เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
ถอดบทเรียน SMART PHUKET เส้นทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
  • รีวิวเว้ย (954) รีวิวเว้ย × สำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" มิใช่ "ปราสาททราย" อย่างที่ใครบางคนเข้าใจ หากแต่ความหมายของคำว่า "แซนด์บ็อกซ์" น่าจะมีหลายคน หลายเพจ หลายสถานที่อธิบายเรื่องนี้เอาไว้แล้ว แนะนำให้ลองเข้าไปหาอ่านกันได้เพราะคำ ๆ นี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาและทดลองอะไรหลาย ๆ อย่าง ทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ กลับมาที่เรื่องของ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" หลายคนอาจจะคิดถึงแค่เรื่องของการทดลองใช้พื้นที่ภูเก็ตในการเปิดรับนักท่องเที่ยวภายหลังจากการระบาดของโควิด-19 แต่ในความเป็นจริง "ภูเก็ต" เป็นพื้นที่นำร่องในหลายกิจกรรมที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของ "ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" แต่เพียงเท่านั้น หากแต่ก่อนหน้าการระบาดของโควิด-19 ประเด็นเรื่องของ "เมืองอัจฉริยะ" (Smart City) ถูกพูดถึงและถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในหลายภาคส่วน และหลายวงการ ซึ่งภูเก็ตเองเป็นหนึ่งในเมืองที่มีแนวโน้มในการดำเนินการในฐานะเมืองอัจฉริยะได้เป็นเมืองแรก ๆ ของไทย อาจจะด้วยเพราะความพิเศษของพื้นที่ และความสามารถของพื้นที่ในการสร้างความเป็นเมืองอัจฉริยะผ่านความร่วมมือของหลายภาคส่วนทั้งภาคราชการและภาคเอกชน ภูเก็ตทำได้อย่างไร (?) เราอยากจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักหนังสือเล่มหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องของการถอดบทเรียน SMART PHUKET ว่าภูเก็ตสามารถดำเนินการเช่นนั้นได้อย่างไร
    หนังสือ : ถอดบทเรียน SMART PHUKET เส้นทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
    โดย : กิติคุณ คัมภิรานนท์, มณฑลี เนื้อทอง
    จำนวน : 195 หน้า

    "ถอดบทเรียน SMART PHUKET เส้นทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ" หนังสือขนาดกระทัดรัดที่ว่าด้วยเรื่องของแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการในการดำเนินการผลักดันให้พื้นที่อย่างภูเก็ต พัฒนาและยกระดับตัวเองให้ก้าวเข้าสู่รูปแบบของเมืองอัจฉริยะ โดยที่เนื้อหาของ "ถอดบทเรียน SMART PHUKET เส้นทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ" แบ่งออกเป็น 3 ก้าวที่น่าสนใจและหนึ่งบทเรียนสำคัญ ดังต่อไปนี้

    แรกก้าวต้องเข้าใจ เข้าใจในโจทย์และปัญหาของเมืองรวมถึงการเข้าใจเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาเมือง

    ก้าวให้เข้าถึงแก่น การเข้าถึงคนพื้นที่เพื่อสร้างความร่วมมือสัมผัสปัญหาที่แท้จริงแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

    ก้าวสู่การพัฒนา การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ เสียงตอบรับจากเจ้าของพื้นที่การต่อยอดความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    บทเรียนเพื่อก้าวต่อไป สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของงานแผนระยะยาวเพื่อความยั่งยืน

    เมื่ออ่าน "ถอดบทเรียน SMART PHUKET เส้นทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ" จบลง ทำให้เรามองเห็นแนวทาง และความหวังในการพัฒนาเมืองเมืองหนึ่งในยกระดับขึ้นเป็นเมืองอัจฉริยะ แต่เมืองอัจฉริยะเหล่านั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเมืองที่อัจฉริยะในเรื่องเดียวกัน หรือในรูปแบบเดียวกัน เพราะเมืองแต่ละเมืองก็มีวิถีชีวิตของเมือง แนวทางการพัฒนาของเมือง และรูปแบบของเมืองที่แตกต่างกันออกไป แต่นี่ก็เป็นความน่ากังวลประการหนึ่งหากราชการไทยทำหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ก็ไม่แน่ว่าเราอาจจะเห็นเมืองทุกเมืองในประเทศนี้มีความอัจฉริยะไปในทิศทางเดียวกัน เพราะนี่คือ "ความอัจฉริยะของระบบราชการไทย" ที่มีความสามารถในการลดทอน และทุบทำลายความแตกต่างภายใต้สิ่งที่เรียกว่าระบบราชการ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Natchaya Yu (@fb1020945756511)
ราชการไทย แตะเรื่องอะไร พังทุกที ?