1. อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น (Phantom vibration syndrome)
วิจัยเผยว่ากว่า 90% ของคนเล่นมือถือมักจะเคยจะเป็นกัน บ่อยครั้งเวลาที่นั่งเหม่อลอยอยู่เฉยๆ บ้างก็กำลังนอนพักผ่อนอยู่หู่ก็ได้ยินเสียงแจ้งเตือนแว่วๆจากแอพพลิเคชั่นต่างๆในโทรศัพท์ แต่พอหยิบขึ้นมาดูก็พบว่าไม่มีอะไรซะงั้น อาการแบบนี้ไม่ใช่กลุ่มของอาการโรคทางจิตเวชแต่เป็นการหลอนของประสาทสัมผัสที่สมองรับรู้ถึงความรู้สึกที่ไม่มีอยู่จริงเท่านั้น สาเหตุอาจเกิดจากการใช้โทรศัพท์มากเกินไป ไม่ได้เป็นอาการร้ายแรงอะไรมากแค่อาจทำให้เสียสมาธิในการทำกิจวัตรประจำวันบ้างเป็นบ้างคราว
2. อาการกลัวผี (Phasmophobia)
อาการนี้ไม่ใช่การกลัวแบบธรรมดาๆฟีลดูหนังสยองขวัญเลือดสาดหรือไปฟังเรื่องเล่าน่าขนลุกมาแล้วเก็บไปหลอนเอง แต่เป็นอาการที่กลัวจนขึ้นสมองแล้วมักจะชอบกลัวอะไรที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก ยกตัวอย่างเช่น หวาดระแวงเงาต้นไม้ กลัวการเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน นอนคนเดียวไม่ได้ต้องเปิดไฟนอนตลอด เป็นต้น บางครั้งคนรอบข้างอาจจะมองว่ามันเยอะเกินไปรึเปล่า แต่อาการแบบนี้มักจะเกิดจากความทรงจำที่ไม่ดีนักหรือแผลใจในอดีตเช่น เคยเจอกับการแกล้งหลอกผีของเพื่อนๆหรือพ่อแม่ตอนสมัยเด็กจึงทำให้มีปมในใจก็เป็นได้
3. เดจาวู ( Déjà vu)
เดจาวู เป็นคำที่ใช้เรียกเหตุการณ์ที่คล้ายกับว่าเคยเกิดขึ้นมาก่อน เคยพบเจอกับสถานการณ์นี้มาแล้วแต่ความจริงเพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เรามักพบอาการเดจาวูได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่มากจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-25 ปี พออายุมากขึ้นก็ไม่ค่อยเป็นกันแล้ว บ้างก็เชื่อกันว่าเป็นการระลึกอดีตชาติหรือบางที่ก็กล่าวว่าเป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ในอนาคตนั่นเอง ปัจจุบันเรื่องเดจาวูก็ยังเป็นปริศนาที่ยังหาคำอธิบายไม่ได้ทั้งหมดมาจนทุกวันนี้แม้จะมีการศึกษาอยู่บ่อยครั้งก็ตาม
4. อาการของคนไม่เก่งแต่ชอบอวดฉลาด (Dunning–Kruger effect)
ทฤษฎีนี้ถูกค้นพบโดย จัสติน ครูเกอร์ (Justin Kruger) และเดวิน อลัน ดันนิง (David Alan Dunning)สองนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนล จนกลายเป็นที่แพร่หลายในวงกว้างครั้งแรกในปีค.ศ 1999 เป็นลักษณะอาการของคนที่มีความมั่นใจจนเกินขนาด เชื่อมั่นอย่างสนิทใจสุดๆว่าตนนั้นเป็นผู้รู้จริง รู้ไปหมด แม้ว่าข้อเท็จจริงจะปรากฎออกมาเป็นแบบใดก็ยังไม่ยอมรับจนวินาทีสุดท้ายมักจะหลับหูหลับตาเชื่อต่อไปแบบนั้น เรียกง่ายๆว่ามีทั้งอคติและอีโก้อยู่เต็มร้อย บางครั้งก็มักจะชอบหลุดพูดอะไรโง่ๆออกมาเพื่ออวดอ้างประสบการณ์ความรู้อันน้อยนิดของตนที่บ้างทีก็ไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน อาศัยการฟังต่อๆมาจากคนอื่นเท่านั้น ขาดการใช้วิจารณญาณ
5. อาการตกหลุมรักเร็ว (Emophilia)
อาการตกหลุมรักรวดเร็วปานสายไฟแลบ ชนิดที่เจอหน้าแวบแรกปุ๊บก็บังเกิดเป็นความรักปั๊บ เรามักจะเห็นได้บ่อยๆในเทพนิยายหรือการ์ตูนดิสนีย์ยุคคลาสสิกกันใช่มั้ยล่ะคะ แบบบอกรักกันแต่เดตแรกเลย (จะเร็วเกินไปมุ้ยยยย><) ซึ่งจริงๆมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไรหรอก แต่การที่จู่ๆก็กระโจนเข้าไปในความสัมพันธ์โดยที่ไม่คิดศึกษาดูใจกันก่อนในระยะยาวอาจก่อให้เกิดสัญญาณอันตรายสามประการที่เป็นพิษกับความสัมพันธ์เรียกว่า Dark Triad ได้แก่ 1) บังคับฝืนใจโดยกดดันคู่ของตนให้เป็นหรือทำในแบบที่ตนต้องการทุกอย่าง 2) หลงผิดชอบคิดว่าโลกหมุนรอบตัวเอง 3) ขาดความเห็นอกเห็นใจผู้อิ่นโดยสิ้นเชิง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in