เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Vantage PointTeepagorn W.
On The Crash of Gig Economy and Old Structure
  • นศ. เรียกวินจากแอพพลิเคชั่น แต่วินเจ้าประจำไม่ยอม จึงถกเถียงกัน วินเจ้าประจำยังบิดกุญแจวินแอพพลิเคชั่นออกด้วย โดยบอกว่า วินแอพพลิเคชั่น จะมาฉุดราคาวินหน้าหอพัก

    ที่ผ่านมาก็มีปัญหาแบบนี้มากอยู่แล้ว เป็นการจับคู่ฟัดกันระหว่างบริษัท On Demand แบบใหม่ (อย่าเรียกว่า Sharing Economy, ถ้าจะเรียกให้เรียกว่า Gig Economy) ที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่สภาพทางภูมิศาสตร์ กับผู้ประกอบการเดิมที่อยู่ในระบบบ้าง หรือผู้คุมกฎ อย่างเช่นรัฐหรือองค์กรต่างๆ บ้าง เช่นกรณีคนขับแท็กซี่ที่ปารีส (สไตรค์ประท้วง) AirBnB ในนิวยอร์ก (ถูกพ่นโปสเตอร์โฆษณาด้วยข้อความด่าทอและเล่นงานทางกฎหมาย) แต่กรณีนี้นอกจากแสดงให้เห็นการจับคู่ฟัดกันอย่างปกติแล้ว ยังทำให้เห็นวิธีการต่อสู้ที่แตกต่างกันด้วย โดยวินเจ้าประจำ ใช้ความรุนแรงทางตรง คือการบิดกุญแจออก ในขณะที่นักศึกษาก็ใช้อำนาจที่อยู่ในโทรศัพท์เพื่อหวังว่าสังคมจะลงโทษวินมอเตอร์ไซค์เจ้าประจำในทางอ้อมและเข้าข้างตน

    จริงๆ นี่ก็เป็นการต่อสู้ระหว่างคนที่พยายามรักษาพื้นที่และสถานะของตัวเองไว้ กับคนที่พยายามเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ในมิติใหม่ ที่ส่งผลต่อพื้นที่แบบเดิมนั่นแหละ

    พยายามต่อสู้กับตัวเองให้ไม่เข้าข้างนักศึกษามากไปนัก (เพราะว่าการบิดกุญแจออกนั้นพาจะชักชวนให้เราเห็นว่าวินเจ้าเดิมเป็นคนป่าเถื่อน) ก็พอจะเห็นใจวิน (แต่ไม่เห็นใจในการกระทำ) ได้บ้าง ว่าวินคงรู้สึกว่าวิถีชีวิตของตัวเองถูก Disrupt ด้วยอำนาจที่มองไม่เห็น ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมัน มันจับต้องไม่ได้ (เพราะมันเป็นบริการที่เชื่อมโยงวินอิสระเข้าด้วยกันเฉยๆ) ทำให้สิ่งที่เขาลงทุน (เสื้อวิน) ถูดลดทอนค่าลง เพราะปัจจุบัน ไม่ต้องมีเสื้อวิน แค่ยอม 'เข้าระบบอีกแบบ' ก็ทำอาชีพนี้ได้พอๆ กัน และทำได้โดยที่ (เขาเห็นว่า) ไม่ต้องต่อสู้กับสิ่งที่เขาเผชิญ (อาจจะเช่น เจ้าของวิน หรือตำรวจ) ด้วย

    เราคิดว่าแนวคิดของ Startup มักเป็นอย่างนี้ นั่นคือเน้นการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disrupt) มักทำให้เกิดรอยต่อรุนแรง ไม่เป็นการเปลี่ยนอย่างช้าๆ จนทำให้คนที่อยู่ในระบบเก่ามีเวลาได้ปรับตัว การเกิดรอยต่อรุนแรงก็มักนำมาซึ่งความรุนแรงตามไปด้วย

    เคยมีผู้วิจารณ์แนวคิดของ Silicon Valley ว่าเป็นแนวคิดแบบ Solutionism (แปลว่าเน้นผลสำเร็จ) ซึ่งพอฟังๆ ดู เน้นผลสำเร็จก็ไม่เห็นจะไม่ดีตรงไหนใช่ไหมครับ แต่เขาบอกว่า Solutionism นั้นมักเน้นผลสำเร็จโดยที่มองโลกคล้ายกับห้องทดลอง คือจำกัดปัจจัยต่างๆ ให้เหลือเฉพาะที่ตนเองสนใจเท่านั้น โดยอาจไม่ได้ใส่ใจการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ลึกกว่า เช่น หากต้องการเปลี่ยนแปลงระบบขนส่ง (เช่นวินเรียกได้) ก็อาจมองเพียงแค่ วินในระบบของตัวเอง ลูกค้า ระบบการเชื่อมต่อที่เรียกวินได้ Logistic และกฎกติกาต่างๆ (ในระบบ) แต่อาจไม่ได้รวมไปถึงวิน (เดิม) กฎหมาย (อาจมองถ้าเล็งเห็นว่าจะมีปัญหา) หรือการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในระยะยาว
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in