เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
To all the movies I've watched beforeilysm
Movie Review and Analysis “JOKER (2019) - โจ๊กเกอร์
  • Movie Review and Analysis

    “JOKER"

    โจ๊กเกอร์”





    *คำเตือน: มีสปอยล์ ภาพประกอบ และความอวยสูงมาก สูงลิบลิ่ว สูงจนแทบจะเปิดหนังให้ดูแล้วอวยไปทีละซีนอยู่แล้ว


                    จากหนังที่ได้ยินชื่อผ่านๆ ไปดูวันแรกๆ กันโดนสปอยล์เฉยๆ ไม่ได้คาดหวังอะไร ไม่ได้สนใจตัวละครโจ๊กเกอร์ ไม่ใช่แฟนดีซี กลายเป็นหนังโปรดที่ดูบ่อยที่สุดในชีวิต ดูมาแล้ว 6 รอบ ไฮป์มาตลอด 4 เดือนแบบไม่หยุดหย่อน ดังนั้นจึงเขียนรีวิวนี้ขึ้นมาเพื่ออวย! อวย! และอวย! ไม่สามารถถ่ายทอดความชอบที่มีต่อหนังเรื่องนี้ออกมาเป็นตัวอักษรได้หมด แต่กล้าพูดว่าเป็นหนังที่เปลี่ยนชีวิตเรา เปลี่ยนมุมมองความคิด สร้างแรงบันดาลใจให้อยากมีชีวิตต่อ อยากลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง เช่นเปิดคอมพิมพ์รีวิวหนังครั้งแรกในรอบ 1 ปี ๕๕๕๕๕๕๕๕ ตลอดเวลาที่เขียนคือเนื้อหาพรั่งพรูไหลลื่นออกมาจนยาวเบอร์นี้ และนอกจากอวยแล้วก็ใส่รายละเอียดที่รวบรวมมาจากบทสัมภาษณ์ สคริปต์หนัง บทความวิเคราะห์ คอมเม้นท์ของแฟนๆ รวมไปถึงจุดที่สังเกตหรือวิเคราะห์ได้เองด้วย ถ้าใครทนอ่านจนจบก็แวะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้นะคะ ถ้าใครยังไม่เคยดู แนะนำให้สัมผัสด้วยตัวเองก่อน เพราะนี่อาจจะเป็นหนังเปลี่ยนชีวิตคุณด้วยเหมือนกัน!

                     (แต่แอบติด trigger warning ว่าหนังเรื่องนี้มี representation of mental illness, suicidal thoughts, violence ค่ะ) 




     เรื่องย่อ

                  อาเธอร์ เฟล็ค (Arthur Fleck) ใฝ่ฝันจะเป็นนักแสดงตลกที่ประสบความสำเร็จ แต่ความฝันช่างห่างไกลกับความจริงเพราะเขาเป็นชายที่หม่นหมอง ถูกมองว่าแปลกแยก มีฐานะยากจน ต้องดูแลแม่ที่แก่ตัว ซ้ำยังป่วยทางจิตและเป็นโรคควบคุมการหัวเราะไม่ได้ (PBA - Pathological laughing) ชีวิตของอาเธอร์ดำเนินไปพร้อมเรื่องร้ายๆ ที่ทยอยเกิดขึ้นจนถึงวันที่เขาทนไม่ไหวอีกต่อไป


    ตัวละคร

                    Joker เป็นหนังที่ต่างจากขนบหนัง Comic book นิดหน่อย เพราะไม่ใช่หนังเน้นฉากแอ็คชั่นตู้มต้าม แต่เป็น Character study เน้นๆ เป็นหนังแสตนอะโลนที่ลงลึกไปสำรวจจิตใจของอาเธอร์ เฟล็ค ตั้งแต่ตอนที่เขายังเป็นคนธรรมดา ไปจนถึงตอนที่เขากลายเป็นวายร้ายโดยสมบูรณ์แล้ว ดังนั้น ตัวละครจึงถือเป็นจุดเด่นของหนังเรื่องนี้เลยก็ว่าได้ เราชอบตั้งแต่พัฒนาการ งานวางคาแรกเตอร์ที่ละเอียด และสัญลักษณ์ที่สื่อออกมาโดยตัวละครนี้




                   อาเธอร์เป็นตัวละครที่ซับซ้อนมากตัวละครหนึ่ง พัฒนาการของอาเธอร์คือสิ่งที่น่าติดตามที่สุดของหนัง เรียกได้ว่าเป็นตัวละครที่ถูกผลักดัน บีบคั้น ไล่ต้อนไปจนถึงจุดที่ระเบิดเปรี้ยงได้อย่างสวยงามตั้งแต่ต้นจนจบ เปิดเรื่องมา เราก็ได้เห็นอาเธอร์ที่แต่งหน้าเป็นตัวตลก พยายามจะดึงปากตนเองให้ยิ้ม แต่น้ำตาไหล ฉากสั้นๆ นี้เหมือนวางอินโทรไว้แล้วว่าอาเธอร์เป็นคนที่พยายามจะ "Put on a happy face" แต่ภายในแท้จริงแล้วไม่เคยมีความสุขสักครั้งในชีวิต ตามด้วยฉากอาเธอร์ถูกเตะต่อยทำร้ายจนลุกไม่ไหว เผยให้เห็นด้านอ่อนไหวของตัวละครไม่พอ ยังปู exposition ต่อว่าอาเธอร์ต้องพบจิตแพทย์และมีปัญหากับการที่ไม่มีใครรับฟังเขา สังเกตแล้วอาเธอร์จำเรื่องราวทุกอย่างได้แม่นยำมาก เช่นตนเองเล่าอะไรไปบ้าง หรือเมอร์รีย์เรียกเขาว่า Joker ในขณะที่คนอื่นจำไม่ได้หรือไม่ใส่ใจเขาเลย แค่ต้นเรื่องเราก็ให้ใจอาเธอร์ไปแล้วครึ่งหนึ่ง แถมหนังก็ยังนำเสนอแง่มุมอบอุ่นของอาเธอร์อย่างต่อเนื่อง แท้ที่จริงอาเธอร์น่ารักออก T __ T พยายามเล่นกับเด็ก ดูแลแม่ ให้ดอกไม้บรูซ อ่อนโยนกับแกรี่ แต่ก็ยังเผชิญกับการกลั่นแกล้ง ดูแคลน ทำร้ายร่างกาย ตกงาน อาการป่วย ความฝันที่ล้มเหลว ไม่ใช่เพียงแค่คอนฟลิกต์เหล่านี้มีผลต่อพัฒนาการตัวละครมากๆ แต่ตัวละครนี้ยังกลายเป็นตัวแทนของคนอย่างน้อยๆ 2 กลุ่มไปแล้ว คือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (และหนังก็นำเสนอความคิดความรู้สึกของผู้ป่วยออกมาได้โดยไม่ปรุงแต่ง) และกลุ่มคนชนชั้นล่างที่ถูกสังคมทอดทิ้ง 



                   แต่ถึงจะเผชิญอุปสรรคมากมาย ตัวละครอาเธอร์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงปุบปับ เขาค่อยๆ เปลี่ยนไปตามเรื่องราวที่พบ เช่น เมื่อตัดสินใจฆ่าคนครั้งแรก เขาก็มีความมั่นใจมากขึ้นเวลาพูดคุยกับคนอื่นหรือทำตัวรุนแรงอย่างการถีบประตู เริ่มระเบิดอารมณ์ใส่โทมัส เวย์น แต่นั่นก็ยังไม่ทำลายอาเธอร์จนป่นปี้เท่าการได้รู้ชาติกำเนิด หรือคือการค้นพบ lies/truth ของตัวละคร แล้วยังมารู้อีกว่าโซฟีเป็นแค่จินตนาการ ตัวละครที่รู้สึกว่าตนไม่เป็นที่รักที่ต้องการของใครเลยจึงปล่อยให้บุคลิกโจ๊กเกอร์ครอบงำอย่างเต็มรูปแบบ การเปลี่ยนแปลงของอาเธอร์จริงๆ แล้วเป็นขั้นเป็นตอนชัดและคมมาก เราถึงได้กล่าวไว้ในตอนแรกว่าหนัง craft พัฒนาการของอาเธอร์ได้สวยงามและกระตุ้นอารมณ์ร่วมอย่างไม่น่าเชื่อ เผลอเอาใจช่วยให้อาเธอร์บรรลุ objective ตนเอง นั่นคือทุกคนมองเห็นเขา เขามีตัวตน อย่างในฉากปาดเลือดเป็นรอยยิ้มอันแสน iconic ท่ามกลางเสียงโห่ร้อง ฮือ นึกถึงโควทที่ว่า "You are obsessed with character development because you can't cultivate your own" ก็จริงนะ ในชีวิตจริงแสดงออกแบบนี้ไม่ได้ การเห็นอาเธอร์กลายเป็นโจ๊กเกอร์ถึงทำให้เรารู้สึกสุขปนเศร้า และตกหลุมรักตัวละครนี้ยิ่งกว่าเดิม 



                   บอกเลยว่าเทใจให้อาเธอร์ไปเต็มๆ เพราะหนังนำเสนอตัวละครนี้ในแง่ที่เป็นมนุษย์ปุถุชนมาก สมจริงมาก รีเลทง่ายมาก จนอาเธอร์กลายเป็น 'พวกเรา' ในทางใดทางหนึ่งไปแล้ว ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ของอาเธอร์กลายเป็นชัยชนะหรือความพ่ายแพ้ของเรา น่ากลัวเหมือนกันที่หนังสามารถสร้างตัวละครที่ powerful ขนาดนี้ออกมาได้ เข้าใจว่าทำไมคนถึงมองว่าหนังเรื่องนี้พยายามจะ justify การกระทำของตัวร้าย แต่เราแค่มองว่าหนังก็ทำหน้าที่เหมือนศิลปะทั่วไปคือสะท้อนความจริง การที่หนังทำให้เราอินไปกับอาเธอร์ เอาใจช่วยทั้งที่รู้ว่าสิ่งที่อาเธอร์ทำนั้นผิด ก็แค่พิสูจน์ว่าหนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จในการเป็นมากกว่าหนัง ไม่ใช่แค่สำรวจจิตใจอาเธอร์ แต่ยังพาคนดูไปสำรวจจิตใจตัวเองได้ด้วย และเมื่อเดินออกมาจากโรง เราก็รู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไป ไม่ใช่จะไปหยิบปืนมาไล่ยิงนะ ๕๕๕๕๕๕๕ แต่เหมือนเราตื่นจากฝัน เห็นต้นตอของปัญหามากขึ้นว่า system หรือระบบมัน fucked up แค่ไหน และเราจะไม่ลุกขึ้นสู้เหรอ รู้สึกอยากใช้ชีวิตต่อไปโดยไม่ยอมแพ้เพราะ That's life อยากจะสร้างอิมแพ็คกับสังคม หรืออย่างน้อยก็แค่สร้างตัวละครที่ powerful แบบนี้บ้าง



                  นอกจากพัฒนาการแล้ว เราชอบดีเทลย่อยๆ ของตัวละครมากกกกกกกก หนึ่งในช้อยส์ที่ดีของหนังเรื่องนี้คือเลือกใช้ตัวละครที่เป็น unreliable narrator เห็นได้จากการที่อาเธอร์จินตนาการหลายๆ สิ่งไปเอง เช่น การมีโซฟีข้างๆ กาย หรือตอนสุดท้ายที่ถูกขังในโรงพยาบาล แล้วเดินออกมา รอยเท้าเปื้อนเลือด ซึ่งก็ไม่มีใครรู้ว่าสรุปอาเธอร์คิดไปเองทั้งหมดแล้วตัวเองยังอยู่ในโรงพยาบาลรึเปล่า (อย่างการที่อาเธอร์นึกมุกตลกแล้วภาพตัดไปที่พ่อแม่บรูซตาย จริงๆ อาเธอร์ไม่น่าจะรู้เรื่องนี้) แต่ถ้าถามเรา เราว่าทุกอย่างเกิดขึ้นจริง แต่ฉากนี้แค่ตอกย้ำพัฒนาการขั้นสุดของอาเธอร์ คืออาเธอร์สามารถหัวเราะอย่างเจ็บปวดและมีความสุขไปพร้อมๆ กันได้แล้ว ตรงข้ามกับซีนเปิดที่ต้องบังคับตัวเองให้ยิ้ม




                   การที่อาเธอร์เดินออกมาแล้วเท้าเปื้อนเลือด เราคิดว่าอาเธอร์ไม่ได้ฆ่าตัวจิตแพทย์จริงๆ แต่เป็นภาพในหัวอาเธอร์ เพราะอาเธอร์แยกแยะความจริงกับแฟนตาซีไม่ได้อีกต่อไปแล้ว มีทฤษฎีที่น่าสนใจวิเคราะห์ว่าอาเธอร์ใช้การสูบบุหรี่เพื่อแยกเรื่องที่เกิดขึ้นจริงกับไม่จริง ตอนอยู่กับโซฟีอาเธอร์จะไม่สูบเลย แต่ตอนอยู่คนเดียวกลับสูบจัดมาก ดังนั้นถ้าสังเกตฉากนี้ กล้องจะโฟกัสนิ้วที่เปื้อนเถ้าบุหรี่ที่บ่งบอกว่าอาเธอร์สูบจัดมากๆ เหมือนจะย้ำว่านี่คือเรื่องจริง แต่เมื่ออาเธอร์เดินออกจากห้อง สีสันในฉากกลับฟุ้งๆ ไปหมด ทำให้เราคิดเอาเองว่าอาเธอร์หลังเป็นโจ๊กเกอร์แล้วคงจะบิดเบือนความจริงกับจินตนาการจนมันปนกันมั่วไปหมด (ส่วนตัวแอบเชียร์ทฤษฎีการใช้บุหรี่แยกความจริงมาก เพราะในเรื่องอาเธอร์ struggle กับการแยกแยะความจริงอยู่ตลอดเวลา เช่นฉากที่ใช้มือจับสัมผัสตัวเองเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองจะได้ไปออก Murray Franklin's show จริงๆ)



                 เอาจริงๆ ถ้ามองในแง่บท ช้อยส์ unreliable narrator ไม่เพียงแต่สะท้อน madness ของตัวละครแต่ยังแก้พล็อตโฮลได้จนไม่รู้ว่าอะไรคือความจริงอะไรคือพล็อตโฮลไปแล้ว ๕๕๕๕๕๕๕๕๕ อย่างจุดที่ว่ารอยเท้าเปื้อนเลือด บางคนก็มองว่าพล็อตโฮล แต่เรามองว่าผู้กำกับตั้งใจ หรือจุดที่อาเธอร์ยิงปืนเกินจำนวนนัดที่บรรจุได้ เราคิดว่าผู้กำกับไม่น่าจะพลาดจุดง่ายๆ แบบนี้ บางคนก็มองว่าจุดนี้ไม่ใช่ช่องโหว่แต่เป็นสัญญะบ่งบอกว่าทั้งหมดเป็นฉากมโนของอาเธอร์เลยมีความเกินจริงซ่อนอยู่ ถกกันต่อได้ไม่จบไม่สิ้น แต่ก็ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอะไรคือคำตอบที่ถูกต้อง ขนาดการที่คนพยายามตีความตัวเลขนาฬิกาที่หยุดอยู่ 11.11 น. ทุกเรือน ผู้กำกับยังงงเลย บอกว่าเพิ่งรู้เนี่ย ๕๕๕๕๕๕๕๕



                  ดีเทลอื่นๆ ที่ชอบ ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะคาแรกเตอร์อาเธอร์นั้นแน่นจริงๆ หรือว่าวาคีน ฟีนิกซ์ (Joaquin Phoenix) นักแสดงนำสร้างนิสัยอาเธอร์เพิ่มขึ้นมาเอง เราชอบตั้งแต่การที่อาเธอร์มีอาการควบคุมการหัวเราะไม่ได้ ที่นอกจากจะถ่ายทอดออกมาได้ดีและสมจริงจนผู้ป่วยโรคนี้ชื่นชมการแสดงของวาคีนแล้ว ยังสื่อนัยยะที่ว่าอาเธอร์ยิ้มหรือหัวเราะเพราะความเจ็บปวดล้วนๆ และเลือกไม่ได้ด้วยว่าจะยิ้มหัวเราะตอนไหน และความสุขเดียวอย่างการมีโซฟีก็เป็นของปลอม (นึกถึงทวีตนึงที่เคยอ่านเจอ เขาบอกประมาณว่า น่าเศร้าแค่ไหนที่ความใจดีเพียงน้อยนิดที่คนแปลกหน้าหยิบยื่นให้ทำให้อาเธอร์จินตนาการไปได้ขนาดนั้น y __ y แสดงว่าอาเธอร์ต้องรู้สึกเดียวดายมากจริงๆ) 



                   สารภาพนิดนึงว่าไม่เคยดูวาคีนแสดงหนังมาก่อน เลยเข้าโรงไปแบบไม่เผื่อใจช็อก ช็อกที่เล่นเก่งขนาดนี้!!!! แสดงได้ยอดเยี่ยมมาก ชั้นสูงมาก แววตา ท่าทาง ร่างกาย ทุกอย่างเป็นธรรมชาติและสื่อสารออกมาอย่างซื่อตรงชนิดที่บีบน้ำตาไปจากเราไปเป็นถังเลยรอบแรกที่ดู ฉากที่วาคีนอิมโพรไวซ์ ดีจนน่าตกใจที่ไม่ได้อยู่ในสคริปต์แต่แรก อย่างเช่นฉากเข้าไปหลบในตู้เย็น ฉากเต้นระหว่างย้อมผม หรือฉาก Bathroom Dance ที่แสน iconic วาคีนเข้าใจดีว่าในตัวอาเธอร์มีดนตรี อาเธอร์เห็นดนตรีเป็นทางเดียวในการระบายความเจ็บปวดและความรู้สึกที่ถูกสอนให้ที่เก็บงำมาตลอดชีวิต และบันทึกของอาเธอร์ที่วาคีนเขียนเองก็พิสูจน์ว่าเขาเข้าใจตัวละครถึงแก่น นอกจากประโยค "I hope my death makes more cents than my life" ที่ทำให้เรารู้ว่าอาเธอร์เห็นความตายเป็นทางออก ในบันทึกยังมีมุกตลกอื่นๆ ที่พูดถึงคนจนและการตายข้างถนนที่ทำให้อาเธอร์รู้สึกเดียวดายไร้ค่า ยิ่งทำให้เราเชื่อว่าวาคีนใส่หัวใจและความเป็นมนุษย์ลงไปในบทบาทนี้มากจริงๆ สำหรับเราการแสดงของวาคีนเลยเกินขอบเขตคำว่า 'แสดงได้ดี' ไปมากๆ จนกลายเป็นคำว่า 'มอบชีวิต' ให้ตัวละคร อาเธอร์ต้องมีชีวิตจริงๆ จึงจะเกิดฉากเต้นในห้องน้ำหลังฆ่าคนที่ไม่ใช่ผ่านสคริปต์หรือการแพลนเอาไว้ เราอาจจะไม่เข้าใจการกระทำเหล่านั้นทั้งหมด แต่ก็เพราะนั่นคือความซับซ้อนของจิตใจตัวละครนี้ที่คงมีแค่วาคีนที่หยั่งถึง



                   และจุดสุดท้ายที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือบุคลิกทั้งสองของอาเธอร์ที่ต่างกันชัดเจนแต่ก็เป็นหนึ่งเดียวกันด้วย ตื่นเต้นกับดีเทลในส่วนนี้มากๆ เพราะเพิ่งมาเห็นในการดูรอบถัดมาว่าโจ๊กเกอร์นั้นอยู่ในตัวอาเธอร์มาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ฉากที่อาเธอร์เขียนบันทึกว่า "The worst part about having a mental illness is people expect you to behave as if you don't" ซึ่งในฉากนี้จู่ๆ อาเธอร์ก็ยิ้ม วิธีขยับตัวเปลี่ยนไป และใช้มือซ้ายในการเขียน (อาเธอร์ถนัดมือขวา และโจ๊กเกอร์ถนัดมือซ้าย) แสดงว่าโจ๊กเกอร์นั้นรอวันที่จะออกมาจากตัวอาเธอร์นานแล้ว แค่ต้องมี a series of bad days มาเป็นตัวขับเคลื่อน แต่ถึงแม้คนจะพูดกันว่าอาเธอร์ได้ descend to madness หรือกลายเป็นโจ๊กเกอร์อย่างเต็มขั้น ถ้าสังเกตแล้วโจ๊กเกอร์ในร่างฟูลเมคอัพกลับร้องไห้อยู่เสมอราวจะถ่ายทอดความเจ็บปวดของอาเธอร์ (วงกลมสีน้ำเงินที่ตาจะหยดลงมาเป็นรอยน้ำตา และตอนที่ออกรายการเมอร์รีย์ก็ร้องไห้อยู่ด้วย) และเสียงที่โจ๊กเกอร์ใช้เวลาพูดถึงความลำบากความยากจนหรือแม้แต่เสียงหัวเราะหลังฆ่าเมอร์รีย์ก็เป็นเสียงของอาเธอร์ด้วย (โทนเสียงของสองร่างนี้ต่างกันนิดหน่อย) ตรงนี้ต้องชื่นชมวาคีนที่สามารถสร้างเสียงหัวเราะได้มากถึง 4 แบบ คือเสียงหัวเราะที่เป็นอาการป่วย เสียงหัวเราะฝืนๆ ที่อาเธอร์ใช้เพื่อให้ตนเองอยู่ร่วมในสังคมได้ (อย่างเช่นตอนที่พยายามหัวเราะตามมุกคนอื่น อาเธอร์จะหัวเราะช้าหรือเร็วกว่า 1 สเต็ปเสมอ) เสียงหัวเราะที่แท้จริงของอาเธอร์ และเสียงหัวเราะผสมระหว่างความเจ็บปวดและความสุขในฉากสุดท้าย เป็นหนึ่งในสิ่งที่บ่งบอกว่าการแสดงของวาคีนนั้นซับซ้อนหลายเลเยอร์และแยบยลน่าทึ่งมากๆ 



                  ส่วนเรื่องที่อาเธอร์เป็นตัวแทนของคนหลายกลุ่มนั้น เราว่าหนังประสบความสำเร็จในการนำเสนอว่าโจ๊กเกอร์เกิดขึ้นจากสังคมที่เน่าเฟะ แฝงไว้ตั้งแต่ child abuse ที่สุดท้ายทำให้อาเธอร์ได้รับความกระทบกระเทือนที่ศีรษะจนเกิดภาวะควบคุมการหัวเราะไม่ได้ มุมมองคนอื่นที่มีต่อผู้ป่วยทางจิตที่ค่อนไปทางรังเกียจ ความเหลื่อมล้ำในสังคมที่ทำให้อาเธอร์ไม่ได้รับบริการด้านการรักษา และคนรวยก็มองว่าปัญหาอาชญากรรมทั้งหมดมีสาเหตุมาจากคนจน ว่าคนจนมีอะไรบางอย่างผิดปกติ หรือเป็นได้แค่ตัวตลก สุดท้ายทุกอย่างก็หล่อหลอมโจ๊กเกอร์ขึ้นมา แต่เสน่ห์ของโจ๊กเกอร์คือเขาไม่ได้เชื่อในอะไรเลย ไม่ได้ทำอะไรเพื่อใครเลย ไม่ได้ต้องการขับเคลื่อนสังคมใดๆ แต่ทุกคนก็หันมาบูชาเขาเอง เพราะเขาคือหลักฐานว่า the system is broken ระบบมันมีปัญหาอยู่จริงๆ ฉากที่อาเธอร์กรีดเลือดเป็นรอยยิ้มท่ามกลางเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญเป็นฉากที่เราชอบที่สุดในหนังและพร้อมจะดูซ้ำทั้งน้ำตาวนไปเรื่อยๆ ว่าสุดท้ายความวุ่นวายโกลาหลทั้งปวงก็เกิดขึ้นมาจากสภาพสังคมแบบนี้ที่หล่อหลอมคนแบบโจ๊กเกอร์มาตั้งเท่าไหร่ 



                 จุดที่น่าคิดอีกจุดที่เราอ่านเจอมาและอยากแชร์ต่อก็คืออย่าลืมว่าอาเธอร์เป็น unreliable narrator เราสามารถตีความได้ว่าแท้จริงอาเธอร์เลือกที่จะเล่าเรื่องราวเสมือนตนเองตกเป็นเหยื่อ (ผู้เขียนเสริมว่าสิ่งที่อาเธอร์พูดนั้นขัดแย้งกับที่คนอื่นพูดเสมอ เราไม่รู้นี่ว่าผู้จัดการร้านอาจจะพูดความจริง อาเธอร์อาจจะสวมหน้ากากตัวตลกและฆ่าคนทั้งที่ตนไม่ได้ถูกรังแกก็ได้ เพราะท้ายที่สุด เราได้แต่มองผ่านมุมของอาเธอร์ที่จงใจถ่ายทอดออกมาว่าตนคือฮีโร่ เพราะอาเธอร์ต้องการจะเชื่อแบบนั้น ซึ่งก็ดูเป็นอะไรที่โจ๊กเกอร์มากๆ คิดแล้วขนลุกซู่เลย T v T



                  หลังจากพูดมายาวแล้วก็ขอหวีดสักพารากราฟ เลื่อนข้ามไปได้นะคะ แต่กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดด เราชอบคาร์โจ๊กเกอร์มากๆ T_____T ชอบเมคอัพ ชอบทรงผม ชอบการแต่งกาย ชอบท่าเต้น ชอบอินเนอร์และจริตของโจ๊กเกอร์วาคีน โอยยยยยยยยย บอกเลยว่าใจสั่นตั้งแต่ฉากย้อมผมเขียว มองกระจก เหมือนรอเห็นเค้าโมเม้นนี้มานานมากกกกกกกกกก แล้วตอนที่ฟูลเมคอัพ กดลิฟต์ ยิ้มนิดๆ ก่อนประตูปิด คือกระชากใจมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เราอยากเหมาโรงเพื่อดูคนเดียวแล้วกรี๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เท่แบบเท่อะ เท่สุดๆ เท่ไม่ไหวแล้ว หลงงงงง ฉากเต้นลงบันไดอีก รู้สึกเหมือนกำลัง celebrating life ไปพร้อมๆ กันมากกก ทุกวันนี้ฟังเพลงแล้วเดินลงบันไดด้วยใจที่อยากเต้นแบบนั้น ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ แล้วฉากเดินไปถือบุหรี่ไปนี่แบบ ฮือออออออออออออออ ความขี้เล่นตอนเต้นล้อตำรวจหรือเต้นเปิดตัวในรายการอีก รักในจริตมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จนสารภาพว่าที่ไปดู 6 รอบไม่ใช่เพื่อเก็บรายละเอียดหรอก ไปดูเพื่อ eyegasm กับฉากครึ่งหลังที่เป็นโจ๊กเกอร์แล้ว เท่มาก ว้ากกกกกกกกกกกกกกก เข้าโรงไปด้วยสภาพปกติกลับออกมาจากโรงแบบ clown fucker คือเป็นคนที่มี sex appeal สูงอย่างไม่น่าเชื่อ T____T โหยหาถึงขั้นต้องตามไปดู Joker เวอร์ชั่นฮีธ เลดเจอร์ จาก The Dark Knight ซึ่งก็...โซดุมากเหมือนกัน อ๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก จบย่อหน้าหวีดก่อนจะไปกันใหญ่เพราะสามารถเขียนอวยความฮอตของตัวตลกได้ 10 หน้า ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕





    พล็อต

                  พล็อตเรื่องนี้จัดว่าไม่ได้ว้าวหรืออลัง ไม่มันส์ไม่มีแอ็คชั่นเน้นๆ อย่างหนังคอมมิคทั่วไป แถมยังออกมารุนแรง หดหู่ หม่นหมองมากๆ ชนิดที่ต้องแปะ trigger warning กันรัวๆ ว่าหนังอันตรายมาก สามารถทำให้คนที่ดีลกับโรคซึมเศร้าอยู่ดิ่งได้เลย และเพื่อนที่ไปด้วยกันกับเราเองก็ทำท่าจะลุกออกจากโรงหลายรอบแล้ว รอบนึงที่เราไป คนข้างๆ เราลุกออกไปหลังดูได้เกือบครึ่งเรื่อง ดังนั้นหนังเรื่องนี้จึงไม่ใช่หนังที่ใครๆ ก็ดูได้อย่างแท้จริง บางคนก็มองว่าเบื่อ เนิบนาบ เกือบหลับ พล็อตเดาได้ แต่สำหรับเราแล้ว Joker ไม่ได้ขายพล็อตแปลกใหม่หรือแอ็คชั่นแบบนั้น ไม่ได้เน้นทวิสต์ด้วยซ้ำ แต่เป็นทวิสต์สำหรับอาเธอร์ ทำให้อาเธอร์รู้ว่าตนเองไม่เคยมีความสุขหรือได้รับความรักจริงๆ เลยสักครั้ง เรื่องนี้ขายความดราม่า (โคตรๆ) เล่นกับความรู้สึกคนดู และขายประเด็นสังคมมากกว่า 

                    เราชอบบทหนังตรงที่การผูกคอนฟลิกต์ โยนอุปสรรค การพาตัวละครไปสู่โมเม้น truth realization จนถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครมันไปสุดมากกกกกกกกกกกกกกกกกก สุดเท่าที่จะทำได้แล้วสำหรับบทประเภทนี้ ตรึงเราไว้แล้วทำให้เราเกิดอารมณ์ร่วมหนักมากเพราะประเด็นปัญหาทุกอย่างมันจับต้องได้ ถ้ามองในแง่ร้ายนิดๆ คือเป็นบทสูตรสำเร็จ ๕๕๕๕๕๕ เอาไปถอดสมการออกมาจะได้ exposition ไปถึง denouement ที่เป๊ะๆ แต่ทั้งบทและไดอะล็อกคมๆ ก็ยังมีเสน่ห์น่าติดตามสำหรับเราอยู่ดี อาจด้วยเพราะความเป็นโจ๊กเกอร์ ความเป็นตัวร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตัวหนึ่งในโลกด้วยมั้ง ผสมกับการใช้องค์ประกอบความรุนแรงอย่างพอดีๆ พอถึงครึ่งเรื่องปุ๊บก็รู้ว่าคนดูทนความหม่นไม่ไหว ใส่ฉากฆ่าคนเลย หลังจากนั้นก็คือตื่นเต้นขึ้นเรื่อยๆ บิ๊วไปจนสุด




                    หลายฉากคือใส่มาแล้วมันเป็นรสที่ใช่มาก ทำให้ใจแกว่งมาก เหมาะกับหนังมาก เช่น ฉากรถไฟ ดูครั้งแรกใจเต้นตึกตักๆ ตามเลย ไหนจะไฟติดๆ ดับๆ ที่บิ๊วอีก ฉากเจอบรูซ รู้สึกอ้อแอ้ y___y แบบนี่คือการพบกันของแบทแมนและโจ๊กเกอร์ที่ซอฟต์ที่สุดในประวัติศาสตร์ ฉากฆ่าเพนนี เอาจริงฉากนี้ชอบมากๆ โดยส่วนตัว เพราะมันคือการประกาศว่าอาเธอร์ยอมรับด้านโจ๊กเกอร์ของตัวเองหมดแล้ว การฆ่าเพนนีซึ่งเหมือนเป็นฆ่าความเป็นอาเธอร์ให้ตายไปด้วย แล้วยิ่งตอนโฟกัสที่หน้าอาเธอร์ ทุกอย่างเงียบ แสงส่องให้ดู blissful และ peaceful ไปหมดคือดีมาก เช่นเดียวกับฉากที่เอาปืนจ่อตัวเองแล้วยิ้มเพราะรอความตายอยู่แล้ว เหมือนในที่สุดอาเธอร์ก็พบเส้นทางที่แท้จริงว่าเขาเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ไม่ใช่เพื่อมีความสุข ขนลุกไปหมดจริงๆ ฉากออกรายการเมอร์รีย์คือดูซ้ำจนท่องไดอะล็อกได้ ชอบมากถึงมากที่สุด T___T หรือฉากที่แบบเดอะเบสในใจจริงๆ เลยคือฉากขึ้นไปเต้นรำบนรถตำรวจ แล้วปาดเลือดกรีดเป็นยิ้ม เรารู้สึกว่านี่แหละคือโจ๊กเกอร์ ความรุนแรงกลายเป็นหนทางแห่งความสุขของเขา เพราะถ้ามองในมุมของโจีกเกอร์แล้ว "Isn't it beautiful?"



                     สิ่งที่เราชอบที่สุดเลยคงเป็นการที่บทเอื้อต่อการตีความเอง เช่นการเรียงลำดับฉากที่ทำให้คนสงสัยว่าอะไรในหนังที่จริงและไม่จริงบ้าง เรื่องของเพนนีกับโทมัส เวย์น แท้จริงแล้วก็คลุมเครือ เพราะอย่างที่เพนนีพูดคือความที่โทมัสรวย เขาจะสร้างหลักฐานปลอมมาเพื่อยัดเพนนีเข้าโรงพยาบาลจิตเวชก็ทำได้ และในตอนที่อาเธอร์แต่งหน้า รูปถ่ายของเพนนีตอนสาวๆ ที่มีคำว่า "Love your smile - TW" ก็เป็นคนละลายมือกับที่เพนนีใช้ตอนเขียนถึงโทมัส ฉากที่อาเธอร์รู้ความจริงเรื่องโซฟีแล้วกลับห้องตัวเอง ก็มีเสียงรถตำรวจเหมือนเกิดเหตุร้าย (แม้ตัว original script ที่ปล่อยออกมาและการคอนเฟิร์มจากตัวผู้กำกับจะยืนยันว่าอาเธอร์ไม่ได้ฆ่าโซฟี) ในหนังมีจุดน่าคิดเยอะแยะมากมายทิ้งไว้ให้ถามหรือถกกันต่อไป และยังแสดงให้เห็นถึงความละเอียดละเมียดละไมที่ซ่อนอยู่ในแต่ละฉาก นี่ยังไม่พูดถึง easter eggs อื่นๆ เกี่ยวกับจักรวาลดีซีที่ซ่อนอยู่ด้วย



                     ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับว่าฝั่งที่ไม่ชอบ Joker เพราะบิดคาร์ ก็จริงนะ ๕๕๕๕๕๕ แบบคาแรกเตอร์คนละเรื่องกับเวอร์ชั่นที่ฮีธ เลดเจอร์ เล่นเลย เวอร์ชั่นนั้นรุนแรงกว่า ขนลุกกว่า มีความ criminal mastermind กว่า แต่สำหรับเราแล้ว Joker เวอร์ชั่นนี้มีคอนเซ็ปต์และไอเดียเป็นของตัวเอง ไม่ตั้งใจจะยึดตามต้นฉบับตั้งแต่แรก วาคีนเองก็ไม่ได้ศึกษาโจ๊กเกอร์เวอร์นั้นเลยด้วย เลยรู้สึกว่าไม่ค่อยแฟร์ถ้าจะตัดสินว่าหนังไม่ดีเพราะถ่ายทอดโจ๊กเกอร์ออกมาคนละแบบ แต่เข้าใจแฟนๆ ดีซีที่ไม่ชอบและโกรธที่ทำให้คาร์โจ๊กเกอร์ออกมาคนละเรื่องกับออริจินัลเพราะมันจริง

                       ในส่วนของพล็อตโฮลช่องโหว่ต่างๆ ก็ถือเป็นข้อเสียได้อีกเหมือนกัน เห็นด้วยว่าบางฉากแทบเกิดขึ้นจริงไม่ได้ ดูยัดเยียดและง่ายๆ ไปหน่อย เช่นฉากไปเจอบรูซถึงบ้าน ฉากเดินเข้าไปเจอโทมัสโดยไม่มีใครสงสัย หรือตำรวจไม่สามารถตามรอยจับอาเธอร์ได้เร็วกว่านั้น ฯลฯ ถ้ามองให้ไม่สมเหตุสมผลก็ทำได้ แต่โดยรวมก็ยังรู้สึกว่าเป็นแค่ช่องโหว่เล็กๆ ที่ไม่ได้ส่งผลต่อโครงเรื่องโดยรวมเท่าไหร่ ไม่เสียอรรถรส ดังนั้นก็ยังจะยืนยันต่อไปว่าบท Joker เลือกซิธหรือเหตุการณ์มาเล่าเรื่องเป็นซีนๆ ได้ดี และรู้สึกว่า powerful ทั้งตัวหนัง อารมณ์ และเมสเสจ 




    ภาพ แสง และ Cinematography



                  (CINEMATOGRAPHYCinematography is the act of capturing photographic images in space through the use of a number of controllable elements. These include the quality of the film stock, the manipulation of the camera lens, framing, scale and movement.)

     

                หนึ่งในสิ่งที่เราชอบที่สุดในเรื่อง Joker คืองานภาพ เป็นการนำเสนอ Gotham ที่ทรุดโทรมได้สวยงามมากๆ มุมกล้องต่างๆ ไหลลื่นไม่สะดุดแต่ก็เลือกเฟรมและแสงได้ดีมากด้วย จึงสามารถเล่าสตอรี่ผ่านภาพได้อย่างทรงพลัง หนังเรื่องนี้มีภาพที่ parallel เยอะมาก เน้นแสดง contrast ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงไปจนถึงสภาพจิตใจของตัวละคร สามารถจับหลายซีนมาวิเคราะห์ได้เลย เช่น โคลสอัพใบหน้าฉากฝืนยิ้มในฉากแรกกับยิ้มในฉากสุดท้าย 





    ฉากอาเธอร์ขึ้นบันไดที่ใช้มุมกล้องกว้าง ดูแล้วอาเธอร์ช่างตัวเล็กกระจ้อยร่อย แสงสีน้ำเงินเข้มทำให้ดูมืดหม่น ตรงข้ามกับฉากโจ๊กเกอร์ลงจากบันไดที่ดูยิ่งใหญ่และใช้แสงที่สว่างจ้าไปหมด 



    ฉากเจอกับบรูซ ทั้งสองใส่ชุดสีเดียวกันแต่เห็นความแตกต่างทางชนชั้นชัดเจน และยังมีรั้วมากั้นแบ่งอีก 



    ฉากในตรอกที่จากอาเธอร์กลายเป็นครอบครัวเวย์นที่นอนลงตรงนั้น 




    ฉากเต้นเองก็เต็มไปด้วยรายละเอียดที่แตกต่างกัน ฉากเต้นคนเดียวหม่นๆ ในบ้านกับฉากเต้นกับแสงสว่างๆ ตอนย้อมผมแล้ว (และอาเธอร์ก็อ้วนท้วนขึ้นมากด้วย ตรงข้ามกับซีนเต้นกับปืนที่ผอมจนเห็นซี่โครง) ทำให้เห็นว่าตัวละครได้ออกมาจากความมืดหม่นแล้ว



    ฉากขึ้นลิฟต์ในร่างอาเธอร์ที่หลบมุมทำตัวลีบเล็กกับฉากโจ๊กเกอร์ที่ยืนกลางลิฟต์ดูมั่นใจและทรงอำนาจ 



    ฉากในหัวอาเธอร์ที่จินตนาการภาพตนเองตอนออกรายการกับเมอร์รีย์ก็ตรงข้ามกับฉากที่ได้ออกรายการจริงๆ 




    ฉากที่อาเธอร์ถูกอัดในรถไฟใต้ดินเขาก็ถูกสั่งให้ "Stay down" ตรงข้ามกับฉากสลบบนรถตำรวจที่ฝูงชนสวมหน้ากากตัวตลกต่างพูดว่า "Get up" 



                     จะเห็นว่าตลอดทั้งเรื่อง แสงมีบทบาทเยอะมากๆ ในการถ่ายทอดความรู้สึกตัวละคร ฉากที่เราชอบเป็นพิเศษคือฉากที่อาเธอร์ฆ่าเพนนีแล้วเดินไปเปิดหน้าต่าง แสงเข้ามาส่องหน้าอาเธอร์เพียงคนเดียว ในขณะที่รอบนอกเป็นกรอบมืดๆ หมดเลย ราวกับว่าอาเธอร์ได้ step into the light แล้วจริงๆ กลายเป็นภาพที่ดูสุขสงบมาก 



    หรือฉากที่แสงส่องหน้าอาเธอร์ตอนตั้งใจจะฆ่าตัวตายก็บ่งว่าในใจเขารู้สึกสุขเพียงใด



                     และเพื่อนเราคนหนึ่งยังเสริมด้วยว่าที่หนังเลือกใช้แสงสีเขียวบ่อยๆ อย่างเช่นในฉาก Bathroom Dance อาจเพราะสีเขียวเป็นตัวแทนของ insanity ได้ด้วยในบางกรณี และเราไปหางานวิจัยเพิ่มเติมมา ได้เจอหลักฐานที่น่าสนใจว่าผู้ป่วยทางจิตที่อาการหนักหรือรักษาตัวนานชอบสีเขียวและเหลืองเป็นพิเศษ (source: https://www.neatorama.com/2011/11/29/color-preference-in-the-insane/)



                      นอกจากนี้ ยังมีบทความหนึ่งตั้งข้อสังเกตในหลักการใช้สีของเรื่อง Joker ว่าชุดของโจ๊กเกอร์เองก็เป็นสีเหลืองอมส้มและสีแดงแบบเดียวกับบริเวณบันไดที่อาเธอร์ได้ค้นพบความจริงว่าตนถูกอุปถัมภ์และทำร้ายร่างกายแต่เด็ก ไม่ว่าหนังจะตั้งใจหรือไม่ แต่เราว่าองค์ประกอบยิบย่อยเหล่านี้ทำให้ Joker น่าสนใจและเต็มไปด้วยมิติ



                     แต่ต่อให้มองแบบไม่เก็บมาวิเคราะห์ งานภาพ Joker ก็สวยเนี้ยบมากอยู่ดี มองแล้วรู้สึกถึงความ aesthetic อันประณีตในทุกๆ ช็อต ตลอดเวลาที่ดูรู้สึกเหมือนภาพตรงหน้าเล่นกับแสงและสีตลอด กระทบจิตใจและสร้างอารมณ์ให้คนดูดีมากๆ 



    เสียงและดนตรีประกอบ

                     ถึงกับต้องแยกมาชมเป็นหมวดย่อย เพราะซาวน์และ score ในเรื่องนี้เด่นมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เด่นมากจริงๆ เด่นแบบอยากจะกราบคุณฮิลเดอร์ (Hildur Guðnadóttir) สักห้าล้านรอบที่แต่งเพลงและขอบคุณทีมมิกซ์ซาวน์ด้วยเหมือนกัน T v T เอกลักษณ์ของเรื่องนี้กลายเป็นเสียงดนตรีอันแสนมืดมนและหดหู่ที่จะดังก้องขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตัวละครจนมุม เสียงเชลโล่ที่เสียดแทงและบีทหนักๆ ช่วยบิ๊วอารมณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม และทำได้ถูกจังหวะไปหมด เราชอบที่เสียงเพลงดังมากๆ อยู่หลายช่วง ชวนให้รู้สึก disturbed เหมือนอยู่ในหัวอาเธอร์ที่เต็มไปด้วยความรู้สึกนึกคิดวุ่นวายไปหมด การเลือกเพลงเองก็ถูกจริตเรามากๆ จังหวะที่ Rock and Roll Part 2 ดังขึ้นครั้งแรกเราอยากสกรีมดังๆ มาก เพราะไวบ์มันใช่ไปหมด ดูแบดแอส ดูวายร้าย กลายเป็น celebrating การกำเนิดของโจ๊กเกอร์ไปเลย T v T ฟังแล้วอยากลุกขึ้นมาเต้นลงบันได ซึ่งก็เกิดกระแสการเต้นลงบันไดขึ้นจริงๆ หลังจากหนังฉาย ๕๕๕๕๕๕๕ แต่ถ้าฟังดีๆ ช่วงหลังจะได้ยินดนตรี Bell of Death แทรกขึ้นเพื่อตอกย้ำว่าอาเธอร์ได้ตายไปแล้วด้วย



                      อย่างที่เขียนไปแล้วว่าดนตรีเป็นส่วนสำคัญในเรื่อง Joker เพราะดนตรีนั้นเป็นตัวแทนของอาเธอร์ เขาสื่อสารความบิดเบี้ยวเจ็บปวดในจิตใจผ่านท่วงท่าเต้นรำและเพลง ดนตรีประกอบทำออกมาดีมากๆ ขนาดที่ว่าเปิดในฉากแล้วทำให้วาคีนอิมโพรไวซ์การเต้นได้และทำให้คนถือกล้องได้ช็อตเหล่านี้ด้วย ทั้งดนตรี ภาพ การแสดงก็เลยกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไปหมด เพลงก็ติดหูมากด้วย มันกังวาน รวดร้าว จมดิ่งไปหมด T______T คุณฮิลเดอร์ผู้แต่งเพลงอธิบายว่าดนตรีส่วนมากจะบรรเลงโดยเชลโล่เป็นหลัก เปรียบเชลโล่เป็นเสมือนตัวอาเธอร์ แล้วดนตรีออร์เคสตราที่โหมกระหน่ำเข้ามาคือแรงขับเคลื่อนในตัวอาเธอร์ที่โถมถั่งมากขึ้นเรื่อยๆ บีบคั้นเขาจนถึงจุดที่แตกหัก ดังนั้นท่วงทำนองจึงออกมาแบบนี้



     

                      ดนตรีที่เต็มไปด้วยอารมณ์ของตัวละครมันกระแทกใจเราจนจะระเบิดออกมา ตอนที่ฟัง Call me Joker ครั้งแรก (ฉากยืนบนรถตำรวจท่ามกลางขบวนประท้วง) น้ำตาเราไหลพรากเลยเพราะนอกจากภาพจะสวยมากๆ แล้ว ดนตรียังบิ๊วสุดๆ ค่อยๆ ขยายสเกลขึ้นเรื่อยๆ ผ่อนลงเพื่อให้โจ๊กเกอร์ฉีกยิ้ม แล้วค่อยกระหน่ำซ้ำ จังหวะมันเป๊ะไปหมด แล้วเสียงเชียร์ก็ดังสนั่นเสริมอีกต่างหากเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ให้ซีนนี้ เป็นครั้งแรกที่อาเธอร์มีตัวตนและผู้คนก็ "เห็น" ในที่สุด ตอนนั้นเองที่โจ๊กเกอร์ได้ชนะใจเราไปแล้วจริงๆ ไม่แปลกที่งานดนตรีที่งดงามและเปี่ยมอารมณ์ขนาดนี้จะคว้ารางวัล Original Score ไปหลายเวทีเหมือนกัน u___u



                        แล้วในเรื่องก็ปิดท้ายด้วยฉากเต้น That's life อีกครั้งที่แสนจะตราตรึง ฮือ T___T เราชอบมากๆๆๆๆๆๆ เต้นไปวิ่งหนีไป ดูป่วนมากจริงๆ สมเป็น The Clown Prince of Crime ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕  เฮ้อ ฟังดนตรีประกอบและซาวน์แทร็คทุกวันเลยจริงๆ เพราะเพลงมันพาเรากลับเข้าไปในหนังได้อย่างง่ายดาย รู้สึกเหมือนครั้งแรกที่ได้ดูแล้วร้องไห้เพราะอารมณ์มันไปสุดจริงๆ และดนตรีก็สะเทือนไปหมด รู้เลยในนาทีนั้นว่าตกหลุมรักโจ๊กเกอร์เข้าแล้วล่ะ u w u 




    ภาพรวม

                  เราคิดว่าคนส่วนมากจะเอนจอย Joker นะเพราะรวมๆ มันก็เป็นหนังที่ทำออกมาได้ดีอีกเรื่อง (ส่วนคะแนนที่ดิ่งลงเหวส่วนหนึ่งเป็นเพราะไบแอสของนักวิจารณ์ อ่านต่อที่ https://screenrant.com/joker-proves-rotten-tomatoes-is-biased-toward-mediocre-movies/) องค์ประกอบทั้งหมดเป็นเอกภาพ เสริมกันไปหมด และดึงปัญหาสังคมมาวิพากษ์แบบจะๆ ต่อหน้าเลย ความเท่ของตัวละครและการออกแบบทั้งหมดอีก จะชอบมากชอบน้อยก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลแล้ว แต่สำหรับเราหนังมันถูกจริตมากๆ and hits all the right spots ทำให้รู้ว่าจริงๆ ชอบหนังที่ศึกษาตัวละครมากเลย



                   เพื่อนมักสงสัยว่าทำไมไปดู Joker ซ้ำๆ ได้ไม่เบื่อ ก็คืออธิบายไม่ถูกนะ มันเหมือนกับว่าเราไปดูแบบไม่คาดหวังอะไร แต่ตอนที่อยู่ในโรงเราเหมือนกำลังเล่น Rollercoaster ทางอารมณ์ หนังพาเราดำดิ่งลงไปหา dark side ของตัวเอง ปลุกความสาแก่ใจ ความลุ้นระทึก ความเห็นใจ ความเจ็บปวดขมขื่นจนเต็มตื้นไปหมด มันพูดแทนใจเราอย่างซื่อตรงแบบที่หนังบางเรื่องไม่กล้านำเสนอ มันไม่ได้ยั่วยุปลุกปั่นความรุนแรง เพราะส่ิ่งเหล่านั้นมีในสังคมมานานแล้ว และเราก็เป็นแค่มนุษย์คนหนึ่งที่เห็นตัวเองอยู่ในจุดที่อาเธอร์ยืนอยู่อะ ช่วงท้ายของหนังก็เลยช่าง rewarding จริงๆ ตรงข้ามกับเรื่อง Parasite (*สปอยล์*) ซึ่งเราชอบที่สุดเป็นอันดับ 2 ในปี 2019 แต่ปรสิตจบอย่างหดหู่ รู้สึกว่าชนชั้นล่างแสนจะไร้อำนาจและตอบโต้อะไรไม่ได้เลยนอกจากฝันไปวันๆ ในขณะที่ Joker จะมองว่าชนชั้นล่างพ่ายแพ้จนกลายเป็นอาชญากร หรือชนะเพราะสามารถก้าวขึ้นมาสู่สปอตไลท์ในสังคมก็ได้  แต่ที่แน่ๆ หนังเรื่องนี้กลายเป็น comfort film ของเรา เห็นด้วยกับที่ท็อดด์ ฟิลลิปส์ (Todd Phillips) ผู้กำกับพูดถึงหนังเรื่องนี้โดยใช้โควทที่ว่า "Art comforts the disturbed and disturbs the comfortable" 



                  แล้วก็เป็นหนังที่ยิ่งตามอ่านยิ่งเห็นดีเทลที่ซ่อนอยู่ ตัวบทเดิมแท้จริงแล้วดาร์กและรุนแรงกว่านี้มากๆ เช่นมีฉากใช้เศษกระจกมากรีดปากเป็นรอยยิ้มหรือฉากโจ๊กเกอร์ยิงฆ่าบรูซ แต่คิดไปคิดมา เราว่าเค้าคิดถูกแล้วที่ปรับบทให้เป็นแบบนี้ เพราะฉากพวกนั้นมันอาจจะไม่ meaningful หรือสมเป็นอาเธอร์เท่านี้

                   การเทียบ Joaquin's joker กับ Heath's joker แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะหนังทำออกมาคนละแนว นำเสนอคนละมุม ยึดคนละคาแรกเตอร์ เราเห็นด้วยว่าโจ๊กเกอร์ฮีธคือโจ๊กเกอร์ที่โซโจ๊กเกอร์มากกว่า ดูแล้วก็ประทับใจความ chaotic เทียบกับโจ๊กเกอร์วาคีนที่ถึงจะมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันก็แสดงออกมาน้อยกว่า แต่ชอบเวอร์ชั่นโจ๊กเกอร์วาคีนเพราะรู้สึกว่าเราจับต้องเค้าได้ กลายเป็นหนังที่หดหู่แห่งปี ขำไม่ออกเลยสักซีนแง ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

                   ยังไงก็อยากให้ทุกคนได้ดูและตัดสินใจด้วยตัวเอง หนังเรื่องนี้กลายเป็นหนังท็อปในใจเรา แม้ในแง่บทจะยังเป็นรองหนังเรื่องโปรดอื่นๆ ของเรา แต่เมสเสจบางอย่างมันเข้าถึงเราได้ที่สุดเท่าที่เคยดูมาแล้ว จึงเป็นหนังที่ควรลองมาก ไม่ใช่แค่เราอวยสุดลิ่มทิ่มประตู แต่ Joker ยังคว้ารางวัลหลายเวที แถมเข้าชิงออสการ์ถึง 11 สาขา ไม่ได้มาเล่นๆ เลยจริงๆ  อยากจะบอกทีมโปรดักชั่นว่า "You get what you fucking deserve!"



                    ลาจากกันไปด้วยโควทที่เราชอบที่สุดอีกโควทนึง

                    "I used to think that my life was a tragedy, but now I realize, it’s a comedy"

    ilysm.








    References

    https://whatculture.com/film/10-subtle-details-that-make-joaquin-phoenixs-joker-incredible

    https://comicbookdebate.com/2019/12/09/the-cathartic-use-of-music-in-joker/

    https://www.nationalreview.com/2019/10/movie-review-joker-honest-treatment-of-madness/

    https://www.time24.news/2019/10/according-to-a-reputed-neurocriminologist-joker-is-perfect-for-studying-the-mind-of-a-sick-killer.html

    https://www.ladbible.com/community/interesting-man-who-suffers-from-compulsive-laughter-like-joker-discusses-disorder-20191016



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in