เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Augmented reality โอกาสทางการตลาดของธุรกิจออนไลน์ช่วง covid-19bbpchyy
ทำไมผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ถึงควรลงทุนใน AR ?


  • Icons made by Freepik from www.flaticon.com

     ข้อดี

    • AR ไร้ขีดจำกัดในด้านสถานที่และเวลา ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
    • AR ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ต ที่นับวันยิ่งมีอิทธิพลและฟีเจอร์ต่างๆเพิ่มมากขึ้น แต่ราคาถูกลง หากอ้างอิงจากสถิติของ Hootsuite ในเดือนมกราคม ปี 2019 มีผู้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในไทย 57 ล้านคน และ 55 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น ผู้คนจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีนี้ได้มาก ในปัจจุบัน สมาร์ทโฟนมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของ AR ครบ อย่างเช่น กล้อง เซ็นเซอร์ ระบบประมวลผลและจอแสดงผล


    (ภาพจาก https://www.marketingoops.com/reports/global-and-thailand-digital-trend-2019/)

    • โอกาสในการเพิ่มยอดขาย เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและธุรกิจ เพราะการนำ AR มาใช้ในธุรกิจช็อปปิ้งออนไลน์เป็นการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ต่อลูกค้า ลูกค้าจะได้เห็นมุมมองอื่นๆ เปรียบเทียบสินค้าได้ง่าย ได้ลองสินค้าก่อนการตัดสินใจซื้อ 
    • ลูกค้ามีโอกาสซื้อสินค้ามากขึ้น เพราะได้ลองสินค้าหลายชิ้นผ่าน ar

    • ข้อมูลที่แสดงในเว็บไซต์มีความครอบคลุมมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการให้ข้อมูลแก่ลูกค้า
    • ลดการสัมผัสต่อสินค้า ลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสในช่วงสถานการณ์โควิด เพราะลูกค้าไม่ต้องไปเลือกซื้อสินค้าเอง แค่นั่งอยู่ที่บ้านและเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพ


    • ลดความแออัดของหน้าร้านค้าจริง ในขณะเดียวกันก็ยังขายสินค้าได้
    • ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่แบบ real world real time สนุก และสะดวกสบาย


    • ar ยังช่วยในการทำ personalised marketing หรือการทำตลาดเฉพาะบุคคล ในการแนะนำสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน เช่น ar interior designer ที่ช่วยค้นหาสินค้าที่เหมาะสมกับพื้นที่ในห้องของลูกค้าโดยอัตโนมัติ ทั้งโทนสีและของตกแต่ง
    • อัตราการคืนสินค้าน้อยลง เนื่องจาก ar เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้ลูกค้าสามารถทดลองสินค้าได้ก่อนในเบื้องต้น เห็นสินค้าในสเกลและสิ่งแวดล้อมจริง เช่น การทดลองวางเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน ช่วยผู้ซื้อในกระบวนการตัดสินใจ ไม่ต้องคาดคะเนขนาดหรือคาดเดาเหมือนช็อปปิ้งออนไลน์ทั่วไป จึงมีความเป็นไปได้มากที่ผู้ซื้อจะพึงพอใจในสินค้าและไม่คืนสินค้า ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณไปได้มากทีเดียว เนื่องจากการคืนสินค้านั้นก็ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านค่าจัดส่ง 


    • การเป็นธุรกิจผู้ริเริ่มใช้เทคโนโลยีใหม่ๆส่งผลให้แบรนด์ดูมีความทันสมัยด้วยนวัตกรรม ชื่อแบรนด์มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น 



    Icons made by Freepik from www.flaticon.com


    ข้อเสีย

    • ต้นทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี AR และการบำรุงรักษาอาจเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก
    • ขีดจำกัดของอุปกรณ์ที่ลูกค้าใช้งาน ทั้งด้าน memory ความจำ การแสดงผลภาพกราฟฟิค อาจส่งผลกระทบต่อการใช้งาน ar 
    • ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จากเทคโนโลยี ar ที่ผู้ประกอบการจะต้องระมัดระวังและควรต้องมีนโยบายคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภคที่ชัดเจน เนื่องจากเทคโนโลยี ar นั้น “เห็น” เช่นเดียวกับที่ผู้ใช้เห็น และยังสามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากและหลายชนิดเกี่ยวกับผู้ใช้ ว่าเขาเป็นใครและทำอะไรบ้าง บันทึกสภาพแวดล้อมแบบ real time วิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้ ประวัติการใช้งานบนอุปกรณ์ ซึ่งหากพิจารณาดีๆแล้วอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้มากกว่าโซเนียลเน็ตเวิร์คปกติเสียอีก อย่างเช่น การถูกนัก hacker ล้วงข้อมูลเข้าถึงอุปกรณ์ เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล 

    (ภาพจาก https://unsplash.com/photos/-YiTdas-O1c)


    ข้อมูลจากบทความในต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

    • จากข้อมูลของ Manatt digital media การซื้อสินค้าต่างๆเริ่มเปลี่ยนแปลงจากการซื้อในร้านค้ามาเป็นช่องทางออนไลน์ รวมไปถึงการปรับใช้ ar เพื่อประสบการณ์ซื้อสินค้าออนไลน์ที่ดียิ่งขึ้น มีการคาดการณ์ว่า ar นั้นจะสามารถทำรายได้ถึง 120 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และ Manatt Digital media ยังได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับวิธีการที่เหล่านักช็อปปิ้งใช้งาน Ar ในการซื้อสินค้า จาก 1,062 ผู้เข้าร่วม ในสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ซื้อรู้สึกสนุกในการใช้งาน ar ระหว่างการช็อปปิ้ง ผู้ซื้อได้มีส่วนร่วม ได้รับประสบการณ์ที่แปลกใหม่และน่าจดจำ รวมไปถึงยอดขายของธุรกิจค้าปลีกที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

    (ภาพจาก http://www.retailperceptions.com/2016/10/the-impact-of-augmented-reality-on-retail/)

                นอกจากนั้นยังพบอีกว่ามีผู้ซื้อ 40% ที่คิดว่าจะจ่ายเงินซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้นได้ หากพวกเขาได้ใช้ ar อีก 61 % จะเลือกซื้อสินค้าที่ร้านที่มีบริการ ar มากกว่าร้านที่ไม่มี และอีก 71% ที่ให้ความเห็นว่าจะซื้อสินค้าที่ร้านนั้นๆบ่อยมากขึ้นหากมี ar 


    • จากบทความของ Harvard business review เรื่อง “Virtual and Augmented Reality Will Reshape Retail” ระบุว่า vr และ ar จะเข้ามา “reshape retail” วิธีเดิมๆที่ลูกค้าซื้อสินค้าจะเปลี่ยนแปลงไป เพราะเทคโนโลยีนี้สามารถทำให้ลูกค้าเลือกประสบการณ์การซื้อสินค้าส่วนบุคคลได้ สร้างความแตกต่าง เข้ามาอุดช่องโหว่ปัญหาของนักช็อปปิ้งสินค้าออนไลน์ที่เดิมไม่สามารถทดลองสินค้าได้ รวมไปถึงเป็นการยกระดับการบริการลูกค้า 


    • จากบทความเรื่อง “Augmented Reality as a New Marketing Strategy”  ได้กล่าวถึงการแข่งขันในตลาดขององค์กรธุรกิจที่พยายามมองหากลวิธีในการพัฒนาตำแหน่งหรือ position ทางการตลาดของแบรนด์เพื่อผลกำไรที่มากขึ้น ขณะที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า จะมีความลังเล ความไม่แน่ใจเกิดขึ้นและจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อขาดความรู้หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสินค้าไม่เพียงพอ ความมั่นใจของลูกค้าก็ลดน้อยลงไปด้วย ปัญหานี้จึงเป็นช่องโหว่ของธุรกิจที่ต้องมองหากลวิธีเพื่อเข้าถึงลูกค้า การใช้ Augmented reality ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย เมื่อต้องการตัดสินใจซื้อสินค้า สามารถทดลองนำสินค้ามาไว้ในพื้นที่ที่ต้องการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสี รูปแบบ ขนาด สัมผัสตามความชื่นชอบของลูกค้าได้ ซึ่งรูปแบบการบริการแบบนี้ถือเป็นการดึงดูดความสนใจของลูกค้าและเป็นบริการที่ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ทำให้บริษัทที่จำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์มียอดขายที่เพิ่มมากขึ้นและยังทำให้ลูกค้าพึงพอใจที่ได้รับสินค้าตามความต้องการและความคาดหวังอีกด้วย


    • จากรายงานของ Paypal บน m-commerce ลูกค้าในปัจจุบันคาดหวังว่าธุรกิจต่างๆควรจะมีอุปกรณ์หรือฟีเจอร์ AR ถึง 51% ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการธุรกิจประมาณ 32% มีโครงการที่จะปล่อยฟีเจอร์ AR ในแอพพลิเคชั่นของตน ซึ่งหมายความว่าธุรกิจเหล่านั้นมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้ เพราะแอพพลิเคชั่นที่มี AR จะทำให้ปัญหา (pain points) ของลูกค้าหายไป ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องค้นหา อีกทั้งยังเป็นการยกระดับการบริการ สร้างความแตกต่าง สร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล (personalised customer experience)

    • อ้างอิงผลการสำรวจจากงานวิจัยเรื่อง "โครงการจัดตั้งเว็บไซต์ Fashion E-Commerce โดยใช้ระบบ AR (Augmented Reality)" โดยชุมพล สิงหรา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราลองสินค้าได้จริงก่อนการซื้อ โดยเฉลี่ย 3.99 ซึ่งอยู่ในระดับมาก 

    Icons made by Those Icons from www.flaticon.com


    • จากการคาดการณ์โดย citibank ในปี 2020-2025 แอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน AR/VR จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเชิงพาณิชย์และองค์กรธุรกิจ ดังกราฟด้านล่าง

             
             หากแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ คาดว่าประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกจะมีแนวโน้มการเติบโตของ AR อย่างรวดเร็วและสูงที่สุด 


    บทความที่ผ่านมา 


    อ่านเพิ่มเติม ..









เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in