เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เอาตัวรอดใน app jp lingsomusomu
02 : ภาษาญี่ปุ่น ภาษาคำนาม? (1)
  • สวัสดีค่า ส้มเองค่ะ :)
    เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว(นานมาก?) ตอนไปเที่ยวญี่ปุ่น ได้ไปบังเอิญเห็นป้ายตามทางที่เขียนว่า

    คันจิตัว「禁煙」
    ตอนนั้นส่วนตัวก็พอจะเดาความหมายได้บ้าง คือ
    禁 จาก 止(きんし)ที่แปลว่า การห้าม
    煙 จาก 喫(きつえん)ที่แปลว่า การสูบบุหรี่
    ดังนั้นรวม ๆ กันน่าจะแปลว่า 'ห้ามสูบบุหรี่' 
    อ๋อ ๆ ก็เข้าใจดีหนิ

    แต่ ! แว็บหนึ่งมันก็มีคำถามขึ้นมาว่า 

    'ทำไมไม่ใช้ タバコを吸うな ที่เป็นรูปคำสั่งล่ะ?'
    ตอนนั้นก็เคยเรียนกับ 先生 มาอย่างดีว่า 'การผันรูปคำสั่ง verb กลุ่ม 1 รูป Dic เติม な'
    ดังนั้น ห้ามสูบบุหรี่ ก็ต้องเป็น タバコを吸う+な สิ

    งงเป็นไก่ตาแตกไปเลยว่า "อ่าว มันไม่เหมือนกับที่เราเรียนมาอ่ะ?"
    แล้วสุดท้ายก็คิดคำตอบแบบมั่ว ๆ ขึ้นมาเองว่า "อ๋อ คงจะเน้นให้คำสั้นกระชับแหละ" 
    แล้วก็ปล่อยเลยตามเลยเพราะตอนนั้นถือคติ 'เรียนภาษาอย่าสงสัย' ที่ตัวเองท่องมาตลอด 

    จริง ๆ คำตอบที่ตัวเองคิดมามั่ว ๆ ก็อาจจะถูกส่วนหนึ่งแหละค่ะ ว่าต้องการความกระชับ คันจิสองตัวก็สื่อความหมายมากพอแล้ว
    แต่พอมาเรียนจริง ๆ ในวิชา App Jp Ling อาจารย์ก็ได้พูดถึงเรื่อง

    'ภาษาไทยเป็นภาษาเน้นคำกริยา ส่วนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเน้นคำนาม'

    ทั้งนี้ สามารถสังเกตได้จากตัวอย่างง่าย ๆ ที่เรายกมาเลยค่ะ
    禁煙 แน่นอนว่าเป็นคำนาม 
    แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยเรากลับแปลออกมาว่า
    ห้ามสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นคำกริยานำหน้า (ถ้าแปลออกมาว่า การห้ามสูบบุหรี่ คงจะแปลกน่าดู?)

    พอเราสังเกตถึงข้อนี้แล้ว ก็จะเห็นตัวอย่างตามมาอีกเต็มไปหมด 
    เช่น เคยได้ยินในอนิเมะมีการใช้คำว่า 準備中、考え中 แทน 準備している 、考えている 
    หรือแม้แต่สิ่งที่เรียกว่า うなぎ文

    うなぎ文 คืออะไร? ประโยคปลาไหลเหรอ?
    จริง ๆ มันคือชื่อเรียกประโยคที่ภาคแสดงเป็นคำนาม ซึ่งมีปรากฎอยู่มากในภาษาญี่ปุ่นค่ะ
    เช่น「私はうなぎです」ประโยคนี้ไม่ได้แปลว่า 'ฉันคือปลาไหล' แต่อย่างใด 
    แต่แปลว่า 'ฉันเอาข้าวหน้าปลาไหล' ต่างหากค่ะ 
    ซึ่งจะสังเกตได้ว่า เวลาแปลญี่ปุ่นเป็นไทย มักจะต้องใส่คำกริยาเข้าไปเพื่อเสริมความหมาย ไม่งั้นความหมายจะไม่สื่อออกมา นั่นก็เพราะ 'ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเน้นคำนาม' ค่ะ
    ตัวอย่างประโยคอื่น ๆ เช่น「私はコーヒーです」ก็ถือว่าเป็น うなぎ文 เช่นกันค่ะ

    แต่จริง ๆ แล้วทฤษฎีที่ว่า ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเน้นคำนามก็ยังไม่ได้มีคนฟันธง 100% นะคะ 
    เพราะนักวิชาการบางท่านก็ลองเอาไปเทียบกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่เน้นคำนามอย่างเห็นได้ชัด กลับมีความเห็นออกมาว่า 'ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเน้นกริยาต่างหาก'
    ตัวอย่างเช่น
    'There is a little apple juice in the refrigerator'
    ถ้าแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตรงตัวก็จะได้ว่า
    △冷蔵庫の中に少しのりんごジュースがあるよ。ซึ่งแปลกมาก
    ที่ถูกต้องและเป็นธรรมชาติจริง ๆ คือ
    ◯冷蔵庫の中にりんごジュースが少し残っているよ。ซึ่งเป็นการเพิ่มคำกริยาเข้ามามากกว่า

    (ตัวอย่างจาก 石黒[Ishiguro] 2007:54)

    และมีตัวอย่างอื่น ๆ อีกที่ผลออกมาในลักษณะเดียวกัน ทำให้ยังไม่สามารถสรุปได้อย่าง 100% ว่า
    'จริง ๆ แล้วภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่เน้นคำนามหรือเน้นกริยากันแน่?'
    ก็คงจะต้องศึกษากันต่อไป และน่าจะมีข้อถกเถียงออกมาให้เราศึกษากันอีกเยอะเลยค่ะ (ตื่นเต้น?)

    ส่วนตัวแล้วส้มอยู่ทีม #ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเน้นคำนาม ค่ะ? 
    เพราะจากที่สังเกตมา ทั้งในอนิเมะหรือเวลาคนญี่ปุ่นพูดก็ดูจะใช้คำนามเยอะเป็นพิเศษ 
    ซึ่งส่วนตัวคิดว่าเป็นประโยชน์มาก ถ้าเราจับจุดนี้มาปรับกับวิธีพูดของเราได้
    ก็อาจจะเป็น 第一歩 ที่จะทำให้เราสามารถพูดได้เหมือน Native Speaker มากขึ้นด้วยค่ะ

    จริง ๆ เคยมีประสบการณ์ที่ทำให้คิดว่าภาษาญี่ปุ่นเน้นคำนามอื่น ๆ อยู่อีก
    แต่เดี๋ยวโพสต์จะยาวเกินไป ไว้ว่าง ๆ จะมาเขียนตัวอย่างที่ตัวเองเจอกับตัวในโพสต์หน้านะคะ 

    เย้ ขอบคุณที่อ่านโพสต์อันยาวเหยียดมาถึงตรงนี้นะคะ 
    หวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์ให้คนขี้สงสัยแบบเราไม่มากก็น้อยค่ะ?
    เจอกันโพสต์หน้าค่ะ :)
    -somusomu-




เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
kumagumi (@kumagumi)
เขียนได้ดีสนุกมากเลยค่ะ ชอบที่มีตัวอย่างประกอบทำให้เห็นภาพชัดขึ้น จริง ๆ ตอนเห็นป้ายภาษาญี่ปุ่นเราก็เคยสงสัยเหมือนกันค่ะ แต่ก็ปล่อยผ่านไปเพราะไม่รู้5555
dearimese (@dearimese)
อ่านแล้วสนุกมากค่ะ +เห็นด้วยว่าเป็นภาษาที่เน้นคำนาม เวลาแปลต้องทำให้เป็นกรอยาบ่อยมากค่ะ555