บทละครเรื่องระเด่นลันได เป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยพระมหามนตรี(ทรัพย์) ว่ากันว่าเรื่องนี้มีเค้าโครงมาจากเรื่องราวรักสามเศร้าของ ลันได ประแดะ และประดู่ ที่แต่งล้อเลียนวรรณคดีในราชสำนักเรื่อง อิเหนา (สามารถอ่านเรื่องย่อ ระเด่นลันได ได้ที่ นามานุกรมวรรณคดีไทย) และในสมัยรัชกาลที่ 3 นี้เอง ก็ได้มีการแต่งวรรณคดีแนวล้อเลียนอื่นๆ ขึ้นมาอีกหลายเรื่อง เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดอิ่มตัวของการแต่งวรรณคดีตามขนบด้วยนะคะ
ถ้าพูดว่า “วรรณคดีล้อเลียน” อาจจะยังไม่เห็นภาพเท่าไหร่ เอาเป็นว่า ถ้าเรื่องอิเหนาเป็นวรรณคดีตามขนบ ระเด่นลันไดก็เป็นวรรณคดีแหวกขนบ ยิ่งถ้าเข้าใจขนบการแต่งวรรณคดีไทย โดยเฉพาะขนบการพรรณาความงามของตัวนางในวรรณคดี ก็จะยิ่งขบขัน เพราะทราบว่าพระมหามนตรีทรัพย์ตั้งใจแต่งล้อขนบเดิมอย่างไร จากพระนางศักดิ์สูง ประไหมสุหรีของอิเหนาแห่งวงศ์เทวัญ กลายมาเป็นคนธรรมดาสามัญ ภรรยาของนายประดู่แขกเลี้ยงวัว จากรูปลักษณ์งดงามตามขนบ ก็กลายเป็นความงามแบบนางประแดะ จะงามหรือไม่ อย่างไร ติดตามชมกันได้ในวิดีโอด้านล่างนี้เลยค่ะ
----------------------------------------------------------------------
ด้วยแรงบันดาลใจจากการอ่านบทละครเรื่อง“ระเด่นลันได”ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) ทำให้เด็กสาวทั้ง 6
การสร้างนางในวรรณคดีอย่าง “นางประแดะ” ให้แหวกขนบนางในวรรณคดีโดยทั่วไปที่ต้องถึงพร้อมด้วยชาติกำเนิดอันสูงส่งและความงามแบบมาตรฐาน ไม่เพียงแสดงให้เห็นจุดอิ่มตัวของการแต่งวรรณคดีไทยตามแบบแผน แต่ได้จุดประกายความคิดให้พวกเธอทั้ง 6 คนเกิดคำถามเกี่ยวกับ “ความงามตามขนบ” หรือ “ค่านิยมเกี่ยวกับความงาม” ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนปัจจุบัน นิยามความงามแห่งยุคสมัยได้ตัดสินผู้หญิงทั้งในโลกวรรณคดีและโลกความเป็นจริงมาโดยตลอด แต่นางประแดะ...ทำให้พวกเธอตั้งคำถามต่อเราทุกคนว่าเราจำเป็นต้องใส่ใจและทำตามค่านิยมความงามที่สังคมสร้างให้เป็นมาตรฐานหรือไม่เพราะแท้ที่จริงแล้ว...เราทุกคนล้วน “สวยงาม” ในแบบของตัวเอง...
สิรัชชา ธรรมรักษ์
กนกนาฎ จิตภิรมย์ศักดิ์
นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรณาธิกรต้นฉบับ... ทีมงาน "อ่านคิดเขียน"
อ.หัตถกาญจน์ อารีศิลป์
กิตติธัช รักษาคำ
วีริสา สมพงษ์
ณัชชา คล้ายมณี
ผลงานสร้างสรรค์ในรายวิชา "วรรณคดีไทย" (ปลายภาคปีการศึกษา 2560)
หัวข้อ "วรรณคดีไทยในสื่อสังคมร่วมสมัย"
**ลิขสิทธิ์ผลงานเป็นของผู้สร้างสรรค์ผลงาน**
เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in