เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Vantage PointTeepagorn W.
On Meta-analyzing The Face
  • วันก่อนคุยกับพี่คนหนึ่งว่าคุณสามารถดู The Face ได้ 4-5 ระดับ ถ้ามองสิ่งที่ The Face ทำกับสังคมแล้ว มันถือเป็นนวัตกรรมอย่างยิ่ง เพราะ The Face เป็น Meta-meta show ที่พอซ้อนการเล่นกับสังคมในโซเชียลเข้าไปอีกก็ยิ่งสนุก
    .
    คุณสามารถดู The Face ได้ในระดับต่อไปนี้
    1. ระดับที่ดูแล้วเชื่อว่าทุกอย่างบนจอเป็นความจริง
    2. ระดับที่ดูแล้วเชื่อว่าทุกอย่างบนจอเป็นสคริป
    3. ระดับที่ดูแล้วเชื่อว่าเมนเทอร์และทุกคนบนจอ aware ว่าทุกอย่างเป็นสคริป
    4. ระดับที่ดูแล้วเชื่อว่าเมนเทอร์และทุกคนบนจอ aware ว่าทุกอย่างเป็นสคริป และก็รู้ว่าคนดู aware ด้วย แต่ก็เล่นไปตามสคริป
    5. ระดับที่ดูแล้วเชื่อว่าเมนเทอร์และทุกคนบนจอ aware ว่าทุกอย่างเป็นสคริป และก็รู้ว่าคนดู aware ด้วย แต่ทุกคนเล่นบนเส้นแบ่งของความ aware ตรงนั้น ซึ่งความจริงกับความลวง bleed เข้าหากันอย่างช่วยไม่ได้
    6. ระดับที่ดูแล้วมองที่คนตัดต่อพอๆ กับคนที่อยู่บนหน้าจอ ว่าถึงแม้จะ aware หรือไม่ aware จะ bleed หรือไม่ bleed คนนี้ก็เป็นคนที่ควบคุม narrative ทั้งหมด และมองในระดับว่า "เรื่องราวนี้จะพาไปสู่อะไร"
    7. ระดับที่ดูคนดู ในระดับที่ 1-6 ที่มองความจริงต่างระดับกันแล้วปฏิสัมพันธ์กันด้วยลักษณะการดูที่ไม่เหมือนกัน
    .
    ซึ่งแน่นอนว่าเวลาดู คนดูจะไม่ฟิกซ์อยู่กับระดับใดระดับหนึ่ง แต่จะเลื่อนระดับขึ้นๆ ลงๆ ตามสิ่งที่ปรากฏบนหน้าจอ
    .
    ทีนี้ก็น่าสนใจเข้าไปอีกว่าในบางจังหวะ เมนเทอร์แต่ละคน aware การเป็นสคริปในระดับไหน อย่างเช่นเมนเทอร์บี ก็พยายามแสดงออกออกมาตลอดเวลา ด้วยการเล่นใหญ่กว่าเล่นใหญ่ (หมายถึง เล่นว่าเล่นใหญ่) และก็ยังพูดออกกล้องด้วยว่า "ตัวเองเล่นใหญ่ขนาดนี้" ดังนั้นคิดว่า บีก็น่าจะ aware ในระดับที่ 3-4 คือก็รู้แหละว่าทุกคนรู้ แต่ฉันก็จะเล่นให้ดีที่สุดในระดับนี้
    .
    ส่วนมาช่านี่มองไม่ออก ด้วยความน้อยจนถึงปัจจุบัน และการพยายามถอดตัวเองออกจากระบบ (เช่น บอกว่า อายุ 30 กันแล้วนะ ทำไมเล่นใหญ่กันจัง คือเป็นการถอดตัวเองออกจากผู้เล่นไปอยู่ในฐานะผู้สังเกตการณ์) ก็น่าสงสัยว่ามาช่าอาจจะเป็นจริงไปเลย (เป็นตัวเอง) (ระดับ 1) แต่มองว่าคนอื่นเป็นระดับ 2-3 หรือไม่อย่างนั้น มาช่าก็อาจจะเล่นในระดับที่สูงมากๆ (ระดับ 5-6) (หรือไม่อย่างนั้นก็อาจจะเมาฮอร์โมนก็ได้ ฮา)
    .
    การเพิ่มตัวละครเช่นกรรมการ (ป้าตือ เจนนี่ คุณซัมซุง คุณเมบีลีนอะไรต่างๆ) เข้าไป โดยที่เมนเทอร์สามารถที่จะแสดงอารมณ์สาดใส่กรรมการบางคนได้นี่ก็ตอกย้ำความเป็นละครเข้าไปได้อีก รวมไปถึงการมีอยู่ของคุณเต้ด้วย ที่ถึงไม่เห็น แต่ก็แสดงออกชัดเจนว่าอยู่ตรงนั้นตลอดเวลา (ตอนนี้แสดงออกมาด้วยการเดินเข้าออกเซตบ้างในตอนแรก และถึงขนาด materialize ตัวเองมาอยู่ในรายการ มาเป็นนางแบบในตอนที่สอง)
    .
    ทีมงานต่างๆ ก็ไม่เว้นจากการอยู่ในการเล่าเรื่องด้วยเช่นกัน อย่างเช่น เมื่อมีปัญหาเรื่องรองเท้า (หลวมเกินไป) ในแอคเคานท์ The Face ก็ทวีตคำชี้แจงจากทีมงานออกมา เป็นวิดีโอทีมงานใส่รองเท้าและเดินให้ดู และพูดด้วยว่า "รองเท้ามีปัญหาหรือมีปัญหาที่คน" - ทุกคนจึงเป็นตัวละครที่มีบทบาทไปหมด ไม่เว้นแม้แต่คนหลังฉากอย่างฝั่งคอสตูม
    .
    ถ้าไปดูคอมเมนต์ในเพจเดอะเฟซด้วยจะยิ่งงง เช่น จะมีคอมเมนต์ที่ aware ว่าทุกอย่างเป็นสคริปแต่ก็ทิ้งความรู้ตัวนั้นไป ด้วยเหตุผลว่า "กูรู้แต่กูจะอิน ใครจะทำไม" แล้วก็ด่าทุกคนที่ด่า mentor ของตัวเอง ก็น่าสนใจว่าการด่านั้น มาจากการ "เล่นเป็นทีมของโค้ช" ให้สมบทบาท หรือเป็นการด่าที่ออกมาจากอารมณ์จริงๆ กันแน่ คือน่าตั้งคำถามว่า คนดูเล่นในระดับไหนด้วย
    .
    ถ้าเอาจริงๆ The Face นี่จะซับซ้อนกว่าซีรีส์ที่รักอย่าง Westworld เสียอีกเพราะมันเป็นการเล่นกับความจริง-ความลวงในแบบที่ซ้อนเข้าหากันมากกว่าการแบ่งเป็นสองขั้วของ Westworld และยังวางตัวละครที่ตื่นรู้ (ต่อการมีสคริปต์) ไว้ด้วยกันในหลายชั้น เช่น จะเห็นได้ว่า ผู้เข้าแข่งขันบางคน รู้ว่านี่คือสคริปต์ (กลั้นยิ้มตอนเมนเทอร์ทะเลาะกัน) แต่ก็ต้องออกมาให้สัมภาษณ์ว่านั่นคือเรื่องจริง เป็นต้น
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Beaunt (@beaunt_chris_th)
ได้ดูแล้วรู้สึกเลยว่า โลกมายานั้นอยู่อยาก ?