เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Vantage PointTeepagorn W.
On Facebook Political Stance (2)

  • เรื่องเฟซบุ๊กกับความยุติธรรมในการนำเสนอข่าวยังเป็นประเด็นอยู่ในช่วงสองสามวันที่ผ่านมานี้ มีประเด็นใหม่ๆ จากสองสื่อใหญ่มาให้คิดกันต่อ

    ต้นเรื่องคือมีข่าวจาก Guardian และ Gizmodo บอกว่ามีอดีตพนง.เฟซบุ๊ก ออกมาเปิดโปงว่าโมดูล Trending บนหน้า Newsfeed นั้นถูกอีดิตด้วยคน (ไม่ใช่อัลกอริธึม) และมีการฉีดข่าวที่เอาใจ Liberal ในขณะที่ก็กดข่าวของ Conservative จึงเกิดเป็นข่าวอื้อฉาวออกมาว่าเฟซบุ๊กไม่แฟร์

    สื่อแรกคือ The Atlantic จั่วหัวว่า "เฟซบุ๊กไม่จำเป็นต้องยุติธรรม และคนร่างกฎหมายก็รู้ตัวดี" บทความนี้ไปโจมตีตัว John Thune ซึ่งเป็น สส. รีพับลิกัน คุณ Thune นี่เขียนจดหมายเปิดผนึกออกมาโจมตีเฟซบุ๊กว่า ที่เฟซบุ๊กบอกว่าตัวเองเป็น "แพลตฟอรมสำหรับประชาชน และมุมมองทั้งหลายบนสเปกตรัมทางการเมือง" นั้นเป็นคำโกหก (misleading)

    ซึ่งบทความ Atlantic ก็บอกว่า จริงๆ แล้วเป็นตาคุณ Thune เองต่างหากที่ตีความไปเองเพราะการที่เฟซบุ๊กบอกว่าเป็นแพลตฟอร์มของมุมมองทั้งหลายบนสเปกตรัมทางการเมือง "ก็ไม่จำเป็นว่าต้องให้พื้นที่เท่ากันเสียหน่อย" และบทความนี้ยังขุดประวัติของ Thune ออกมาด้วยว่าเดิมเองตัวเองก็เป็นคนที่ต่อต้านการ Regulate สื่อให้มีความยุติธรรมในการนำเสนอข่าว (หมายถึงว่าให้เสนอข่าวอย่างสมดุล) ในปี 2011 ด้วย โดยเขาบอกว่าการ Regulate ข่าวแบบนี้ก็จะนำไปสู่อนาคตแบบ 1984 นั่นเอง (Orwellian)

    บทความเดียวกันยังบอกว่ามาร์ก ซักเกอร์เบิร์กได้ตรวจสอบแล้วยังไม่พบหลักฐานการกดข่าว Conservative ใดๆ ด้วย

    จริงๆ เราก็ไม่ได้เห็นด้วยกับ Atlantic มาก รู้สึกเหมือนบทความนี้เป็นการสกัดข้อกล่าวหาของ John Thune ด้วยการขุดประวัติ + เอาข้อความในจดหมายเปิดผนึกมาหาจุดอ่อนแล้วขยายความเฉยๆ แต่อาจจะยังไม่ได้โฟกัสไปที่รากฐานของปัญหามาก เฟซบุ๊กไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เพราะมันเป็นสื่อ มันมี Free Speech เหมือนกับสื่อแบบดั้งเดิมเช่นหนังสือพิมพ์ แต่สำหรับเรา นี่เป็น Free Speech ในระดับที่ซับซ้อนขึ้น เพราะมันคือ Freedom to give free speech (or suppress free speech ของคนอื่น) เพราะเฟซบุ๊กไม่ได้เป็น Publication แต่มีลักษณะเป็น Platform ด้วย (ซึ่งกฎหมายก้าวไปไม่ถึง)

    ส่วนอีกบทความจาก Time ไปโฟกัสที่ตัวมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก จั่วหัวว่าเป็น "รัฐบุรุษ - Stateman ที่อายุน้อยที่สุด" และประเด็นของบทความนี้ก็คือว่า มาร์กชักจะใช้ภาษาเหมือนกับนักการเมืองเข้าไปทุกทีๆ (คือไม่ได้มีความ apolitical หรือไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมืองแล้ว)

    ถึงแม้มาร์กจะไม่ได้พูดตรงๆ (เช่น ไม่ได้พูดว่าไม่สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์) แต่ในการบรรยายหลายครั้ง มาร์กก็ใช้คำที่อาจทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ ในตัวอย่างยกคำเปรียบเทียบตอนหนึ่งมาว่า "Instead of building walls, we can help people build bridges" ซึ่งอาจอ่านได้ความว่าเป็นการต่อต้านแนวคิดของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะสร้างกำแพงกั้นชาวเม็กซิกัน

    การยุ่งเกี่ยวทางการเมือง (ถึงแม้จะเป็นปริมาณบางๆ) นี้ อาจสร้างความกังวลให้กับผู้ใช้เฟซบุ๊กได้ว่าสิ่งที่ตัวเองใช้อยู่มี bias หรือเปล่า ในบทความยกตัวอย่างว่า อย่างเช่นโมดูล Trending ที่เป็นข่าวนั้น ถ้าเป็นการภัณฑารักษ์ แทนที่จะเป็นการใช้อัลกอริธึมเพื่อเลือกสรรเรื่อง (Curated instead of Algorithmed - วลีนี้สรุปได้ดีมาก) ก็ไม่แปลกที่เขาจะเลือกเรื่องที่สนับสนุนแนวคิดทางการเมืองของเฟซบุ๊กมากกว่า

    เราคิดว่า แท้จริงแล้วไม่ว่าอะไรก็ตามมันก็ไม่มีความเป็น apolitical อย่างสมบูรณ์หรอก ดังนั้นก็ค่อนข้างคิดว่าเฟซบุ๊กจะทำอะไรก็ทำไป แต่สิ่งที่สำคัญอาจเป็นการมี Algorithmic Transparency คือเฟซบุ๊กอาจจะควรบอกได้ว่า "ทำไม" จึงเลือกเรื่องนี้ขึ้นมาให้เห็น หรือบอกได้ว่าเรื่องที่เลือกมานี้อาจมี bias ของเฟซบุ๊กเอง คือไม่ควรจะแสดงราวกับว่านั่นเป็นเรื่องที่เลือกขึ้นมาด้วยโปรแกรมล้วนๆ แต่ควรจะบอก (Disclose) กับคนใช้ด้วย ว่าอะไรเป็นอะไร แล้วมันจะดีขึ้นมาก

    http://time.com/4328839/mark-zuckerberg-speech/?xid=newsletter-brief
    http://www.theatlantic.com/technology/archive/2016/05/facebook-isnt-fair/482610/?utm_source=atltw
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in