クッション言葉 คือ คำพูดที่ใช้พูดก่อนเข้าประเด็น เช่น あくまでも個人的な意見ですが、〜 และ ちょっとよろしいでしょうか、実は〜 เป็นต้น พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นคำพูดที่ใช้พูดเกริ่นก่อนเข้าเรื่องที่อยากพูดจริง ๆ นั่นเอง
พอลองมาคิด ๆ ดูเราว่าคนญี่ปุ่นมีการใช้ クッション言葉 บ่อยมาก มันก็แสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ใช่คนที่กล้าพูดอะไรตรง ๆ ออกมาเลย ก่อนจะให้ความเห็นก็ชอบบอกก่อนว่า "นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของฉันนะ" หรือ เวลาจะพูดอะไรที่อาจจะดูแรง ๆ หรืออาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดีได้ ก็สามารถใช้ クッション言葉 มาช่วยให้สิ่งที่จะพูดดู soft ลง
ตัวอย่าง
今週中にこの作業を終わらせる必要がほんとうにありますか。(แอบแรง)
อันแรกนี้ก็จะดูพูดตรงไปหน่อย ถ้าอยากพูดให้ดูดีก็จะเปลี่ยนเป็น
急がれるお気持ちはわかりますが、今週中にこの作業を終えることはできません。
「急がれるお気持ちはわかりますが、」เป็น クッション言葉 แปลได้ว่า "เข้าใจว่าคุณรีบ แต่..." เราสามารถสังเกตุได้ว่าพอเติม クッション言葉 เข้าไปแล้ว ประโยคดู soft ขึ้นมาเลย ก็ถือว่าเป็นวิธีพูดที่ไม่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ดีได้
ตัวอย่าง クッション言葉 เวลาพูดให้ของ
- つまらないものですが、〜
สมัยนี้ไม่ค่อยพูดกันแล้ว/คนแก่พูด
- これ気に入ってくれたら嬉しいですが、〜
ปัจจุบันนิยมใช้คำนี้ คำนี้ดู positive กว่า つまらないものですが、〜 ด้วย
แต่ แต่ แต่ !!
จะใช้ クッション言葉 บางคำก็ต้องระวังด้วยนะ
เช่น คำว่า はっきり言って、〜 ใช้อันนี้จะดูเป็นการจู่โจมอีกฝ่าย เป็นการพูดตรง ๆ คำข้างหลังที่เราพูดต่ออาจแรง
ตัวอย่าง クッション言葉 ที่ดี มีความคิดถึงจิตใจอีกฝ่าย
- 私の理解不足かもしれませんが、
- 私の記憶違いかもしれませんが、
- 私が聞き漏らして(ききもらして)しまったかもしれませんが、
- 見当違い(けんとうちがい)の指摘なら申し訳ないのですが、
- おっしゃることはよく理解できるのですが、
- 私の気持ちに配慮したご提案でありがたいのですが、
- せっかく勧めてくださったのに恐縮ですが、
ตัวอย่าง クッション言葉 เวลาแสดงความคิดเห็น
- みなさんの意見を聞いて、やはり~
- ~さんが言った(おっしゃった)ように、 ~
- 一つ私の意見を言うと、~
- どちらかというと反対の意見です。
- どちらかというと賛成ですが、部分的には反対という点もあります。
- みんなの意見を聞いている中で、やっぱり「それ以外」という考え方と思うようになりました。
- これは私の予想でしかないのですが、 ~
- 確かに~(かもしれません)が、 ~
ส่วนตัวเราชอบ 2 คำที่เป็นตัวหนาเป็นพิเศษ เป็นการพูดสไตล์คนญี่ปุ่น คือพูดอ้อม ๆ นิด ๆ ไม่พูดแบบชัดเจน ถือว่าเป็นการพูดให้ความเห็นของเราแบบพยายามไม่สร้างความไม่พอใจให้อีกฝ่ายค่ะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in