เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกแรกของเราNoi Beleza
เรียนรู้..ตื่นรู้กันค่ะ

  • สืบเนื่องจากอ่านบทสัมภาษณ์
    Lifelong Learning
    ของ ศจ.นพ. วิจารณ์ พานิช

    การสร้างคนให้มีลักษณะแบบ
    ‘Lifelong Learner’
    หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
    คือคำตอบที่จะเป็นทางออก
    ในโลกยุคที่สถานการณ์ต่างๆ
    ในชีวิตผันผวนง่ายแต่คาดเดายาก

    โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่การปลูกฝัง
    แนวคิดการเรียนรู้แบบ
    Learn – Unlearn – Relearn
    เปิดใจเรียนรู้โดยพร้อมที่
    จะละวางความรู้เดิม
    เพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา 
    .
    .

    อ่านไปก็ประทับใจมาก
    แล้วก็ทบทวนทักษะชีวิต
    ที่เราผ่านร้อนผ่านหนาวมา

    ในวัยเด็กพ่อก็เป็นตัวอย่าง
    คนไทยเชื้อส่ายจีนที่ทำงาน
    เลี้ยงครอบครัว ด้วยความเพียร
    มานะบากบั่น ปีหนึ่งหยุดแค่ 3-4 วัน
    คือช่วงวันหยุดตรุษจีนเท่านั้น

    พ่อเป็นเถ้าแก่ของลูกน้องหลายสิบคน
    รับเหมาก่อสร้าง ซ่อมแซมต่างๆ
    มีอัตตลักษณ์ คือความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า
    เป็นเถ้าแก่ใจดี ลูกน้องมาก่อนลูกๆ
    ยามลูกน้องเจ็บป่วย ก็ห่วงใยจัดยาให้

    เราและพี่น้องหลายๆคน
    ก็มีวิถีชีวิตเรียบง่าย
    เล่นขายของกับเพื่อนบ้าน
    ปิดเทอมขายขนมครกไข่
    ขายเพื่อนบ้าน กระทงละ 25-50 สตางค์
    เพื่อนบ้านก็ขายแซนวิช เส้นหมี่ผัด
    ผลัดกันอุดหนุน สนุกสนานจริงๆ

    จากวัยเด็ก เราก็เรียนเล่นเพลินไป
    มีความขยัน สอบเลื่อนชั้นไปเรื่อยๆ
    วันเวลาผ่านไปไวมาก
    เรียนจบ ทำงาน มีครอบครัว
    ดูแลครอบครัว รับส่งลูกเรียนพิเศษ
    จนลูกจบมหาลัย และเริ่มสู่ชีวิตทำงาน
    .
    .

    เมื่อมองย้อนกลับไป
    ทุกช่วงของชีวิต
    เรามีทักษะชีวิตที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง
    แต่ละสถานการณ์ที่ยาก อึดอัด ทนได้ยาก
    แล้วเราก็ผ่านมาได้..จนวันนี้

    เหตุการณ์ที่ยากๆ..
    ช่วงที่เราตั้งครรภ์ แล้วตรวจเจอเนื้องอก 5 ก้อน
    กลับบ้านร้องไห้ แล้วค่อยหาข้อมูล
    เพื่อนแนะนำหมอที่เก่ง มีเมตตาให้

    เราก็ไปทำบุญที่พุทธมณฑล
    กราบขอพรจากพระบรมสารีริกธาตุ
    เจ้านายก็เมตตา ไม่ให้ทำงานหนักเกินไป
    สามีก็เอาใจใส่ ให้เราอารมณ์ดี
    พาไปพักผ่อนเที่ยวทะเล อารมณ์เบิกบาน

    คุณหมอจริงๆแล้วก็ไม่ได้ทำอะไร
    ท่านให้กำลังใจ ให้บำรุงร่างกาย
    ให้นับเวลาครรภ์จนครบ 38-39 สัปดาห์
    แล้วทุกอย่างก็ผ่านมาได้ด้วยดี

    เราก็ทำงานสร้างครอบครัวเป็นปึกแผ่น
    ญาติพี่น้องก็อบอุ่นรวมตัวกันในหลายโอกาส
    แล้ววันเวลาแห่งความสุขก็ผ่านไป

    พวกเราดูแลพ่อที่ป่วยติดเตียง 4 ปี
    แล้วท่านก็จากไปตามอายุขัย

    ต่อมาน้องส่าวป่วยเป็นมะเร็งที่ปอด ไขสันหลัง
    เราผ่านช่วงเวลาที่ร้องไห้ ตกใจ เศร้าใจ
    แล้วก็ตั้งสติได้ ช่วยกัน ดูแล เอาใจใส่ น้องกัน
    เพื่อนๆ ญาติมิตร ต่างมาเยี่ยมเสมอ
    ตลอดเวลา 2 ปี ทึ่ผ่านทุกข์สุขร่วมกัน
    นาทีสุดท้าย ที่ส่งน้อง เค้าสวยเหลือเกิน
    และท้ายสุด น้องก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ
    .
    .

    ทักษะชีวิตที่ผ่านมา..
    ทำให้เราเข้มแข็ง
    ยอมรับสภาวะธรรมต่างๆที่เข้ามาได้

    แล้วเราก็เห็นภาพอย่างนี้
    ในครอบครัวญาติมิตรเหมือนกัน
    คนป่วยด้วยโรคมะเร็ง อัลไซเมอร์ ฯลฯ
    ลูกๆที่กตัญญู ก็จะดูแลเอาใจใส่อย่างดี
    และเมื่อถึงเวลา เราก็ไม่ต้องเสียใจ
    เพราะทุกคนได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
    .
    .

    การเลี้ยงดูบุตรหลาน
    ก็เป็นสิ่งท้าทาย และยากอยู่เหมือนกัน
    เราเคยโตมาแบบไหน
    แต่เราใช้วิธีเก่าไม่ได้แล้ว
    ต้องมีจิตวิทยา มีการปรับเปลี่ยนพัฒนา
    มีการเรียนรู้ ปรับไปตามยุคสมัย

    พ่อแม่มีเมตตา..ปรารถนาให้ลูกมีความสุข
    มีความกรุณา ให้ลูกทุกข์น้อยที่สุด
    มีมุทิตา พลอยยินดี กับลูกเสมอ
    และฝึก อุเบกขา ปล่อยวาง ในเรื่องต่างๆ
    พ่อแม่เป็นดั่ง พรหม ของบุตรตลอดไป

    เมื่อเราเข้าสู่วัยใกล้เกษียณ
    ท่ามกลางโลกยุค digital นี้
    เราจะแข็งแรง สดใส เบิกบาน
    เรียนรู้ไปตามยุคสมัย
    อยู่เป็น อยู่อย่างมีความสุขกันนะคะ

    ?????

    Cr ภาพ : คุณสมพิศ เพื่อนพี่เมี่ยง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in