เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เด็กสมัยนี้โตไวเนอะKyokung Worawut K
การศึกษา (New beginning 2)
  • ADVERTISEMENT

    ถ้าฉันจะบอกว่าอยากให้ยกเลิกวิชารักษาดินแดน (รด.) ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยเพิ่งผ่านการรัฐประหารไปเมื่อ 22 พ.ค. 2557 จะเป็นไรไหม ก็แหม พ่อแม่ที่ไหนอยากให้ลูกไปตกระกำลำบาก ครั้นจะปล่อยให้ลูกจับใบดำใบแดงก็คงไม่น่าลุ้นเท่าตอนจับสลากเข้าเรียนม.1 เป็นแน่ พ่อแม่หลายคนจึงเลือกยัดเงินใต้โต๊ะ แค่บอกไปตรงๆ ว่าไม่อยากเป็น เดี๋ยวสัสดีที่เขตก็จะช่วยคุณเอง แต่ต้องมีค่าน้ำร้อนน้ำชานะ (ถ้าชื่อเสียงเงินทองเยอะก็จะถูกเรียกเงินมากหน่อย) แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าเสี่ยงให้ลูกไปเป็นทหารแล้วถูกทหารรุ่นพี่แกล้งอย่างเรื่องเล่ามากมายที่ทหารพยายามปกปิด แต่ก็มีภาพมีคลิปหลุดออกมาให้เห็นได้ตลอด แค่ปล่อยให้ลูกไปรับน้องต่างจังหวัดตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็เป็นห่วงจะแย่ ข่าวออกทุกปี ตายทุกปี ไม่ใช่ว่ารักลูกอะไรมากมายหรอก แค่เลี้ยงมาหลายปี เสียเงินไปเยอะ ยังไม่ทันได้คืน ต้องทำศพให้อีก ต่อให้ลูกสวมเครื่องแบบมาโชว์ก็คงไม่ภูมิใจนัก ทำไงได้ล่ะ ก็ประเทศนี้ยังไม่ยกเลิกการเกณฑ์ทหารนี่


    อีกวิชาที่คล้ายกัน วิชาลูกเสือ เนตรอัปรีย์ ยุวกระชากไง ถ้ากลัวจะขัดจุดประสงค์ของร.6 เพราะเพิ่งจะผ่านวันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ 1 ก.ค. ไป (ที่เรามักรับรู้กันว่ามันเป็นวันหยุดประจำครึ่งปีของธนาคาร) หรือลอร์ดเบเดนโพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden-Powell) ก็ยกเลิกเฉพาะลูกเสือสามานย์ก็ได้ เห็นแก่ลูกหลานเถอะ ทำไมต้องใส่ชุดสีข้าราชการชนบท ถกถุงเท้าขึ้นยาวให้คันเขยอเปียกอับชื้นในเมืองร้อน ทั้งที่เพิ่งยกเลิกทรงนักเรียนเกรียนติ่งแท้ๆ เครื่องแบบลูกเสือในแต่ละประเทศก็ไม่ได้เหมือนกันตายตัว ดัดแปลงชุดให้เข้ากับยุคสมัย ภูมิอากาศ และภูมิประเทศสิ แล้วอีกอย่าง การชู 3 นิ้วในช่วงนี้ อาจถูกทหารเรียกไปคืนความสุข เพราะดูหนัง Hunger Games มากเกินไปไม่รู้ด้วยนะ (ดูประวัติศาสตร์ลูกเสือ ได้ที่นี่ และดูนายใน ได้ที่นี่)


    ปกติชนชั้นสูงจะจ้างครูมาสอนถึงบ้านอยู่แล้ว จนศตวรรษที่ 16 มีโรงเรียนกินนอนเกิดขึ้นในอังกฤษเพื่อดูแลสอนสั่งเด็กกำพร้า และเพื่อความประหยัด ก็ได้เหมาผ้าโหลมาตัดชุดให้เด็กๆ ใส่เหมือนกัน กระทั่งศตวรรษที่ 19 แทบทุกอาชีพมีเครื่องแบบใส่ รวมถึงนักเรียนโรงเรียนอื่นที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเด็กกำพร้า เช่น วิทยาลัยอีตันที่ได้ชื่อว่าเป็นโรงเรียนประจำระดับมัธยมของเอกชนที่ดีที่สุดในโลก เป็นต้น เนื่องจากเครื่องแบบเป็นเครื่องมือชั้นดีในการสลายความเป็นปัจเจกด้วยอัตลักษณ์กลุ่ม (unique + formity = uniform) จึงเปลี่ยนจากเดิมเพื่อรองรับเด็กกำพร้า กลายเป็นเครื่องแสดงสถานะชนชั้นไป ไม่เชื่อดูในละครทีวีที่คงได้แรงบันดาลใจมาจากหนังเรื่อง The Craft (1996) อย่าง "ธิดาซาตาน" และหนัง words and pictures (2014) สิ นักเรียนที่ใส่เครื่องแบบก็ลูกผู้ดีมีรถขับกับ gadget เจ๋งๆ ทั้งนั้น หรือในสหรัฐที่สะท้อนออกมาเห็นผ่านทีวีซีรีส์เรื่อง Glee ที่ปล่อยให้เด็กได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นในการค้นหาตัวเองอย่างเต็มที่ โดยหนทางหนึ่งที่จะทำให้พวกเขาค้นพบตัวเองก็คือ การค้นหาตัวตนผ่านการทดลองสวมใส่เสื้อผ้า แต่งหน้า ทำผม ไม่ว่าจะเป็นเหล่าสาวๆ หนุ่มๆ ที่ภาคภูมิใจในเครื่องแบบเชียร์ลีดเดอร์และนักกีฬาประจำโรงเรียน รวมถึงตัวละคร Tina ที่สวมใส่เสื้อผ้าและแต่งหน้าสไตล์โกธิค และตัวละคร Puck ที่ทำผมทรงโมฮอว์ก แถมยังสักและเจาะตามร่างกาย (ปรากฏให้เห็นครั้งแรกใน season 1 ตอนที่ 1) แต่พอโตขึ้นมาก็เปลี่ยนแปลงไป ทำผมเรียบแปล้ แต่งกายชุดเครื่องแบบที่แสดงถึงอาชีพการงาน (ปรากฏให้เห็นครั้งแรกใน season 5 ตอนที่ 12 ซึ่งเป็นตอนที่ 100 ของเรื่อง ตามภาพสุดท้ายของบทความนี้)


    • ที่มาภาพ
    • Scouts Guide to the Zombie Apocalypse (2015)
    • The Hunger Games: Catching Fire (2013)
    • The Craft (1996)
    • The Sound of Music (1965)
    • Mark Salling (1982 - 2018)
    • เด็กใหม่

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in