เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เอาตัวรอดใน app jp lingsomusomu
03 : ภาษาญี่ปุ่น ภาษาคำนาม? (2)
  • สวัสดีค่ะ ส้มเองค่ะ :))
    เนื่องจากโพสต์ที่แล้ว ส้มได้พูดถึงไอเดียเรื่อง 'ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่เน้นคำนาม' และตัวเองก็อยู่ทีมนี้ วันนี้เลยอยากจะมาเล่าถึงประสบการณ์ตรงที่ทำให้ตัวเองค่อนข้างเอนไปในทางนั้นค่ะ

    *คำเตือน : คอนเทนท์นี้อาจมีคำหยาบบ้างประปราย เนื่องจากเป็นการคุยระหว่างเพื่อนค่ะ*
    .
    .
    .
    .
    .
    ใช่ค่ะ555555555 ประโยค 'แฟนขับรถมาที่บ้านฉัน' เป็นประโยคที่แสนจะธรรมดา แต่เราที่เรียนเอกภาษาญี่ปุ่นกลับใช้เวลาคิดอยู่นานมาก เพราะไม่รู้จะแปลเก็บบริบทให้ครบถ้วนยังไงดี เลยไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนในกลุ่มต่อค่ะ (วาระแห่งชาติมาก?)

    ผลก็คือ ไม่มีใครตอบได้เลยค่ะ ถึงตอบได้แต่ทุกคนก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองเก็บบริบทครบถ้วนไหม
    ก็เลยได้ข้อสรุปว่า...
    จบลงด้วยความงง แล้วก็ปล่อยเลยตามเลยแบบเดิมตามสไตล์ของเราค่ะ ?

    แต่พอมาเจอหัวข้อ 'ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเน้นคำนาม' สถานการณ์นี้ก็เด้งกลับมาในหัวทันที 
    และเมื่อนำมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์นี้ ก็เกิดอาการอ๋อขึ้นมาทันทีเลยค่ะ

    ย้อนกลับไปตั้งแต่ที่เราเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานกันมา สมัย minna no nihongo เล่ม 1 
     เป็นคำช่วยที่เอาไว้ใช้บอก 'วิธีการ เครื่องมือ พาหนะ' 
    ดังนั้นประโยค 彼氏は車で私の家に来た ถ้าแปลตรง ๆ ตามประโยคญี่ปุ่นก็จะแปลว่า 
    'แฟนมาบ้านฉันโดยรถยนต์' เพราะรถยนต์เป็นพาหนะ ซึ่งฟัง ๆ แล้วดูไม่เป็นธรรมชาติเอาซะเลยค่ะ
    แต่ถ้าแปลไทย-ไทยอีกรอบให้เป็นธรรมชาติ น่าจะแปลว่า 'แฟนขับรถมาบ้านฉัน' มากกว่า

    เพื่อน ๆ พอจะเห็นอะไรไหมคะ?
    ส่วนตัวแล้วคิดว่า ภาษาไทย เวลาแปลออกมาเหมือนจะต้องเพิ่มบริบทของคำกริยาเข้าไป 
    เช่น ตัวอย่างข้างต้น เราก็ต้องเพิ่มกริยาคำว่า 'ขับ' เข้าไปเพื่อความลื่นไหลและเป็นธรรมชาติของประโยคค่ะ แต่ในทางตรงกันข้าม ภาษาญี่ปุ่นกลับใช้ Noun+で ก็สื่อความหมายออกมาได้แล้ว

    หรือตัวอย่างอื่น ๆ เช่น 
    私は箸でご飯を食べます
    △ฉันกินข้าวโดยตะเกียบ
    ◯ฉันใช้ตะเกียบกินข้าว
    私はタクシーでうちへ帰りました (จากหนังสือ minna no nihongo 1)
    △ฉันกลับบ้านโดยแท็กซี่
    ◯ฉันขึ้นแท็กซี่กลับบ้าน

    ถามว่าถ้าจะแปลตรง ๆ ได้ไหม? ส่วนตัวคิดว่ามันก็สื่อสารกันรู้เรื่องอยู่ค่ะ แต่มันไม่ลื่นหูเท่าไหร่?

    ดังนั้นด้วยข้อสังเกตนี้ เราจึงค่อนข้างเอนและสนับสนุนไปในทางว่า 
    'ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่เน้นคำนาม' นั่นเองค่ะ

    จริง ๆ ตอนเพื่อนให้แปลประโยคนี้ครั้งแรกก็ไม่ได้คิดว่ามันจะสามารถเอามาเชื่อมโยงการเรียนอะไรได้เลยค่ะ แต่กลายเป็นว่าสถานการณ์ผ่าน ๆ อันนั้น กลับทำให้เรามานั่งคิดนั่งหาเหตุผล เพิ่มความเข้าใจให้ตัวเองเฉยเลยค่ะ ?

    แล้วทุกคนคิดยังไงกันบ้างคะ 
    อยู่ทีม #ภาษาญี่ปุ่นเน้นคำนาม หรือ #ภาษาญี่ปุ่นเน้นกริยา กันคะ
    ผิดถูกยังไงมาแชร์ให้ฟังกันก็จะดีใจมากเลยค่ะ?

    ขอบคุณที่ติดตามอ่านมาจนถึงตรงนี้ค่ะ :)
    -somusomu-





เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
padumpalm (@padumpalm)
ชอบตัวอย่างนี้มากเลยค่ะ ทำให้เห็นภาพมาก 55555 สำหรับเราที่เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วย คิดว่าคงอีกไกลเลยค่ะที่จะเป็น translator ที่เก็บทุกบริบทมาได้ การแปลภาษาไม่ใช่แค่การแทนคำลงไปจริงๆค่ะ ต้องคิดไปหลายสเต็ปมากเลย ลักษณะของประโยคในภาษานั้นเองก็เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลยค่ะ
clinomaniac (@clinomaniac)
เขียนเรียงเรียงดีมากเลยค่ะ กระชับอ่านง่ายมากๆ เราเองตอนเรียนก็ไม่ได้คิดอะไรมาก เลยไม่ได้ฉุกคิดเลยว่าภาษาญี่ปุ่นมันเน้นคำนาม แต่ไทนเน้นคำกริยา ในการแปลเลยต้องคำนึงถึงบริบทภาษานั้นๆมากๆ จะแปลมาตรงๆเลยไม่ได้ มันก็จะแปลก ตอนแรกที่เห็นประโยค "แฟนขับรถมาบ้านฉัน" แล้วแปลออกมาก็รู้สึกงงๆเหมือนเราเก็บบริบทไม่ครบจริงๆค่ะ555 แต่พออ่านก็สังเกตขึ้นมาได้ว่า อ่ออ มันคือความต่างของภาษานี้เอง
k.l.k (@k.l.k)
อ่านสองตอน สนุกมากค่ะ แบ่งเป็นสองตอนอ่านง่าย ชอบที่นำตัวอย่างที่เจอจริงมาคิดต่อ และตกผลึกว่าอยู่ทีม ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาเน้นคำนาม... ชอบตัวอย่างมาก ใช้ตะเกียบ = 箸で  ดีมากเลยค่ะ
oriental_tomato (@oriental_tomato)
เขียนและเรียบเรียงดีมากเลยค่ะ อ่านเพลินมาก
เรื่องความแตกต่างระหว่างภาษาไทยกับญี่ปุ่น พอใช้แยกกันก็ไม่ค่อยสังเกต แต่พอเอามาเทียบกันถึงได้รู้ว่ามันต่างกันมาก ๆ โดยเฉพาะที่ภาษาไทยชอบเอากริยามาขยายกริยาเพิ่ม เป็นจุดที่เวลาแปลญี่ปุ่นเป็นไทย หรือไทยเป็นญี่ปุ่น ต้องคำนึงดี ๆ เลย ไม่งั้นคำแปลจะออกมาไม่ธรรมชาติมาก ๆ
Naomi (@fb1561813140636)
เรียบเรียงออกมากระชับน่าสนใจมากตั้งแต่ตอนที่ 1 เลยค่ะ ต้องรีบคลิกมาอ่านตอน 2 ต่ออย่างรวดเร็ว จริงเหมือนกันนะคะ ภาษาญี่ปุ่นที่เราเรียน ๆ กันมาพวกเราก็ใช้กันจนชินจนไม่เคยได้สังเกตเลยว่าภาษาญี่ปุ่นเน้นคำนามมากกว่า ส่วนภาษาไทยจะเน้นคำกริยามากกว่า พึ่งจะมาได้สังเกตก็ตอนนี้นี่แหละคะ555555