เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (2)Chaitawat Marc Seephongsai
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด (THE PROMISE OF HAPPINESS) By Sara Ahmed
  • รีวิวเว้ย (953) การที่เราเติบโตมาให้ประเทศไทย เรียนโรงเรียนไทยที่ขับเคลื่อนและดำเนินการโดยมูลนิธิของวัด เราจึงถูกบังคับให้เป็นคนไทยที่นับถือพุทธไปโดยปริยาย และเมื่ออยู่ในโรงเรียนที่ชื่อสุดแสนจะพุทธและดำเนินการโดยมูลนิธิของวัดแล้ว การทำวัดสวดมนต์จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญตอนเด็ก ๆ และแน่นอนว่า "บทแผ่เมตตา" เป็นหนึ่งบทที่ต้องท่อง และข้อความเหล่านี้รวมที้งบทสวดเราไม่เคยเข้าใจและไม่อินกับการกระทำเหล่านั้น "สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อะเวราโหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย" และดฝเมื่อเราโตขึ้นเราก็ยิ่งตั้งคำถามกับเรื่องเหล่านี้ว่าใช่หรือ จริงหรือ และทำเพื่ออะไรหรือ อย่างในส่วนของบทแผ่เมตตาสิ่งที่เราละเลยการตั้งคำถามมาตลอดก็คือคำว่า "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด" น่าสนใจว่าที่บอกให้ "จง" แปลว่ากำลังบังคับให้เป็นสุขอยู่หรือ และ "สุข" เล่ามันคืออะไร และเป็นความสุขของใคร ในสังคมไทยให้ความสำคัญกับ "ความสุข" แต่น้อยครั้งมากที่เราจะบอกได้ว่า "ความสุขคืออะไร" กระทั่งทุกวันนี้เราก็ยังไม่แน่ใจว่า การที่มีคณะบุคคลมาบอกว่าตัวพวกมันมาเพื่อ "คืนความสุขให้คนในชาติ" หลายปีแล้วนะไหนละความสุขที่บอกว่า "จะคืน" #ออกไปไอ้สัส
    หนังสือ : จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด (THE PROMISE OF HAPPINESS)
    โดย : Sara Ahmed แปล เฌอทะเล สุวรรณพานิช, อลิษา ลิ้มไพบูลย์
    จำนวน : 505 หน้า

    ข้อความที่ปรากฎอยู่บนหน้าเว็บของสำหนักพิมพ์ได้อธิบายถึงหนังสือเล่มนี้เอาไว้ว่า

    "หนังสือ จงเป็นสุขเป็นสุขเป็นสุขเถิด คือบทวิพากษ์ทางวัฒนธรรมแสนเข้มข้นที่ผสมผสานทฤษฎีผัสสารมณ์เข้ากับการพยายามทำความเข้าใจ ‘ความรู้สึกมีความสุข’ ซารา อาเหม็ด ตั้งคำถามถึงเงื่อนไขอันบีบรัดของความสุข ของการพยายามทำตัวให้มีความสุข หรือแม้แต่การบอกกับคนอื่นว่า ‘ฉันแค่อยากให้เธอมีความสุข’ ซึ่งกลายมาเป็นหน้าที่และแฝงฝังแง่มุมคุณค่าในเชิงศีลธรรมบนโครงสร้างอำนาจบางรูปแบบ อาเหม็ดหยิบยืมเลนส์ของความรู้ทางปรัชญา ประวัติศาสตร์สีผิวและการล่าอาณานิคม เฟมินิสม์ ทฤษฏีเควียร์ วัฒนธรรมศึกษา และจิตวิทยาเพื่อสำรวจอาณาบริเวณของความสุข มองดูสิ่งที่ความสุขกระทำต่อเราในฐานะปัจเจก เปิดโปงวิธีที่ความสุขดึงดันหันเหเราไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง รวมถึงนำเสนอประวัติศาสตร์ทางเลือกของความสุขที่ล้นทะลักจากมุมมองของ ‘ผู้เป็นอื่น’ บนโลกใบนี้"

    เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลงสิ่งที่เราไม่มั่นใจว่าจะเขียนรีวิวมันออกมาอย่างไร เพราะหนังสือเล่มนี้ชักชวนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่เรียกกว่า "ความสุข (HAPPINESS)" ว่าเอาเข้าจริงแล้วสังคมมนุษย์เราทำความเข้าใจคำว่า "ความสุข" จากแง่มุมใด เพราะถ้าให้มองดูกันจริง ๆ บางทีความสุขที่เราถูกสอนให้เชื่อว่ามันมี "หน้าตา" เป็นเช่นนี้ (ทั้งที่จับต้องไม่ได้) นั้นเป็นความสุขจริง ๆ หรือไม่ หรือเป็นเพียงชุดมาตรฐานหนึ่งที่สังคมก่อร่างสร้างมันขึ้นมา และสังคมที่สร้างมันขึ้นมาดันเป็นสังคมที่อุดมไปด้วยอคติในทุกรูปแบบเท่าที่จะหยิบยกขึ้นมาบรรยายได้ ทั้งเรื่องของเพศสภาพ ชาติกำเนิด การศึกษา สีผิว และอื่น ๆ อีกมากมาย

    "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด" พยายามสั่นคลอรชุดความเชื่อที่ว่าด้วยเรื่องของ "ความสุข" และให้เราลองกลับไปมองดูมันอีกครั้งว่า "ความสุขนั้นเป็น (มาตรฐาน) ของใคร ?" แล้วจำเป็นแค่ไหนที่เราต้องอยู่บนมาตรฐานความสุขแบบนั้นโดยที่หลายครั้งเราไม่เคยตั้งคำถามและตั้งข้อสงสัยกับมันเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่สจะเป็นเรื่องของความสุขในการใช้ชีวิต ความสุขในการถือครองทรัพย์สิน หรือกรัะทั่งความสุขตามช่วงอายุ อย่างที่เราคงเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง อาทิ ก่อนอายุ 30 ควรมี ... ก่อนอายุ 30 ควรทำ ... ฯลฯ

    "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด" เป็นหนังสือที่อ่านไม่ง่ายนัก ด้วยเนื้อหาของหนังสือจัดอยู่ในหมวดหมู่ของหนังสือวิชาการที่อ่านยากพอสมควร โดยเฉพสะเมื่อเนื้อหาของหนังสือวางตัวอยู่บนงานเขียนแนวสังคมศาสตร์ ที่ทุ่งเน้นประเด็นไปที่เรื่องของ "ความรู้ทางปรัชญา ประวัติศาสตร์สีผิวและการล่าอาณานิคม เฟมินิสม์ ทฤษฏีเควียร์ วัฒนธรรมศึกษา และจิตวิทยา" ทำให้การอ่าน "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด" เรียกรเองกำลังใจ และกำลังกายจากผู้อ่านพอสมควร และด้วยขนาดของหนังสือที่หนา 505 หน้า (รวมเชิงอรรรถ) และขนาดของเล่มที่ใหญ่พอสมควรทำให้กำลังกายกำลังใจจึงสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นใดสำหรับการอ่าน "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด"

    เนื้อหาภายใน "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด"  แบ่งออกเป็น 7 บท ซึ่งยังไม่นับรวมเชิงอรรถ อภิธานศัพท์ บทสนทนาเปิด บันทึกผู้แปลและองค์ประกอบอื่น ๆ โดยในส่วนของเนื้อหาประกอบไปด้วย

    บทนำ สถานการณ์ความสุข ณ ปัจจุบัน

    บทที่ 1 สุขอยู่ที่ใด ?

    บทที่ 2 เฟมินิสต์ประสาทแดก

    บทที่ 3 บัณเฑาะก์กรรมหนัก

    บทที่ 4 ผู้อพยพผู้เศร้าโศก

    บทที่ 5 พรุ่งนี้วันสุข

    บทสรุป 100,000 สุข

    เมื่ออ่าน "จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด" จบลง เราจะถูกท้าทายให้ลองตั้งคำถาม และมองหาความหมายของ "ความสุข" ในมุมมองที่แตกต่างออกไปจากเดิม ซึ่งในกรณีของสังคมไทย อาจจะมีตัวอย่างที่ชัดเจนและนอกเหนือไปจากเนื้อหาของหนังสือ เพราะตั้งแต่พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา กระทั่งปัจจุบัน (2565) คนกลุ่มหนึ่งที่อ้างเอา "ความสุข" เป็นตัวตั้งก็ยังคงเชื้อมั่นว่าสิ่งที่พวกมันทำ คือการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" หากหนังสือเล่มนี้จะมีภาคต่อ ก็น่าสนใจว่า "ความสุข" ในความหมายของคณะบุคคลกลุ่มนี้มันหมายถึงอะไร (?) และหมายถึงความสุขของใคร (?)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in