (แต่เรียก 携帯 スマホ มากกว่า)

ภาษาไทยมีอะไรบ้างครับ
k.l.k (@k.l.k)
ว้ายยยย อยากอ่านต่อแล้ว... (อัพ blog สม่ำเสมอและบ่อยดีมากๆค่ะ)
Naomi (@fb1561813140636)
เรื่องนี้น่าสนใจมากจริงงงง เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่เคยรู้สึกตัวสังเกตมาก่อนเลยเหมือนกัน เขียนออกมาได้เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ มีภาพประกอบมาด้วยยิ่งนึกภาพตามได้ง่ายเลยยยย☺️