เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Me X AppJpLingclinomaniac
ひとりごと言語 - ฉันไม่ได้พูดกับเธอซะหน่อย

  •  สวัสดีทุกๆคนค่าา ห่างหายกันไปนานเลยทีเดียว ช่วงนี้ทุกๆคนเป็นยังไงกันบ้างคะ? สบายดีมั้ยคะ? ทางเรารู้สึกว่านี้น่าจะเป็นช่วงนี้ชีวิตวุ่นวายที่สุดช่วงหนึ่งเลย5555 ทั้งการเรียน การบ้าน งานนั้นนี้ และกิจกรรมที่เราหาทำของเอง ทุกอย่างเหมือนนัดกันมาตุ๊บตั๊บกันช่วงนี้เลยค่ะ5555 ?


     แต่ก็….สู้ค่ะ!!  ไม่สู้ก็คงไม่ได้แหละ5555 ทุกคนเองก็สู้ๆนะคะ ถ้าพอมีเวลาก็เบรกตัวเองออกมาพักบ้างก็ดีนะคะ เราเองถึงจะบอกว่ายุ่งมากแต่ก็ บางทีที่รู้สึกแบบไม่ไหวแล้ววว กรี๊ดด ไรงี้ก็เบรกตัวเองมาพักอยู่เสมอๆเลยค่ะ5555  จนก็คิดอยู่เหมือนกันว่านี้เราตามใจตัวเองเกินไปรึเปล่านะ555


        เอาล่ะ เรามาเข้าสู้เนื้อหาวันนี้กันดีกว่าค่าา


     ซึ่งวันนี้เนื้อหาของเราก็จะเป็นเรื่องเบาๆชิลๆค่ะ และเป็นเรื่องที่เราสังเกตมาสักพักตั้งแต่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น แล้วพออาจารย์หยิบมาสอนในคลาสก็รู้สึกปิ๊ง! ขั้นมาเลยค่ะ555555



     และหัวข้อวันนี้ก็คือออ !!!



    ひとりごと言語   ภาษาพูดคนเดียว 

       เริ่มแรก เรามาทำความเข้าใจความหมายของมันร่วมกันก่อนนะคะ 

    ลักษณะการพูดคนเดียวก็คือ การที่เราพูดโดยที่สารที่เราปล่อยออกมาไม่ได้ตั้งใจจะส่งให้ผู้รับ ค่ะ


    เช่น การนับเลข  


     บางทีเราก็นับของด้วยการเปล่งเสียงออกมาใช่มั้ยล่ะคะ “หนึ่ง สอง สาม ….” แต่เราก็ไม่ได้ตั้งใจจะไปนับใส่ใครให้เขาตอบกลับมา  


      นี้แหละค่ะ การพูดคนเดียว?


    หลายๆคนอาจจะคิดใช่มั้ยคะ ภาษาไหนก็น่าจะมีการพูดคนเดียวนะ ไทยก็มี 
    แต่ทางเราอยากจะบอกว่า ลักษณะภาษพูดคนเดียวในภาษาญี่ปุ่นเนี่ยมีความเป็นเอกลักษณ์และเด่นชัดกว่าไทยมากค่ะ

    และวันนี้เราก็จะมาดูกันค่ะ

     ว่าภาษาพูดคนเดียวเนี่ยเป็นเอกลักษณ์สุดน่าสนใจของภาษาญี่ปุ่นจริงรึเปล่า?



       เริ่มกันที่สิ่งใกล้ตัวที่น่าจะเป็นก้าวแรกของการสัมผัสวัฒนธรรมภาษาญี่ปุ่นครั้งแรกของใครหลายๆคนอย่างการ์ตูนแล้วกันค่ะ ทุกคนน่าจะเคยดูการ์ตูนหรืออนิเมะกันใช่มั้ยคะ 


       จุดเด่นที่ดูเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นมากๆที่เราได้จากอนิเมะต่างๆคือ


    • เวลาตัวละครออกจากบ้าน ก็มักจะมีการพูดว่า → 行ってきます (ไปแล้วนะค่ะ/ครับ)  
    • ส่วนเวลากลับมาก็มักจะพูดว่า →  ただいま (กลับมาแล้วค่ะ/ครับ) 

    ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของภาษาญี่ปุ่นมากๆเลยนะคะเราว่า 


       ตอนแรกที่เราได้ยินก็คิดว่า อ่อ พูดกับครอบครัว คนในบ้าน อะไรอย่างนี้ค่ะ แต่บางเรื่องที่ตัวเอกอยู่คนเดียวมีพูดด้วยนี้สิค่ะ 


       เอ้ะ เขาพูดกับใครน่ะ??


       เคยมีใครสงสัยเหมือนเรารึเปล่านะ555 ตอนแรกๆเราก็คิดว่า อาจจะพูดกับพ่อแม่หรือคนในครอบครัวที่อาจจะจากไปแล้วรึเปล่านะ (ดึงอารมณ์เศร้าเฉย55)  แต่บางเรื่องที่อาศัยอยู่คนเดียวจริงๆ แบบแยกมาอยู่อพาร์ทเม้นไรงี้ก็ยังมีฉากพูดอยู่ดีค่ะ555


       และเราก็เคยไปดูคลิปของชาวญี่ปุ่นที่พูดเรื่องนี้โดยบังเอิญ เหมือนตอนนั้นถ้าจำไม่ผิดเขาบอกว่า มันเหมือนก็พูดไปงั้น เป็นคำติดปาก ซึ่งหลังจากทราบเรื่องนี้แล้วเราก็เลิกสงสัยและเลิกคิดถึงเรื่องนี้ไปเลยค่ะ555555 


        พวกคำที่พูดตอนกินข้าวก็เหมือนกันนะคะ 


    •  いただきます〜 จะทานละนะคะ/ครับ
    •  ごちそうさまでした〜 ขอบคุณสำหรับอาหารค่ะ/ครับ 

      เหล่าคำสุดคุ้นหูเหล่านี้แหละค่ะ เป็นคำติดปากที่ไม่ได้พูดเพราะต้องการพูดกับใคร และคนที่ฟังไม่จำเป็นต้องตอบอะไร5555  


      สำหรับพวกเราคนไทย อาจจะรู้สึกว่ามันแปลกๆ รู้สึกเขินๆถ้าจะพูดใช่มั้ยละคะ55555 ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยค่ะ เราไม่มีอะไรแบบนี้นี่นา หรือที่พอจะมีพูดบ้างก็คงเป็นการขอบคุณสำหรับอาหารอะไรอย่างงี้ใช่มั้ยคะ แต่ส่วนตัวเราคิดว่านอกจากจะถูกบังคับให้พูดเวลาไปเข้าค่ายก็ไม่ค่อยได้ยินใครพูดเท่าไหร่เลยค่ะ 


      แล้ว...นอกจากคำพวกนี้แล้วทุกคนคิดว่าในภาษาญี่ปุ่นมีคำที่เขาใช้พูดคนเดียวคำอื่นอีกมั้ยคะ?



       นึกออกกันรึเปล่าน้าาา〜?



       ที่เรานึกออกอีกอันนั้นก็คืออ พวกคำอุทาน ค่าา!!


       ในอนิเมะ เวลาตัวละครบาดเจ็บ ล้ม หัวชน อะไรก็ตามที่ทำให้รู้สึกเจ็บ พวกเขาจะพูดว่าอะไรกันน่าา〜  


        ถ้าเป็นเราก็คง "โอ้ย" ใช่มั้ยคะ 


     แต่คนญี่ปุ่นจะร้องอุทานว่า 痛い! ซึ่งแปลตรงๆตามความหมายว่า “เจ็บ” ค่ะ ไม่ได้แปลว่า โอ้ย แบบที่แปลกันอย่างสวยงามตามบริบทแต่อย่างไร5555


      แต่ที่แปลว่า “โอ้ย” ให้เข้ากับบริบทก็ถือว่าถูกต้องแล้วนะคะ เพราะยึดตามบริบทสังคมและภาษาของภาษาปลายทาง อีกอย่างถ้าแปลตรงตัวแบบ “เจ็บ!!” พวกเราที่เป็นคนดูอนิเมะก็คงรู้สึกแปลกๆใช่มั้ยล่ะคะ5555 แบบ อะไรเนี่ย คือตั้งใจบอกความรู้สึกให้คนอื่นรู้เหรอ แล้วบอกใครล่ะ? 555555

       

       หรืออย่างเวลาหาของเจอก็จะอุทานว่า あった (เจอแล้ว!) คือถ้าเป็นคนไทยคงพูดประมาณ " อ๊ะ! " แล้วต่อด้วย " เจอแล้ว " หรือ " อยู่นี้เอง " ใช่มั้ยคะ ทุกคนอาจจะคิดว่า เอ้ะ มันก็คล้ายๆกันนิ เราก็มีพูดว่าเจอแล้ว แต่คำว่า “เจอแล้ว” ในภาษาไทยเราไม่ได้เป็นคำอุทาน แต่เป็นประโยคบอกเล่าค่ะ “อ๊ะ” ต่างหากที่เป็นคำอุทาน ซึ่งคำอุทานเราก็จะไม่ใช่คำที่มีความหมายในตัวหรือเป็นคำแบบญี่ปุ่น แต่เป็นแค่เสียงที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์เฉยๆ 


       นอกจากคำที่เราๆอาจจะไม่ได้รู้สึกตัวตอนฟังว่ามันคือการพูดคนเดียว อีกหนึ่งอย่างที่เรารู้สึกว่าอนิเมะหรือมังงะญี่ปุ่นเป็นผู้นำเทรนในเรื่องนี้ก็คือ การพูดพึมพัมคนเดียวแบบโต้งๆค่ะ  แบบคนข้างๆได้ยิน แต่คนที่พูดไม่ได้พูดกับคนอื่นไม่ได้ต้องการคำตอบนั้นเอง5555  


    เช่น

     ええと、何だったっけ อืม อะไรกันนะ (เวลาคิดอะไรอยู่)

    ここはどこかな ที่นี้ที่ไหนกัน

    ええと、どこやったっけ อยู่ที่ไหนกันนะ (เวลาหาของ)

    井上(2013:36)「動作にともなう独り言」

       ซึ่งมักจะพูดออกมาแบบเหมือนเป็นเชิงความคิดในหัวที่ถูกพูดออกมา แต่ไม่ได้ต้องการให้คนฟังตอบค่ะ 555555 งงมั้ยนะ  ในการ์ตูนก็มันจะได้ยินใช่มั้ยล่ะคะ  คนญี่ปุ่นเขาก็ใช้กันจริงๆนะคะ555 ส่วนตัวเราคิดว่า อาจจะเพื่อแสดงความรู้สึกของตนเองออกมาอะไรประมาณนั้นค่ะ ?

       

        คนไทยเราเองก็อาจจะมีคนที่พูดคนเดียวอยู่ใช่มั้ยคะ (เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้น555) แต่เวลาที่เราพูดคนเดียว คนอื่นที่เขามาได้ยินก็จะมองว่าแปลกใช่มั้ยล่ะคะ แบบน้องไหวมั้ยคะ5555 ซึ่งก็คือมันไม่ใช่เรื่องปกติในสังคมเราขนาดนั้นค่ะ?



      การพูดคนเดียวของคนญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องที่จะพบได้แค่ในบทสนทนาหรือชีวิตประจำวันนะคะ ในเพลงต่างๆก็พบเช่นกันค่ะ


      โดยเฉพาะพวกเพลงแนวอกหัก 

      

      ซึ่งเพลงที่อาจารย์นำมาเป็นตัวอย่างในหัวข้อนี้ก็คือเพลง なごり雪  ของ イルカ ค่ะ



    คำแปลเพลง →  http://www.japankiku.com/lyric/translet/iruka.html



      ทุกคนลองทำความเข้าใจคำแปลของเพลงประกอบนะคะ 

      เป็นยังไงบ้างคะ เราพึ่งเคยได้ยินเพลงนี้จากในคลาสเป็นครั้งแรกเลยค่ะ เพราะกว่าที่คิดมากๆเลย 



       อ้ะ แต่เรามาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าค่ะ555


       พอดูความหมายของเพลงแล้ว สิ่งแรกๆที่เราสังเกตได้ก็คือ

     

       เป็นสไตล์การบอกเราจากมุมมองบุรุษที่ 1 ค่ะ  ทุกคนสังเกตดูนะคะ ในเพลงจะไม่มีการระบุเลยว่าใครเป็นใคร ผู้หญิงคนนั้นอาจจะเป็นคนรัก ลูกสาว หรือเพื่อนสมัยเด็กที่ผู้ชายที่เล่าเรื่องราวนี้ผ่านเพลงแอบชอบก็ได้  ทั้งเพลงเป็นเพียงการเล่าเรื่องจากมุมมองหรือความคิดของผู้ชายเท่านั้นค่ะ

      

    君の口びるが「さようなら」と動くことがこわくて 下を向いてた

    กลัวว่าริมฝีปากของเธอจะขยับเป็นคำว่า “ลาก่อน” จึงก้มหน้าลง (ผู้ชายอ่านปากผู้หญิง)  

       จากท่อนนี้ ที่ดูจะเป็นท่อนเดียวที่ผู้หญิงเหมือนจะพูดอะไรกับผู้ชาย แต่พอลองอ่านดีๆกลับกลายเป็นว่านี้ก็เป็นสิ่งที่ผู้ชายคิดไปเองเท่านั้นค่ะ ผู้หญิงยังไม่ได้พูดอะไรกับผู้ชายเลยสักคำค่ะ

       อีกทั้งตอนที่อ่านเนื้อเพลงจนจบเราก็ยังไม่เข้าใจเลยค่ะ ว่าผู้ชายเขาต้องการสื่อสารบทเพลงนี้กับใคร เหมือนกับเป็นการบ่นกับตัวเองมากกว่า

      ส่วนตัวเราก็สงสัยค่ะ ว่าเพลงอกหักที่เป็นแนวพูดคนเดียวแบบนี้ของไทยก็มีการพูดคนเดียวนะ  แบบมีการแสดงความรู้สึกนึกคิดตัวคนเล่า แต่อาจจะไม่เป็นการพูดคนเดียวเท่าของญี่ปุ่น เพราะดูต้องการให้คนรักเก่าหรือคนที่แอบรักได้รับรู้มากกว่ารึเปล่านะ อย่างเพลงไทยมักจะมีการใช้คำประมาณว่า “อยากให้เธอรู้…” “อยากฝาก….ไปบอกเธอ”  ให้เจอในเพลงอยู่บ่อยๆค่ะ 

    หรือก็คือ ของไทยจะเป็นแนวเป็นการพูดคนเดียวแต่ก็อยากให้เธอรับรู้นะ 


      แต่ในเพลงญี่ปุ่น อาจารย์ก็บอกว่ามีความเป็นภาษาพูดคนเดียวมากกว่า เพราะหลายๆเพลงเนื้อเพลงไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อให้อีกฝ่ายอ่าน หรือ ถึงอีกฝ่ายรับรู้เขาก็คงไม่ได้ยินดีและไม่มีอะไรไม่ได้เกิดอะไรขึ้น ตอนที่ฟังเราเลยไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเขาต้องการจะสื่อสารกับใครค่ะ?



      และวันนี้เราลองไปหามาเป็นตัวอย่างเพิ่มเติมค่า คือเพลง Lemon ของ Kenshi Yonezu ค่าา


    ทุกคนเคยฟังกันรึเปล่าน่า เพลงนี้เพราะมากๆเลยนะคะ แนะนำๆ?




    คำแปลเพลง → https://hanacherie.blogspot.com/2018/03/kenshi-yonezu-lemon.html



     เป็นยังไงกันบ้างคะ ทุกคนมีความเห็นยังไงกันบ้าง คิดว่าเพลงนี้เองก็เป็นการพูดคนเดียวรึเปล่าคะ? 


    ส่วนตัวเราก็รู้สึกว่าเป็นการพูดคนเดียวอยู่นะคะ บรรยายนั้นนี้ในมุมมองความคิดตัวเอง

     

    อืม.... แต่ก็มีท่อนที่ทำให้รู้สึกไม่แน่ใจอยู่บ้างค่ะ  


    อย่างเช่น


    どこかであなたが今 わたしと同じ様な

    ไม่ว่าเธอจะอยู่แห่งหนใด หากเป็นอย่างที่ฉันเป็นอยู่

    涙にくれ 淋しさの中にいるなら

    กำลังร้องไห้ เศร้าเสียใจ ติดอยู่กับความโดดเดี่ยว

    わたしのことなどどうか 忘れてください

    ขอได้โปรดลืมเรื่องราวของฉันไปเสียเถิด

    そんなことを心から願うほどに

    ฉันเฝ้าปราถนาเช่นนั้น อย่างสุดหัวใจ

    今でもあなたはわたしの光

    แม้ในตอนนี้ เธอก็ยังคงเป็นแสงสว่างของฉัน


     ในท่อนนี้มีการใช้ 〜てください ที่เป็นรูปขอร้อง ซึ่งชี้ว่าสื่อสารกับฝ่ายตรงข้าม

     

     แต่พอท่อนถัดมาเป็น 願う เพื่อบอกว่าที่พูดไปก่อนหน้านี้เป็นแค่สิ่งที่ฉันปราถนาเท่านั้น ไม่ใช่พูดกับอีกฝ่ายตรงๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดึงเรากลับมาที่ฝั่งภาษาผู้คนเดียว555 แต่ก็คิดอยู่เหมือนกันค่ะ ว่าอย่างงี้มันก็เหมือนแบบการอยากบอกอะไรกับเธอแบบอ้อมๆรึเปล่านะ เหมือนก็มีความอยากให้เธอรับรู้ แต่ไม่สื่อตรงๆ แค่ปราถนาหรืออยากให้เป็นอย่างนั้นเฉยๆ  ระ ... รึเปล่านะ5555 


    คนญี่ปุ่นเนี่ยซับซ้อนจัง?



     ทุกคนล่ะคะ คิดเห็นยังไกันบ้าง ?

    มาแชร์กันได้นะคะ แต่ใจเราก็ยังคิดว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีความเป็นภาษาพูดคนเดียวสูงค่ะ และเป็นหนึ่งสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจของภาษาญี่ปุ่นเลยค่ะ




    ถ้ามีอะไรผิดพลาดต้องขออภัยด้วยนะคะ


    ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันค่าา?


    - CLINOMANIAC -



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
padumpalm (@padumpalm)
ฮือ เจ้าของโพสต์สรุปได้ดีและเห็นภาพมากเลยค่ะ มีเพลงประกอบด้วย
เราเองก็ได้รับอิทธิพลจากจุดนี้ของภาษาญี่ปุ่นมากๆเลยค่ะ ตั้งแต่เด็กพอเราเห็นตัวละครจากสื่อญี่ปุ่นชอบพูดกับตัวเอง เราก็กลายเป็นคนพูดคนเดียวไปโดยไม่รู้ตัว55555 เช่น รีแอคชั่นของตัวเองต่อเหตุการณ์ต่างๆ , เวลานึก , เวลาวางแผน แต่เวลาเราพูดคนเดียวก็ไม่ได้อยากให้ใครมาได้ยินเลยค่ะ เดี๋ยวเขาหาว่าเราคุยกับแม่ซื้อ 55555 แต่พอช่วงนี้ต้องใส่หน้ากากอนามัยแล้วก็ไม่มีใครมาสังเกต ก็ถือเป็นข้อดีของมันค่ะ