5...4...3...2...1...
ระหว่างทางที่นั่งรถไปยัง NASA Johnson Space Center นั้นเรานั่งฟังเพลง Space Oddity - David Bowie ไปตลอดทางด้วยอิน บิ้วอารมณ์ตัวเองไปเรื่อยๆ ฮาาา
ถึงแล้วจ้าาาาา
เครื่องบิน B747 นั่นคือของจริง
แต่กระสวยอวกาศด้านบนคือของปลอมเด้อ
เหตุที่รู้ก็เพราะเคยไปเห็น กระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ ของจริงมาแล้วตอนที่ไปแอลเอ
ตามไปอ่านเรื่องราวและชมภาพถ่ายกันได้ที่
ซื้อตั๋วเรียบร้อย ได้แผนที่และตารางโชว์ต่างๆมาด้วยจ้ะ
เข้ามาแล้วกรี๊ดดดดดดดอยู่ในใจ
Mission Mars
อยากแรกที่เราเข้าไปดูคือ Mission Mars ซึ่งเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับภารกิจสู่ดาวอังคารที่นาซ่าและสเปซเอ็กซ์บอกว่านี่คือความหวังใหม่ของมวลมนุษยชาติ
หน้าจอด้านบนจริงๆแล้วเป็นนาฬิกานับถอยหลังเกี่ยวกับภารกิจนี้
มีการอธิบายคราวๆว่า ณ ปัจจุบันโครงการนี้อยู่ในเฟสไหน
ใช้เวลาเท่าไรกว่าจะย้ายไปสู่เฟสต่อไป
Making the journey
โซนแรกของ Mission Mars จะเป็นการอธิบายคราวๆเกี่ยวกับดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และอธิบายเกี่ยวกับโครงการสำรวจว่า ณ ตอนนี้เราเก็บข้อมูลอะไรมาบ้าง มีหน้าจอให้กดๆ มีสกรีนให้จิ้มๆ(เด็กๆชอบมาก) จากนั้นก็มีอธิบายเกี่ยวกับ NASA's Space Launch System หรือ SLS ที่จะเอาไว้ส่งยานอวกาศไปยังดาวอังคารว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อันไหนจะแตกหลุดออกมาที่ชั้นบรรยากาศใด
หน้าตาเป็นแบบนี้เด้อ
นี่คือโมเดลของ Orion Multi-Purpose Crew Vehicle ที่ส่องดูด้านในได้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร
- เกร็ดความรู้คู่นาซ่า ที่ไปยืนอ่านมานะจ๊ะ -
Orion Multi-Purpose Crew Vehicle หรือ ยานลูกเรืออเนกประสงค์โอไรออน เป็นยานอวกาศที่ใช้สำหรับขนส่งนักบินอวกาศแบบใหม่ล่าสุดของนาซ่า โดยเจ้ายานลำนี้สามารถบรรทุกนักบินอวกาศได้ 4-6 คน ไปยังเป้าหมายที่ระยะสั้น เช่น สถานีอวกาศนานาชาติ และพัฒนาเพื่อการสำรวจดาวเคราะห์น้อยต่างๆใกล้โลก (near-Earth asteroids) ดวงจันทร์ของเรา ตลอดจนการไปสำรวจวงโคจรของดวงจันทร์ของดาวอังคารและตัวดาวอังคารเองอีกด้วย
เมื่อกาลก่อนสมัยยุคของโครงการ Apollo ยานอวกาศนั้นจะเป็นรูปกรวย เวลาส่งยานขึ้นไปก็จะใช้จรวดขับดันให้ยานออกไปพ้นจากชั้นบรรยากาศของโลก เช่น จรวดขับดัน Saturn V แล้วพอยานกลับเข้ามาก็จะตกลงมาตามแรงโน้มถ่วงของโลก ก็จะมีการเปิดร่มเพื่อชะลอความเร็ว (นึกไม่ออกก็ไปดูหนังต่างๆ เช่น Gravity ก็ได้อะ)
ต่อมานาซ่าก็สร้าง กระสวยอวกาศ (Space Shuttle) ขึ้นที่หน้าตาเหมือนเครื่องบิน เช่น กระสวยเอนเดฟเวอร์ ขึ้นมา ซึ่งเหตุที่หน้าตาออกมาแบบนี้เพราะจะได้บินขึ้นบินลงหลายๆรอบได้ เอาลงจอดได้ไม่ตกในทะเล เหมาะแก่การเดินทางระหว่างโลกและสถานีอวกาศ ต่อมาก็ได้ปลดประจำการไปเพราะในปัจจุบันทางนาซ่าไม่มียานอวกาศสำหรับให้มนุษย์ขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่แล้ว (เพราะเน้นพวกยานสำรวจดาวเคราะห์ต่างๆที่ห่างไกลแทน) ล่าสุดที่ทางนาซ่าได้ส่งนักบินอวกาศไปอยู่บน International Space Station นั้น ก็ได้หยิบยืมความช่วยเหลือจากรัสเซียโดยใช้ยาน Soyuz ที่เก๋ามากตั้งแต่ช่วงที่อเมริกามีโครงการอะพอลโล และร่วมมือกับทาง Space X ในการขนส่งสิ่งของ อาหารต่างๆไปที่สถานีอวกาศจ้า
Orion นี้จึงเป็นยานอวกาศแบบใหม่ที่กลับไปใช้ทรงกรวยเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือใหญ่ขึ้น เหมาะแก่การเดินทางไกล ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีการทดสอบและพัฒนากันอยู่จ้ะ หากอยากรู้ว่ายานนี้หน้าตาเป็นอย่างไร สามารถเข้าไปได้ดูที่
Orion Exploration Mission-1 Animation ได้เล้ยยยยยยย (คลิปอันเดียวกันกับที่ข้าพเจ้าไปยืนดูอยู่เลยจ้ะ)
โมเดลของ R5-25 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ใน The Space Launch System จ้ะ
จะใช้ทั้งหมด 4 ตัวอะเออ
หน้าจอที่นับถอยหลังโครงการนี้
Challenges of the red planet
หลังจากที่ไปยืนดูเกี่ยวกับเรื่องยานอวกาศแล้ว เราก็ย้ายตัวเองมาที่จุดที่สอง คือ Challenges of the red planet ซึ่ง... นี่มันคือหนังเรื่อง The Martian ชัดๆ! เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตบนดาวอังคาร ซึ่งไฮไลท์ของโซนนี้คือโครงการ Veggie ซึ่งเป็นโครงการปลูกผักของนาซ่าเด้อ มีความผักสวนครัวรั้วกินได้มากๆ
เขาอธิบายว่าบนดาวอังคารเนี่ย จะได้รับแสงอาทิตย์เพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับโลก เพราะฉะนั้นการปลูกผักต่างๆต้องใช้แสงสังเคราะห์เข้ามาช่วย นาซ่าเลยสร้างสิ่งนี้ขึ้นมาตามภาพด้านบน มันเป็นแคปซูลหลอด LED ที่พัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า 60% เมื่อเทียบกับหลอดไฟที่ใช้ปลูกผักในเรือนกระจกทั่วไป
และพืชจะเติบโตได้ก็ต้องใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการหายใจและใช้น้ำให้งอกงาม ซึ่งชั้นบรรยากาศของดาวอังคารนั้นก็มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพียงพอ และน้ำสามารถรีไซเคิลได้รวมถึงสามารถสกัดจากดินบนดาวอังคารอีกด้วย และดินบนดาวนั้นก็มีสารอาหารเพียงพอ แต่ก็มีสารบางชนิดที่เป็นพิษต่อมนุษย์ ก็ต้องกรองออกแล้วค่อยเอามาปลูกกัน ขณะนี้โครงการ Veggie ก็ได้พัฒนาและทดลอง จนเอาไปปลูกจริง ทดลองจริงกันที่ International Space Station ด้วยจ้า
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in