สวัสดีค่าทุกคนนน ขอบคุณที่ยังเข้ามาอ่านกันค่า รู้สึกว่าภาษาศาสตร์มีความน่าสนใจขึ้นมากันบ้างรึเปล่าคะ? 555
เรากะจะรีบลงตามโพสก่อนไม่กี่วัน แต่สุดท้ายก็ลากยาวไปซะได้ 555555;-;
ช่วงนี้ชีวิตค่อนข้างวุ่นวาย ต้องขอโทษด้วยนะคะ
เอาล่ะค่ะ เพื่อไม่ให้ทุกคนเสียเวลา เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่าา?
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับ SLA และ Markedness แล้ว เราจะมาดูถึงการแปรผันของมันตามสังคมและยุคสมัย รวมถึงการนำมาใช้ประยุกต์ในการวิเคราะห์กันค่าา
แน่นอนว่าแนวคิดนี้ไม่ใช่แค่ตัวภาษาเพียวๆแต่รวมไปถึงด้านวัฒนธรรมด้าย
เช่น
❶ สำหรับคนไทยถ้าเราพูดถึง “ชา” ชานั้นคือชาอะไร? ใช้ประเภทเดียวกับ “ชา” ในความหมายของคนญี่ปุ่นรึเปล่า?
TH - ชา (สีน้ำตาล)
- ชาเขียว
JP - 茶 (สีเขียว)
- 紅茶
ชา -> ชาที่มีสีน้ำตาล ชาที่คนไทยเรารู้จักกันมานานคือพวกชาหมักสีเข้มค่ะ
อย่างเช่น ชาจีน ชาไทย ส่วนชาเขียวที่ได้รับมาจากญี่ปุ่นเป็นสิ่งใหม่
ต้องมีการเน้นเพื่อให้การสื่อสารไม่คาดเคลื่อน
茶 -> ชาเขียว เป็นชาที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันมานานและรับรู้โดยไม่ต้องพูดระบุเพิ่มเติม
ในขณะที่ชาสีน้ำตาลแบบฝรั่งต้องมีการเพิ่มเพื่อเน้นว่ามันคนละอย่างกับชาปกติของเขาค่ะ
❷ การเปิดปิดฝาชักโครกของคนไทยและคนญี่ปุ่น
TH - การเปิด (unmarked) / การปิด (marked)
JP - การเปิด (marked) / การปิด (unmarked)
→ การปิดฝาไว้ของคนไทยทำเพื่อแสดงไว้ว่ามันไม่พร้อมใช้งานใช่มั้ยล่ะคะ แต่สำหรับคนญี่ปุ่นการปิดไว้เป็นเรื่องปกติแสดงว่าพร้อมใช้งานค่ะ ดังนั้นก็อาจจะเกิดการเข้าใจผิดเนื่องจากความต่างทางวัฒนธรรมนี้ได้เช่นกันค่ะ555
ฉนั้น ทุกคนเวลาไปญี่ปุ่น(ถ้าฝันอันยิ่งใหญ่นี้เป็นจริง;-;555) ถ้าเจอห้องน้ำที่ชักโครกปิดฝาไว้ไม่ต้องตกใจนะคะ55555?
❸ คำว่าพี่น้องในภาษาญี่ปุ่น
ในภาษาญี่ปุ่นญี่ปุ่นมีคำที่แปลว่า “พี่น้อง” 2 คำค่ะ คือ「兄弟」และ「姉妹」ในสมัยก่อนก็มีการแบ่งใช้ตามความหมายคันจิอยู่ค่ะ
พี่น้องผู้ชาย -「兄弟」
พี่น้องผู้หญิง -「姉妹」
แล้วถ้าเป็นพี่น้องชายหญิงล่ะ ใช้อะไรกันนะ???
→ คำตอบก็คือ 「兄弟」นั่นเองค่ะ
และเนื่องจาก「兄弟」ใช้ได้ในความหมายที่กว้างกว่า ในปัจจุบันเวลาจะใช้คำว่าพี่น้องก็จะใช้คำนี้กันเป็นปกติโดยไม่ค่อยคำนึกเรื่องเพศกันเท่าไหร่แล้วค่ะ
ดังนั้น เวลาถามว่ามีพี่น้องมั้ย ก็จะใช้รูปประโยคว่า「ご兄弟はいますか」
「兄弟」-> unmarked /「姉妹」-> marked (ที่อาจจะใช้เน้นจริงๆว่าเป็นพี่น้องหญิงล้วน)
และอีกหนึ่งตัวอย่างที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันในหลายๆสังคม
❹ การถามขนาดหรือปริมาณ
TH - น้ำหนักเท่าไหร่เหรอคะ
ENG - How much do you weigh? / How heavy are you?
JP - 体重はどれぐらいですか?
CN - 你有多重?
→ จุดร่วมของภาษาต่างๆในที่นี้จะใช้คำว่า “หนัก” ในการถามปริมาณหรือน้ำหนักเป็นคำทั่วไปในการพูด ดังนั้น “หนัก , heavy/much , 重” เป็น unmarked ฝั่งของพวกคำที่มีความหมายว่า “เบา” จะเป็น marked
นอกจากนี้คำที่ถามความแคบความกว้าง ความสูงต่ำ ก็จะนิยมถามด้วยขอบเขตหรือคำที่สื่อถึงขอบเขตที่จะสิ้นสุดของขนาดนั้นๆด้วยค่ะ เช่น กว้างเท่าไหร่ สูงเท่าไหร่ (unmarked)
ต่อมาจะเป็นส่วนการนำไปใช้ได้จริงแล้วค่ะ55555 (รึเปล่านะ แหะๆ?)
หรืออาจจะพูดได้ว่านำมาประยุกต์ในการเรียนภาษาก็ได้ค่ะ การที่เรารู้ทฤษฎีนี้ก็อาจจะช่วยในการทำความเข้าใจหรือช่วยในการเรียนภาษาอื่นๆได้มากขึ้นก็ได้นะคะ
อย่างเช่นในการเรียนภาษาญี่ปุ่นที่เรารัก 55555
ทฤษฎีนี้ก็สามารถพบเห็นอย่างชัดเจนได้ตั้งแต่สิ่งที่เราเรียนตอนเริ่มเรียนแรกๆเลยค่ะ
นั้นก็คือ!!
〜が/〜がっている นั้นเองค่าาา
คุ้นๆกันบ้างมั้ยเอ๋ย
สำหรับคนที่เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นมาสักระยะ นี้คงถือว่าเป็นรูปประโยคสุดคุ้นเคยเลยใช่มั้ยคะ55555
unmarked - 怖いです ( ใช้กับบุรุษที่ 1 )
marked - 怖がっています ( ใช้กับบุรุษที่ 3 )
และอีกไวยากรณ์ที่คล้ายคลึงกัน 〜そうです !!
unmarked - うれしいです (ใช้กับบุรุษที่ 1)
marked - うれしいそうです (ใช้เมื่อพูดถึงบุรุษที่ 2,3)
→ ไวยากร์เหล่านี้จะใช้ในการบอกความรู้สึก ความต้องการของบุรุษที่ 3 เป็นการบอกให้รู้ว่านั้นไม่ใช่ความรู้สึกเขาตรงๆ เราไม่ได้ตัดสินความรู้สึกเขาแทนเจ้าตัว แต่เป็นการมองจากมุมมองเราว่าเขาดูเป็นเช่นนั้น หรือเรารู้สึกว่าเขามีความรู้สึกแบบนั้น
? ทั้งนี้เราคิดว่าเนื่องจากภาษาญี่ปุ่นมักนิยมละประธานเมื่อประธานเป็น 私 หรือ ตัวเอง ดังนั้นเวลาที่พูดแค่ “ 怖いです ” “ 欲しいです ” ก็จะสามารถอนุมานได้ทันทีว่าพูดถึงความรู้สึกของเจ้าตัว ดังนั้นเวลาพูดถึงความรู้สึก ความต้องการของบุคคลอื่นก็จะทำการ marked ให้รู้
อย่างในภาษาไทยเรา ก็อาจจะมีคำว่า “จัง” ใช่มั้ยคะ
unmarked - ดีใจ (ใช้กับบุรุษที่ 2,3)
marked - ดีใจจัง (ใช้กับบุรุษที่ 1)
→ ถ้ามีคำว่า “จัง” ผู้ฟังก็จะรับรู้ได้ทันทีว่า อ่อ เขาพูดถึงตัวเอง กำลังบอกความรู้สึกของตัวเอง อะไรประมาณนั้นค่ะ
แต่จะว่าไป ส่วนตัวเราก็คิดไม่ออกเหมือนกันนะคะ ว่าภาษาไทยสามารถบอกได้มั้ยว่าเรานิยม marked การบอกความรู้สึกของบุรุษไหน
เพราะพอลองคิดถึงคำอื่นๆ เช่น “ดู + ความรู้สึก”
unmarked - ดีใจ (ใช้กับบุรุษที่ 1,3)
marked - ดูดีใจ (ใช้กับบุรุษที่ 2,3)
ตามที่เห็นในภาษาไทยเราจะใช้ "ดู + ความรู้สึก" marked บุรุษอื่นๆที่ไม่ใช่บุรุษ 1 ซะมากกว่า
แล้วทุกคนล่ะคะ ?
คิดว่าภาษาไทย นิยมในการmarked การบอกความรู้สึกของบุรุษไหน? หรือ ไม่มีเลย เราเป็นภาษาสุดอิสระ55555
ทั้งนี้ในการใช้ภาษาถ้าหากเราใช้สลับกันหรือใช้ไม่ถูก แม้มันจะสื่อความได้ ไม่ได้ผิดทางความหมายมามายอะไร แต่เจ้าของภาษาที่ฟังก็คงจะรู้สึกแปลกๆใช่มั้ยล่ะค่ะ
เช่น มีชาวต่างชาติบอกว่า “ คุณสมชายดีใจจัง ”
ถึงจะเข้าใจแต่มันก็คงรู้สึกแปลกๆใช่มั้ยคะ555 ?
เราคิดว่าเรื่องนี้อาจเป็นประโยชน์ในการต่อยอดการเรียนภาษาได้ก็ได้นะคะ หากเราพอรู้แนวคิดในการใช้ภาษาก็จะสามารถเรียนรู้และใช้ได้ดีขึ้นด้วยก็ได้นะคะ อย่างเวลาแสดงความรู้สึกของบุรุษที่2,3 เราก็จะเน้นย้ำกับตัวเองให้จำว่าต้องมีการเน้น marked เพิ่มด้วย โดยการใช้รูป 〜がる/〜そう(だ)
เย้!! จบไปแล้วนะคะ กับเนื้อหาสุดเข้มข้นของเรา55555
ทุกคนคิดเห็นยังไเกี่ยวกับภาษาศาสตร์หัสข้อนี้บ้างคะ? มาแชร์กันได้เต็มที่เลยนะคะ
เป็นยังไงบ้างคะทุกคนนน หวังว่าจะสนุกกันนะคะ555
ถ้ามีอะไรผิดพลาดต้องขออภัยด้วยนะคะ
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันค่าา?
- CLINOMANIAC -
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in