Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
Book reviews and others
–
Claire de lune
The Awakening (การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า) by Kate Chopin
ความปราถนา หรือ กติกาสังคม?
ใครหลายคนอาจเลือกกติกาสังคมเพราะเชื่อว่ามนุษย์อย่างเราๆไม่สามารถจะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวและทำตามใจตนเองได้เสมอไป การจะอยู่ในสังคมมนุษย์อย่างเป็นสุขจำต้องปฏิบัติตามกรอบของสังคมที่วางเอาไว้ เช่น การที่ภรรยาต้องเคารพเชื่อฟังสามี การที่ผู้หญิงต้องยอมรับว่าที่อยู่ของตนเองคือภายในบ้าน (อย่างที่ GOP หลายๆคนพูดกันน่ะนะ) แต่คงไม่ใช่สำหรับ เอ็ดน่า ปองติเยร์ เธอเองเลือกที่จะทำตามใจปราถนา ผิดกับสามีของเธอเองที่ใช้ชีวิตโดยยึดติดกับกฏเกณฑ์มารยาททางสังคม
“เราจำเป็นต้องทำตามกติกาของสังคมนะ ถ้าเราจะอยู่ในสังคมนี้อย่างมีหน้ามีตาเป็นที่ยอมรับของคนอื่น” –เลอองส์ ปองติเยร์ (p.122)
“เธอจะไม่ฝืนใจตนเอง จะทำทุกอย่างที่ใจอยากจะทำและรู้สึกอย่างที่ใจอยากรู้สึก...และจะไม่สนใจมารยาทสังคม” –เอ็ดน่า ปองติเยร์ (p.134)
เอ็ดน่าไม่เพียงแต่จะไม่ยี่หระต่อมารยาททางสังคมเท่านั้น เธอยังทำสิ่งที่สังคมสมัยนั้น(หรือแม้กระทั่งสมัยนี้ก็ตาม) เห็นว่าเป็นสิ่งที่ละเมิดกรอบทางศีลธรรมอย่างร้ายแรง เธอคิดว่า “การแต่งงานของเธอกับเลอองส์ ปองติเยร์ เป็นอุบัติเหตุโดยแท้” รักแท้ของเธอคือ โรเบิร์ต เลอเบริง แต่เขากลับหนีเธอไปเม็กซิโก เธอใช้ชีวิตระหว่างนั้นไปกับการค้นหาตนเอง การทำตามใจตนเอง ไปมาหาสู่กับมาดมัวแซลไรซ์ ผู้กลายเป็นเหมือน role model ในการใช้ชีวิต เธอปฏิเสธที่จะใช้ชีวิตตามบรรทัดฐานของสังคมในการเป็นภรรยาและมารดา
“ฉันยินดีให้ทุกอย่างที่ไม่เป็นแก่นสารของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง หรือแม้แต่ชีวิตของฉันเองแก่ลูกๆ แต่ฉันจะไม่มีวันให้สิ่งที่เป็นแก่นสารของชีวิต คือตัวของฉันเองเด็ดขาด” –เอ็ดน่า ปองติเยร์ (p.116)
และเมื่อโรเบิร์ตกลับมาเขาก็ได้จากเธอไปอีกครั้งทั้งที่สัญญาว่าจะมาเจอกัน พร้อมทิ้งจดหมายไว้ เธอเสียใจมาก และตระหนักว่าโรเบิร์ตก็ไม่ต่างจากผู้ชายทั่วๆไปที่ไม่กล้าจะปลดปล่อยตัวเองจากกรอบทางสังคม
ในท้ายที่สุดเธอก็ได้ทำตามแรงปราถนาของเธอเป็นครั้งสุดท้ายโดยการว่ายน้ำออกไปไกลแสนไกลให้ทะเลโอบกอดเธอ จนกว่าเธอจะหมดแรงและกลับคืนสู่อ้อมอกธรรมชาติ ธรรมชาติซึ่งไร้กฏเกณฑ์ปรุงแต่ง ธรรมชาติซึ่งอนุญาตให้เธอเป็นตัวของเธอเองได้มากเท่าที่ต้องการ
และตลอดไป
หากเราจะมองเอ็ดน่า ปองติเยร์ ด้วยม่านทางศีลธรรมของศตวรรษที่19แล้ว เราคงเห็นเธอเป็นหญิงหัวขบถและเป็นผู้ดูหมิ่นสิ่งที่สังคมได้กำหนดเอาไว้ให้ผู้หญิงต้องเป็นทั้งภรรยาที่ต้องเชื่อฟังสามีและเป็นแม่ที่ดีของลูก เธอถูกทั้งสามีตนเองและเพื่อนตำหนิว่าเธอช่างทำตัวไม่สมกับเป็นกุลสตรีเอาเสียเลย เธอช่างเป็นคนที่เห็นแก่ตัวและเอาแต่ใจตนเอง ไม่นึกถึงลูกและสามี
แต่หากจะมองให้กว้างกว่านั้น หากจะมองเธอให้กลายเป็นคนคนหนึ่ง คนที่มีอิสรเสรี มันถูกแล้วหรือที่คนคนหนึ่งจะต้องถูกคาดหวังให้เชื่อฟังคนอีกคน มันถูกแล้วหรือที่เราจะถูกตัดสินว่าเป็นคนแบบไหนโดยใช้บรรทัดฐานทางเพศมาเป็นเครื่องตัดสิน เราจะไม่สามารถมีความคิดเป็นของตนเองได้เลยหรือ เราไม่สามารถจะทำตามใจหวังได้เลยหรือ เหตุใดเธอจึงถูกเลอองส์ตำหนิเพราะละเลยในการดูแลลูก แต่เมื่อเลอองส์ลืมซื้อขนมมาฝากลูกๆตามที่เขาสัญญาไว้ เขากลับคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย?
“นายปองติเยร์ลืมซื้อถั่วและขนมมาฝากลูกตามที่ได้สัญญาไว้ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่รักลูก” (p.39)
“นายปองติเยร์เดินกลับมาที่ห้องนอนของเขา บอกกับภรรยาว่าราอูลเป็นไข้ และเธอควรลุกไปดูเสียหน่อย...นางปองติเยร์ค่อนข้างแน่ใจว่าราอูลไม่ได้เป็นไข้อย่างที่สามีบอก ก่อนนอนลูกยังดีๆอยู่เลย...เขา (นายปองติเยร์) กล่าวโทษเธอว่าไม่สนใจ และไม่ดูแลเอาใจใส่ลูกเท่าที่ควร ถ้าไม่ใช่หน้าที่ของแม่ที่ต้องดูแลลูกแล้ว มันจะเป็นหน้าที่ของใครกัน?” (p.39-40)
เอ็ดน่า เป็นตัวอย่างของคนที่กล้าจะทำลาย Social norms ถึงแม้เธอจะถูกตำหนิจากใครต่อใคร แต่เธอก็ยืนยันที่จะใช้ชีวิตของตนเอง เธอยืนยันว่า “เธอมีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง” การย้ายจากบ้านหลังโอ่อ่าไปยังบ้านเล็กๆของเธอนั้นเป็นเครื่องยืนยันว่าเธอมิได้ปรารถนาเงินทองหรือชื่อเสียงแต่อย่างใด หากแต่เธอปรารถนาอิสรภาพ อิสรภาพจากการถูกกักขังไว้ในบทบาททางสังคม เธอมิได้เป็นแค่แม่บ้านของสามี เธอมิได้เป็นแค่ผู้ดูแลของลูกๆ เธอยังเป็นศิลปิน เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และเป็นคนที่รักในอิสระเท่าๆกับที่มนุษย์คนหนึ่งจะรักมัน
การที่จะทำลายบรรทัดฐานทางเพศในสมัยนั้นแลดูจะเป็นเรื่องที่อันตรายและแทบเป็นไปไม่ได้เลย แต่อย่างไรก็ตามการจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างมันจะต้องมีผู้เริ่ม และผู้เริ่มนั้นจะต้องมีความเด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเพื่อที่จะต่อสู้กับอคติและแรงสะท้อนที่จะตามมา ดั่งที่มาดมัวแซลไรซ์ได้กล่าวไว้ว่า
“เธอ (มาดมัวแซลไรซ์) โอบฉันแล้วเอามือมาคลำที่บ่าฉันเพื่อดูว่าปีกฉันแข็งแรงหรือเปล่า เธอว่านกที่จะบินขึ้นไปบนท้องฟ้าสูงเหนือระดับกฎเกณฑ์จารีตประเพณีของสังคมและอคติของผู้คน จะต้องมีปีกที่แข็งแรงเป็นพิเศษ เธอว่ามันจะเป็นเรื่องน่าเศร้าทีเดียวหากจะต้องเห็นนกตัวนั้นปีกหัก หมดเรี่ยวหมดแรง แล้วต้องบินซมซานกลับมายังพื้นโลกอีก” –เอ็ดน่า ปองติเยร์ (p.185)
จงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง จงกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง จงเป็นนกตัวนั้นแล้วบินไปสู่อิสรภาพที่เธอสมควรจะได้รับ
------------------------------------------------
The Awakening หรือ การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า (แปลไทยโดย พันทิพา บูรณมาตร์) โดย Kate Chopin ถูกตีพิมพ์เมื่อ1899 เมื่อครั้งตีพิมพ์ครั้งแรกนั้นได้รับคำวิจารณ์อย่างรุนแรงพร้อมทั้งถูกประนามจากผู้เคร่งศาสนามากมาย จนถูกแบนจากห้องสมุดหลายแห่ง อย่างไรก็ตามนิยายเล่มนี้ได้ฟื้นตื่นขึ้นมาอีกครั้งในอีกเกือบศตวรรษให้หลัง ทั้งยังถูกยกย่องว่าเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีอเมริกัน
#book
#Book review
#bookreview
#analysis
Claire de lune
Report
Views
Book reviews and others
–
Claire de lune
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in