เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เอาตัวรอดใน app jp lingsomusomu
05 : หรือ 可愛い จะไม่ได้เท่ากับ "น่ารัก" เสมอไป?
  • สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกคน ;-)

    ต่อเนื่องมาจากโพสต์ที่แล้ว เราได้พูดถึงเรื่องที่มาที่ไปของตัวคันจิ 可愛い ไปแล้วใช่ไหมคะ
    ในโพสต์นี้ เราจะมาดูถึงที่มาของคำว่า 可愛い กันต่อค่ะ!

    ถ้าทุกคนอ่านจากโพสต์ที่แล้วเราจะมีช่วงหนึ่งที่เขียนตัวอักษรสีเทา ๆ จาง ๆ เอาไว้ว่า

    "หรือจริง ๆ 可愛い ไม่ได้แปลว่าน่ารักกันนะ"

    ใช่ค่ะ หัวข้อในวันนี้ก็คือ "ความหมายของคำว่า 可愛い"
     
    เรื่องของเรื่องก็คือ เราได้ไปอ่านงานวิจัยของคนญี่ปุ่นท่านหนึ่งคือ...

    石川 なつ美 ในหัวข้อ「可愛いの意味について」

    แล้วเราก็ได้ไปเจอเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ มาหลายประเด็นด้วยกัน 
    เลยอยากนำมาสรุปให้เพื่อน ๆ ฟังในวันนี้ค่ะ 
    (อาจจะไม่ได้คลอบคลุมทั้งตัวบทวิจัยนะคะ แปลไม่ไหวจริง ๆ TT)

    ประเด็นที่ 1 かわいい VS かわいそう
    จริง ๆ อาจจะมีคนสังเกตอยู่บ้างแล้วว่า 
    かわいい ที่แปลว่าน่ารัก กับ かわいそう ที่แปลว่าน่าสงสาร 
    ทำไมมันถึงเหมือนกันขนาดนี้??

    ในงานวิจัยนี้ก็ได้กล่าวไว้ว่า สองคำนี้มันมีที่มาที่ไปเดียวกันอยู่ค่ะ

    แต่เดิมแล้ว คำว่า かわいい 
    มีความหมายเดิมว่า かわいそうだ(น่าสงสาร) 哀れだ(น่าสงสาร น่าเวทนา) ค่ะ

    แต่ต่อมาเมื่อประมาณปี 2000 ก็ได้เกิดศัพท์คำว่า 
    きもかわ หรือเต็ม ๆ ก็คือ 気持ち悪いのにかわいい (หยะแหยงแต่น่ารัก)
    ブサかわ หรือก็คือ ブサイクなのにかわいい (ขี้เหร่แต่ก็น่ารัก)
    ถ้าจะให้นึกภาพก็น่าจะประมาณนี้ (?)
    ซึี่งที่มาของการเกิดคำศัพท์ที่มีความหมายขัดแย้งกันในตัวเองขึ้นมานี้ก็คือ

    "สิ่ง ๆ นั้นมันน่าเกลียด ทำให้ถูกกีดกัน จนเกิดความสงสาร เห็นอกเห็นใจ"

    ทั้งนี้ก็อาจจะเห็นได้จากการที่คนญี่ปุ่นทั่วไปมีการรับรู้ว่า

    "ภาพลักษณ์ที่ไร้กำลัง ต้องการการปกป้อง = สิ่งที่น่ารัก"

    ดังนั้น คำว่า かわいい บางทีก็จะมี sense ของความ「ふびんだ(น่าสงสาร)」อยู่ด้วย
    ทำให้บางทีเวลาแปลคำว่า かわいい จากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาอื่น ก็อาจจะต้องดูบริบทแวดล้อมประกอบกับการแปลไปด้วย เพื่อเก็บความหมายให้ครบและไม่เพี้ยนนั่นเองค่ะ

    ประเด็นที่ 2 かわいい!จริงหรือจ้อ?
    かわいい!かわいいよね!
    เรียกได้ว่าได้ยินคำพวกนี้บ่อยจนคิดว่าเป็นคำติดปากของคนญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ค่ะ?
    แล้วทุกคนคิดว่า ทุกครั้งที่คนญี่ปุ่นพูดเขาคิดแบบนั้นจริง ๆ ทุกครั้งหรือเปล่าคะ?
    ในวิจัยนี้ก็ได้กล่าวถึงการทดลองหนึ่งที่สามารถตอบคำถามนี้ได้ดีค่ะ

    ในการทดลองนี้ 
    ฝ่ายตรงข้ามจะพูดชมสิ่งสิ่งหนึ่งว่า「かわいいですよね」แล้วจึงให้ผู้ทดลองโต้ตอบกลับไป

    โดยได้แบ่งการทดลองออกเป็น 2 ครั้ง
    ครั้งที่ 1 ให้พูดสนทนาได้อย่างอิสระ
    ครั้งที่ 2 ให้พูดสนทนาโดยห้ามใช้คำว่า かわいい

    ผลก็คือ...
    ในการทดลองครั้งที่ 1 
    ผู้ทดลองส่วนใหญ่ก็จะตอบกลับมาว่า「かわいい」
    ในการทดลองครั้งที่ 2 
    ผู้ทดลองทุกกลุ่มเลือกที่เงียบไม่พูดอะไร หรือหัวเราะกลบเกลื่อน 

    ภายหลังการทดลองก็ได้มีการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมต่อ ได้ความว่า

    "เมื่อได้ยินคำชมว่า かわいいよね ในการสนทนาแล้ว ก็จะตอบกลับไปว่า かわいい ถึงแม้ตัวเองจะไม่ได้คิดว่าสิ่งนั้นน่ารักก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ว่า อีกฝ่ายน่าจะดีใจ(相手が喜ぶからだ)หรือเป็นการทำให้สถานการณ์ไม่กร่อย(場が盛り上がるからだ)"

    "「本当に思っていることではなくても言いやすい言葉」
    かわいい เป็นคำที่พูดออกไปได้ง่าย ถึงแม้จะไม่ได้คิดแบบนั้นจริง ๆ 
    「『かわいい』という語を禁止された際、
    どう言葉を使えばいいのか分からなくて言葉が出なくなってしまった」
    ตอนที่ถูกห้ามไม่ให้พูดคำว่า かわいい ก็ไม่รู้จะใช้คำไหน เลยกลายเป็นพูดอะไรออกไปไม่ได้เลย"


    จริง ๆ อ่าน ๆ ไปก็เริ่มกลัวเหมือนกันนะคะเนี่ย 
    ว่าสรุปเวลาคนญี่ปุ่นพูดว่า かわいい มันแปลว่า かわいい จริง ๆ หรือเปล่า 
    ต่อไปเวลาได้ยินคำนี้คงจะตีลังกาคิด 10 ตลบก่อนแล้วค่อยตอบแน่ ๆ เลยค่ะ ?

    แต่อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนอ่านเอาบันเทิงเป็นความรู้เสริมความเข้าใจนิด ๆ หน่อย ๆ 
    ไม่อยากให้เอาไปยึดติดกับมันมาก จนไม่กล้าพูดออกไปนะคะ ?
    เพราะอย่างไรก็ตาม ความกล้าที่จะผิดและเรียนรู้ ก็สำคัญสำหรับผู้เรียนภาษามากที่สุดค่ะ ??

    เอาเป็นว่า สำหรับวันนี้ก็ขอไปนอนกลิ้งพักก่อนนะคะ
    สารภาพว่าโพสต์นี้เป็นโพสต์ที่ดูดพลังมากเลยค่ะ?
    ทั้งอ่านทั้งพิมพ์ ใช้เวลานานมากเลย 

    หวังว่าจะชอบกันค่ะ ❤️
    また来週 (?)

    -somusomu-

    อ้างอิง : 
    石川なつ美(2015)「かわいいの意味について」『東京女子大学言語文化研究』
     第 24 号, pp.21-35

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
dearimese (@dearimese)
ดีมากเลยค่ะ ชอบตรงพูดถึงงานวิจัยด้วย จริงๆก็แอบรู้สึกว่าคล้ายๆกับคำว่าน่ารักของคนไทยเหมือนกัน ที่ใช้ในความหมายค่อนข้างกว้างแล้วบางทีอาจจะไม่ได้ตรงกับคำนิยามของเขาว่า น่ารัก ซะทีเดียว
dearimese (@dearimese)
ดีมากเลยค่ะ ชอบตรงพูดถึงงานวิจัยด้วย จริงๆก็แอบรู้สึกว่าคล้ายๆกับคำว่าน่ารักของคนไทยเหมือนกัน ที่ใช้ในความหมายค่อนข้างกว้างแล้วบางทีอาจจะไม่ได้ตรงกับคำนิยามของเขาว่า น่ารัก ซะทีเดียว
k.l.k (@k.l.k)
へえ、、、เวลาได้ยิน かわいい ต้องนึกถึงบทความนี้....
somusomu (@somusomu)
@k.l.k ขอบคุณมากเลยค่ะ55555555555