ถ้าพูดถึงคำว่า"วรรณคดีไทย" ขึ้นมา ใครหลายคนคงคิดถึงตำราหนาๆ ตัวหนังสือยาวเป็นพรืดสำนวนกลอนที่อ่านแล้วไม่ค่อยจะเข้าใจกันใช่ไหมล่ะ แต่...! หลังจากนี้วรรณคดีจะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป เมื่อเราสามารถนำวรรณคดีมามิกซ์แอนด์แมทช์กับเพลงสมัยปัจจุบันถ้าเราอินเพลงฮิตติดกระแสได้ ทำไมเราจะทำความเข้าใจวรรณคดีไม่ได้ล่ะ
-คณะผู้จัดทำ กลุ่มไก่แก้วห้าดาว
มนุษย์ห้าคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวกับวิชาวรรณคดีไทยมาบ้างแล้ว
(ว่าด้วยเรื่องของชื่อบทความ-- ก็คือคำว่าวรรณคดีกับคาราโอเกะแปะต่อกัน แต่พวกเรากลุ่มไก่แก้วห้าดาว อยากคุมโทนชื่อเรื่องให้เข้ากับชื่อกลุ่มหน่อย เลยกลายเป็น วรรณคดีคาราเกะ ฉะนี้แล)
(ตามไปติดตาม creative content ได้ที่ เพจ "อ่าน-คิด-เขียน" https://www.facebook.com/arts.readthinkwrite/ นะคะ)
เพลงฮิตสดใสอย่างคุกกี้เสี่ยงทายที่มีท่อนฮิตติดหูที่ใครๆก็ร้องตามกันได้อย่าง“แอบมองเธออยู่นะจ๊ะแต่เธอไม่รู้บ้างเลย”ซึ่งตรงใจใครหลายคนที่กำลังแอบรักแล้วคุณรู้ไหมว่าธรรมชาติของคนแอบรักเนี่ย มักจะชอบแอบมองคนที่สนใจซึ่งเรื่องแบบนี้ใครๆก็เป็นกันและก็มีมาตั้งนานแล้วด้วยอย่างรูปที่เห็นอยู่นี้มาจากเรื่องอิเหนาตอนบุษบาเสี่ยงเทียน
…..
ฉากนี้เป็นฉากที่อิเหนาซึ่งหลบอยู่ในถ้ำหลังองค์พระปฏิมากำลังแอบมองบุษบาเสี่ยงเทียนทำนายอยู่ว่าตนจะได้คู่กับอิเหนาหรือจรกา พออิเหนาได้ยินคำถามนั้นก็ตอบกลับไปว่าคู่กับอิเหนาสิ ทำให้เหล่าพี่เลี้ยงและมะเดหวีต่างก็ตกใจเพราะคิดว่าเป็นเสียงของพระปฏิมา และคิดว่าเพราะบุษบามีบุญพระปฏิมาจึงตอบ แต่จริง ๆแล้วพระปฏิมาคืออิเหนาที่แอบมองบุษบาอย่างเนียนๆ ไม่มีใครรู้ใครเห็นเห็นไหมว่าเพลงในสมัยนี้ก็เข้ากันได้ดีกับวรรณคดีสมัยก่อน
>
เคยไหมตอนทำข้อสอบแต่ไม่รู้คำตอบเลยเสี่ยงเขียนไปทั้งๆที่รู้ว่ามันผิดแต่ก็ดีกว่าปล่อยให้กระดาษขาวโพลนส่งอาจารย์ไปหรือเคยไหมแอบชอบใครทั้งๆที่รู้ว่าไม่มีหวัง แต่ก็พยายามพิชิตใจเขาหรือเธอคนนั้นก็เหมือนกับพระลอแหละ แต่เรื่องของพระลอถึงขั้นเป็นหรือตายเท่านั้นเอ๊งงง
เรื่องราวของลิลิตพระลอในฉากที่เห็นอยู่นี้คือตอนพระลอเสี่ยงทายที่แม่น้ำกาหลงโดยพระลอกำลังเสี่ยงทายอธิษฐานว่า หากตนสามารถเดินทางไปหาพระเพื่อนพระแพงและกลับไปเมืองของตนได้โดยสำเร็จขอให้กระแสน้ำไหลไปตามปกติ แต่หากการเดินทางครั้งนี้มีอันเป็นไปขอให้น้ำไหลวนอยู่ข้างหน้า ซึ่งเป็นการเสี่ยงทายที่แอบเข้าข้างตัวเองอยู่นิดๆว่าผลลัพธ์น่าจะเป็นไปตามที่หวัง เพราะปกติน้ำต้องไหลไปตามกระแสอยู่แล้วเหมือนแค่ทำให้ตนมั่นใจขึ้นก็เท่านั้น แต่ทว่า…!! น้ำกลับไหลเวียนวนหน้าพระลอจ้ายังไม่พอ น้ำในแม่น้ำยังเปลี่ยนเป็นสีแดงเหมือนเลือดอีกด้วย
มากูจะเสี่ยงน้ำ นองไป ปรี่นา
ผิวกูจะคลาไคล
น้ำจุ่งเวียนวนแม้
ครั้นวางพระโอษฐ์น้ำ
เห็นแก่ตาแดงกล
หฤทัยระทดทน
ถนัดดังไม้ร้อยอ้อม
พระลอมองแล้วรู้เลยว่ายังไงก็ไม่รอดแต่ก็ยังจะไปเพราะมาขนาดนี้ก็ถอยกลับไม่ได้แล้ว ได้แต่ท่องในใจว่า“รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง”
> เล่นของสูง - BIGASS
ทุกคนคงเคยมีอารมณ์เหงา ในห้วงเวลานั้นคุณอาจคิดถึงใครบางคนที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิต คนที่เคยมีความทรงจำดีๆ ร่วมกัน และยิ่งดึกยิ่งเงียบอยู่ตัวคนเดียวก็ทำให้ยิ่งเหงาขึ้นไปอีก อาการนี้เป็นอาการเดียวกับขุนแผนในเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างโดยเรื่องมีอยู่ว่า ขุนแผนทะเลาะกับวันทองเรื่องลาวทอง(เมียใหม่ของขุนแผน) ขุนแผนโกรธมากเลยทิ้งและไม่สนใจนางวันทองอีก ส่วนตนก็กลับไปกับนางลาวทองแต่ต่อมาขุนช้างไปฟ้องพระพันวษาว่า ขุนแผนอู้งานทำให้พระพันวษาพาตัวนางลาวทองกลับไปในวังเพื่อลงโทษขุนแผนและในคืนนั้นที่ขุนแผนกำลังนอนเหงาคิดถึงลาวทองคิดไปคิดมาก็โกรธขุนช้างที่เป็นต้นเหตุของเรื่องนี้และก็เริ่มคิดถึงใครคนหนึ่งที่อยู่กับขุนช้างนั่นก็คือ นางวันทองนั่นเอง
…..
ด้วยความเหงาจับใจขุนแผนเลยตัดสินใจบุกเรือนขุนช้างเพื่อชิงวันทองกลับมาเพราะความเหงานี่เองที่ทำให้รู้ใจตัวเองเสียที (
>
บางครั้งเราชอบใคร เขาก็ไม่รักเรา หรือบางครั้งที่มีคนมารักเรา แต่เราก็ไม่มีความรู้สึกให้กับเขาหรือเธอคนนั้นแม้แต่นิดเดียว ความรักและความรู้สึกของหัวใจไม่ใช่สิ่งที่จะบังคับกันได้เช่นเดียวกับความรักที่ออกแบบไม่ได้ของซมพลา ลำหับ และฮเนา ตัวละครจากเรื่องเงาะป่า ซมพลาและฮเนาต่างก็รักผู้หญิงคนเดียวกันคือลำหับ เรื่องมันเศร้าสำหรับฮเนาตรงที่แม้ลำหับจะเป็นคู่หมั้นของตน แต่ในใจเธอกลับมีแต่ซมพลา ลำหับรักซมพลาจึงหนีตามซมพลาไป แต่ฮเนากลับหลงคิดว่าซมพลาลักพาตัวลำหับไปจึงเร่งออกตามหา ระหว่างทาง ฮเนาได้พบกับมือซังกับวังคอนซึ่งมีใจให้ตนและพยายามทอดสะพานให้ แต่ฮเนาก็รักเพียงแต่ลำหับ เมื่อฮเนาจากมาจึงครุ่นคิดว่า ความรักเป็นสิ่งประหลาด คนที่ไม่ได้หมายปองก็มารัก แต่อีกคนที่รักแทบตายกลับห่างเหินออกไป ดังคำกลอนที่ว่า
เมื่อนั้น ฮเนานึกประหลาดอนาถจิต
ความคิดของฮเนานี้แสดงถึงคติความรักที่เป็นสากล ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยความจริงข้อนี้ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไป ดังที่เห็นได้จากเรื่องเงาะป่าที่เขียนในสมัยร.5 (พ.ศ.2448)
>
.......................................................................................................................
จะเห็นได้ว่าวรรณคดีไทยที่ได้รับการประพันธ์มาตั้งแต่อดีตกับเพลงไทยในสมัยปัจจุบันสามารถไปด้วยกันได้ โดยการเชื่อมโยงเหตุการณ์ในวรรณคดีเข้ากับเนื้อเพลง ทำให้รู้สึกสนุก ตลกขบขัน และยังทำให้เราจดจำเหตุการณ์ได้โดยไม่ต้องท่องจำ เพียงแค่นำวรรณคดีที่ดูเหมือนไกลตัวมาเชื่อมโยงกับเพลงสมัยใหม่ที่เป็นสิ่งใกล้ตัว ทำให้ไม่รู้สึกว่าวรรณคดีเป็นเรื่องเข้าถึงยาก แต่สามารถเข้าถึงได้ในชีวิตประจำวันเช่นกัน
ธนวรรณ ทอธราเมธา
เนติรัตน์ ศรีสาเอี่ยม
พิมพ์นารา ศุภกรกุลนันทร์
ภพกมล บุญยะผลานันท์
ภาภรอัณณ์ ศิริเหลืองรังสี
นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บรรณาธิกรต้นฉบับ... ทีมงาน "อ่านคิดเขียน"
อ.หัตถกาญจน์ อารีศิลป์
กิตติธัช รักษาคำ
วีริสา สมพงษ์
ณัชชา คล้ายมณี
ผลงานสร้างสรรค์ในรายวิชา "วรรณคดีไทย" (ปลายภาคปีการศึกษา 2560)
หัวข้อ "วรรณคดีไทยในสื่อสังคมร่วมสมัย"
**ลิขสิทธิ์ผลงานเป็นของผู้สร้างสรรค์ผลงาน**
เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in