เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
To all the movies I've watched beforeilysm
Movie Review “Portrait of a Lady on Fire"

  • Movie Review

    Portrait of a Lady on Fire"

    ภาพฝันของฉันคือเธอ”





                ตั้งแต่ได้ยินชื่อเรื่องนี้ก็รู้สึกเหมือนโดนต้องมนตร์ มีความลึกลับน่าค้นหาไม่แพ้ภาพโปสเตอร์พื้นหลังดำพร้อมเปลวไฟบนร่างหญิงสาว แค่มองก็รู้สึกเหมือนถูกดึงดูด ยิ่งตอนเปิดเทรลเลอร์ได้ยินเสียงจังหวะเพลง Bonfire สนุกสนานกับภาพสวยๆ ของสองสาว เราก็ปักธงไว้ว่ายังไงก็ต้องมาดูเรื่องนี้ให้ได้ แล้วพอได้ดูจริงๆ เหมือนนั่งรถไฟเหาะทางอารมณ์ที่พาเราเดินทางจากจุดที่ 'ก็หนังยุโรปทั่วๆ ไปแหละมั้ง' (สารภาพว่าไม่ชอบสไตล์หนังยุโรปที่นิ่งๆ เงียบๆ ด้วย ฮือ) ไปสู่จุดที่ 'โอ้โหแม่ ช่วยด้วย งานศิลป์ชั้นสูง' จนได้ T w T ออกจากโรงมาแบบอยากกรีดร้องแต่สะอื้นอยู่ คือชอบมากๆ ชอบที่สุดในบรรดาหนังต้นปีที่ดูมาแล้วมั้งเนี่ย เลยคิดว่าควรจะรีวิวเก็บความทรงจำไว้หน่อย


    เรื่องย่อ

                  มารียาน (Marianne) จิตรกรสาวชาวฝรั่งเศส ถูกจ้างให้มาวาดรูปเอลูอิส (Héloïse) เพื่อส่งมอบให้ชายที่จะแต่งงานกับเธอ แต่เอลูอิสไม่อยากแต่งงาน เธอจึงต้องแอบวาดรูปโดยไม่ให้เอลูอิสรู้ตัว





    ตัวละคร

                 ตัวละครหลักทั้งสองมีความน่าสนใจและดึงดูดกันและกัน มารียานอ่อนโยน ตรงไปตรงมา มากประสบการณ์ เธอให้ไวบ์ที่สงบจนเราหลงได้ง่ายๆ ประหนึ่งเป็นเอลูอิส และยังเขินในความสวยลึกลับไปซะทุกท่วงท่าการเคลื่อนไหวอีกด้วย u///////u ในขณะที่เอลูอิสเองก็แสดงออกได้อย่างน่ารักน่าชัง ดูแล้วตกหลุมรักเธอโดยไม่รู้ตัว เราชื่นชมที่หนังสร้างตัวละครได้สมจริง ดูแล้วเชื่อในทุกการกระทำ คำพูด ความรู้สึก 

                  ด้านการแสดงเองก็ละเมียดละไมมากกกกกกกกกกกกกกถึงมากที่สุด เราชอบที่แอ็คชั่นตัวละครไม่ต้องเยอะ ไดอะล็อกไม่ต้องล้น แต่นักแสดงสามารถใช้สายตาสื่อความหมาย ใช้สีหน้าแสดงอารมณ์ที่ซับซ้อน ไปจนถึงการเคลื่อนไหวร่างกายเล็กๆ น้อยๆ ที่จับตามองดีๆ แล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา กลายเป็นว่าในทะเลเงียบสงบกลับมีคลื่นลมให้เราติดตามจนลืมเบื่อไปเลย ทุกๆ ซีนคือเราลุ้นว่าถ้าคนนี้พูดแบบนี้ อีกคนจะตอบสนองยังไง บทสนทนาพวกเขาจะลึกซึ้งไปถึงจุดไหน ความรู้สึกทั้งคู่จะพัฒนาเป็นอะไร ไดอะล็อกในเรื่องมีบางครั้งที่เข้าใจยาก ต้องคิดตามเยอะ เพราะความหมายเหมือนเขาเข้าใจกันอยู่สองคน ๕๕๕๕๕๕๕๕ แต่นี่ก็ทำให้ไดอะล็อกเฉียบคมแยบคายด้วยเช่นกัน 

                 ในส่วนของเคมี ชอบมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ชอบมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มีหลายฉากที่ดูแล้วเขินบิด (เพื่อนถึงกับบอกว่าอยากกด pause ไปกรี๊ดก่อนค่อยกลับมาดู) ฉากที่ดูแล้วจิกนิ้วเกร็ง และฉากที่ดูแล้วน้ำตาแตก เราเชื่อในความรักทั้งคู่สนิทใจตั้งแต่โมเม้นแรกๆ ต้นเรื่องเลย เสน่ห์อีกอย่างของเซ็ตติ้งย้อนยุคคือเราจะได้กลิ่นอายของรักต้องห้าม รักที่ต้องพยายามปกปิดหรือหยุดยั้ง ซึ่งมาเพิ่มความเข้มข้นให้คู่นี้ได้ดี ไม่ใช่หนังประเภทที่แปะฉากคลิเช่ๆ มาเพื่อบอกโต้งๆ ว่า เออ เค้ารักกันนะ แต่เป็นหนังประเภทที่มีชั้นเชิงในการเล่าฉากโรแมนซ์ ทุกซีนมีความหมายและไหลลื่นอย่างเป็นธรรมชาติแม้แต่ฉากคลิเช่ จุดที่ชอบที่สุดคงเป็นความกลมกล่อมลงตัวของทุกอย่าง ทั้งการแสดง ไดอะล็อก และศิลปะที่ยึดโยงทั้งสองเข้าด้วยกันได้อย่างงดงาม

                 สุดท้ายนี้ ประทับใจที่มีแต่ตัวละครหญิงทั้งนั้น ๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เป็นเรื่องที่กล่าวถึง patriarchy แต่ในเรื่องเหล่าหญิงสาวต่างเป็นอิสระเมื่ออยู่ด้วยกัน ทำให้รู้สึกจรรโลงใจแปลกๆ ที่ได้ดูหนังที่สอดแทรกความเฟมินิสม์เข้ามาอย่างกลมกลืน ได้เห็นความลำบากของผู้หญิงที่ถูกกดขี่ เห็นความเข้าอกเข้าใจกัน เห็น sisterhood ที่อบอุ่น ดูแล้วไม่เครียดแต่ฟีลกู้ดเบาๆ







    คำเตือน ****ต่อไปนี้มีสปอยล์****



                 ไม่ไหวแล้วขอปลดปล่อยร่างติ่งออกมาเพราะจะหวีด กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด เราชอบเคมีตัวละครจังเลย เขินอะ เขินเหมือนชิปคู่นึงแล้วได้ลงเอยกันจริง เพราะตัวพล็อตด้วยมั้งที่เริ่มต้นมาจากมารียานต้องแอบเก็บดีเทลเอลูอิสมาเพื่อวาดรูป ซึ่งแค่นี้ก็เขินแล้วป้ะแก T/////T ทุกจังหวะที่เค้าสบตา มองมือ เดี๋ยวคนนึงหันมาอีกคนหันหลบ มันแบบใจฟูมาก แล้วพอไปถึงฉากเปียโนหัวใจแทบจะหยุดเต้น สายตาเอลูอิสดูมีซัมติงตลอดเวลา อุแง้ ฉากที่ส่วนตัวคิดว่าเขินถึงตายคือฉากวาดรูป แล้วมารียานกับเอลูอิสผลัดกันบรรยายดีเทลเล็กๆ น้อยๆ ที่สังเกตว่าต่างคนต่างทำเวลารู้สึกเขิน หงุดหงิด อ้ำอึ้ง ฯลฯ คือกรี๊ดในใจแรงมากตอนเห็นมารียานทำหน้าแบบ ตายแน่แล้ว หวั่นไหวแน่แล้ว y////y มันจั๊กจี้ในใจอะๆๆๆๆ แล้วจะเห็นว่าซีนวาดรูปนี่ parallel กันไปกับเรื่องตลอด ยิ่งภาพใกล้เสร็จ ความสัมพันธ์ของทั้งสองก็ยิ่งผูกพัน ไม่อยากให้จบเลยจริงๆ u__u แต่ความสัมพันธ์ทั้งคู่ก็เหมือนศิลปะ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่พอแล้ว ก็รู้ว่ามันต้องจบลง เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องกลับไปสู่ธรรมเนียมประเพณีที่ตีกรอบอยู่ ต้องแต่งงานกับผู้ชาย ต้องมีลูก เหมือนรูปภาพของเอลูอิสที่สุดท้ายกลับไปมีใบหน้าตามแบบที่นิยมตามธรรมเนียมประเพณี เหมือนใบหน้าที่มารียานวาดในตอนแรก โอ๊ย เจ็บปวด T T

                  แต่ตลอดเวลาที่อยู่บนเกาะ ผู้หญิงทุกคนมีอิสระมากเลย เราชอบฉากทำแท้งมากตรงที่มีเด็กน้อยมาหัวเราะอ้อแอ้ๆ ทำให้การทำแท้งไม่ได้ดูโหดร้ายแต่ดูบริสุทธิ์และปกติธรรมดาเหมือนเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิต แต่ขณะเดียวก็รู้สึกเศร้าที่ผู้หญิงต้องมาแบกรับภาระนี้ไว้โดยที่ผู้ชายไม่ต้องรับผิดชอบเลย เป็นเรื่องที่เพื่อนหญิงพลังหญิงได้เป็นธรรมชาติมาก อย่างฉากเปลวไฟ แวบไปอ่านบทสัมภาษณ์ผู้กำกับมาว่าต้องการจะเลียนแบบให้เหมือน witchcraft ซึ่งอ่านจบแล้วร้องอ้อเลย เฮ้ย จริงด้วย ฉากนี้เหมือนพิธีกรรมแม่มด ซึ่งจริงๆ แม่มดเองก็ถือเป็น misogyny ของสมัยก่อน เพราะคนถือกันว่าแค่ผู้หญิงอยู่ห่างไกลผู้คน ไม่แต่งงาน ใช้ชีวิตโดดเดี่ยว ก็ต้องเป็นแม่มด ถูกรังเกียจ ถูกกีดกัน ในฉากนี้เลยเหมือนผู้หญิงที่ถูกตัดสินจากสังคมมารวมตัว ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน เป็นอันหนึ่งอันเดียว ไม่ถูกตัดสินจากสังคม

                  โมเม้นที่เราติดตรึงจากซีนนี้คือการที่มารียานมองข้ามกองไฟไปสบตาเอลูอิส จากนั้นก็แววตาก็สะท้อนความรู้สึกสารพัด เราว่านี่คือครั้งแรกที่ทั้งสองรู้ตัวว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นมันแรงกล้าเกินต้านทาน (อ่านบทสัมก็เจอผู้กำกับบอกว่านี่คือ turning point จริงๆ เพราะหลังจากฉากนี้ทั้งสองจูบกันครั้งแรก) แล้วจังหวะที่เปลวไฟลุกโชนบนกระโปรงของเอลูอิส ส่วนตัวตีความว่านี่คือไฟของ love and passion ที่หนีจากมันไม่ได้ แล้วก็เป็นสิ่งเดียวกับที่จะแผดเผาทั้งสองด้วย เพราะในที่สุดเอลูอิสก็จะหายไปเมื่อไฟเผาจนสิ้น






                    พูดถึงเรื่องหายไปแล้วไม่พูดถึงตำนานกรีกที่ถูกนำมาอ้างไม่ได้ คือเรื่องนี้ทำครบมาก ศูนย์รวมศิลปะทุกแขนง ๕๕๕๕๕๕๕ ดนตรีคลาสสิก ภาพวาด แล้วยังวรรณคดีหมวด mythology อีก เราชอบการเปรียบทั้งสองเป็นออร์ฟิอุสกับยูไรดิซ T_T เป็นการตีความที่สวยงามจังเลย การมองว่าการจากลาไม่สำคัญเท่าเราจดจำกันเอาไว้ จนถึงฉากที่ทำเราน้ำตาไหลพราก เอลูอิสขอให้มารียาน "Turn around" มาจดจำเธอเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่เอลูอิสในชุดขาวจะหายไปในความมืดดำหลังบานประตูปิดลง เหมือนที่ยูไรดิซตกลงไปในหุบเหวมืดแล้วประตูนรกปิดเป๊ะเลย ตำนานกรีกแท้จริงจะเป็นยังไงไม่มีใครรู้ แต่การตีความของเอลูอิสได้เป็นจริงแล้วเมื่อเธอขอให้มารียานหันกลับมา





                     พูดแล้วก็เศร้า แง อ้อมกอดสุดท้ายของทั้งคู่มันสั้นและทรมานใจมาก เพราะเรารู้ว่ามารียานอยากกอดเอลูอิสนานกว่านั้น อยากจูบ อยากสัมผัส แต่ทำไม่ได้ ตรงนี้เราเข้าใจว่าทำไมตัวละครไม่เลือกที่จะสู้ เพราะรู้ว่ายังไงก็แพ้ เลยต้องตัดใจก่อนที่จะทำไม่ไหว (fun fact: วันนั้นคือวันที่ถ่ายทำซีนสุดท้ายที่มี Adèle Haenel (เอลูอิส) ด้วย เค้าจากกันจริงๆ อะแง) ใจแตกสลายไปอีกตอนที่มารียานมาเห็นภาพเอลูอิสกับหน้า 28 มีคนตั้งข้อสังเกตว่าฉากนั้นมารียานใส่เดรสสีฟ้าสีเดียวกับชุดของออร์ฟิอุส ส่วนเอลูอิสใส่ชุดสีขาวเหมือนยูไรดิซ น้ำตา น้ำตา น้ำต๊าาาาาา ฮือออออออออออออออออออออ T________T 

                  สรุปแล้วคือเรื่องตัวละครนี่เราให้ 1000000/10 ไม่สามารถบรรยายได้ว่าเป็นการสร้างคาแรกเตอร์ที่สมบูรณ์แบบและงดงามเหมือนจรดพู่กันลงบนผ้าใบขนาดไหน 


    ***หมดสปอยล์***








    พล็อต

                จริงๆ พอเดาได้แหละว่าพล็อตจะไม่ค่อยมีอะไรมากและเน้นไปที่บรรยากาศ ตัวละคร ไดอะล็อก (ซึ่งก็มีน้อย) มากกว่า พล็อตหนังยุโรปเท่าที่ดูมามักจะเป็นแบบนี้ ๕๕๕๕๕ แนวๆ โฟกัสที่เรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แต่ละช่วง มากกว่าจะเป็นหลายๆ เหตุการณ์กระแทกมาหาตัวละคร ถ้าใครเคยดู Call me by your name ก็ประมาณนั้น เรื่องดำเนินอย่างเนิบนาบ ไม่ได้ลุ้นจิกเบาะหรือพลิกหักมุมอะไร จะคนละสไตล์กับหนังฮอลลีวูดเมนสตรีม แต่เราว่าเรื่องนี้ build tension ได้ดีมากๆ (มากกว่า cmbyn) ด้วย คือมุ่งจากจุดที่ว่างเปล่าไปสู่จุดไคลแมกซ์ได้ดีงามไม่แพ้หนังดีๆ เรื่องไหนเลย เอาเป็นว่าแม้จะเป็นหนังแนวที่ไม่เดินเรื่องฉับๆๆๆ แต่ก็สะกดเราได้อยู่หมัดตั้งแต่ต้นจนจบ ความรู้สึกเหมือนดำน้ำลงลึกไปเรื่อยๆ จนแทบจมอะไรแบบนั้น กลายเป็นหนังยุโรปเรื่องแรกที่ชอบแบบชอบจริงๆ สามารถดูซ้ำได้

                ส่วนข้อเสียก็คือเรื่องเดิม เหตุการณ์ค่อนข้างน้อย บางฉากตัดไวไม่ทันปล่อยให้อารมณ์ได้ตกผลึกอย่างเต็มที่ แต่ก็ถือว่าเป็นข้อเสียที่น้อยนิดมากเทียบกับองค์ประกอบรวมทั้งหมดของเรื่องที่ทำให้เรายก Portrait of a lady on fire ขึ้นหิ้งไปอยู่คู่กับหนัง LGBTQ ชั้นสูงเรื่องอื่นๆ เผลอๆ จะดีกว่าด้วย T v T 

               สุดท้าย ชอบประเด็นประเพณีกดขี่ผู้หญิงที่สะท้อนอย่างชัดเจนในหนัง ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ในร่างกาย ในอิสรภาพ ในความรัก หรือในอะไรเลย แทบจะถูกทรีตเป็นวัตถุด้วยซ้ำ แต่หนังเล่าเรื่องราวพวกนี้อย่างนุ่มนวล ดูเพลินๆ แต่ได้คิดตามไปด้วยอย่างแท้จริง







    ภาพและเสียง

                งานภาพสวยมาก สวยตาแตก สวยจนเหมือนเห็นสวรรค์อยู่ตรงหน้า สวยเว่อวังมาก สวยไปไหน การจัดเฟรม มู้ดและสี (ชอบจุดนี้เป็นพิเศษ สีทะเลคือเริดมาก สีดำตัดกับเปลวไฟงี้ แว้กกกกก) นอกจากจะเล่าอารมณ์ได้แล้วยังเล่นในแง่สัญลักษณ์เยอะด้วย ดูเพื่อเสพสุนทรียะก็ได้ ดูแล้วตีความตามก็ได้ แต่ที่แน่ๆ คือใช้วิวใช้องค์ประกอบภาพได้คุ้มมาก เหมือนมานั่งดูงานศิลปะแบบเคลื่อนไหว eyegasm ไปตามๆ กัน u w u จะว่าไปแล้วในเรื่องนี้ศิลปะมีบทบาทมากๆ เหมือนความรู้สึกของทุกคนผูกอยู่กับศิลปะ ทั้งภาพวาด ดนตรี หรือแม้แต่งานคราฟท์

                  แต่ว่าจุดที่เราชอบแบบที่แปลกใจตัวเองคือเรื่องของเสียง ในเรื่องคือเงียบมากเลยนะ แทบไม่มีเสียงเลย ในความเงียบนี้เราได้โฟกัสที่ตัวละครและพบว่าพวกเขาสามารถพูดคุยกันผ่านความเงียบได้จริงๆ จนความเงียบมีบทบาทและทรงพลังในแบบของมันเอง แต่ว่าเมื่อได้ยินเสียงที เสียงนั้นก็พิเศษและอิมแพ็คใจได้มากด้วย เป็นการใช้ซาวน์แบบที่คิดมาถี่ถ้วนแล้ว กลับออกไปก็โหลดเพลย์ลิสต์เรื่องนี้ (ที่มี 2 เพลง) นั่งฟังวนไปเลยแหละ T w T







    คำเตือน ****มีสปอยล์****



                ตอนแรกก็สงสัยว่าหนังอะไรเงียบขนาดนี้ แต่ว้าวมากตอนได้อ่านบทสัมภาษณ์ผู้กำกับ เขาบอกว่าเขาจงใจให้หนังเรื่องนี้เงียบเพื่อให้คนดูรู้สึกหงุดหงิด เหมือนที่มารียานกับเอลูอีสหงุดหงิดเมื่อไม่ได้ภาพวาดที่สวยงามตามต้องการ มันคืออารมณ์ที่เกิดเพราะสัมผัสศิลปะไม่ได้ ทำให้เมื่อได้ยินเพลงและดนตรีในที่สุด เราหันกลับมาเห็นคุณค่าของมันมากขึ้นว่าทำไมถึงมี ทำไมถึงมาอยู่ตรงนี้ เป็นแนวคิดที่อ่านจบรู้สึกตะลึงไปเลย ก็จริงนะ พอเราได้ยินเพลงรอบกองไฟครั้งแรก ใจเต้นตึกตัก รู้สึกว่ามันช่างไพเราะเหลือเกิน ขลังมากเหมือนมีเวทมนตร์ T - T 

                 แล้วเพลง La Jeune Fille en Feu ในฉากรอบกองไฟก็มีเนื้อเพลงภาษาละตินที่น่าสนใจมากด้วย มีท่อน "Non Possum Fugere" ที่แปลว่า "You cant' escape" และท่อน "Nos resurgemus" ที่มีความหมายว่า "We rise" ตรงนี้เราคิดว่าสะท้อนว่าผู้หญิงไม่สามารถหลีกหนีชะตากรรมหรือกรอบประเพณีไปได้ แต่ขณะเดียวกันเมื่อเราอยู่ด้วยกันเราก็สามารถที่จะโบยบินเป็นอิสระได้เช่นกัน เป็นใจความที่ขัดแย้งแต่ก็อาจจะเป็นจริงนะ ผู้หญิงพ่ายแพ้แต่ก็ยังสู้ต่อมาตั้งแต่ไหนแต่ไร

                  และสุดท้าย ฉากที่เราน่าจะชอบที่สุดในเรื่องแล้วเพราะทำให้เขื่อนแตกสะอื้นฮักๆ เลยก็คือฉากบรรเลงออเคสตร้า ฉากนี้แวบแรกคือนึกถึงเรื่อง Call me by your name ที่กล้องแช่หน้าเอลิโอ แต่แอบชอบฉากนี้มากกว่าเพราะเป็นฉากที่กล้องโฟกัสแค่เอลูอิส พร้อมมีดนตรีคลาสสิกจากชุด The Four Seasons ของ Vivaldi ดังคลอไป ฉากนี้เรารีเลทมากกกกกกกกกกกก เวลานั่งดูบรรเลงออเคสตร้า เพลงมันจะพาเราไปในที่ต่างๆ มากมายจริงๆ อารมณ์ของเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับเพลง แล้วสีหน้าเอลูอิสคือทั้งยิ้มและร้องไห้เหมือนกำลังนึกถึงวันเวลาอันมีค่าที่เคยใช้ร่วมกับมารียาน ส่วนจังหวะและทำนองเพลง Storm ก็เร่งเร้า บีบคั้น ปั่นป่วน สะท้อนความรู้สีกในใจของเอลูอิสได้ไร้ที่ติ จนแฟนเพลงวิวัลดีอย่างเราอยากกลับไปดูฉากนั้นอีกสักหลายๆ รอบ (แต่กลัวใจพัง) ไม่เคยรู้สึกว่าเพลงนี้เพราะเท่านี้มาก่อน 

                   ส่วนตัวเราคิดว่า Storm ของ Vivaldi ถูกใส่เข้ามาเพื่อสื่อถึงตัวมารียานที่เข้ามาทำให้ชีวิตราบเรียบของเอลูอิสปั่นป่วนขึ้นมา เพราะช่วงเวลาที่ทั้งสองอยู่ด้วยกันนั้นสั้นแสนสั้น เหมือนช่วงที่พายุโหมกระหน่ำซัดเข้ามา สุดท้ายพายุก็สงบลง แต่ความรู้สึกที่พายุทิ้งไว้ให้กลับไม่ได้หายไปไหน




    ***หมดสปอยล์***









    ภาพรวม

                  ประทับใจมากๆ เพราะมันคือหนังญญชั้นสูง ผสมผสานองค์ประกอบศิลป์ถูกด้านอย่างประณีต ขณะเดียวกันก็เปี่ยมอารมณ์ พาเรายิ้มและร้องไห้ได้ ออกจากโรงมาแบบอึ้งๆ ปริ่มๆ รักในความงามของหนัง หากใช้เกณฑ์หนังสไตล์ฮอลลีวูดมาตัดสิน เรื่องนี้ก็อาจจะเนิบนาบไปจนถึงไม่มีอะไรเลย แต่ถ้ามองในแง่หนังรักทรงพลังเรื่องหนึ่ง เรื่องนี้ก็ทำได้ดีในทุกๆ ด้านสำหรับเรา มันมีความเรียลลิสติก แต่ก็มีความโรแมนติก มีความสวยงามและความสิ้นหวัง มีความเป็นศิลปะแต่ก็มีความเป็นมนุษย์ เป็นหนังดีที่ทุกคนควรลองไปดูสักครั้งจริงๆ <3



    ilysm.








    References

    https://slate.com/culture/2019/12/portrait-lady-fire-celine-sciamma-music-song-score-para-one-arthur-simonini.html

    https://morningmightcomebyaccident.tumblr.com/post/190861735448/hello-this-blog-is-such-a-treat-and-i-love

    https://ladyonfire28.tumblr.com/post/190930435914/c%C3%A9line-commenting-on-no%C3%A9mies-pale-face-during-the

    https://www.indiewire.com/2020/02/portrait-of-a-lady-on-fire-song-bonfire-lyrics-chanting-1202211855/



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in