เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Let’s have Minimore fun!minimore
รู้หรือไม่ 10 หนังดังในตำนานเหล่านี้ มีผู้กำกับเป็นผู้หญิงนะ
  • สวัสดี สวีดัดเพื่อน ๆ ชาวมินิมอร์ทุกคน หลังจากผ่านพ้นวันสตรีสากลไปได้ไม่นาน มินิมอร์ก็มีเนื้อหาดี ๆ มาฝากกันอีกแล้ว อะ ๆ เห็นมินิมอร์พูดถึงวันสตรีสากล เพื่อน ๆ ก็คงพอจะเดากันออกแล้วใช่ไหมว่ามันจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มินิมอร์นำมาฝากแน่นอนใช่แล้ว! เรื่องที่มินิมอร์จะนำเสนอในวันนี้นั้นเกี่ยวกับหนังที่มี
    ผู้กำกับเป็นผู้หญิงจ้ะ บอกเลยว่าแต่ละเรื่องที่หยิบมา จะต้องผ่านหูผ่านตาเพื่อน ๆ กันมาแล้วแน่นอน ไหนลองไปดูกันดีกว่าว่าจะมีเรื่องอะไรกันบ้าง..


    Clueless กำกับโดย Randa Haines

    (ภาพจาก 365thingsaustin)

    ใครที่เคยดู Meangirls มาแล้วต้องห้ามพลาดเรื่องนี้นะจ๊ะ มินิมอร์บอกเลยว่าเรื่อง Clueless นี้มีมาก่อนเรื่อง Meangirls ซะอีก ถ้าจะบอกว่าเป็นจุดกำเนิดของสาว ๆ Meangirls ไหม อาจจะไม่ แต่ถ้าเรียกว่าเป็นรุ่นพี่ก็น่าจะพอไหวอยู่ ซึ่งคนที่กำกับหนังแซ่บ ๆ แบบนี้ได้จะต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นจ้ะ แถมกระซิบเลยว่า Randa Haines ก็แซ่บไม่แพ้สาว ๆ ในเรื่องนี้เหมือนกัน ยิ่งอ่านข้อมูลก็มีเรื่องให้ประหลาดใจอีก เพราะบทของเรื่อง Clueless นี้ดัดแปลงมาจากงานเขียนของ Jane Austen เจ้าแม่วรรณกรรมสุดคลาสสิก เอาเซ่ มินิมอร์จะบอกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังขวัญใจวัยรุ่นยุค 90 กันเลยนะ ก็อย่างที่บอกไปนั่นแหละจ้ะ ถ้าใครดู Meangirls กันมาแล้ว อย่าพลาดเรื่องนี้เป็นอันขาดเลยน้า..

    (Randa Haines ผู้กำกับภาพยนตร์ Clueless ภาพจาก media.tumblr)






    Diary of a Teenage Girl กำกับโดย Marielle Heller

    (ภาพจาก the-numbers)

    มาถึงหนังเรื่องต่อไป หนังเรื่องนี้มินิมอร์บอกเลยว่าต้องถูกใจสาวกอินดี้กันแน่ ๆ เห็นแค่รูปด้านบนนี้
    มินิมอร์ก็รู้สึกถึงความอินดี้ไปเกือบ 100% ละ ขาดแต่เพื่อน ๆ ไปดูเท่านั้นแหละจ้ะ ความอินดี้ถึงจะครบสูตร Marielle Heller ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ มินิมอร์บอกเลยว่าถ้าให้รับบทเป็นนางเอกเองก็ยังไหวอยู่ เพราะนางยังดูวัยรุ่นมากกก บอกเลยว่านอกจากนางจะเป็นผู้กำกับแล้ว นางยังเป็นนักเขียนบท รวมถึงนักแสดงเองด้วย (มิน่า ดูจากหน้าตาก็พอจะเอาได้) ซึ่ง The Diary of a Teenage Girl นี้เป็นผลงานการกำกับหนังเรื่องแรกของเธอเลยด้วย หนังเรื่องได้ตีแผ่ความรู้สึกนึกคิดของวัยรุ่นคนหนึ่งได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงตัวละครในเรื่องเท่านั้นนะ เพราะมินิมอร์เชื่อว่าคนอย่างนี้ก็มีให้เห็นอยู่ทั่ว ๆ ไปเหมือนกัน โดยตัวละครของมินนี่ เป็นตัวแทนของเด็กสาวไร้เดียงสา ที่มีความรู้สึกอยากที่จะรัก อยากที่จะมีชีวิตเหมือนอย่างผู้ใหญ่ทั่วไป แต่มันก็มีบ้างที่เธออาจจะตัดสินใจอะไรผิด ๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเธอไป เอาเป็นว่ามินิมอร์บอกใบ้แค่นี้ ถ้าอยากรู้อีกก็ไปหาดูเอาเองน่าจะดีกว่าเนอะ

    (Marielle Heller ผู้กำกับภาพยนตร์ The Diary of a Teenage Girl ภาพจาก sltrib)






    Sleepless in Seattle กำกับโดย Nora Ephron

    (ภาพจาก meanmaureen)

    ขึ้นแท่นหนัง Romantic Comedy ในดวงใจของใครหลายคน สำหรับ Sleepless in Seattle เรื่องนี้ โดยเรื่องราวนั้นจะเรียกว่าพรหมลิขิตก็ไม่ใช่ ลูกลิขิตก็ไม่เชิง เพราะตัวเอกทั้งสองคนในเรื่องนั้นรู้จักกันผ่านบทสนทนาในวิทยุจ้ะ คือนางเอกเป็นนักจัดรายการ ส่วนพระเอกคือคนที่จับผลัดจับพลูถูกจับไปเป็น
    ผู้สนทนาหน้าไมค์ ส่วนตัวบงการเรื่องคือลูกชายของพระเอกเรานี่แหละ ที่เห็นว่าตั้งแต่แม่ตัวเองเสียไป พ่อก็เอาแต่เก็บตัว ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม เขาเลยโทรไปขอความช่วยเหลือจากสถานีวิทยุ (คล้าย ๆ กับ Club Friday บ้านเรา) ในตอนแรกที่พระเอกของเรารู้ เขาหัวเสียใหญ่เลย บอกว่านี่มันเป็นเรื่องในบ้าน ไม่ควรจะเอาไปเที่ยวบอกชาวบ้านเขาแบบนี้ แต่ไป ๆ มา ๆ เพราะเหตุการณ์นี้นี่แหละที่ทำให้เขาได้เริ่มต้นรักครั้งใหม่สมใจลูกชายเขาซะที ผลงานสุดโรแมนติกนี้เป็นผลงานของ Nora Ephron ผู้กำกับ
    นักเขียนบท รวมถึงโปรดิวเซอร์มากฝีมือที่เคยฝากผลงานเอาไว้กับหนังคุณภาพมากมาย อาทิเช่น You've Got Mail , When Harry Met Sally และอื่น ๆ อีกมากมาย

    (Nora Ephron ผู้กำกับภาพยนตร์ Sleepless in Seattle ภาพจาก dailymail)






    The Virgin Suicides กำกับโดย Sofia Coppola

    (ภาพจาก i.gr-assets)

    มินิมอร์จำได้ว่าเคยมีเพื่อน Minimore Makers เขียนเล่าเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ แถมมีคนอ่านเยอะเลยด้วย มาคราวนี้มินิมอร์ขอหยิบมานำเสนอใหม่ โดยจะนำเสนอเกี่ยวกับผู้กำกับของเรื่องนี้ลงไปด้วย ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานการกำกับและเขียนบทของ Sofia Coppola ลูกสาวของผู้กำกับมือฉมัง Francis Ford Coppola ผู้สร้างหนังในตำนานอย่าง The Godfather มาถึงตาของลูกสาวก็ไม่ได้ทำให้คนดูผิดหวังเลย The Virgin Suicides ได้ตีแผ่สังคมการเลี้ยงดูของครอบครัวอเมริกันได้แบบเฉียบขาด นำเสนอเรื่องราวผ่านตัวละครหญิงสาวทั้ง 4 คน ที่พ่อแม่ทั้งรักทั้งหวง (อาจจะเกินไปนิดนึง) ไม่ยอมให้ข้องเกี่ยวกับใครเลย วัน ๆ ก็เอาแต่หมกหมุ่นอยู่ในห้อง ถ้าจะเอาคำนิยามสั้น ๆ ก็ไม่ต่างอะไรจากการโดนขังนั่นแหละจ้ะ ซึ่งพวกเธอเหล่านั้นก็มีความฝัน มีความปรารถนาเหมือนเด็กสาวทั่ว ๆ ไป แต่ติดอยู่ที่ว่า การที่พวกเธอจะทำอะไรสักอย่างได้ พวกเธอจะต้องได้รับการอนุญาตจากพ่อแม่ก่อน ใครที่อยากดูแต่กลัวว่าจะจิตตกหรืออะไร บอกเลยว่าไม่ถึงขั้นนั้นหรอกจ้ะ นอกจากจะไม่ทำให้จิตตก หนังเรื่องนี้ยังสอนอะไรหลายอย่างให้กับคนดูอย่างเราอีกด้วย เรียกได้ว่าเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี อารมณ์ประมาณนั้นเลย..


    (Sofia Coppola ผู้กำกับภาพยนตร์ The Virgin Suicides ภาพจาก gossipcenter)






    We Need to Talk About Kevin กำกับโดย Lynne Ramsay

    (ภาพจาก cdn.collider)

    We Need To Talk About Kevin เป็นผลงานการกำกับของ Lynne Ramsay เรียกได้ว่าเป็นหนังที่โดนใจ
    นักวิจารณ์เข้าอย่างจัง แถมยังกวาดรางวัลมาหลายต่อหลายเวทีอีกด้วย We Need To Talk About Kevin เป็นหนังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก ซึ่งเน้นด้านพฤติกรรมเป็นหลัก ข้อคิดที่ได้จากการชมภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ไม่ว่าลูกโตมาแล้วจะมีพฤติกรรมอย่างไร ก็อย่าโทษสิ่งแวดล้อมรอบข้างจนลืมโทษความประพฤติของพ่อและแม่ โดย Lynne ต้องการจะสื่อสารกับคนดูในเรื่องที่ธรรมดามากในสังคม นั่นก็คือเรื่องของการอบรมเลี้ยงดู ถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้เธอจะไม่ได้มีส่วนในการเขียนบทด้วย แต่เรียกได้ว่าฝีมือการกำกับนั้นไม่ธรรมดาเลย โดยสื่อหลายสำนักต่างชื่นชมในวิธีการตีความที่ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติของเธอ จนดูแล้วยังรู้สึกเชื่อในความเป็นแม่ลูกของตัวละครซะอย่างงั้นเลย ถ้าหากเพื่อน ๆ คนไหนยังไม่เคยดูหนังเรื่องนี้ มินิมอร์แนะนำว่าควรค่าอย่างยิ่งแก่การหามาดู เพราะหนังสอนอะไรเราได้มากจริง ๆ 


    (Lynne Ramsay ผู้กำกับภาพยนตร์ We Need To Talk About Kevin ภาพจาก cloudfront)





    An Education กำกับโดย Lone Scherfig

    (ภาพจาก theimaginativeconservative)

    An Education ขึ้นแท่นหนังในดวงใจอีกเรื่องนึงของมินิมอร์เลย โดยหนังเกี่ยวกับเด็กสาวคนหนึ่งที่อยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ อนาคตข้างหน้ากำลังไปได้สวย แต่แล้วไม่รู้จะเรียกว่าซวยหรืออะไร จู่ ๆ ก็มีผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาในชีวิตของเธอ ด้วยความที่ตั้งแต่เกิดมาเธอยังไม่เคยรู้จักกับความรัก เธอจึงไม่รู้ว่ามันหน้าตาเป็นยังไง แต่พอเธอได้เจอเขา ได้คลุกคลีกับเขา นานวันเข้ามันเลยเกิดเป็นความรักขึ้นมา ใครคิดว่าหนังจะจบแบบแฮปปี้ หรรษา มินิมอร์บอกเลยว่าเพื่อน ๆ คิดผิดจ้ะ แต่บอกใบ้ให้ว่าตามชื่อเรื่องเขาเลย 55555 ไม่อยากใบ้มาก เดี๋ยวเสียอรรถรสคนที่ยังไม่ได้ดูหมด!  An Education เป็นผลงานการกำกับของ Lone Scherfig โดยเธอได้กำกับหนังมาแล้วหลายต่อหลายเรื่อง เดี๋ยวมินิมอร์ขอยกตัวอย่างหนังอันเลื่องชื่อของเธอให้ดูกันนะจ๊ะ มีเรื่อง One Day , The Riot Club (ที่ผู้ชายแซ่บมาก) มีเรื่อง Italian for Beginners ที่กวาดรางวัลมาเพียบ ซึ่งเรื่อง An Education นี้ก็เข้าชิงรางวัลอยู่หลายรางวัลเหมือนกันนะ ทว่าแล้ว มินิมอร์ขอไปหาหนังเรื่องนี้มาดูใหม่อีกรอบดีกว่า :>


    (Lone Scherfig ผู้กำกับภาพยนตร์ An Education ภาพจาก indiewire)





    Tomboy กำกับโดย Celine Sciamma

    (ภาพจาก slantmagazine)

    ผลงานของผู้กำกับสาวชาวฝรั่งเศส Celine Sciamma กับผลงานที่ทำให้เราเข้าใจคนอีกประเภทหนึ่งได้ชัดเจนขึ้นอย่าง Tomboy โดยเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของเด็กคนหนึ่งที่ถึงแม้ว่าตัวจะเป็นผู้หญิง แต่นิสัยและพฤติกรรมบางอย่างกลับคล้ายเด็กผู้ชาย ซึ่งวิธีการบรรยายและนำเสนอเรื่องราวไม่ได้ต้องการจะตีแผ่ หรือประจาน แต่แค่ต้องการจะสื่อสารกับคนดูว่าเด็กที่มีนิสัยและความคิดแบบนี้ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งเหมือนกัน หลายคนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วคงจะต้องเทใจให้เด็กคนนี้หมดหน้าตักแน่นอน (มินิมอร์เองก็เช่นกัน) ทำไม๊ ทำไม การแสดงของหนูมันช่างน่ารักน่าชังขนาดนี้ นอกจากการแสดงที่เป็นธรรมชาติของน้อง ๆ นักแสดงแล้ว ฝีมือการกำกับของ Celine ก็ไม่ธรรมดาเช่นเดียวกัน โดยหนังเรื่องนี้ได้รับเชิญให้เข้าไปฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ณ กรุงเบอร์ลิน แถมยังได้รับรางวัลจากเวทีอื่น ๆ มาครองอีกมากมาย ควรค่าแก่การหามาดูสุด ๆ เลยจ้ะเรื่องนี้!


    (Celine Sciamma ผู้กำกับภาพยนตร์ Tomboy ภาพจาก zimbio)





    The Babadook กำกับโดย Jennifer Kent

    (ภาพจาก i.guim)


    Babadook.. dook.. dook.. ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าผลงานการกำกับหนังสยองขวัญเรื่องนี้จะเป็นฝีมือของ Jennifer Kent ผู้กำกับสาวชาวออสเตรเลีย บอกเลยว่านอกจากจะเป็นผลงานการกำกับแล้ว เธอยังเขียนบทเองอีกด้วย (แหม เก่งจริง ๆ ขอปรบมือให้เลย) ถึงแม้ว่า Babadook จะเป็นผลงานเรื่องแรกของเธอ แต่ก็คว้ารางวัลมานอนกอดมากมาย ไหนจะเป็นรางวัลจาก AACTA Awards และ New York Film Critics Circle Awards แถมยังได้เข้าชิงจากเวที Detroit Film Critics Society Awards อีก มินิมอร์บอกเลยว่ากำกับเรื่องธรรมดาว่ายากแล้ว พอมาเจอเรื่องผี มินิมอร์ต้องถึงขั้นลุกขึ้นปรบมือให้แรง ๆ เลยจ้ะ เพื่อน ๆ คนไหนได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วคงจะหลอนกับ Babadook กันอยู่นานพอสมควรเลยใช่ไหม โดยปีศาจ Babadook นั้น ทาง Jennifer ต้องการจะตีแผ่สภาพในห้วงลึกของจิตใจมนุษย์ขึ้นมา อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่าไม่มีใครเกิดมาแล้วเป็นคนดี 100% หรอก ดังนั้นเธอจึงหยิบมุมเล็ก ๆ มุมนี้ขึ้นมานำเสนอ แถมยังนำเสนอในมุมที่น่าขนลุก ใครได้ดูมีหลอนไปสามวันเจ็ดวันแน่ ๆ เพื่อน ๆ คนไหนชอบการดูหนังแนวสยองขวัญ มินิมอร์บอกเลยว่าห้ามพลาดเรื่องนี้เด็ดขาด.. ขาด.. ขาด..


    (Jennifer Kent ผู้กำกับภาพยนตร์ The Babadook ภาพจาก flickeringmyth)





    เดอะเลตเตอร์ จดหมายรัก กำกับโดย ผอูน จันทรศิริ

    (ภาพจาก mongkolchannel)


    บอกเลยว่าเรื่องดราม่าไทยเราชนะเลิศจ้ะ สำหรับผลงานการกำกับของ ผอูน จันทรศิริ ผู้กำกับมากฝีมือคนนี้ แถมเรื่องนี้ใครที่ดูแล้วไม่ร้อง มินิมอร์บอกเลยว่าไม่มี ก็แหม.. มันช่างซึ้งกินใจซะขนาดนี้ ทั้งแอน ทั้งหนุ่มต่างก็เล่นออกมาซะดี๊ดี ดูแล้วอบอุ่นและซึ้งในความรักของทั้งคู่ไปตาม ๆ กัน โดย The Letter จดหมายรัก เรื่องนี้เป็นความรักของสาวโปรแกรมเมอร์กับหนุ่มนักวิจัย ที่บังเอิ๊ญ บังเอิญทั้งคู่ได้ไปพบกันที่เชียงใหม่ (พอเดากันได้เลยใช่ไหมว่าฉากจะสวยงามขนาดไหน) พอทั้งสองคนได้พบกัน ความรู้สึก
    ดี ๆ ก็เกิดขึ้นมาในทันที แต่โชคร้ายที่นางเอกของเราต้องเดินทางกลับกรุงเทพ ใครที่คิดว่าความสัมพันธ์ของทั้งคู่จะสิ้นสุดกันที่ตรงนี้ มินิมอร์จะบอกว่าเพื่อน ๆ คิดผิดจ้ะ เพราะถึงแม้พวกเขาจะไม่ได้เจอหน้ากัน แต่พวกเขาก็ติดต่อกันผ่านทางโทรศัพท์อยู่ตลอด แต่แล้วทำไมจากโทรศัพท์ถึงได้แปรเปลี่ยนมาเป็นจดหมาย ระดับมินิมอร์ซะอย่าง ไม่บอกใบ้แน่นอน เอาไว้ให้เพื่อน ๆ ไปดูกันเอง ส่วนใครที่เคยดูก็คงรู้แล้วว่าเพราะอะไร ฮือออ ซึ้งเนอะ 


    (ผอูน จันทรศิริ ผู้กำกับภาพยนตร์ เดอะเลตเตอร์  จดหมายรัก ภาพจาก dtac)





    (ภาพจาก static1.squarespace)


    และสำหรับวันสตรีสากลที่เพิ่งผ่านกันมา ทางเว็บไซต์จัดเรตติ้งหนังชื่อดังอย่าง IMDb ก็มีการเพิ่มตัวเลือกในการจัดเรตติ้งใหม่ขึ้นมานั่นก็คือ F Rating ซึ่ง F Rating นั้นเป็นการจัดเรตติ้งหนังที่เกี่ยวกับผู้หญิง ซึ่งเป็นหนังที่เกี่ยวกับผู้หญิง เป็นหนังที่มีคนเขียนบทเป็นผู้หญิง และยังรวมไปถึงหนังที่มีผู้กำกับเป็นผู้หญิงอีกด้วย


    เป็นยังไงกันบ้างจ๊ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้หญิงแต่ก็มีความสามารถไม่แพ้ผู้ชายเลย สำหรับทางบ้านเราผู้กำกับหนังที่เป็นผู้หญิงยังมีไม่มากเท่าไหร่ แต่ยังไงก็ตามมินิมอร์ก็เชื่อว่าอนาคตจะต้องมีมากกว่านี้แน่นอน อย่างน้อยก็มีเพื่อน ๆ นักอ่านของเราบางคน
    นี่แหละที่ใฝ่ฝันอยากจะมีอาชีพเป็นผู้กำกับหนัง รออะไรกันอยู่ล่ะ รีบเดินตามความฝันได้เลย มินิมอร์รอเชียร์อยู่น้า :>


    ขอบคุณที่มาดี ๆ จาก

    เขียนโดย Minimore Trainee : NNAT24
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in