เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Vantage PointTeepagorn W.
On Writing Fast and Slow
  • เขียนหนังสือเร็วหรือช้าดีกว่ากันไหม

    เกิดความสงสัยขึ้นมาว่าเวลาที่ใช้เขียนหนังสือ (เช่น ห้าวัน สัปดาห์หนึ่ง สองเดือน หรือหนึ่งปี) นั้นส่งผล (หรืออย่างน้อยก็มีแนวโน้ม, correlate) ต่อคุณภาพหนังสือไหม เพราะเรามักมีสมมติฐานกันว่า หากหนังสือใช้เวลาเขียนมาก ก็มักจะดี (ซึ่งไม่น่าจะจริงเสมอไป)

    ก็เลยไปหามา พบหลายอย่างน่าสนใจดี

    - เดือนพฤศจิกายนจะเป็น National Novel Writing Month (1-30 พฤศจิกายน) สามารถเข้าร่วมได้ผ่านเว็บไซต์ http://nanowrimo.org โดยเขาตั้งขึ้นมาเพื่อให้คนเลิกผัดวันประกันพรุ่งแล้วเขียนหนังสือ (นิยาย) เสียทีนั่นแหละ โดยมีข้อกำหนดว่าอย่างน้อยจะต้องเขียน 50,000 คำ ภายในสามสิบวัน ในเว็บไซต์ก็จะมีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้การเขียนราบรื่นหรือสนุกขึ้น เช่น มี Badge ให้เรา เมื่อเราเขียนได้ถึงจำนวนคำที่กำหนดไว้

    - หนังสือบางเล่มถูกเขียนขึ้นมาในเวลาสั้นอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น The Boy In The Stripped Pyjamas เขียนขึ้นมาในเวลาสองวันครึ่ง (โอ้แม่เจ้า) คือคนเขียน John Boyne นี่ยอมอดหลับอดนอน และอดข้าวไปสองวันครึ่งเพื่อเขียนอย่างเดียวเลย โหดมาก

    - Study in Scarlet (ตอนต้นของเชอร์ล็อคโฮล์มส์) เขียนขึ้นมาในระยะเวลาสามสัปดาห์

    - แต่พวกนี้มันอาจจะเป็นแค่ข้อยกเว้นก็ได้ เรื่องเขียนเร็วแล้วดีหรือเขียนช้าแล้วดีนั้นก็ไม่มีการศึกษาไว้อย่างวิทยาสาสตร์ (คืออย่างน้อยถ้า define เช่นว่า ดี คือ รายได้จากหนังสือเล่มนั้น หรือจำนวนรางวัล สมมตินะ - ก็ยังจะพอมีหลักมีเกณฑ์มาพล็อตกราฟได้ แต่นี่ไม่มีเลย)

    - จากการค้นๆ ก็พบว่าบางเว็บไซต์ก็แนะนำให้เขียนเร็วๆ เพื่อจะได้ปลดทุกอย่างออกจากหัว บางเว็บก็ให้เขียนช้าๆ เหมือนก่ออิฐสร้างบ้าน ซึ่งก็นั่นแหละ สรุปว่าแล้วแต่คน และนอกจากนั้นคือยังแล้วแต่ว่าอยู่ขั้นตอนไหนของกระบวนการด้วย (เช่ดราฟท์แรกอาจจะเร็วได้)

    - ส่วนตัวเป็นคนเขียนหนังสือเร็วเมื่อคิดว่าเป็นคอลัมน์ ช้าเมื่อคิดว่าเป็นหนังสือ ถ้าคิดไม่จบ ยังไงๆ ก็ทำช้า ถ้าคิดจบ แป๊บเดียวก็เสร็จ

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in