เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Vantage PointTeepagorn W.
On Anti-smoking Campaign
  • วันนี้เห็นคนแชร์เรื่องแคมเปญไม่สูบบุหรี่ (ไม่รู้ของใคร? สสส.?) เยอะเลย ส่วนใหญ่ดูจะทาร์เก็ตไปที่เด็กๆ เช่นว่าให้เพจคิ้วท์บอย รวมน้องๆ เด็กผู้ชายมาบอกว่าผู้หญิงสูบบุหรี่ไม่น่ารัก และให้ไอดอล(?) นักศึกษาสาวคนหนึ่งมาพูดประมาณว่า "ไปสูบไกลๆ กู" อะไรทำนองนี้

    เราไม่ใช่คนสูบบุหรี่ แต่ก็ขัดใจกับการกดคนสูบบุหรี่ให้ต่ำพอสมควร และสังเกตว่าแคมเปญเหล้า, บุหรี่, อ้วน, หวย ฯลฯ ของบางหน่วยงาน (ยังไม่รู้ว่า สสส. ทำหรือเปล่า ดังนั้นจะไม่สรุปลงไป) ชอบกดและกันคนที่ 'ทำ' เรื่องอย่างนั้น ให้กลายเป็นพลเมืองชั้นสอง ซึ่งวิธีการ shame แบบนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ไม่ได้ผล เพราะหลายครั้งมันก็สร้างวาทกรรมขึ้นมาให้สนุกปาก (เช่น จน เครียด กินเหล้า) และติดอยู่ในกระแสสังคมไปได้ แต่ก็น่าสนใจว่ามีการวัดอย่างเป็นระบบไหมว่าถ้าได้ผลมันได้ผลแค่ไหน (มันพิสูจน์ได้ไหมว่าแคมเปญนี้ทำให้คนสูบบุหรี่ลดลง xxx %? หรือพิสูจน์ได้แค่การทดลอง วัดผลในกลุ่มประชากรควบคุมซึ่งไม่ได้ไปตามวัดในโลกจริง?)

    จริงๆ งานที่เขาทำในเชิงสร้างสรรค์ก็มีเยอะแหละ เช่น บอกให้ออกกำลังกายง่ายๆ หรือว่าให้เดินแทนนั่งรถบ้าง แต่ว่าเราก็มักจะเห็นแคมเปญแหลมๆ แบบตีหัวเข้าบ้าน "ด่ากูสิด่ากู" แบบนี้เสมอๆ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการสร้างสุขภาวะด้วยการสร้างทุกขภาวะแบบนี้มันเหมาะสมไหม

    ปล. ที่น่าสนใจคือในเพจคิ้วท์บอย ทุกคนบอกว่าผู้หญิงสูบบุหรี่ไม่น่ารัก แต่ไม่มีใครพูดว่า "ผู้ชายสูบบุหรี่ไม่น่ารัก" เลย นั่นคือการทาร์เก็ตไปที่คนที่เป็น heterosexual อย่างเดียวใช่ไหม? เพราะอะไร?

    ปล2. (อีดิต เห็นคนแชร์ไปถามว่า "แล้วถ้าไปสูบให้คนอื่นได้กลิ่นล่ะครับ" แล้วไปคอมเมนต์ตอบเขาไม่ได้) นั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง คือประเด็นของมารยาทในการอยู่อาศัยร่วมกันนะครับ การรบกวนผัสสะของคนอื่น เช่น เปิดเพลงดังมากๆ ในรถไฟฟ้าก็น่ารำคาญเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเป็น "กลิ่น"

    ปล3. Siripannee Noina Supratya มาให้ความรู้ว่ามีมาตรวัดอยู่ แต่ไม่รู้ว่าใช้ไหม เดี๋ยวไปหาข้อมูลเพิ่มเติมมาอ่านก่อน

    ปล4. มีผู้ตั้งข้อสังเกต (ซึ่งไม่แน่ใจว่าจริงไหม) ว่า อันที่น้องผู้หญิงทำ "น่าจะทำเล่นๆ ไม่ใช่ของแคมเปญ" อันนี้ไม่ทราบนะครับ
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in