เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บทความอันหาสาระไม่ได้robinismind
Cut Loss .... ตัดขาดทุนก่อนชีวิตวอดวาย
  •        ใครที่เคยเล่นหุ้นคงพอจะเคยได้ยินเทคนิค Cut loss กันมาบ้าง แต่สำหรับคนโดยทั่วไปอาจจะเกาหัวแล้วบอก อะไรว่ะ ?  ใจเย็นๆก่อนนะคะคุณผู้อ่าน  เราไม่ได้มาสอนเล่นหุ้นหรืออธิบายเทคนิคศัพท์แสงอะไรยากๆพวกนั้นแน่นอน 

           ด้วยความที่ตัวผู้เขียนเองเล่นหุ้นมาได้สักระยะ ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆมาพอสมควร เทคนิคโดยส่วนใหญ่แล้วมักเกี่ยวกับคำณวนความเสี่ยงและกลยุทธิ์การเข้าซื้อซึ่งมันยากและซับซ้อนและปรับใช้ในชีวิตจริงแถบไม่ได้ แต่มีหนึ่งเทคนิคที่ผู้เขียนเองชื่นชอบและรู้สึกว่ามันสามารถใช้ได้ทั้งในการเล่นหุ้นและกับชีวิตจริงของเราได้ นั้นคือ

                                         Cut loss ถ้าจะให้อธิบายให้ง่ายสุดและตรงสุดคือ 
     
                                 
                                “ ตัดเนื้อร้ายทิ้งก่อนมันจะลามกินเนื้อดีที่เหลือจนหมด “


           ยกตัวอย่างของหุ้น คือ เราซื้อหุ้น A แล้วหุ้นที่เราซื้อราคามันตก เราจะจำกัดความเสี่ยงว่าเราจะไม่ยอมขาดทุนเกิน 3% ไม่ว่าเหตุผลใดถ้ามันขาดทุนถึง 3% เราก็ต้องขายทิ้งให้หมดแม้เราจะทำใจยากก็ตามเราก็ต้องทำ เพื่อรักษาเงินต้นที่ลงทุนไป

           แล้วมันเกี่ยวอะไรกับชีวิตของเรานั้นเหรอ ?  ตัวผู้เขียนขอบอกเลยว่าเกี่ยวมว๊ากกกก เพราะตัวผู้เขียนลองใช้เองแล้วรู้สึกว่ามันดีมากเกินกว่าจะเก็บไว้คนเดียว  ชีวิตของเรานั้นอาจไม่สามารถคำนวณความเสี่ยงหรือจำกัดความออกมาเป็นเปอร์เซ็นตัวเลขได้แบบหุ้นก็จริง  แต่เราสามารถนำมาปรับใช้ในเรื่องต่างๆในชีวิตได้เกือบจะทุกเรื่อง  อันดับแรกเลยลองจำกัดความเสี่ยงด้วยตัวเองดูเสียก่อนอาจะไม่ต้องเป็น 3% เสมอไป ถ้าเรื่องนั้นเรากล้าจะเสี่ยงหรือใจสู้ก็อาจปรับเป็น 10% เลยก็ได้  เช่น

           การเรียน เทคนิคนี้ใช้ได้ดีมาก (ตัวผู้เขียนเรียน รามคำแหง ซึ่งการลงทะเบียนเรียนหรือเลือกรายวิชาอาจไม่เหมือนมหาลัยอื่นๆต้องขออภัย)  เมื่อเราลงทะเบียนเรียนวิชาที่ลงนั้นชื่ออาจจะน่าสนใจน่าสนุกดูไม่น่าเบื่อ แต่เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจริงไหมจนกว่าจะได้เรียนจริงๆในห้อง ฉะนั้น เริ่มจำกัดความเสี่ยงได้เลย 
             
                     อันดับแรกอาจารย์ต้องไม่สอนน่าเบื่อชวนง่วง 
                     อันดับสองเนื้อหาต้องไม่ล้าสมัย 
                     อันดับสามเวลาเหมาะสมและไม่สอบตรงกับวิชาอื่นๆที่จำเป็น  
                     อันดับสี่วิชานี้ต้องท้าทายเราถ้ามันง่ายๆชิวๆจะข้ามเลย

           ซึ่งนับรวมๆแล้วอาจคิดเป็นจำกัดความเสี่ยงคร่าวๆที่ 4% เมื่อคลาสแรกมาถึงก็ลองดูเลยว่าวิชานี้มีความเสี่ยงที่ว่ามาหรือไม่  ถ้ามันมีครบสี่ข้อที่เราจำกัดเอาไว้ ก็ซิววิชานี้ไปลงตัวอื่นได้เลย แต่ ..... ถ้ามันมีแค่หนึ่งถึงสองข้อ เราก็ต้องลองไตร่ตรองดูว่าคุ้มไหมทีจะเรียนวิชานี้ต่อ  ดูว่าความคุ้มนั้นมีกี่ข้อและมันเพียงพอไหมที่จะลงทุนเดินทางเสียเวลามาเรียน  ซึ่งตรงนี้อาจไม่ต้องเป็นเหตุผลวิชาการขนาดนั้นก็ได้แค่มันไม่แย่และเราพึงพอใจแค่นั้นก็เพียงพอแล้วสำหรับการตัดสินใจของเรา

           เทคนิคนี้ละที่ช่วยทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อและตรงตามความตั้งใจของเรา หากเราไม่จำกัดความเสี่ยงเราอาจถล้ำเรียนไปจนเกินครึ่งคลาสแล้วมารู้ตัวว่าไม่น่าลงวิชานี้เลยเมื่อสายไปเสียแล้ว  หรือแม้แต่เรื่องการรู้จักคบหาผู้คนก็ใช้เทคนิคนี้ได้เช่นกัน จำกัดความเสี่ยงรักษาต้นทุนของตัวเราไม่ให้โดนเอาเปรียบหรือต้องสูญเสียมันโดยใช้เหตุ  เทคนิคนี้จะช่วยทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นเฉียบคมขึ้นโดยไม่ต้องลังเลใจให้เสียเวลาชีวิตไปเปล่าๆ  

           หวังว่าเทคนิค Cut loss นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ขอให้รื่นเริงในชีวิตและขอบคุณผู้อ่านทุกท่านคะ 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in