เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Thaiฤทธิ์อ่าน-คิด-เขียน
Love Cycle วุ่นรักวรรณคดี (Joylada)
  • (ตามไปติดตาม creative content ได้ที่ เพจ "อ่าน-คิด-เขียน"  https://www.facebook.com/arts.readthinkwrite/ นะคะ)

    วรรณคดีไทยมาก่อเรื่องอะไรที่ joylada.com กันนะ?
    ติดตาม "Love Cycle วุ่นรักวรรณคดี" ได้ที่ http://www.joylada.com/story/5ae1998d9a981a000187bed8 


    รับรองว่าอ่านแล้วจะวางไม่ลง ยิงยาวจนจบเรื่องกันเลยค่า แถมทีมผู้ขียนยังรีเสิร์ชข้อมูลสำหรับการเขียนงานชิ้นนี้ก็หนักมากๆ เชียวล่ะ (ดูวิธีการสร้างงานได้เลยด้านล่างนะคะ)

    จากการได้เรียนรู้ความรักหลากหลายรูปแบบในวรรณคดีไทย ทำให้เขาและเธอในนามทีม "#ส่งสลาเหินไป!" ได้ค้นพบว่า แท้จริงแล้ว "#ความรักเป็นปรากฏการณ์สากล" ที่เกิดขึ้นได้ไม่จำกัดยุคสมัย และประสบการณ์ความรักแบบในวรรณคดียังคงพบได้แม้ในยุคปัจจุบัน 

    .
    ด้วยแรงบันดาลในดังกล่าวทำให้เขาและเธอนำเรื่องราวความรักจากวรรณคดี 4 เรื่อง ได้แก่ ลิลิตพระลอ อิเหนา รามเกียรติ์ และขุนช้างขุนแผน มาสร้างสรรค์ใหม่เป็นนิยายแชทใน Joylada.com โดยมีตัวละครหลักเป็นหญิงสาว 4 คนที่เป็น "#พี่น้องสายรหัสกัน"
    .
    ประสบการณ์ความรักของเธอทั้งสี่จะเป็นเช่นไร และคุณเองจะเชื่อมต่อประสบการณ์ความรักของตนเองเข้ากับความรักของพวกเธอ (ซึ่งมีที่มาจากวรรณคดีไทย)ได้หรือไม่ ไปอ่านกันเลยค่าาาา 

    ว่าด้วยวิธีการสร้างงาน...จากใจทีมผู้เขียน

    ตอนที่ น้อง พี่ ที่รัก?(นำเสนอในรูปแบบแชท แบ่งเป็น 4ตอนย่อย) เป็นตอนที่กล่าวถึงความรักอันฉาบฉวยและไม่ชัดเจนบนโลกออนไลน์ระหว่างคนสามคน คือ เพื่อน แพง (เป็นพี่น้องกัน) และ ลอ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวรรณคดีเรื่อง ลิลิตพระลอ’ โดยนำความรักของตัวละครทั้ง มานำเสนอให้เข้ากับมุมมองในยุคปัจจุบัน ว่าการที่ตัวละครคิดอ่าน และกระทำเรื่องทั้งหมดลงไปนั้น เป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่ ให้แนวคิดกับผู้อ่านวรรณคดีอย่างไร โดยประเด็นของเรื่องที่ต้องการนำเสนอมีดังนี้

    ความรักที่ฉาบฉวยและไม่ชัดเจนผ่านสื่ออนไลน์
    ความไม่ซื่อสัตย์นำมาซึ่งปัญหาในภายหลัง (ลอคิดจะจับปลาสองมือ)
    ค่านิยมบางประการของตัวละครที่ขัดกับค่านิยมในสังคมปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการที่ตัวพระมีค่านิยมที่ว่า ผู้ชาย ยิ่งเจ้าชู้ ยิ่งมีเสน่ห์ และการคบผู้หญิงหลายคนในคราวเดียวไม่ใช่สิ่งผิด 
    นำเสนอค่านิยมในอดีตที่ขัดกับค่านิยมของสังคมปัจจุบัน คือ ปัจจุบันไม่นิยมให้ผู้ชายแต่งงานกับพี่น้องบ้านเดียวกันแล้ว
    ความรักและความเข้าใจในครอบครัว โดยในเรื่องนี้จะเน้นระหว่างพี่น้อง ***(ประเด็นนี้สำคัญสุด) 

    อ้างอิง: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2559). อ่านลิลิตพระลอฉบับวิเคราะห์และถอดความ       (พิมพ์ครั้งที่ 3ฉบับปรับปรุง เพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


     
    ตอนที่ 2คนไม่น่าสงสาร ?+ (นำเสนอในรูปแบบบรรยาย แบ่งเป็น 5ตอนย่อย) ต้องการศึกษาทำความเข้าใจและตีความตัวละคร จินตหราวาตี ใหม่ โดยเพิ่มเติมมุมมองความคิดในฐานะที่เป็นผู้อ่านวรรณคดีเรื่องอิเหนามาก่อน เพื่อแสดงให้เห็นว่าตัวละครจินตหราวาตีเป็นตัวละครที่มีมิติ และเราสามารถมองได้อีกมุมหนึ่งว่ามีปัจจัยอื่นมาประกอบทำให้ตัวละครนี้ตัดสินใจทำเรื่องที่ผิดธรรมประเพณีกับอิเหนาตัวเอกได้ โดยต้องการเสนอแนวคิดว่าหากนำตัวละครในวรรณคดีเรื่องอิเหนามาอยู่โลกของความเป็นจริง ในยุคปัจจุบัน ที่มีเทคโนโลยีและสื่อโซเชียลแล้ว รูปแบบความรัก การกระทำ จนกระทั่งจุดจบของเรื่องยังคงเป็นเหมือนเดิมหรืออาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไรบ้าง และเพื่อแสดงความคิดของผู้เขียนในฐานะผู้อ่านวรรณคดีคนหนึ่งว่า นางจินตหราวาตีในโลกปัจจุบันนั้นสามารถมีทางเลือกอื่นในการดำเนินชีวิตของตน หรือสามารถตัดสินใจกระทำการอย่างอื่นที่แตกต่างจากตัวบทวรรณคดีได้หรือไม่ 


    เรื่องย่อ 
         จินนี่เป็นลูกสาวของนักธุรกิจที่ฐานะทางการเงินและบริษัทไม่มั่นคงนัก วันหนึ่งเธอได้พบกับไม้ตรี ทหารหนุ่มรูปหล่อ ทายาทมหาเศรษฐี ทั้งคู่เริ่มต้นสานสัมพันธ์กัน ในระยะแรกนั้นฝ่ายไม้ตรีเป็นฝ่ายรบเรา ตามจีบจินนี่มาโดยตลอดแต่เธอไม่ค่อยสนใจนักเพราะเธอรู้อยู่แล้วว่าไม้มีมีคู่หมันอยู่แล้วคือ บุษบา ลูกสาวนักการเมืองใหญ่ แต่เมื่อพ่อของเธอล้มละลายประกอบกับแพ้ในความดีของไม้ตรีเธอได้ยอมตกลงปลงใจกับไม้ตรี และเขาได้ช่วยเหลือครอบครัวของเธอด้านการเงิน แต่เส้นทางความรักของทั้งคู่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเพราะครอบครัวของไม้ตรีไม่ค่อยชอบจินนี่นัก ประกอบกับเมื่อไม้ตรีได้พบบุษบาก็หลงรักและลืมจินนี่ทันที จินนี่พยายามทำทุกทางให้ได้ไม้ตรีคืนมาแต่สุดท้ายแล้วเธอกลับไม่เหลือใคร และเธอเลือกที่จะดำเนินชีวิตของเธอให้มีคุณค่าโดยแตกต่างไปจากจุดจบของจินตหราวาตีในเรื่องอิเหนาวาตีอย่างสิ้นเชิง


    อ้างอิง: รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). เล่าเรื่องอิเหนา จากพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธารปัญญา.
     
    ตอนที่ 3รักแท้ในคืนหลอกลวง ?(นำเสนอในรูปแบบแชท แบ่งเป็น 4ตอนย่อย) ต้องการนำเสนอมุมมองของความรักในมิติปัจจุบัน โดยได้แรงบันดาลใจจากวรรณคดีไทยที่ได้รับยกย่องอย่าง ขุนช้างขุนแผน” โดยหยิบยกประสบการณ์ความรักของ นางแก้วกิริยา” มานำเสนอใหม่ในประเด็นของประสบการณ์ความรักที่ฉาบฉวยในยุคปัจจุบัน คือ ความสัมพันธ์แบบชั่วข้ามคืน (One-night stand) ผ่านตัวละคร แก้ว”  ที่สร้างมาเพื่อสะท้อนค่านิยมความรักของคนในปัจจุบันว่ามีคุณค่าทางสังคมที่เหมือนและต่างจากค่านิยมความรักในอดีต โดยข้าพเจ้าได้ตัวบทที่โดดเด่นที่ขุนแผนชมโฉมนางแก้วกิริยาว่าสวยเพียงใด โดยเล่นคำโดยใช้คำว่าน้อย มาประกอบในเรื่องนี้ด้วย 


                     เจ้าร่างน้อยนอนนิ่งบนเตียงต่ำ
                  คมขำงามแฉล้มแจ่มใส
                คิ้วคางบางงอนอ่อนละไม
                รอยไรเรียบรับระดับดี
     
    อ้างอิง: หอพระสมุดวชิรญาณ. (2555). เสภาขุนช้างขุนแผน ฉบับหอพระสมุด วชิรญาณ เล่ม 2. สืบค้นจาก  http://164.115.27.97/digital/items/show/3642#?c=0&m=0&s=0&cv=0.


     
    ตอนที่ หวานพิษสวาท ฝาดศีลธรรม ? (นำเสนอในรูปแบบบรรยาย 1ตอนยาว)
    ต้องการนำวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ มาตีแผ่ในมุมมองร่วมสมัย โดยหยิบยกความรักของสีดาและทศกัณฐ์มาตีความใหม่ 


    เรื่องย่อ
             รดาเป็นเด็กสาวที่เติบโตมาจากสลัม เธอใช้ชีวิตอย่างยากลำบากกับแม่และน้องชาย เนื่องจากพ่อของเธอหนีแม่ไปหลังจากที่พ่อซื้อบริการจากแม่ รดารู้สึกโกรธแค้นพ่อเป็นอย่างมากที่ทำให้ชีวิตของคนในครอบครัวแหลกสลาย เมื่อความจนคืบคลานเข้ามามากขึ้นเธอต้องเดินทางออกจากสลัมมาทำงานในกรุงเทพ ณ ที่แห่งนี้เธอพบกับ สิบ” ชายวัยกลางคนผู้เปลี่ยนความเศร้าหมองของเธอเป็นความรักอันแสนอบอุ่น เธอใช้ชีวิตกับเขากระทั่งมีลูกด้วยกัน แต่เมื่อนั้นเองสิบก็เริ่มเปลี่ยนไปกระทั่งรดาต้องตามสืบว่าสิบมีชู้หรือเปล่า ท้ายที่สุดเธอก็ทราบว่าสิบก็คือพ่อของเธอ เมื่อเธอทราบว่าภาพแห่งความแตกต่างมาบรรจบอยู่ที่คนๆเดียว รดาจึงเข้าใจสิ่งที่เธอสงสัยมาแสนนาน
     
    บทส่งท้าย "ปิดตัวสายสวย" ที่นำตัวละครจากแต่ละเรื่องมาพูดคุย และสรุปเรื่องราว 


    ผลงานจากในรายวิชา “วรรณคดีไทย”(ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560) หัวข้อ “วรรณคดีไทยในสื่อและสังคมร่วมสมัย” โดย...ทีม “ส่งสลาเหินไป!”

    ธนกฤต จันสำเร็จ  
    ธัญวรัตม์ วงศ์เรือง
    ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์ 
    บินยากร นวลสนิท  
    บุษกร บุษปธำรง 
    วรนุช ขาวเกตุ  
    นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    .
    บรรณาธิกรต้นฉบับ...ทีมงาน “อ่าน-คิด-เขียน”
    อ.หัตถกาญจน์ อารีศิลป
    กิตติธัช รักษาคำ
    วีริสา สงพงษ์
    ณัชชา คล้ายมณี
    ภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ
    .
    **ลิขสิทธิ์ผลงานเป็นของผู้สร้างผลงาน**
    เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น


    ติดตามผลงานในคอลัมน์ Thaiฤทธิ์   ได้ดังนี้

    ประแดะ...ความสวย ใครนิยาม?
    วรรณคดีคาราเกะ            
    รักแท้หรือแค่พลาสติก (Fic แก้วหน้าม้า) 

    ยักษ์ร้ายหรือใครกำหนด   

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in