สมัยนี้พอเราเห็นหมาตัวไหนที่ไม่รู้ชื่อวิ่งมา ปากมันก็ต้องพลอยไปเรียกมันว่า "โบ้" หรือ "ไอ้โบ้" ทุกทีเลย ทั้ง ๆ ที่หมาตัวนั้นอาจจะไม่ได้ชื่อโบ้ แต่กลับกลายเป็นชื่อสามัญของหมาไปซะแล้ว ยิ่งเป็นหมาสีน้ำตาลขนเกรียน ๆ ถือว่ามีโหงวเฮ้งความเป็นโบ้อย่างมาก แต่ทำไมโบ้ถึงได้กลายมาเป็นชื่อแทนเจ้าหมากันละ? แล้วเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับภาษาศาสตร์ด้วยเหรอ? เรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะ
จุดเริ่มต้นของบล็อกนี้มาจากเพลงญี่ปุ่นเพลงหนึ่งที่เราได้ฟังในคาบ แทนที่เขาจะบอกว่า "นั่งกินข้าวกับหมา" แต่เขากลับเลือกใช้คำอื่นเพื่อสื่อความแทนตัวของมันแทน ซึ่งพอเรามาลองคิดดูแล้ว ในภาษาไทยก็มีคำลักษณะนี้เยอะมากและใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดค่ะ ! หนึ่งในนั้นก็คือ คำเรียกแทนสัตว์ต่าง ๆ ที่แค่เราได้ยินปุ๊บ เราก็จะเกิดอิมเมจของสัตว์นั้นในหัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้พูดถึงมันตรง ๆ เช่น เจ้าโบ้ ที่เรายกมาพูดคุยกันในครั้งนี้นั่นเอง
ใครเป็นคนตั้งชื่อให้โบ้? แล้วเจ้าโบ้ในภาษาญี่ปุ่นชื่ออะไรกันนะ?
คำว่า "โบ้" ในภาษาไทยนั้น แอบกระซิบว่าคำนี้มีที่มาที่ดาร์คกว่าที่เราคิดค่ะ จากการค้นคว้า สันนิษฐานว่าโบ้ อาจจะมาจากคำว่า โบโบ้ (BOBO) ซึ่งเป็นชื่อของกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมมีชอบเพศสัมพันธ์กับสุนัข จัดเป็นกลุ่มผู้ที่มีอาการป่วยทางจิตชนิดหนึ่งที่ต้องได้รับการบำบัด (ตอนที่เรารู้ก็ตกใจมากเลยค่ะ T-T เพราะเป็นคำที่ใช้บ่อยพอสมควร) แต่เราคิดว่าการนำมาใช้แทนชื่อน้องก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะคนส่วนมากก็มองว่ามันน่ารักและไม่ได้ใช้ด้วยเจตนาไม่ดี แถมคำว่าโบ้นี้ยังไปพ้องเสียงกับชื่อหมายอดฮิตของคนไทยอย่าง "จัมโบ้" ด้วย เจ้าโบ้ก็เลยกลายเป็นคำสามัญเรียกน้องหมาไปโดยปริยายค่ะ ^^)/
อย่างไรก็ตาม ภาษาญี่ปุ่น เองก็มีชื่อยอดฮิตที่เอาไว้เรียกแทนน้องหมาเหมือนกันนะ ! เชื่อว่าหลายๆคนที่ชอบดูอนิเมะหรือเคยเรียนญี่ปุ่นมาก็อาจจะเคยได้ยินบ้าง คิดออกกันไหมคะ ติ๊กต็อกๆ ชื่อนั้นก็คือเจ้า "โปจิ" (ポチ) นั่นเองค่ะ โดยเจ้าโปจิเนี่ย ก็เป็นชื่อที่มาจากภาษาต่างประเทศเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีใครทราบที่มาแน่ชัด ส่วนมากจะเชื่อกันว่าเป็นคำที่มาจากภาษาฝรั่งเศส "petit" ซึ่งแปลว่า ตัวเล็ก น่ารัก ตะมุตะมิ และเกิดการเพี้ยนเสียงไปเป็นโปจิในที่สุดค่ะ
ทฤษฎีที่มาของคำนี้ที่แพร่หลายที่สุดคือ ในสมัยเอโดะที่ญี่ปุ่นติดต่อกับชาวต่างชาติแล้ว มีคนฝรั่งเศสมาเห็นเจ้าหมาพันธุ์ญี่ปุ่น (Japanese Chin) ดูตัวเล็กน่าเอ็นดู ก็เลยพูดออกมาว่า "Petit" คนญี่ปุ่นที่สมัยนั้นยังไม่ได้มีความรู้เรื่องพันธุ์สุนัขละเอียดนัก ฟังแล้วก็เข้าใจไปว่า เจ้าหมานี่เรียกว่า โปจิ นั่นเองค่ะ
หมาพันธุ์ Japanese Chin
นอกจากนี้ชื่อโปจิยังนิยมเอาไปใช้ตั้งชื่อหมาในอนิเมะมาก ๆ ก็เลยกลายเป็นภาพจำไปว่า โปจิ = น้องหมา เลยทีเดียว มีอิทธิพลถึงขนาดที่ว่า ในการ์ตูนดังเรื่อง 花咲じいさん (The Man who made flowers bloom) มีตัวละครหมาที่แต่เดิมชื่อชิโระ (เจ้าขาว) แต่เวลาต่อมาชื่อของมันก็ถูกเปลี่ยนเป็นโปจิ เพื่อให้คนทั่วไปเรียกติดปากได้ง่ายมากขึ้น จนทำให้ชื่อเดิมของมันถูกลืมไปเลยค่ะ
น้องโปจิ (ชิโระ) จากเรื่อง 花咲じいさん
แล้วชื่อน้องหมาเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ยังไงกันนะ?
จริงๆแล้วไม่ว่าจะเป็นการเรียกเจ้าโบ้ หรือ โปจิ ต่างก็เป็นการพูดถึงโดย ไม่ได้บอกว่ามันหมายถึงอะไรตรง ๆ แต่คนที่ฟังก็จะเข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร ทางภาษาศาสตร์จะเรียกวิธีพูดแบบนี้ว่า "Metonymy" หรือ นามนัย (換喩) ค่ะ วิธีการนี้ค่อนข้างจะคล้ายกับการใช้สัญลักษณ์ หรืออุปมาอุปไมยที่เพื่อน ๆ น่าจะคุ้นเคยกันดี แต่จะต่างออกไปนิดหน่อยค่ะ
"Metonymy involves using one word as a stand-in for a related word or concept."
Metonymy เป็นกลวิธีหนึ่งในการใช้ลีลาโวหาร ใช้คำโดยนำเพียงแค่บางส่วนหรือจุดเด่นของสิ่งนั้นมาใช้เรียกแทนภาพรวมทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงให้ไม่ตรงหรือเตะตาจนเกินไป ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยเพิ่มความสุภาพมากขึ้น ไปจนถึงเพิ่มอรรถรสในการคุยด้วยค่ะ
ยกตัวอย่างคำง่ายๆ อย่างเช่น
- "ขอไปห้องน้ำก่อนนะ" (จริง ๆ ไม่ได้แค่ไปห้องน้ำเฉย ๆ แต่ไปทำอย่างอื่นด้วยใช่มั้ยคะ)
- "ไปกินหม้อไฟกันไหม?" (กินอาหารที่ปรุงด้วยหม้อไฟต่างหาก)
- อ่านหนังสือ (อ่านตัวอักษรต่างหากละ)
หรือใช้ส่วนหนึ่งของร่างกายสื่อความก็ได้ด้วยนะ!
- Can you give me a hand carrying this box up the stairs? (ขอความช่วยเหลือ)
แผนภาพอธิบาย Metonymy : เมืองผู้ดีประเทศอังกฤษ สื่อถึง เมืองลอนดอน ในวงการเม้าท์มอยเองก็มักจะได้ยินคำแบบนามนัยอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงใครที่ไม่อยากเจาะจงชื่อมากเกินไป ก็จะเรียกเป็นฉายา หรือลักษณะเฉพาะตัว เช่น
- มหาวิทยาลัยแถวสามย่าน (นึกออกไหมคะว่าที่ไหน 55555)
- หนูน้อยหมวกแดง (ไม่ได้บอกชื่อ แต่รู้เลยใช่ไหมคะว่าเป็นหนูน้อยคนไหน)
- Hollywood (to refer to the film industry)
คำลักษณะนี้ยังรวมไปถึงคำแทนสิ่งของที่เราใช้จนติดปากกันจนเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้วด้วย เช่น มาม่า (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) , แฟ้บ (ผงซักฟอก) , โกเต๊ก (ผ้าอนามัย อันนี้ยังทันกันไหมคะ5555) ซึ่งชื่อแบรนด์เหล่านี้ได้กลายมาเป็นเป็นตัวแทนของภาพรวมสิ่งนั้นทั้งหมด และเป็นภาพจำของคนในสังคมนั่นเองค่ะ
? >───⇌• : ? : •⇋───< ?
เป็นอย่างไรบ้างคะกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในบล็อกครั้งนี้ นอกจากจะได้รู้จักเจ้าโบ้และโปจิของญี่ปุ่นในมุมมองใหม่ ๆ แล้ว เรายังได้รู้ว่าในชีวิตประจำวันของเราเองมีคำแบบนามนัยแฝงอยู่มากมาย จนบางทีเราไม่รู้ัต้วเลยว่าเผลอใช้ไป แถมจริง ๆ แล้ว Metonymy มีอยู่ในทุกภาษาทั่วโลกเลย ดังนั้นหากเพื่อนๆกำลังเรียนภาษาต่างประเทศอยู่ การเรียนรู้คำประเภทนี้ของเขา ก็จะช่วยให้เราใช้ภาษาได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีอรรถรสมากขึ้น ด้วยนั่นเอง ! อย่าลืมลองไปใช้กันดูนะคะ แล้วไว้เจอกันใหม่บล็อกหน้าค่ะ
จากกันไปด้วยมีมน้องโบ้ ? ฝันดีค่ะ Zzzzzzz
อ้างอิง
ไทย
https://www.innnews.co.th/lifestyle/news_86971/
https://www.blockdit.com/posts/603327423f6a490bf429f644
ญี่ปุ่น
https://www.lettuceclub.net/news/article/219424/
https://ddnavi.com/news/205513/a/
https://www.excite.co.jp/news/article/Curazy_66732/
https://zatsuneta.com/archives/006960.html
https://psnews.jp/dog/p/25550/
อังกฤษ
https://examples.yourdictionary.com/examples-of-metonymy.html
https://smartblogger.com/metonymy-examples/
ภาพ
ปก : https://unsplash.com/photos/9JuzOoPcuHI
WHOLE FOR PART FOR WHOLE metonymy : https://www.researchgate.net/figure/WHOLE-FOR-PART-FOR-WHOLE-metonymy_fig13_287993124
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in