เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Studit - การศึกษา ข่าวสาร ไอเดีย ส่งมอบแรงบันดาลใจให้เด็กที่มีฝันstudit
ภาคไทย VS ภาคอินเตอร์ PART 2
  • สวัสดีน้องๆทุกคน ;) นี่เป็นโพสต์ที่ 2 ของStudit ที่จะมาพูดเรื่องหลักสูตรที่แตกต่างกันของภาคไทยและอินเตอร์ ความจริงควรเรียกว่า PART 1.1 (แบบละเอียดยิบมากกว่า555)  โพสต์นี้พี่ตั้งใจทำมาก
    หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่น้องๆ ทุกๆคนนะคะ 

    เริ่มกันเลยจ้า!!!!


    Admission (การรับเข้าเรียนต่อ)
    อย่างแรกที่น้องๆทุกคนต้องรู้คือ ทั้ง 2 หลักสูตรมีการรับเข้าเรียนต่อที่แตกต่างกัันค่ะ ซึ่งภาคไทยน้องๆทุกคนคงรู้ัจักกันดีในชื่อ ระบบ TCAS ซึ่งน้องๆคนไหนที่ต้องการเข้าคณะภาคไทยไม่ว่าจะหมอ วิศวะ มนุษ สถาปัต และอื่นๆ จำเป็นต้องใช้คะแนนสอบที่มีการจัดสอบโดย สทศ.(สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ)  และในส่วนรอบที่จะเปิดรับ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทางคณะและเกณฑ์เข้ารับในแต่ละปีค่ะ ส่วนภาคอินเตอร์นั้น บางมหาลัยจะมีการเปิดรับตั้งแต่รอบ Early Admission ซึ่งจะรับตั้งแต่ช่วงธันวาคมเป็นต้นไป หลังจากนั้นก็จะมาเข้าร่วมใน TCAS รอบ 1(แน่นอนเข้าทุกปีเลย) และ 2 และมีบ้างที่จะรับรอบอื่นๆ แต่จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจในแต่ละปีค่ะ


    คะแนนยื่นเข้ามหาลัย
    คณะภาคไทยทุกคณะจำเป็นต้องใช้ผลคะแนนจากข้อสอบกลางของประเทศที่ สทศ.(สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ) เป็นผู้จัดทำ เช่น GAT PAT 9วิชาสามัญ รวมทั้งมีการกำหนด GPAX หรือผลการเรียนเฉลี่ยขั้นต่ำ(แล้วแต่เกณฑ์การกำหนดของแต่ละคณะ) และอาจมีสอบปฏิบัติแยกตามคณะร่วมด้วย 

    ต่อจากนี้เราจะพูดถึงคะแนนที่ใช้ยื่นในภาคอินเตอร์กันนะคะ


    ในส่วนของภาคอินเตอร์ เราจะใช้คะแนน 2 ส่วนใหญ่ๆ 
    โดยขึ้นอยู่กับ Requirement ของแต่ละคณะแต่ละมหาลัยว่าเขาต้องการอะไรบ้าง
    และมีเกณฑ์ขั้นต่ำเท่าไหร่

    คะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษ
    ต้องเป็นข้อสอบที่ได้รับการรับการยอมรับในระดับสากลหรือในมหาลัยที่น้องๆยื่นเข้าเรียนต่อและเกณฑ์คะแนนต้องถึงตามที่มหาลัยนั้นกำหนด โดยตัวข้อสอบจะวัดระดับของภาษาของน้องๆเป็นหลัก
    ✅ ข้อสอบระดับสากล เช่น IELTS (ไอเอล) TOEFL (โทเฟล) SATปกติ/ธรรมดา (แซด)
    ✅ข้อสอบที่มหาลัยออกเองและเป็นที่ยอมรับ เช่น CU-TEPของจุฬา (ซียู-เท็บ) 
    TU-GETของธรรมศาสตร์ (ทียู-เก็ต) KU-EPTของเกษตรศาสตร์ (เคยู-อีพีที)


    ? คะแนนวัดระดับทางวิชาการ
    ข้อสอบในส่วนนี้จะเน้นเฉพาะทางมากขึ้น เช่นตรรกะทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี โดยตัวข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษล้วนทั้งหมดค่ะ โดยตัวอย่างด้านล่างน้องจะเห็นว่ามีหลายแบบมากมาย ของ SAT เองจะมีเป็น SAT Subject Test __ฟิสิกส์/เคมี/อื่นๆ__ หรือแม้แต่ของจุฬาเอง ก็จัดทำข้อสอบเฉพาะทางไม่ว่าจะเป็น CU-TAD CU-ATS เป็นต้น 

    แล้วน้องๆจะรู้ได้ยังไงว่าจะต้องสอบตัวไหนบ้าง??? 
    ไม่ยากเลยค่ะ น้องๆสามารถเช็คได้จากเว็บไซต์ของคณะหรือในแฟนเพจเฟสบุ๊คของคณะนั้นๆได้เลยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าน้องสนใจในคณะA สาขาB(หลักสูตรนานาชาติ) ของมหาวิทยาลัยD 
    น้องก็เสิร์ชชื่อคณะที่น้องสนใจใน Google เมื่อน้องเจอหน้าเว็บไซต์ เมื่อคลิกเข้าไปพยายามลองหาหัวข้อบนเว็บที่เขียนว่า Admission/ Admission Requirements น้องๆจะเจอเกณฑ์ที่ทางมหาลัยใช้ในทุกๆปีรวมถึงอาจมีสถิติปีที่ผ่านมาให้ดูคร่าวๆก็มีด้วยน๊า


    ต่อไปเรามาพูดถึงคลาสเรียน และสังคมในเด็กอินเตอร์กันบ้าง!!!
    หลายคนอาจคิดว่าเด็กเรียนอินเตอร์ ต้องเป็นสังคมไฮโซ เด็กบ้านรวย เด็กนอก ความจริงแล้วก็มีอยู่จริงค่ะ แต่พี่ขอพูดเลยว่าในทุกคณะทั้งภาคไทยภาคอินเตอร์ต้องมีอยู่แล้วค่ะ น้องๆคิดดูนะคะมหาลัยเป็นสถานศึกษาที่ใหญ่มาก มากกว่าโรงเรียนหลายเท่าตัวแต่ละปีมีคนเข้าเรียนเป็นพันๆคน เด็กทั้งประเทศต่างสอบเข้าเพื่อเรียนต่อ ดังนั้นน้องๆเตรียมใจได้เลยว่า น้องๆจะได้เจอกลุ่มคนหลากหลายประเภทมากขึ้นในช่วงชีวิตช่วงมหาลัย ดังนั้นอย่ากลัวที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆนะคะ :) 
    และในภาคอินเตอร์พี่อยากบอกว่ากลุ่มเด็กธรรมดาก็มีค่ะ เด็กเรียนสายวิทย์โรงเรียนรัฐ สายศิลป์ หรือเด็กตจวมีหมดค่ะ ขึ้นอยู่กับตัวน้องๆแล้วว่า จะครบใครเป็นเพื่อน สิ่งที่พี่จะสื่อ คือ อย่าไปยึดติดกับปัจจัยภายนอกดูที่นิสัยใจคอ งานอดิเรกเป็นหลัก พี่ว่าน้องๆจะแฮปปี้กว่ากันเยอะเลย

    ในส่วนคลาสเรียน แน่นอนว่าตั้งแต่น้องยื่นคะแนนสอบ สัมภาษณ์ จนประกาศผล น้องๆล้วนใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมดใช่ไหมคะ นั่นหมายถึงหลังจากนี้ไปก็ด้วยค่ะ ในคลาสเรียนน้องๆจะได้อาจารย์ที่สอนน้องเป็น Eng ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสไลด์สอน ชีทเรียน ข้อสอบ การบ้าน การนำเสนองานหน้าชั้น ล้วนเป็นEng ทั้งหมด ในส่วนการเรียนในแต่ละวิชานั้น จะมีการสอนแตกต่างกันตามสไตล์ของอาจารย์แต่ละท่านค่ะ ซึ่งจะแตกต่างจากการเรียนในหลักสูตรไทยแน่นอนค่ะ เช่น อาจารย์อาจจะให้มีการทำ Case Study มีการให้นำเสนอความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนทางความคิด ให้เราฝึกกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้นค่ะ อีกอย่างเมื่อพอเข้ามหาลัยเราจะได้ฝึกทำงานกลุ่มมากขึ้นด้วยนะ พูดได้ว่าทำงานกลุ่มหนึ่งงานได้เพื่อนใหม่หนึ่งคนเลยหละ :)

    ค่าเทอม
    ค่าใช้จ่ายหลักสูตรอินเตอร์ต้องยอมรับว่า มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างจะสูงกว่าภาคไทยค่ะ 
    เนื่องจากด้านบุคคลากรที่ต้องมีอาจารย์ชาวต่างชาติเป็นผู้สอน ซึ่งอาจารย์ที่มาสอนในมหาลัยต้องมีวุฒิเป็นเลิศในด้านที่สอนด้วยนะคะ ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ตามมาเยอะค่ะ ยังรวมถึงกิจกรรมที่ทางคณะจัด เช่น งานที่มีการจ้างวิทยากรพิเศษมาบรรยายในนิสิตฟัง เป็นต้น

    สุดท้ายนี้เราจะมาพูดถึงประสบการณ์และโอกาสที่จะได้รับค่ะ

    แน่นอนน้องๆจะเห็นเลยว่าการเรียนภาคอินเตอร์น้องจะมีข้อได้เปรียบทางด้านภาษาอยู่มาก ยังทำให้น้องมีการรับรู้ด้านข้อมูล ข่าวสาร ได้เยอะกว่าหลายคน ทำให้น้องมีทัศนคติที่เปิดกว้างขึ้นด้วยค่ะ
    ซึ่งแค่ความได้เปรียบทางภาษา น้องจะมีโอกาสในการศึกษาต่อในต่างประเทศมากกว่าคนอื่น และรวมถึงการเรียนแบบ International ทำให้น้องไปเรียนต่อต่างประเทศได้สบาย ไม่ต้องกังวลกับการปรับตัวกับเพื่อนใหม่เยอะ เพราะภาคอินเตอร์ที่น้องๆได้เรียนมา ก็จะได้พบกับชาวต่างชาติจนชินไปเอง

    นอกจากนี้การเรียนภาคอินเตอร์ยังมีโอกาสให้น้องๆไปเรียนแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ ที่มหาลัยเรียกกันว่าการทำ MOU ทำให้น้องได้มีโอกาสไปทดลองเรียนที่ต่างประเทศหรือ เด็กต่างชาติของมหาลัยนั้นได้มีโอกาสเข้ามาเรียนที่คณะเราได้ด้วยเช่นกัน

    ในส่วนของโอกาสอื่นๆที่น้องจะได้รับ เช่น การร่วมโครงการ Work and Travel​ (WAT) ที่น้องจะสมัครได้แต่ช่วงเรียนมหาลัย น้องๆจะมีภาษีดีกว่าคนอ่ื่น เช่นโอกาสการได้เลือกงานที่เรทดีกว่า เพราะทักษะทางภาษาที่แแข็งแกร่งของน้อง การร่วมโครงการ Work and Holiday หลังเรียนจบ การไป Au-Pair ที่อเมริกา เป็นต้น

    สุดท้ายในเรื่องของเงินเดือนหลังเรียนจบ พี่ไม่ขอการันตีว่าน้องจบมาแล้ว สมัครเข้าทำงานน้องๆจะได้เงินเดือนที่สูงกว่าคนอื่นทุกคน เพราะพี่คิดว่ามีหลายปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงสถานการณ์โลกในเวลานั้น อย่าง โควิด19 ในตอนนี้ แต่พี่พูดได้เลยว่าหลายบริษัทในปัจจุบัน มีการให้ค่าตอบแทนทางด้านภาษาค่ะ โดยเขาจะให้น้องไปสอบ TOEIC แล้วนำมายื่นประกอบค่ะ ซึ่งสำหรับน้องที่เรียนอินเตอร์มาได้เปรียบกว่าคนอื่นเห็นๆเลยค่ะ :)


    วันนี้ก็เขียนยาวอีกแล้ว หวังว่าน้องๆจะไม่เบื่อกันไปซะก่อนนะ T^T 
    บทความนี้หวังว่า จะเป็นประโยชน์แก่น้องๆที่สนใจเรียนต่อภาคอินเตอร์กันนะคะ
    ถ้าชอบก็กดไลค์ กดแชร์ และกดติดตามข้อมูลข่าวสารกันได้ทางเฟสบุ๊คนะคะ
    ❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️
    ตามลิ้งค์ข้างล่างเลย?????



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in