(ภาพจาก https://medium.com/@gentleminds/retailers-delight-a-virtual-dressing-room-for-the-smartphone-generation-964f7f59bef2)
ประการที่สอง คุณจะต้องมี value proposition หรือคุณค่าของสินค้าที่มอบให้กับลูกค้าอย่างชัดเจนหากต้องการนำ ar มาใช้ ต้องระบุความแตกต่างจากคู่แข่งอื่นในตลาด ปัญหาอะไรที่คุณแก้ให้ลูกค้า ทำไมลูกค้าต้องซื้อกับคุณ การที่คุณมีสิ่งนี้ชัดเจน นี่จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ดึงดูดลูกค้าเข้ามาหาคุณเพราะคุณมีสิ่งที่เขาต้องการนั่นเอง การใช้ ar จะต้องช่วยทำให้กระบวนการซื้อสินค้าของลูกค้านั้น smooth มากขึ้น ar เป็นส่วนขยายเพิ่มเติมที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ไม่ใช่สิ่งที่ขัดขวางและทำให้การซื้อสินค้ายุ่งยากขึ้น
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/-8a5eJ1-mmQ)
ประการถัดมา งบประมาณ จริงๆจำนวนเงินที่ต้องใช้สำหรับธุรกิจในการพัฒนา ar นั้นสำคัญอย่างยิ่ง แต่ก็เป็นสิ่งที่ระบุตัวเลขแบบเจาะจงไม่ได้ เพราะมีปัจจัยหลายส่วนที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบการ ได้แก่
ขอบเขตของ application ประเภทของ ar ที่ต้องการสร้าง ซึ่งได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้า (อ่านเพิ่มเติม ->
AR คืออะไร ? ต่างกับ vr มั้ย ?) ความ realistic ของโมเดล 3D ที่คุณต้องการสร้าง, จำนวน features, สเกลของแอพ ยิ่งปัจจัยเหล่านี้มากเท่าใด ระบบก็จะยิ่งมีความซับซ้อน และจะต้องลงทุนมากขึ้น ยังมีงบประมาณเรื่องของการดูแลรักษาระบบ (maintainance) เทคโนโลยีที่จะใช้ในกระบวนการพัฒนาแอพ อีกด้วย ทั้งนี้สเกลของแอพนั้นมีผลต่อการใช้งานของผู้ใช้ หากสเกลไม่เหมาะสมกับการใช้งาน อาจทำให้เกิดการ freezing หรือแอพค้างได้
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/CrPAvN29Nhs)
- IOS หรือ Android ? หรือทั้งคู่ ?
แน่นอนว่าการพัฒนา ar บน 1 platform ย่อมต้องถูกกว่าและเร็วกว่าการพัฒนาสองระบบไปพร้อมๆกันอยู่แล้ว การพัฒนาบน IOS นั้นจะเวลาน้อยกว่าบน android เพราะมีอุปกรณ์ที่ใช้งานระบบ android มากมายที่แตกต่างกันในด้านขนาดของหน้าจอแสดงผล และเทคโนโลยีสำหรับการใช้งาน ar
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/T6fDN60bMWY)
ยิ่ง design หน้าตาของแอพมีความทันสมัยมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงจำนวนเงินที่จะเสียมากขึ้นเท่านั้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่า target หรือกลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร เพื่อจัดลำดับความสำคัญ (prioritize) ถึงสิ่งที่ต้องใช้เงินเพื่อพัฒนาก่อน หากกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ (potential customers) ต้องการแอพที่มีการดีไซน์สวยงามมากกว่า function คุณก็เลือกเน้นพัฒนาด้าน design แทนเพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า โดย ar mobile application อาจใช้เวลาในการพัฒนาประมาณ 5-7 สัปดาห์ หลักๆจะประกอบไปด้วย
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/h3kEAHMl1k4)
- user experience (UX) : การจัดการข้อมูลและฟังก์ชั่นต่างๆในแอพ, หน้าจอแสดงผล, เส้นทางการใช้งานและค้นพบสิ่งต่างๆของผู้ใช้
- Interface (UI) : โลโก้, ไอค่อน, โทนสี, ลักษณะตัวอักษร, layout บนจอมือถือ, รูปภาพที่ใช้, การดีไซน์ส่วนที่เป็นโฆษณาและองค์ประกอบอื่นๆ
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/bn4PuDWVC1U)
ยิ่งเวลากระชั้นชิดเท่าไหร่ จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการพัฒนาก็สูงตาม
ค่าจ้างของทีมงานหรือบริษัทผู้พัฒนาเป็นรายชั่วโมง ซึ่งขึ้นอยู่กับประสบการณ์และโซนพื้นที่
โดยเรทของบริษัทผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นตามโซนภูมิภาค อ้างอิงจากข้อมูลของ agilie มีดังนี้
USA และ Canada : ตั้งแต่ 100$ ถึง 250$ ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 3,112 บาท ถึง 7,780 บาท ต่อชั่วโมง
ยุโรปตะวันตก : ตั้งแต่ 80$ ถึง 150$ ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 2,489 บาท ถึง 4,668 บาท ต่อชั่วโมง
ยุโรปตะวันออก : ตั้งแต่ 25$ ถึง 100$ ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 778 บาท ถึง 3,112 บาท ต่อชั่วโมง
เอเชีย : ประมาณ 55$ ต่อชั่วโมง หรือ 1,711 บาท ต่อชั่วโมง
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/FGXqbqbGt5o)
ในส่วนนี้เป็นการพัฒนา front-end ซึ่งคือการเขียนโค้ดสำหรับการแสดงผลในแอพ ส่วน back-end เป็นการเขียนโค้ดส่วนที่เป็น web API และ server ซึ่งจะถูกซ่อน ในปัจจุบันมี SDK หรือ software development kit ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยย่นระยะเวลาของกระบวนการ coding และทำให้ง่ายขึ้น เช่น ARToolKit, Vuforia, EasyAR เป็นต้น
ส่วนที่สำคัญมากๆ คือการทดสอบแอพ หากไม่มีการทดสอบอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ ต้องตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยขั้นนี้จะใช้เวลาประมาณ 100 ชั่วโมง
ส่วนสุดท้าย ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันหลังจากที่พัฒนาแอพพลิเคชั่น ar เสร็จแล้ว ระบบก็ยังต้องมีการอัพเดท การเพิ่ม function พัฒนาคุณภาพต่างๆ
โดยสรุปข้อมูลตัวเลขค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ar application คร่าวๆจาก Agilie บริษัทสัญชาติยูเครน ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น เขียนโค้ด และสินค้าดิจิตัล
ระดับเรียบง่าย : ประมาณ 30-50,000 $ หรือ 932-1,554,000 บาท
ระดับกลาง : ประมาณ 1,554-6,216,000 บาท
ระดับซับซ้อน (มักเป็นเกม) : ประมาณ 7,770,000 บาท และมากสุดถึง 62,160,000 บาท
บทความที่ผ่านมา
อ่านเพิ่มเติม ..
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in