เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Me X AppJpLingclinomaniac
SLA : Markedness ภาษาเนี่ยมีเด่นไม่เด่นด้วยเหรอ? #1
  •  สวัสดีอีกครั้งนะคะทุกคนนน? ขอบคุณที่คลิกเข้ามาอ่านกันค่ะ ยินดีต้อนรับสู่โพสที่2ของเราา



    เนื้อหาวันนี้จะค่อนข้างมีความวิชาการ ภาษาศาสตร์จ๋าหน่อยนะคะ 


    แต่รับรองสนุกและน่าสนใจแน่นอน  (คิดว่านะคะ555555)

    ถึงตอนเรียนบางทีสมองเราจะคิดตามไม่ค่อยทัน แต่ก็รู้สึกว้าวซ่ากับเรื่องนี้มากๆเลยค่ะ? 555555


    และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา

    มาเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่าค่ะ! ! !


    .

    เนื่องจากหัวข้อที่เราเลือกเป็นประเภทย่อยของทฤษฎี SLA  
    ดังนั้นเรามาทำความรู้สึกกับสิ่งนี้กันก่อนดีกว่าค่ะ 

    SLA : Second language acquisition

    Second language acquisition (SLA) หรือ ทฤษฎีการได้มาซึ่งภาษาที่สอง " 


    โดยปกติแล้ว หากคิดตามหลักภาษาศาสตร์ การเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งภาษาที่ 2 ก็มักจะต้องมีเรื่องเกี่ยวโยงเกี่ยวกับปัจจัยอย่างภาษาแม่ของผู้เรียนกับภาษาเป้าหมายใช่มั้ยคะ


    แน่นอนว่าสำหรับวงการวิชาการที่กว้างใหญ่และมักมีแนวคิดทฤษฎีใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอนั้น 

    แนวคิดต่างๆในด้านวิชาการก็จะแตกต่างกันไปตามนักวิชาการค่ะ 

    ซึ่งแนวคิดที่อาจารย์นำมาสอนเป็นของ Selinker ค่ะ


    การใช้ภาษาผิดคล้ายๆกันของผู้เรียนที่มีภาษาแม่ต่างกัน เป็นเพราะมีระบบภาษาบางอย่างร่วมกันที่ไม่ได้มีผลมาจากภาษาแม่ของตน




    Selinker ถือว่าเป็นคนแรกเลยนะคะที่บอกว่ากฎของเรียนภาษานั้นไม่ได้ยึดติดที่ภาษาต้นทางและปลายทางเพียงอย่างเดียว แต่มีกฎที่แยกออกมาด้วย


    ดังนั้น เราจะไม่ได้แค่ศึกษาปัจจัยแค่ของจุดเริ่มต้นและเป้าหมาย แต่เป็นการศึกษาระหว่างทางด้วยค่ะ



    ภาษาระหว่างกลาง ( Interlanguage) 

    อธิบายง่ายๆก็คงจะเหมือน ระดับเลเวลความสามารถภาษาที่2  ค่ะ 

    ทุกคนลองคิดภาพเป็นเกมส์เก็บเวลทั่วไปก็ได้ค่ะ สิ่งนี้ก็คล้ายๆกับหลอดค่าความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตลอดมีความต่อเนื่อง ถ้าฝึกฝนมากก็ยิ่งเอียงไปทางค่าเป้าหมายมาก แต่ถ้าไม่ได้ใช้ ห่างหายจากมันไปนานๆๆก็อาจจะลดถดถอยลงได้เช่นกันค่ะ  



    เราขอยกตัวอย่างให้ดูเป็นรูปธรรมโดยการบอกระดับของเกณฑ์สากลอย่าง JLPT ประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายค่ะ

    อ้างอิงจากสไลด์ของอาจารย์ ( ที่มา迫田 2002:28 ) 

    นอกจากนี้ ระดับและกฎการเพิ่มลดก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละคนด้วยค่ะ เนื่องจากเวลาเรียนภาษา สาเหตุของความผิดพลาดในภาษานั้นๆของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปใช่มั้ยล่ะคะ 

    เช่น 

    - ข้อผิดพลาดในการใช้ภาษาที่ 2 อาจมาจากการยึดแนวคิดภาษาแม่  
      มีความสุข → 幸せ(ความสุข) があります(มี)
    - การคิดสรุปรวบยอดไปเองซึ่งมีอิทธิพลจากความรู้เก่า 
      ไม่สวย →きれくない เพราะคิดว่าきれいเป็นAdj.い เคยเรียนมาก่อนว่าAdj. ที่ลงท้ายด้วยい มักเป็นAdj.い


    ?แนวคิดนี้จึงจะศึกษาโดยให้ความสนใจทั้ง ข้อผิดพลาด(error) และ การใช้ 




    เป็นยังไงกันบ้างคะ ทุกคน

    พอจะเข้าใจ SLA กันมากขึ้นรึเปล่า55555



    หลังจากทำความรู้จักกับ SLA กันไปพอหอมปากหอมคอแล้ว....


    เรามาต่อที่เรื่องหลักของเรากันดีกว่าค่ะ ! !



    Markedness (Marked) / Unmarkedness (Unmarked)
    ความเด่น(有標) / ไม่เด่น(無標)


    ตอนแรกที่เห็นชื่อเรื่องเรางงมากเลยค่ะ555 

    ภาษาเนี่ยมันมีอะไรเด่นเหรอ แล้วไม่เด่นนี้คืออะไร จืด ไม่ปังเหรอ งง555 ? 


    ทุกคนสงสัยเหมือนเรามั้ยคะ? เริ่มอยากรู้แล้วใช่ม้าาา (แกล้งๆก็ยังดีค่ะ555) 



    แต่!!

    ก่อนจะเริ่มอธิบายจริงจัง เรามาลองเล่นเกมส์กันหน่อยดีกว่า?



    ทุกคนลองอ่านบทความด้านล่างและคิดคำตอบของตัวเองดูนะคะ?

    อ้างอิงจากสไลด์ของอาจารย์ ต้นฉบับ(คลิก) 




    Ans แม่ของเด็กผู้ชายนั้นเองงง ปิ๊งป๊องงง~~   ตอบถูกกันมั้ยคะ55





    หลายๆคนที่อ่านอาจจะรู้สึกงงๆในตอนแรกใช่มั้ยคะ เอ้ะ มีพ่อ 2 คนเหรอ อะไรประมาณนั้น 

    ทำไมถึงเป็นแบบนั้นกันนะ?



    ปิ๊งป๊อง~! 


    ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าโดยปกติแล้วพอเราพูดหรือได้ยินคำว่า "หมอ" โดยเฉพาะหมอผ่าตัด เรามักจะนึกถึงคุณหมอที่เป็นผู้ชายนั่นเองค่ะ คล้ายๆกับการที่เมื่อเราได้ยินคำว่า "พยาบาล" ก็จะคิดว่าเป็นผู้หญิง ซึ่งภาพจำหรือภาพลักษณ์ที่เรามีร่วมกันในสังคมโดยไม่ต้องพูดระบุเสริมใดๆเหล่านี้ในทางภาษาศาสตร์จะเรียกว่า “ ลักษณะไม่เด่น (unmarked) ” ค่ะ 


    เล่นเองตอบเองบางทีก็เขินเหมือนกันนะคะเนี่ย55555555


    สรุป

    ? ความไม่เด่น (unmarked)

    ลักษณะทั่วไป ปกติ defaultในหัวของเรา


    ความเด่น (marked)

    สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ marked  ไม่ปกติทั่วไป จำเป็นต้องมีการเน้นหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อแสดงออกถึงความแตกต่าง



    ตัวอย่าง 


    แพทย์ = ผู้ชาย (unmarked)   แพทย์หญิง = ผู้หญิง (marked) 


    พยาบาล = ผู้หญิง (unmarked)   บุรุษพยาบาล = ผู้ชาย (marked) 


    → จะเห็นว่ามีการเพิ่มคำว่า “หญิง” และ “บุรุษ”  ขึ้นมาเพื่อแสดงถึงความแตกต่างจากลักษณะปกติ



    walk  = เดิน ทั่วไป (unmarked)   walked = เดิน เน้นความเป็นอดีต (marked) 


    Dog = สุนัข เอกพจน์  (unmarked)    Dogs = สุนัขหลายตัว พหูพจน์ (marked) 


    「さすせそ」「sa・shi・su・se・so」เสียงし มีเสียงต่างจากตัวอื่น (marked) 




    ทุกคนพอเห็นภาพขึ้นมั้ยคะ? 55555 

    หวังว่าทุกคนจะชอบเนื้อหาครั้งนี้กันนะคะ ?


    ถ้ามีขอผิดพลาดหรือข้อมูลไม่ถูกต้องยังไง สามารถบอกกล่าวกันได้นะคะ?



    อ้ะๆ !! แต่ว่าเนื้อหาที่จะนำมาแชร์ไม่ได้จบลงแค่นี้หรอกนะคะ 


    ลักษณะเด่นและไม่เด่นนี้ยังแปรผันเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมและยุคสมัยด้วยค่ะ!! ?

    ดังนั้นในแต่ละภาษา อย่างเช่นภาษาไทยกับภาษาญี่ปุ่นแม้จะมีคำที่แปลตรงกัน แต่เซ้นส์ของของสิ่งนั้นอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้นั่นเองค่ะ





    ถ้าสนใจอยากอ่านเพิ่มเติม รออ่านในโพสหน้าได้เลยค่าา?


    - CLINOMANIAC -






Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Naomi (@fb1561813140636)
เรื่องนี้น่าสนใจมากๆเลยค่า เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวมากแต่ไม่เคยเอะใจสงสัยเลย พอได้รู้เรื่องนี้แล้วแบบ ว้าว มากเลย5555
k.l.k (@k.l.k)
สรุปสิ่งที่เรียนมาให้ครบถ้วนเลยค่ะ