เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Somewhat assortedSilapa Junior
สิ่งที่คิมรันโดสอนผม (ตอนจบ)
  • เชื่อสิว่าการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการเรียนจบจากมหาวิททยาลัยชื่อดังแน่นอน

    1

    สำหรับตอนจบ ในเรื่องนี้ เหมือนจะเป็นการรวบรวมประโยคที่ไม่ค่อยจะเข้าพวกด้วยส่วนหนึ่ง อีกส่วหนึ่งคือคำพูดสไตล์ Harsh Statements ประมาณว่าอ่านแล้วจึ้ก จนต้องเล่าออกเสียงให้เพื่อนข้างๆ ฟัง มีเพื่อนผมคนนึงเคยตอบว่า โห ทำไมคนเขียนเค้าปากจัดจัง (ฮา)

    ถือโอกาส พูดสั้นๆ เกี่ยวกับหนังสืออีกทีนึง ว่ามันไม่ใช่หนังสือที่ผมชอบที่สุด แต่การอ่านมันทำให้ผมได้เข้าใจสังคมเกาหลีใต้มากขึ้น เหมือนได้รู้จักชายวัยกลางคนที่มีความคิดคนนึง การสอนของเขามันก็อัดแน่นไปด้วย quote ที่มีความหมาย ไม่เน้นแค่คมกริ๊บ ซึ่งก็ถือเป็นประสบการณ์ใหม่ของผมดี สำหรับใครที่ชอบอ่านหนังสือแต่รู้สึกว่าไม่ใช่แนว ลองเปิดใจอ่านดูนะครับ อาจจะได้อะไรมากกว่าที่คิด : )


    คำแนะนำสำหรับคนที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง

    ความเศร้าใจของคุณเป็นการโกหกตัวเองและโกหกผู้อื่น  อันนี้ลุงคิมสอนเราว่าการโพทะนาความเศร้าของตัวเองให้คนอื่นรับรู้เนี่ย จริงๆ แล้วมันไม่ได้มีประโยชน์อะไรนอกจากจะเป็นการหลอกตัวเองให้ยิ่ง depress มากยิ่งขึ้นไปอีก

    คนที่ปฏิญาณอย่างมุ่งมั่นว่า “จะเลิกให้ได้ภายในวันที่ 1 มกราคม”นี่ไม่ใช่คำสัญญาว่าจะเลิกภายในวันที่ 1 มกราคม แต่เป็นการปลอบใจตัวเองว่าเรายังสามารถสูบบุหรี่ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ประโยคนี้เป็นอะไรที่โดนใจผมมาก ไม่จำเป็นต้องกำหนดวันเริ่ม ควรจะเริ่มเลย 

    พฤติกรรมเคยชินไม่ใช่สิ่งที่จะแก้ไขได้ด้วยความตั้งใจแต่จะต้องแก้ไขอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

    ในช่วงที่เรามีเวลาหรือว่างมาก ความตั้งใจในการจัดการเวลาจะน้อยลง ทุกคน “มีสิ่งที่ต้องทำอยู่ตลอดเวลา” เราต้องจับโจรโขมยเวลาในตัวเองให้ได้เสียก่อนถ้ายังจับไม่ได้ ต่อให้มีเวลามากแค่ไหน ก็ไม่มีทางทำอะไรสำเร็จ ความสามารถในการข่มใจต่อปัจจุบันเพื่ออนาคต เป็นหลักสำคััญที่ทำให้ชีวิตประสบความสำเร็จ

    แต่ไม่ว่ายังไงก็อย่าหลงและยึกติดกับความฝันของตัวเองมากเกินไป
    ต้องเดินให้สมดุลระหว่างความสุขส่วนตัวกับความสำเร็จทางสังคม
    ถ้าขาดความรับผิดชอบในฐานะผู้ใหญ่ก็ไม่มีปะโยชน์ต่อสังคม


    ข้อคิดเรื่องเงินกับความสำเร็จ

    ความร่ำรวยขณะยังเด็กคือยาพิษ ยิ่งงานที่ทำไม่ใช่ความฝันสูงสุดพิษร้ายที่แล่นเข้าวิญญาณก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอีก คุณที่ยังเยาว์วัยจะประเมินคุณค่าของงานด้วยเงินไม่ได้ แต่ต้องประเมินตามเกณฑ์ที่ว่า งานนั้นจะทำให้สิ่งสำคัญไม่ใช่เงินแต่คือความฝันอันยิ่งใหญ่ที่คุณจะต้องทำมันให้สำเร็จ

    คำว่า “ที่ดี” ให้ความรู้สึกค่อนข้างกำกวม ให้ระบุให้ได้เฉพาะเจาะจงเพื่อที่จะได้ประเมินค่าของมันได้


    การอยู่รวมกับผู้อื่น (เป็นส่วนที่เขียนได้ลึกเข้าไปเตือนใจผมได้จริงๆ)

    ความจริงแล้วทุกคนต่างเห็นแก่ตัว ไม่มีใครอยากถูกเอาเปรียบ

    ควรยอมรับความสำเร็จของผู้อื่น-รู้สึกอิจฉาได้อย่างอิสระ เป็นสิ่งที่ฟังแล้วแปร่งหูอยู่ แต่ลุงคิมบอกว่า การที่เรายอมรับว่าเราอิจฉานั้นเป็นการยืนยันว่าเราอยากจะได้จะมีในสิ่งนั้นแล้วในขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดทางให้เรา มีเหตุผลในการพัฒนาตัวเองให้ไปถึงจุกที่ต้องการได้ ดีกว่าการที่ทำตัว องุ่นเปรี้ยวแล้วบอกว่าไม่น่าอิจฉาหรอก แบบนั้นมันไม่ได้พัฒนาตัวเอง

    เราไม่สามารถสะสมคนที่ถูกใจ มาเป็นตัวเลือกในภายหลังได้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ไม่ใช่การ “เลือกคู่ที่ดีที่สุด”แต่คือการ“เป็นคู่ที่ดีที่สุด

    คนเพียงคนเดียวที่เข้าใจเราสำคัญกว่าคนนับร้อยที่รู้จักเราเพียงผิวเผิน                                         

    มนุษย์เป็นสัตว์สังคม สังคมไม่มีที่ให้อยู่ตัวคนเดียว คุณต้องพยายามเรียนรู้การอยุ่ร่วมกับผู้อื่นให้ได้ถึงแม้จะไม่ถูกใจใครถึงขนาดไม่อยากคุยแล้วก็ต้องคิดที่จะปรับเปลี่ยนตัวเองก่อน


    อื่นๆ ที่อ่านแล้วดีแต่ไม่ค่อยเข้าพวก

    มนุษย์ไม่สามารถพึงพอใจต่อสิ่งที่มีได้ตลอดไ

    ปพวกเราวิ่งไปตามแรงแห่งความปราถนา ไม่สามารถปล่อยมือจากสิ่งที่ถือครองได้

    การตัดใจทำได้ยากกว่าการพยายามทำต่อ


    ถ้าอยากจะประสบความสำเร็จ

    คนที่ประสบความสำเร็จจนถึงขีดสุดจะต้องกล้า “พนันกับชีวิต”แบบเทหน้าตักหมดตัว
    อันนี้เราเห็นด้วยนะว่า high risk-high reward

    ความจริงแล้วถ้าเราอายุมากขึ้น ตัวเลือกจะค่อยๆ ลดลงโดยอัตโนมัติ เราเริ่มปฎิเสธความทรมานใจซึ่งเป็นสารกันบูดของความฝัน ถ้าอยาก keep ความเด็กไว้ อย่า'เหนื่อย' กับความผิดหวัง เพราะจริงๆแล้ว อารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นเวลาเราพยายามมากๆ ในการทำอะไรก็แล้วแต่ เป็นสิ่งที่ทำให้ความฝันเรายังไม่ค่าและน่าไล่ตาม

    ไม่จำเป็นต้องมีความรู้สูง แต่จำเป็นต้องมีไหวพริบและปัญญาสูง

    เคล็ดลับสำคัญในการสร้างแบรนด์คือ story telling การแข่งขันเข้าทำงาน จะต้องมีแบรนด์ของตัวเอง

    อันนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการสัมภาษณ์และมีจุดยืนในสังคมที่เราอยู่ แต่ถ้าผิดหวังกับงานที่หวังก็ไม่เป็นไร ลุงคิมก็มีบทปลอบใจให้เหมือนกัน ซึ่งก็คือ

    ความสามารถคือผลสำเร็จแห่งอนาคตที่วัดค่าผ่านผลงานในอดีต ไม่ใช่หลักประกันผลสำเร็จในอนาคต

    สุดท้าย ให้หมั่นถามตัวเองและพึงละรึกไว้เสมอว่า

    ตอนนี้ชีวิตของคุณใกล้เคียงกับสิ่งที่วาดฝันไว้มากน้อยแค่ไหน

  •  ย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1
    เนื้อหาจากหนังสือ 
    เพราะเป็นวัยรุ่นจึงเจ็บปวด เขียนโดย คิม รันโด แปลโดย วิทิยา จันทร์พันธ์สำนักพิมพ์ springbooks
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in