พูดกันตรงๆว่าเราไม่ได้ประทับใจขนาดนั้นตอนอ่านคำโปรยหลังเล่ม อาจเป็นเพราะ หนึ่ง หนังสือเหมือนจะเน้นสังคมอเมริกันเป็นหลัก ทำให้ไกลตัวไปสักหน่อย และสอง เราไม่มีประสบการณ์ online dating ใดๆทั้งสิ้น เลยเหมือนจะไม่อิน
แต่เอาจริงๆพอเริ่มอ่านแล้ว Aziz ผู้เขียน ก็สามารถดึงเราให้เปิดหน้าต่อไปเรื่อยๆๆๆๆ จากตอนแรกที่ไม่ได้อินขนาดนั้น ไหงอ่านจบไม่รู้ตัวเฉยยยยย หลักๆเป็นเพราะอารมณ์ขันและสไตล์การเขียนของเขา (เปรียบเอาง่ายๆก็เหมือนนั่งฟังพี่โน๊ต อุดม เล่าเรื่องแบบ แทรกความรู้นิดๆ บวกกราฟกับ studies เข้าไปหน่อยๆ) ในจังหวะที่มีการแทรกสถิติ วิจัย และทฤษฎี วิชาการ ในเนื้อหา Aziz ก็หักเลี้ยวแทรกมุขตลกเข้ามาดื้อๆ ทำให้เป็นการอ่านที่ไม่น่าเบื่อเลยสักนิด (และเรามั่นใจว่าถ้าได้อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ จะเข้าใจมุขที่ผู้เขียนใส่ลงไปมากกว่านี้แน่ๆ การแปลอาจจะลดเสน่ห์แพรวพราวของผู้เขียนไปบ้างนิ๊ดดดส์หน่อย)
หนึ่งในความฮาของ Aziz ที่เราชอบมากคือ การที่เขาดัดแปลงรูปต่างๆที่ใช้อ้างอิงภายในหนังสือ กราฟทางสถิติที่ดูซีเรียส ถูก Aziz เอามาแก้ใหม่ซะเบาสมองไปหมด หนังสือ balance ได้ดี ระหว่างอารมณ์ขัน กับ วิชาการ สังคมศาสตร์ที่จริงจัง (และมันเห็นชัดมากๆ ว่าผู้เขียนทำการบ้านมาเยอะ จริงๆแล้วเขาช่วยกันเขียนกับ Eric Klinenberg นักสังคมวิทยา แถมยังหาข้อมูลอ้างอิงมากมายจริงๆนะ) ไม่ได้ตลกเละเทะเลย
ในฐานะที่เราไม่เชื่อใน online dating และไม่เคยแม้แต่จะลองดู หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียของมัน เปิดมุมมองใหม่ๆให้เราเห็น ทำให้จากคนที่ไม่อินเลย กลายเป็น อื้มมม จริงๆมันอาจจะไม่ได้แย่ขนาดนั้น
อีกอย่างคือ ลึกๆแล้วส่วนนึงเราก็ relate กับหนังสือในบางช่วงนะ อย่างเช่น ความกระวนกระวายที่เกิดเวลาอีกฝ่ายไม่ตอบข้อความ/ไลน์สักที หรือการตัดสินคนที่พิมพ์อะไรผิด/ใช้ภาษาไม่ถูกต้องในโลกออนไลน์ คือสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าเป็นยุคก่อน มันทำให้เราฉุกคิดว่าที่เราบอกว่าไม่อินๆเนี่ย แท้จริงเราก็ซึมซับกับพฤติกรรมและวัฒนธรรมที่เกิดจากยุคดิจิตอลนี่เหมือนกัน
ความกังวลอีกอย่างที่เรามีต่อหนังสือเล่มนี้คือ การที่มัน based on สังคมอเมริกันเป็นส่วนใหญ่ การอ่านในบางช่วงเราอาจจะไม่เก็ตในวัฒนธรรมที่ถูกอ้างอิงในเนื้อหาไปบ้าง ซึ่งหนังสือก็แก้ตัวด้วยการพูดถึงวัฒนธรรมของประเทศอื่นด้วยในช่วงกลางๆถึงท้ายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น ฝรั่งเศส, อาร์เจนติน่า หรือ ญี่ปุ่น
เราชอบช่วงที่พูดถึงประเทศญี่ปุ่นมากๆ การวิเคราะห์เรื่องผู้ชายญี่ปุ่นน่าสนใจสำหรับเรา เขาบอกว่าผู้ชายญี่ปุ่นจะไม่ค่อยกล้าออกเดทหรือเข้าหาผู้หญิง นอกจากจะมั่นใจแล้วจริงๆว่าผู้หญิงชอบกลับ เพราะปัจจัยอย่างเช่น
- ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นที่จะแยกเพศ ชาย หญิง แม้กระทั่งในโรงเรียนสห (แบบว่า เวลาต่อแถว หรือไรงี้) ทำให้ผู้ชายบางคนไม่มีเพื่อนต่างเพศจนอายุ 20 กว่า - -> เข้าหาสาวไม่เป็น และไม่มั่นใจ
- ผู้ชายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังอยู่บ้านกับพ่อและแม่ เลยชินกับการมีแม่คอยดูแล และเอาแต่สอดส่องหาผู้หญิงที่จะสามารถทำสิ่งเดียวกันอย่างที่แม่ทำให้เขา - -> standard ผู้หญิงเลยเน้นความเป็นแม่บ้านแม่เรือน เจอผู้หญิงกล้าๆหน่อยเลยไม่ค่อยถูกใจ
- ความคิดโบราณที่ฝังหัว ว่าถ้าผู้หญิงเข้าหาก่อน หรือตอบรับการออกเดทจากใครง่ายๆ คือไม่ดี ไม่บริสุทธิ์ - -> อื้อ คือแบบ จะรุกเวลาผู้หญิงทำท่าว่าชอบ แต่ไม่ชอบผู้หญิงที่แสดงออกว่าชอบมากเกิน?! คืออะไร๊ เอาใจยากจริงๆ ความขัดแย้งอันนี้แหละ เป็นปัญหาใหญ่เลย
- มีบริการ host club / อาบอบนวด ในญี่ปุ่นรองรับเยอะม้ากกก ผู้ชายเลยเคยชินกับการใช้เงินซื้อผู้หญิงให้ทำหน้าที่แฟนชั่วคราว (เสิร์ฟข้าวน้ำ นวดไหล่ งี้) - -> คิดว่าไม่ต้องหาแฟนเป็นตัวเป็นตน แค่มีเงินก็ได้รับความสุขคล้ายๆกัน
อะไรประมาณนี้ ซึ่งเราชอบการวิเคราะห์ของหนังสือเล่มนี้สุดๆเลย
หนังสือเล่มนี้เหมาะมากๆกับ คนที่กำลังปวดหัวอยู่กับ unsuccessful relationship, คนที่อยากทำความเข้าใจ/สงสัยเกี่ยวกับการหาแฟนในสมัยนี้ หรือคนรุ่นใหม่ที่ชอบอ่านอะไรเบาสมองแต่ได้ความรู้
และเห็นอ่านง่ายเบาสบายแบบนี้ Modern Romance ก็แอบแทรกข้อคิดที่น่าสนใจ และหลายๆประโยคที่อ่านแล้วก็แบบ หื้มมม แอบคมนะเนี่ยยยยย อยู่ตลอดๆทั้งเล่ม แถมปิดท้ายด้วยบทสรุปที่ย่อเอาสิ่งที่พูดถึงทั้งเล่มมาบวกกับข้อคิดจากตัวผู้เขียนเอง
อ่านจบแล้วอยากเดินไปตบบ่า Aziz Ansari เลย แบบว่า เห้ย เราอ่านจบแล้วนะ และหนังสือคุณโคตรดีเลย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in