Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
CITY SIGHT เมืองที่มองไม่เห็น
–
SALMONBOOKS
01: สิทธิไม่รับมลพิษสมอง
ผู้เขียนโชคดีมีบ้านอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า ใช้บริการเป็นประจำจนกลายเป็นคนดัดจริตที่จำไม่ได้ว่าโหนรถเมล์กลางถนนที่ติดขัดครั้งสุดท้ายเมื่อไร
การเดินทางส่วนมากนั่งแค่สี่ห้าป้าย ใช้เวลาประมาณสิบนาที ไม่คุ้มงัดหนังสือออกมาอ่าน เพราะอ่านแล้วมักหวิดเลยป้ายที่ต้องลงและบางทีก็อยากนั่งเฉยๆ เงียบๆ พักสมองบ้าง
เงียบสงบหรือ? ฮ่ะ ฮ่ะ ฝันไปเถอะ เพราะในสายตาของนักการตลาด คนนั่งรถไฟฟ้าเปรียบเสมือนปลาทูตัวอ้วนฝูงใหญ่ว่ายวนในกระแสน้ำใสไร้ปลาฉลาม เหยื่ออร่อยอย่างนี้จะไม่เข้าไปตักตวงได้อย่างไร
เดิมที เมื่อรถไฟฟ้าเริ่มให้บริการใหม่ๆ มีเพียงป้ายโฆษณาภาพนิ่งธรรมดา ต่อมาจึงริอ่านติดจอทีวีโฆษณาบริเวณชานชาลาดักสะกดตาสะกดจิตคนยืนรอ และทีหลังค่อยอุกอาจยัดเยียดจอทีวีเข้ามาอยู่ในตัวขบวนรถ โดยไม่ใส่ใจเสียงคัดค้านจากผู้คนที่อ้อนวอนขอความเงียบสงบ และเรียกร้องสิทธิไม่รับมลพิษทางสมอง
แม้จะไม่อยากดู แต่เผลอวูบเดียวก็อาจพลาดถูกสะกดจิต ตาไปจับจ้องภาพในจอโดยไม่รู้ตัว พอได้สติหันไปดูเพื่อนร่วมโดยสารคนอื่นๆ ก็เห็นเสร็จมันทุกคน ตาจ้องจอ แววตาโบ๋เบ๋ สีหน้าว่างเปล่า
บางครั้งเป็นโฆษณาหนังตัวอย่าง ยิงปังๆ เลือดสาด หัวหลุด แต่หนูน้อยวัยสี่ขวบก็จ้องตาแป๋วด้วยความไร้เดียงสา
มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ยอมตกเป็นเหยื่อง่ายๆ เลือกที่จะหลับตา เสียบหูฟัง หนีเข้าไปอยู่ในโลกบันเทิงส่วนตัว
ทุกวันนี้ก็ยังไม่เข้าใจ ว่าทำไมบ้านเราถึงจัดสรรตู้รถไฟฟ้าให้มีทั้งคันที่มีจอทีวี และคันที่ปลอดโฆษณาทีวีอย่างญี่ปุ่นไม่ได้
ย้อนกลับไปราวยี่สิบปีก่อน สมัยที่ผู้เขียนยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ลอนดอน จำได้ว่าวันนั้นอากาศหนาว ท้องฟ้าสีเทาไร้แดดตามปกติ ผู้เขียนเดินงุดๆ ตัวลีบไปขึ้นรถไฟใต้ดิน เห็นโฆษณาบอร์ดรีดกางเกงและคอร์สเรียน Shorthand (วิชาชวเลขที่ว่าด้วยการเขียนข้อความอย่างย่อด้วยสัญลักษณ์เพื่อให้จดบันทึกได้รวดเร็ว) ตามปกติ แต่วันนั้นกลับสดชื่นอย่างประหลาด เพราะใกล้ๆ ป้ายโฆษณามีป้ายประกาศแผ่นใหม่ที่เขียนว่า ‘บทกวีบนรถไฟใต้ดิน’ พร้อมโคลงร่วมสมัยที่ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็น
“ฉันเป็นกวี ฉันชอบกล้วย..”
ของ Wendy Cope กวีชาวอังกฤษ
บทกวีบนรถไฟใต้ดินหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกสามเดือน มีทั้งบทกวีคลาสสิกตลอดกาลอย่าง
Sonnets
ของวิลเลียม เชกสเปียร์ หรือบทกวีร่วมสมัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกรุงลอนดอน
โครงการนี้ริเริ่มโดย Judith Chernaik นักเขียนบทกวีชาวสหรัฐฯ ที่ย้ายมาตั้งรกรากที่ลอนดอน ร่วมกับเพื่อนนักเขียนสองคน และการรถไฟใต้ดินลอนดอน เพื่อเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้เข้าถึงบทกวีและจิตวิญญาณ ได้สัมผัสอะไรสนุกๆ งดงาม หรือโดนใจกว่าการดูโฆษณาบอร์ดรีดกางเกงระหว่างเบียดเสียดกันไปทำงานตามวิถีมนุษย์เงินเดือน
‘บทกวีบนรถไฟใต้ดิน’ กลายเป็นการศึกษาสาธารณะที่ถูกใจผู้คน ปัจจุบันยังมีโครงการนี้อยู่ และมีการรวมบทกวีมาทำเป็น
‘บทกวีบนรถไฟใต้ดิน’ กลายเป็นการศึกษาสาธารณะที่ถูกใจผู้คน ปัจจุบันยังมีโครงการนี้อยู่ และมีการรวมบทกวีมาทำเป็นหนังสือขายหลายต่อหลายชุด แม้แต่คนที่ไม่เคยอ่านบทกวี หรือคิดว่าตัวเองไม่ชอบบทกวีก็ยังติดตาติดใจจนต้องซื้อเก็บ
ส่วนเมืองซีแอตเทิลในสหรัฐฯ ก็มีการศึกษาสาธารณะโผล่ตรงนั้นตรงนี้อยู่เรื่อยๆ เช่น แถวตลาดสดไพก์เพลส (Pike Place Market) มีป้ายนิทรรศการสั้นๆ เล่าถึงประวัติศาสตร์ของตลาดที่ชุมชนรักษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนเป็นห้างฯ ยักษ์ หรือบริเวณที่จอดรถรอขึ้นเรือเฟอร์รี่ก็มีป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของอ่าวตรงหน้า
การบริการความรู้และศิลปะไม่จำเป็นต้องทำกันอยู่แค่ภายในพิพิธภัณฑ์หรือห้องสมุดเสมอไป และพื้นที่สาธารณะที่มีคนผ่านไปผ่านมาก็ไม่จำเป็นต้องมีไว้ค้าขายเพียงอย่างเดียวเช่นกัน
ทุกวันพุธสุดท้ายของเดือนเมษายน คือวันปลอดมลภาวะเสียงสากล (International Noise Awareness Day) แต่มากไปกว่าเรื่องเสียงแล้ว เราก็ยังต้องการพื้นที่ปลอดโฆษณา และมลพิษทางสมองทั้งหลายแหล่ด้วย
เพราะมันควรจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกๆ คน
SALMONBOOKS
Report
Views
CITY SIGHT เมืองที่มองไม่เห็น
–
SALMONBOOKS
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in