ar ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ทางการแพทย์ ในการผ่าตัดด้วย imagine guided surgery ให้ข้อมูลภาพสแกนอวัยวะภายในที่จำเป็น ทำให้สามารถวางแผนการผ่าตัดได้ และยังใช้ประโยชน์ในการ ultrasound ภาพตัวอ่อนของเด็กในครรภ์อีกด้วย
ในด้าน entertainment อย่างการรายงานสภาพอากาศโดยนักข่าว ที่มีภาพพื้นหลังเป็นแผนที่โลกหรือแอนิเมชั่นต่างๆ ในความเป็นจริงคือการถ่ายทำในสตูดิโอที่พื้นหลังนั้นเป็นเพียงพื้นหลังสีฟ้าหรือเขียว แต่ใช้ ar สร้างภาพโดยเทคนิคที่เรียกว่า chroma-keying
มีการใช้ ar ให้ข้อมูลแก่นักบินในส่วนห้องนักบินในการฝึกทางทหาร (Military training)
ใช้ในการออกแบบทางด้านวิศวกรรม สร้าง physical prototype ขึ้นในรูปแบบ 3D ที่ทำให้สามารถเดินชมรอบๆจากมุมต่างๆได้
ส่วนตัวอย่างการใช้งาน AR ที่แพร่หลายและใกล้ตัวเราที่สุดคงเป็นเกม Pokemon go ที่ให้ผู้เล่นไปจับโปเกมอนตามสถานที่ต่างๆ หรือ effect ในฟีเจอร์ story ของแอพพลิเคชั่น instagram ที่ตรวจจับใบหน้าของผู้ใช้และมีลูกเล่นสนุกๆมากมาย
คลิปวิดิโอตัวอย่าง แสดงการทำงานของ ar เมื่อผู้ใช้สแกน catalog
ในปัจจุบัน AR มี 4 ประเภทหลักๆดังนี้
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/OuKBpYTWLu4)
1) Marker-Based AR หรือ Recognition based AR ทำงานโดยใช้กล้องสแกนวัตถุหรือ QR code บนกระดาษ เพื่อแสดงผลข้อมูล ประเภทนี้มักถูกใช้เพื่อเป้าหมายทางการตลาด ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม ดูรูปภาพจากมุมอื่นๆ และดูภาพ 3 มิติได้เช่นกัน
(ภาพจาก https://unsplash.com/photos/N6e9cnOMXEk)
2) Markerless AR หรือ Location-based AR ซึ่งเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมในการสร้างแอพพลิเคชั่นอย่างยิ่ง เพราะฟีเจอร์ต่างๆสามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยว เช่น ระบบตรวจจับตำแหน่ง ระบุตำแหน่งของสี่แยกบนถนน แสดงภาพแผนที่ของพื้นที่นั้นๆ ผู้ใช้สามารถค้นพบสถานที่น่าสนใจรอบๆบริเวณนั้นหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องผ่านกล้องสมาร์ทโฟน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in