เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เอาตัวรอดใน app jp lingsomusomu
07 : ปฏิเสธที่ไม่ใช่แค่ปฏิเสธ
  • สวัสดีค่า :)
    รู้สึกว่าไม่ได้มาเขียน blog แบบนี้นานมาก ๆ เลยค่ะ 
    พอดีก่อนหน้านี้ยุ่งกับการสอบ midterm ม๊ากมาก 
    แต่พอสอบจบ ก็มายุ่งวุ่นวายกับเรื่องการเตรียมเอกสารไปเรียนแลกเปลี่ยนอีก
    ทำให้ไม่ได้มาอัพ blog ให้ทุกคนอ่านสักทีเลยค่ะ T T

    แต่ตอนนี้ก็รู้สึกว่า พอจะเริ่มหายใจหายคอได้บ้าง(?) บวกกับได้เรียนในหลาย ๆ คลาสที่ผ่านมาก็ได้คิดตกผลึกอะไรหลาย ๆ ประเด็น ก็เลยออกมาเป็นหัวข้อที่ทุกคนจะได้อ่านกันต่อไปนี้ค่ะ!

    ย้อนกลับไป(อีกแล้ว?)เมื่อสมัยตอนเราเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ ๆ 
    ทุกคนคงจะคุ้นเคยกับการเรียนรู้ในรูปแบบการจำ pattern แล้วความหมายใช่ไหมคะ

    เช่น noun は noun です 
    อ่าาาา คุ้น ๆ กันบ้างไหมเอ่ย?

    เราเอง ตอนนั้นพอเรียนไปเรื่อย ๆ เราก็จะพบกับรูปที่ยาววววววมาก จนแทบจำไม่ได้ แถมพอจะพูดลิ้นก็จะพันกันอีก? นั่นก็คืออ

    なければなりません 

    คุ้น ๆ กันใช่ไหมคะ なければなりません ที่แปลว่า "ต้องทำ..."

    มาถึงตอนนี้เราก็ยังรู้สึกว่า ยาวจัง กว่าจะพูดจบหลับก่อนพอดี?
    ตอนนั้นอาจารย์มีให้ทริคการจำเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ว่า 

    ถ้าเราลองหั่นประโยค แล้วแปลตรง ๆ ตามไวยากรณ์ดูจะพบว่า
    やらなければ  ならない 
    ไม่ทำ             ไม่ได้
    "ไม่ทำไม่ได้" ก็เลยแปลรวมกันว่า "ต้องทำ" นั่นเองค่ะ

    ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ได้รู้หรอกค่ะว่ามันเป็นแค่ทริคการจำ หรือมันหมายความว่าแบบนั้นจริง ๆ แหะๆ?

    แล้วทำไมเราถึงยกรูปนี้ขึ้นมาพูดล่ะ?

    เพราะวันนี้เราอยากจะมาพูดถึง 特徴 (とくちょう)หรือ ลักษณะ ของภาษาญี่ปุ่นกันค่ะ
    โดยที่เราสังเกตุและอยากจะพูดถึงเลยก็คือ 
    "การใช้ประโยคปฏิเสธในภาษาญี่ปุ่น"

    ถ้าลองสังเกตดูดี ๆ เพื่อน ๆ เห็นกันไหมคะว่า 

    ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีการใช้ ประโยคปฏิเสธ หรือว่า รูปない เยอะม้ากกกกก
    แล้วการใช้ประโยคปฏิเสธแบบนี้มันให้ function อะไรกันแน่นะ?
    ทำไม? ถึงต้องใช้สำนวนเชิงปฏิเสธเยอะขนาดนี้

    ส่วนตัวเรามองว่า การเสริมรูปประโยคปฏิเสธเข้าไปนี้
    เพื่อเป็นการเพิ่ม "ความสุภาพ" ให้เนื้อความที่เราจะพูดค่ะ 
    ตัวอย่างเช่น
    1) การใช้ประโยคปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ
     เช่น หากเราจะบอกเพื่อนว่า 
    ให้ตั้งใจเรียน ไม่งั้นจะสอบตก
     แทนที่เราจะพูดตรง ๆ ไปว่า

    一所懸命勉強しなければ、落ちるよ。
    ถ้าไม่ตั้งใจเรียน จะสอบตกนะ

     แต่ถ้าเราเพิ่มความหมายของการปฏิเสธไปด้านหลัง ความหมายก็จะซอฟลง 50% ได้เลยล่ะค่ะ

    一所懸命勉強しなければ、試験に合格できない
    ถ้าไม่ตั้งใจเรียน จะสอบไม่ผ่านนะ

     ทั้ง ๆ ที่ความหมายที่จะสื่อออกมาเหมือนกัน 
     แต่นี่ก็เป็น 1 ใน strategy ที่คนญี่ปุ่นใช้ประโยคปฏิเสธซ้อนกัน
     เพื่อเพิ่มความซอฟให้ประโยคที่จะพูดค่ะ

    2) 〜ではないだろうか。
     หรือประโยคที่เราน่าจะคุ้นหูคุ้นเคยกันดีนั่นเอง
     แทนที่เราจะบอกความคิดเห็นเราออกไปตรง ๆ 
     เรากลับใช้ประโยคปฏิเสธเชิงคำถามนี้มาเพื่อซอฟความเห็นเราลง เพื่อไม่ให้ขัดหูคนฟังมากค่ะ
     
     เช่น การที่เราอยากจะแสดงความคิดเห็นออกไปว่า สิ่งนี้มันผิดกฎนะ
     แทนที่เราจะพูดตรง ๆ ว่า 
     これは反則だと思う
    มันผิดกฎนะ
     
    เราอาจจะเลี่ยงมาพูดว่า

     これは反則ではないだろうかと思う。
    มันผิดกฎไม่ใช่หรอ

    3) 〜ざるを得ない
    หรือไวยากรณ์ที่แปลว่า ไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องทำ 
    ถ้าเราลองตัดแบ่งส่วนดู จะพบในทำนองเดียวกับ なければならない ที่กล่าวถึงไปด้านบนเลยค่ะว่า 

    ในส่วนของไวยากรณ์ 〜ざる แปลว่า not, un เช่น 望まざる ไม่ต้องการ
    และในส่วนของ 得ない มีความหมายว่า cannot..., unable to... เช่นกัน

    พอ ไม่+ไม่สามารถ ก็จะได้ว่า ไม่ทำไม่ได้ ก็คือ 
    จำเป็นต้องทำอย่างไม่มีทางเลือก นั่นเองค่ะ


    นอกจากที่เรายกตัวอย่างมาด้านต้นนี้ ก็ยังจะมีไวยากรณ์ที่ใช้รูปประโยคปฏิเสธอีกเยอะมากเลยค่ะ
    เช่น
    ・はずがない 
    ・わけにはいかない 
    ・にちがいない
    และอื่น ๆ อีกมากมาย

    ในตอนที่เราเรียนในคาบ App Jp Ling เรื่อง การพูดอย่างชาญฉลาด 
    อาจารย์ก็ได้ให้ทำแบบฝึกการเปลี่ยนประโยคหรือคำให้เนื้อความซอฟลง
    เราเลยได้ยินเรื่อง

    strategy การใช้รูปปฏิเสธซ้อนปฏิเสธของคนญี่ปุ่น
    เพื่อลดความรุนแรงของประโยคลงแต่ยังคงความหมายเดิม 

    เราก็เลยได้มาย้อนสังเกตว่า ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้รูปปฏิเสธเยอะม้ากกกกก 
    มากจนเราคิดว่า นี่อาจจะเป็น 日本語の特徴 เลยล่ะค่ะ 
    เพราะถ้ามองจากมุมมองผู้พูดชาวไทยแล้ว ถ้าให้มาคิดหลายตลบแบบภาษาญี่ปุ่นคงจะปวดหัวน่าดูเลย

    แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวค่อนข้างจะถูกบอกอยู่บ่อย ๆ ว่า เป็นคนพูดตรง และบางทีพูดแรงแบบไม่รู้ตัว
    ก็เลยคิดว่า stretegy ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธนี้เป็นอะไรที่มีประโยชน์และควรนำไปปรับใช้กับตัวเองอย่างมากเลยค่ะ ไม่ใช่แค่ตอนพูดภาษาญี่ปุ่น แต่รวมไปถึงภาษาไทยด้วยค่ะ ?

    อาจจะยาวไปบ้าง แต่ก็ขอบคุณที่อ่านกันมาจนถึงตอนนี้นะคะ
    หวังว่าทุกคนจะได้ข้อสังเกตกลับไปขบคิดเล่นบ้างไม่มากก็น้อยค่ะ
    ปล.หลังจากนี้จะพยายามอัพบ่อย ๆ ให้มากขึ้นค่ะแง?

    ไว้เจอกันใหม่กับหัวข้อที่น่าสนใจอีกค่ะ!

    -somusomu-

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
clinomaniac (@clinomaniac)
เห็นด้วยมากๆเลยค่ะ ภาษาญี่ปุ่นใช้รูปปฏิเสธเยอะมากกกก ยิ่งเรียนแกรมม่าตัวใหม่ๆก็ยิ่งเจอเยอะ เพื่อความซอฟนั้นคือคนเรียนก็คือทุกข์ทรมานมาก55555
k.l.k (@k.l.k)
คนญี่ปุ่นชอบใช้รูปปฏิเสธ จริง ๆ บางทีปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ = บอกเล่า รูปปฎิเสธในภาษาญี่ปุ่นพัฒนามาก ๆ ลองเก็บข้อมูลในคลังข้อมูลดูจะเห็นชัดเลยค่ะ