เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เด็กสมัยนี้โตไวเนอะKyokung Worawut K
การศึกษา (New beginning 6)
  • อเมริกันชนเคยเชื่อว่าตนมีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหนือกว่าชาติใดในโลก กระทั่ง ปลายปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) สหภาพโซเวียตได้ส่ง “ดาวเทียม” ซึ่งแปลเป็นภาษารัสเซียว่า “สปุตนิค” (Sputnik) ขึ้นไปโคจรรอบโลกได้เป็นชาติแรก ดไวท์ ดี ไอเซนฮาว (Dwight D. Eisenhower) ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น รู้สึกเสียเกียรติมาก จึงได้มีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ Kindergarten (มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า “สวนเด็ก” ภาษาไทยเรียก “อนุบาล”) โดยตัดบางวิชาที่ไม่จำเป็น เช่น ลีลาศออกไป ลองเทียบกับประเทศไทย พ.ศ. นี้ดูสิ แค่บอกจะตัดวิชานาฏศิลป์ก็เต้นกันผางๆ ไม่ฟังไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหนแล้ว ทั้งที่มันเป็นแค่ความคิดที่จะเอาวิชานี้ออกจากการศึกษาภาคบังคับ ไม่ได้บอกสักคำว่าจะยุบวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในสหรัฐก็ยังมี high school of performing arts อยู่และฉันก็ไม่ได้ลืมรากเหง้านะ แค่สงสัยว่าอะไรคือความเป็นไทย? แล้วไทยแท้มีจริงไหม? ก็แค่นั้น

    Laika

    Yuri Gagarin

    “โรงเรียนอนุบาลคือสิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบพันปี”
    – มิตเชล เรสนิก ผู้เขียน Lifelong Kindergarten


    ฉันถามน้องว่าอยากดูหนังนเรศวรฯไหม น้องตอบทันทีว่าไม่ เพราะเคยดูก้านกล้วยแล้ว เนื้อหาคงเหมือนกัน และอีกอย่างก็ไม่ได้อยากรู้เรื่องที่ผ่านมาแล้วสักเท่าไร อยากรู้เรื่องที่จะเกิดต่อไปมากกว่า เช่น หวยจะออกอะไร? น้ำท่วมโรงเรียนจะหยุดไหม? รัฐประหารจะปิดช่องการ์ตูนหรือเว็บไซต์ไหนอีกรึเปล่า? ส่วนเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกับฉันก็เล่าว่า ทางโรงเรียนเคยพาไปดูหนังสุริโยไทและบางระจันมาแล้ว พอถึงบทเรียนประวัติศาสตร์โลกก็จะเปิดหนัง Pearl Harbor ให้ดู ฟังแล้วก็ได้แต่ขำ นั่นมันหนังรักชัดๆ แค่มีฉากหลังเป็นสงครามโลก จะได้ความรู้สักแค่ไหนเชียว ถ้าเป็น Marie Antoinette, Other Boleyn Girl, Elizabeth, The Queen, Diana, Spencer อะไรเทือกนั้นก็ว่าไปอย่าง (สังเกตไหมว่าชาติตะวันตกเล่าถึงวีรสตรีในแง่ที่เป็นมนุษย์ ไม่ใช่สมมุติเทพที่เปี่ยมด้วยคุณงามความดีตลอดเวลา) แต่ไม่เป็นไร ถ้าสนใจประวัติศาสตร์ของอะไรก็สามารถหาหนังสือที่เชื่อถือได้อ่าน ไม่ก็เรียนต่อด้านประวัติศาสตร์โดยตรงเลยก็ได้ ไม่แน่อาจพบว่าตัวเองสนใจแง่มุมอื่นของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามากกว่าก็เป็นได้


    พูดถึงวิชาที่เปิดหนังให้ดู วิชาที่เป็นข่าวดังในยุคของฉันก็คือ สุขศึกษา มีการเปิดหนังโป๊ให้ดูในบทที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ถามว่าได้ความรู้ตรงไหน หนังโป๊มีไว้ปลุกอารมณ์คนไม่หงี่ได้หงี่ คนหงี่อยู่แล้วได้ระบายออก มีบ้างที่สอนว่าจุดเสียวอยู่ตรงไหน วิธีช่วยตัวเอง วิธีสวมถุงยาง ท่วงท่าลีลาเวลาเอากัน แต่ไม่ได้ตอบคำถามอย่างทำอย่างไรให้ทนนาน ไม่หลั่งเร็ว ไม่ล่มปากอ่าว นอกจากฝ่ายหญิงที่เจ็บเวลาสอดใส่แล้ว ฝ่ายชายจะเจ็บไหม? เกย์กับเลสเบี้ยนเขาทำกันอย่างไร? เริม สังคัง และโรคอื่นๆ เกิดจากอะไร ทางกัน ทางแก้ เผลอๆ ควรเรียนวิธีจัดการความสัมพันธ์ในวัยเรียน สุขภาพจิตที่ไม่ใช่แค่การนั่งสมาธิ หายใจเข้าออกแล้วหายเครียด แต่ถ้าจะให้เรียนจริงๆ มันก็คงจะมากไปสำหรับเด็กสินะ แล้วเด็กๆ จะเอาเวลาที่ไหนไปทำกิจกรรมนอกหลักสูตร ไปซ้อมดนตรี กีฬา กวดวิชา ทำงานพิเศษ เอาเวลาไหนไปดูหนังโป๊ (เพื่อการเรียนรู้) ที่ตรงกับรสนิยมของตัวเองมากกว่าที่ในคลาสเปิดให้ดูตามรสนิยมของครูเอง จริงไหม?


    หมายเหตุ - เขียนเนื่องในโอกาสที่ Sex Education ได้ไปต่อ Season 4 แม้ไม่จะได้ดูกันเมื่อไรก็ตาม เพราะคิวงานของนักแสดงนำอย่าง Asa Butterfield ซึ่งมีถ่ายหนัง บวกกับสถานการณ์โลกขณะมีการระบาดของโควิด 19 ดูเพิ่มเติมเพื่อคลายความคิดถึงไปพลางๆได้ที่ 1 และ 2

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in