เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
แว่นขยายเพลง k-popryeomook
วิเคราะห์ดนตรี เพลง NCT DREAM - Hello Future
  • สู่โลกแห่งอนาคต

    และแล้วบทเพลงที่หลายคนต่างรอคอยก็ถูกปล่อยออกมาแบบเต็ม ๆ ต้องบอกเลยว่าตัวผู้เขียนนั้นคาดหวังไว้สูงมากจากการได้ฟังตัวอย่างสั้น ๆ แต่ก็น่าเหลือเชื่อไปอีกที่เพลงนี้สามารถพาผู้ฟังไปไกล beyond กว่าที่จะสามารถจินตนาการได้ ดนตรีเต็มไปด้วยความหลากหลาย น่าสนใจตั้งแต่วินาทีแรกกระทั่งจบโน้ตตัวสุดท้าย เรียกได้ว่าเป็นการพาทุกคนไปสัมผัสกับประสบการณ์การฟังเพลงยังโลกอนาคตโดยที่ยังคงไม่ทิ้งความเป็น NCT Dream ที่สนุกสนาน สดใส และสร้างกำลังใจให้กับผู้ได้ฟัง จึงขอใช้พื้นที่นี้ในการแจกแจงแยกองค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ในเพลง Hello Future ให้ได้ลองอ่านกัน



    (อย่าลืมเปิดเพลงฟังควบคู่ไปด้วยนะ)


    Composed by Kenzie, Adrian McKinnon & Moonshine
    Arranged by Moonshine
    Lyric by Kenzie


    C# Major - 85 (170?) BPM


    • เริ่มต้นมาด้วย Synthesizer เสียงสังเคราะห์แบบเต็มรูปแบบและมีความหลากหลายมาก มีทั้งเสียงที่อยู่ในช่วงเสียงต่ำที่ทำหน้าที่เป็นเบสเล่นเน้นย้ำอยู่ที่ตัว C# ซึ่งเป็นโน้ตหลักของเพลงนี้ แล้วก็เสียงที่อยู่ในช่วงเสียงสูงกว่าซึ่งมีการเคลื่นตัวสไลด์เปลี่ยนโน้ตอยู่ตลอด แต่โดยส่วนมากจะเป็นโน้ตที่กัดกันกับแนวเบส

    • แม้ว่าเสียงที่ออกมาส่วนใหญ่จะค่อนข้างเสียดแทงและรุนแรง โดยเฉพาะจังหวะแรกที่กระแทกเข้ามาแต่กลับไม่ได้รู้สึกว่ามันฟังยากเลย เนื่องจากมีแนวแร็พที่เริ่มร้องเข้ามาทำให้หูของคนฟังถูกเบนความสนใจไป แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเสียงสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายกับสัญญาณของอะไรบางอย่าง หากเคยดูภาพยนตร์ที่มีมนุษย์ต่างดาวก็อาจจะมองว่าเป็นเสียงสัญญาณที่ใช้สื่อสารกับเอเลี่ยนอะไรแบบนั้น เรียกได้ว่าเป็นการใช้ช่วง intro ได้อย่างคุ้มค่า ไม่ปล่อยให้เป็นเสียงดนตรีเปล่าแต่กลับใส่เนื้อร้องในสไตล์ speaking-singing เพื่อสร้างความตื่นเต้นฮึกเหิมให้กับคนฟัง

    • intro เพลงนี้ถือว่าค่อนข้างน่าสนใจเลย นอกไปจากการเริ่มต้นแร็พและเสียงสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจแล้ว ในเรื่องของจังหวะเองก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสับสน หากฟังแต่ดนตรีอย่างเดียวจะสามารถจับจังหวะได้ง่ายกว่าการที่มีแนวแร็พที่จังหวะสลับสวนกับดนตรีไปมา นอกจากนี้อีกความน่าสนใจคือในนาทีที่ 0:08 ที่มีเสียงคนร้องคล้ายกับถอนหายใจเป็นคำว่า Hello Future ออกมาก็มีความเป็น minor ที่ให้อารมณ์เศร้าหม่นหมอง ถ้าไม่ใช่ว่าเคยได้ฟังตัวอย่างเพลงมาก่อนก็อาจตีความไปได้ว่าเพลงนี้ตะมีความดาร์คมากกว่าสดใส

    • เข้าสู่ verse แรกของเพลงโดยที่ sound ต่าง ๆ จากตอนต้นยังคงถูกบรรเลงต่อไปคล้ายกับเป็น ostinato หรือแนวเบสที่คงอยู่ตลอดทั้งเพลง สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ percussion เครื่องกระทบ บีตที่ทำให้เพลงดำเนินไปข้างหน้ามากขึ้น.. นี่เป็นจุดที่ทำให้จากที่เคยเข้าใจว่าเพลงนี้มีความเร็ว 170 BPM เมื่อฟังแค่ท่อน Chorus ถูกลดลงเท่าตัวเหลือแค่ 85 BPM เมื่อยึดจากแนวบีตของเพลงที่ไม่ได้ละเอียดถี่มาก ดนตรีค่อนข้างฟังสบาย เรื่อย ๆ แต่ก็สนุกสนาน

    • ทำนองครึ่งแรกของท่อน verse 1 นี้มีความสดใสมาก เนื่องจากว่าโน้ตส่วนใหญ่เน้นไปที่ตัว C# E# G# หรือตัวที่ 1 3 5 ซึ่งเป็นโน้ตส่วนประกอบหลักของคอร์ด C# Major เสียงที่ออกมาจึงนำเสนอความเป็น Major ที่บ่งบอกถึงความสุข ความหวัง และสีสันที่สว่างสดใส และที่สำคัญเลยคือทำนองมักจะกลับมาเริ่มย้ำที่ตัว C# เสมอเหมือนเป็นการแสดงจุดยืนถึงความมั่นคง หลังจากนั้นก็ยังคงความสดใสไว้แม้ไม่มากเท่าแต่มีการเพิ่มแนวประสานที่ทำให้เกิด harmony ที่สดใสเช่นกัน แล้วก็เหมือนเป็นการเน้นย้ำประโยคที่บอกว่าให้เชื่อใจฉันให้มีความหนักแน่นชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย โดยรวมแล้วทำนองไม่ได้มีโน้ตแปลกประหลาดที่หลุดไปจาก C# Major scale เลยสักนิด เบสเองก็ยังคงอยู่ที่โน้ตตัว C# เสมอซึ่งเพลงของ NCT Dream ส่วนใหญ่ (ตั้งแต่ก่อนเพลง Boom) ก็มักจะเน้นเบสที่โดดเด่น ไม่ค่อยมีช่วงเสียงกลาง และคอร์ดเดียวย้ำตลอดท่อน verse อยู่เสมอ


    ตัวอย่าง เพลง NCT Dream - My first and Last ตั้งแต่ต้นเพลงจนถึงก่อนเข้า Chorus เน้นเบสหนักกับเสียงร้องทำนอง โดยไม่มี harmony เสียงประสาน และมีเพียงคอร์ดเดียวย้ำ ๆ

    ตั


    ตัวอย่าง เพลง NCT Dream - We Go Up ตั้งแต่ต้นเพลงจนจบ verse มีแค่เบส บีต แล้วก็แร็พ โดยที่เหมือนจะเป็นคอร์ดเดียวตลอด พอท่อน Pre-Chorus นาทีที่ 0:35 เบสมีการเปลี่ยนคอร์ด แต่ยังคงมีองค์ประกอบเท่าเดิม ไม่มีเสียงประสาน


    • นาทีที่ 0:26 verse 2 นี้อาจรู้สึกว่าทำนองยังคงความสดใส หากแต่มีการเพิ่มเสียง synthesizer ที่ไล่โน้ตตัว C#-B-A#-A อยู่ไม่ดังไม่เบา เสียงถูกปรับให้ค่อนข้างเบลอ มีความก้อง ให้ความรู้สึกที่ล่องลอย ลักษณะโน้ตที่ไล่ต่ำลงโดยส่วนใหญ่มีช่วงเสียงห่างกันทีละครึ่งเสียง (Chromatic) ก็เป็นอีกองค์ประกอบนึงที่พบได้ในทุกเพลงของ NCT Dream ซึ่งในเพลงนี้แนวทำนองนี้มันสร้างเสียงที่เป็น Minor ที่เป็นสัญลักษณ์ของความมืด ความน่ากลัว ทำให้เพลงเกิดความน่าสงสัย พิศวง และสร้าง tension ความตึงเครียด แม้ทำนองจะสุขสันต์แค่ไหนก็เหมือนกับว่าเบื้องหลังยังมีปมอะไรในใจ หรือมีคนร้ายที่ซ่อนตัวอยู่


    ตัวอย่าง เพลง NCT Dream - Hot Sauce ตั้งแต่ต้นเพลง ท่อนที่คล้ายบทสวดเป็นการไล่โน้ตห่างทีละครึ่งเสียง (Chromatic) ซึ่งปรากฎอยู่เกือบตลอดทั้งเพลง นอกจากนี้ยังมีดนตรีและทำนองร้องอีกหลายท่อนด้วยเช่นกัน


    • ไม่ใช่แค่เสียงสังเคราะห์เท่านั้นที่สร้างบรรยากาศหลอนให้กับท่อนนี้ แต่แนวเบสเองก็ไม่ได้อยู่กับที่ที่โน้ตตัว C# เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่มีการเคลื่อนตัวที่สอดคล้องไปด้วยกัน คือทุกเซ็ตจะกระโดดขึ้นไปเล่นโน้ตสูงครั้งละ 2 ตัวแล้วจะค่อย ๆ ไล่เสียงลงต่ำทีละครึ่งเสียงเป็น Chromatic scale ซึ่งต้องบอกเลยว่าน่าสนใจมากเพราะเป็นอีกครั้งที่มีไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะกระโดดไปเล่นโน้ตสูงตรงไหนก็แล้วแต่ แต่ทุก ๆ การเริ่มประโยคดนตรีใหม่แนวเบสจะกลับมาที่ตัว C# เหมือนเดิมไม่ต่างจากทำนองใน verse 1 (แนะนำให้ใส่หูฟังเพราะสามารถจับเสียงตัวโน้ตได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเสียงต่ำมาก)

    • ในท่อน verse 2 เสียงบีตแม้จะคล้ายกับ verse 1 แต่ก็มีความละเอียดกว่ากันมาก โดยเฉพาะในเสียง hi-hat หรือช่วงเสียงสูง ๆ ที่บางครั้งจะมีการเล่น double เสียงเข้าไปด้วย

    • เข้าสู่ Pre-Chorus นาทีที่ 0:37 ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะคุ้นเคยกับท่อนที่มีความ lyrical ท่อนโชว์เสียงร้อง vocal หากแต่ในเพลงนี้กลับเปิดมาด้วยการร้องแบบ speaking-singing ที่ดุดัน แข็งแรง ไปพร้อมกันกับ percussion ที่ตีละเอียดขึ้นคล้ายกับจังหวะการเดินขบวน แม้ว่าแนวเบสที่เคยลากเสียงอยู่จะหายไปเหลือเพียงเสียงกลอง bass drum เท่านั้น แต่ก็กลับถูกแทนที่ด้วยเสียง background vocals ที่เข้ามารองรับและช่วยโอบอุ้มท่อนนี้ สร้างเสียงประสาน harmony ไพเราะให้รู้ว่าเรายังคงอยู่ที่ไหน และที่ขาดไม่ได้เลยคือเสียง sound effect ที่จะว่าไปก็คล้ายกับเสียงสัตว์ประหลาดตัวเล็ก ๆ อะไรแบบนั้น

    • 0:42 เป็นการเพิ่มมาของแนวทำนองที่ค่อนข้างน่าสนใจและแปลกใหม่ ตามมาด้วยแนวทำนองหลักที่กลับมามีโน้ตชัดเจนอีกครั้ง นั่นทำให้เสียงประสานอื่น ๆ ไม่จำเป็นอีกต่อไป โดยแนวทำนองมีการไล่ขึ้นและกลับลงต่ำอีกครั้ง เพื่อที่จะให้ทำนองนี้ได้มีโอกาสที่จะบิ๊วจากต่ำไปสูงได้อย่างเต็มที่อีกครั้งเพื่อส่งไปสู่ท่อน Chorus โดยมีการเพิ่มเสียงประสานสร้างสีสันให้ไพเราะและหนักแน่นมากยิ่งขึ้น และน่าสนใจมากที่โน้ตตัวสุดท้ายก่อนเข้าท่อนฮุคเป็นโน้ตตัว C# ที่เป็นโน้ตหลักของเพลง แทนที่จะเป็นตัว B# (C) ที่เป็นโน้ต leading tone ซึ่งเหมาะกับการส่งมากกว่า นั่นทำให้ tension ที่จะช่วยบีบคั้นอารมณ์ของคนฟังในท่อนนี้หายไป แต่ในทางกลับกันมันแสดงออกถึงความมั่นใจ ความสุขและความหวังที่เต็มเปี่ยมแทน

    • อีกเสียงที่มีความสำคัญต่อการ build up อารมณ์ในท่อนนี้เป็นอย่างมากคือเสียงเบสที่หากตั้งใจฟังจะได้ยินอย่างชัดเจนเลยว่าค่อย ๆ สไลด์เสียงสูงขึ้นตามดนตรี นอกจากจะช่วยในเรื่องของการสเพิ่มความตื่นเต้นแล้ว ผู้เขียนมองว่าการที่เบสไสลด์เสียงโดยที่ไม่ได้เล่นโน้ตตัวใดตัวนึงที่ชัดเจนแล้วไล่เสียงเอาแทนมันก่อให้เกิดความรู้สึกที่ลื่นไหลเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างเสียงที่กัดกันกับแนวดนตรีอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เหมือนกับการเล่นสไลเดอร์ที่อาจจะเกิดความฝืดจากแรงต้านเวลาที่ตัวเราเสียดสีกับเครื่องเล่นได้ด้วย





    • ในที่สุดหลังจากที่เพลงดำเนินมาโดยแทบจะไร้ซึ่งช่วงเสียงประสานช่วงกลาง ท่อน Chorus ก็จัดหนัดจัดเต็ม มีความ Epic ยิ่งใหญ่อลังการจากคอร์ดที่ทั้งแน่น หนา และไพเราะมากจากเสียง synthesizer กับเบสที่พร้อมใจกันลากคอร์ดเติมเต็มไม่ให้เกิดช่องว่างใด ๆ ในท่อนนี้เลย รวมไปถึงแนวร้องที่ก็มีเสียง background vocals ประสานเพิ่มสีสันอยู่ตลอดท่อนฮุคเลย

    • ทำนองของท่อน Chorus กลับให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากช่วงต้นเพลงและที่ผ่าน ๆ มา เนื่องจากก่อนหน้านี้ทำนองเน้นการใช้โน้ตหลักซึ่งคือตัว C# โดยไม่มีการใช้โน้ตใด ๆ ที่มาช่วยในการดึงบีบคั้นอารมณ์คนฟัง แต่ในท่อนนี้กลับมีการใช้โน้ตตัว B# (C) ตัว leading tone ตรงคำว่า 와 แถมดันเป็นโน้ตที่ลากเสียงยาวพอดี เชื่อว่าใครหลายคนถ้าได้ลองร้องตามก็จะรู้สึกว่าเราคุ้นเคยกับการที่เสียงไปสูงกว่านั้นอีกนิดนึง นั่นก็คือตัว C# นั่นเอง เรียกว่าช่างสร้างสรรค์ในการสร้างอารมณ์ที่แตกต่าง ไม่อย่างงั้นท่อนนี้อาจจะฟังดูธรรมดามากเกินไปก็ได้

    • นาทีที่ 0:53 จะรู้สึกได้ว่าสีสันของเพลงเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนเนื่องจากการเลือกใช้คอร์ดและแนวเบสซึ่งเป้นโน้ตตัว A แทนที่จะเป็น A# ตามปกติในเพลงนี้ การใส่ ♭ (flat) ให้โน้ตต่ำลงครึ่งเสียงนี้น่าสนใจตรงที่ไปตรงกับโน้ตตัวที่ 6 ของสเกลพอดีซึ่งมักถูกใช้ในเพลงสไตล์ Blues นอกจากนี้ท่อนที่ร้องว่า yeah yeah เองก้มีการใช้โน้ตตัว ♭VI นี้ด้วยเช่นกัน นั่นทำให้อารมณ์ของท่อนฮุคมีความเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย ไม่ได้สดใสสว่างเจิดจ้ามากนัก แต่กลับให้ความรู้สึกที่โตเป้นผู้ใหญ่ มีความหนักแน่นมั่นคงมากกว่าเดิมในความคิดของผู้เขียน

    • การเพิ่มเสียง speaking-singing ที่ร้อง we're on the way up เข้ามามันทำให้ท่อน Chorus นี้เกิดความสมดุลมากขึ้น เนื่องจากทำนองอยู่ในช่วงเสียงที่คอ่นข้างสูง มีการร้องทำนองด้วยโน้ตที่ค่อนข้างวนไปมา ส่วนดนตรีโดยรวมก็เต็มไปด้วยสีสันที่เกิดจากเสียงประสานเยอะมากจนมันฟุ้งไปหมดราวกับเรากำลังท่องไปในความฝัน แน่นอนว่ามันแสนจะไพเราะและสร้างความสุนทรีย์ให้แก่ผู้ฟังแต่หากมากเกินก็อาจทำให้รู้สึกเลี่ยนและ overwhelm จากอารมณ์ที่ล้นเกินได้ เสียงแทรกคล้ายเสียงพูดเหล่านี้จึงคล้ายกับการดึงให้ผู้ฟังกลับมาสู่ความโลกแห่งความเป็นจริง เท้ากลับมาแตะพื้นดินด้วยความมั่นคงอีกครั้ง

    • 1:10 มีการร้องแอดลิบเพื่อส่งไปยังท่อนต่อไปโดยในครั้งนี้เริ่มจากโน้ต leading tone ไปสู่ tonic โน้ตหลัก สร้างให้เกิดอารมณ์ที่พลุ่งพล่านราวกับเป็นการกรีดร้องตะโกนกู่ก้องให้โลกได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของเรา หลังท่อน Chorus ตามมาด้วย Post-Chorus เป็นอีกครั้งที่ดนตรีกลับไปเหมือนตอน intro แม้จะมีความยาวแค่ 2 ห้องเพลงแต่ผู้แต่งไม่ปล่อยให้เสียเวลาเปล่า กลับเติมคำร้องเพื่อรักษาความตื่นเต้นเอาไว้




    • ไม่แปลกใจเลยที่ท่อน verse 3 หลัง chorus จะตามมาด้วยท่อนแร็พตามสไตล์เพลง SM ที่มันสร้างอิมแพคให้กับคนฟังได้ค่อนข้างมาก ที่จริงส่วนตัวค่อนข้างแปลกใจเลยว่าตั้งแต่เปิดเพลงมามีท่อนแร็พน้อยมากเมื่อเทียบกับเพลงอื่น ๆ ของ NCT Dream ที่มักจะเน้นแร็พในท่อน verse ซะส่วนใหญ่ ..เชื่อว่าหลังจากฟังรอบแรกไปหลายคนคงเกิดอาการมึนงงจำท่อนที่ไม่ใช่ท่อน pre-chorus หรือท่อน chorus ไม่ได้ เนื่องจากเป็นเพลงที่แต่ละ verse มีความแตกต่างเยอะมาก เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เช่นคู่ขนานของ verse 3 นี้คือ verse 1 ที่เป็นท่อนร้องอย่างชัดเจน

    • อีกจุดที่ผู้เขียนค่อนข้างแปลกใจสำหรับท่อน verse 3 คือการที่จังหวะแร็พค่อนข้างคงที่ ส่วนใหญ่จะเป็นการร้องตัวขเบ็ต 2 ชั้นไปตลอดโดยที่ไม่ได้มีจังหวะแปลกหรือจังหวะคร่อมกับดนตรีสลับไปมา ไม่มีเดี๋ยวช้าเดี๋ยวเร็ว เรียกได้ว่าค่อนข้างจะเรื่อย ๆ เอนหลังฟังได้สบาย ๆ อาจมองว่ามีความเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เลือดร้อนมากเหมือนกับท่อนแร็พในเพลงอื่นที่ค่อนข้างจะฮึกเหิมร้อนแรง


    ตัวอย่าง เพลง NCT Dream - Boom นาทีที่ 1:20 ท่อนแร็พจังหวะมีความหลากหลายและลูกเล่นเยอะกว่ามาก


    • verse 4 นี้หากฟังผ่าน ๆ ถือว่ามีความคล้ายคลึงกับ verse 2 มาก แต่ถ้าสังเกตดี ๆ กลับมีองค์ประกอบหลายอย่างที่แตกต่างออกไป ที่ชัดเจนที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเสียงหลอน ๆ ที่ไล่ลงเป้น chromatic scale ซึ่งถูกปรับเสียงให้ดังและแหลมขึ้นจนโดดเด่นออกมาและสามารถได้ยินได้อย่างชัดเจนกว่าก่อนหน้านี้ เบสก็ถูกถอดหายไป 1 แนวทำให้เพลงค่อนข้างจะบางลงไปมาก แล้วไหนจะ percussion ในช่วงเสียงสูงที่ปรับเปลี่ยนเสียงให้แหลมเล็กลงและพีคที่สุดก็คือการที่ดนตรีดรอปหายไปเงียบ ๆ เลยในนาทีที่ 1:30 ซึ่งนี่แหละคือโมเมนต์ที่เชื่อว่าผู้ฟังส่วนใหญ่จะต้องสะดุด เกิดความไม่มั่นใจในเรื่องราวของเพลงว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นและดนตรีกำลังพาเราไปที่ไหน มันช่างน่าสงสัย

    • นอกไปจากเสียงร้องหลักแล้วก็ยังมีเสียงร้อง-พูดแทรกขึ้นมาในช่วงเสียงต่ำ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วใน verse 2 แต่มันเบาและเนียนไปกับทำนองหลักมาก ในขณะที่ verse 4 เสียงนี้ดังเด่นชัดออกมาและมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างบรรยากาศมากขึ้น

    • กลับเข้าสู่ท่อน Pre-Chorus อีกครั้งที่เกือบจะเหมือนกับรอบก่อนหน้า 100% ต่างกันแค่ในช่วงส่งตอนท้ายตั้งแต่นาทีที่ 1:48 มีการปรับเสียง sound effect แหลมเล็กให้ดังขึ้นชีเจนกว่ารอบก่อนหน้าและยาวกว่าด้วย ทำให้ท่อนนี้จากที่จัดเต็มอยู่แล้วก็วุ่นวายจนล้นไปเลย


    • Chorus ครั้งที่ 2 นี้ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากรอบแรก โดยส่วนตัวผู้เขียนมองว่าถูกต้องแล้ว เนื่องจากองค์ประกอบแน่นไปหมด หากเพิ่มอะไรเข้ามาอาจทำให้ผู้ฟังรู้ overload เกินไปจนไม่สามารถฟังท่อนฮุคอีกรอบได้ จุดเดียวที่ต่างก็คือตอนท้ายที่ไม่ได้จบด้วยโน้ตตัว C# แต่กลับปล่อยไว้ที่โน้ตตัวส่งแล้วเข้าสู่ท่อนถัดไปทันที จึงทำให้อารมณ์ความสนุกความตื่นเต้นยังคงค้างอยู่ ราวกับว่าวิ่งมาด้วยความเร็วสูงแล้วกระโดดลงน้ำว่ายต่อทันทีโดยไม่ให้พักหายใจ

    • 2:14 จะขอเรียกว่าเราเข้าสู่ท่อน Bridge แล้วแต่เป็น Bridge ที่แตกต่างออกไปจากความเคยชินของทุกคน ฟังครั้งแรกค่อนข้างจะตกใจเลยที่อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็นท่อนที่ดนตรีเรียกได้ว่าดุเดือดยิ่งกว่าท่อน Chorus ซึ่งน่าจะพีคที่สุดของเพลงซะอีก โดยเฉพาะเสียงเบสที่ Glissando สไลด์ขึ้นลงไปมาต่อด้วยการลงจังหวะของ bass drum ที่ละเอียดไปพร้มอกับจังหวะของแนวร้องแร็พ จุดนี้ก็น่าแปลกมากว่าแนวแร็พมีจังหวะที่เหมือนกันกับ verse 3 เลยแต่ด้วยดนตรีและวิธีการออกเสียงร้องที่กระแทกกระทั้นทำให้อารมณ์แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นว่าเหมือนเราถูกคนเอาค้อนทุบซ้ำ ๆๆๆๆๆ จะแทบจะกระอักเลย.. ในส่วนของเสียง synthesizer ก็เป็นการเน้นเล่นแค่เพียงโน้ตตัว C# ย้ำ ๆ ก่อนที่จะเพิ่มโน้ตตัว B ขึ้นมาสลับตอนช่วงนาทีที่ 2:16 ก่อให้เกิดเสียงที่สร้างความเป็น Minor กลับมาดาร์คอีกครั้งเฉยเลย

    • ในตอนท้ายเสียงเบสสไลด์ต่ำลง จังหวะหนักจากเบสเองก็ดรอปหายไปเพื่อพาเราเข้าสู่ท่อนที่หลายคนน่าจะรอคอย นั่นคือ Bridge ที่เป็นลักษณะของดนตรีที่แตกต่างจากที่ผ่านมาและโชว์เสียงร้อง Vocal อย่างเต็มที่ และใช่เลย เรากลับมาสู่โลกแห่งความสุขสดใสอีกครั้ง... จริงหรอ?




    • 2:25 ท่อนนี้ให้ความรู้สึกที่สงบมาก หลังจากที่หนักหน่วงมาท่อนนี้มันช่าง contrast แต่ก็ทเปิดโอกาสให้เราได้พักจากดนตรีที่แน่นและสนุกสนานมาตลอด จะว่าไปก็คล้ายกับเพลงกล่อม lullaby ไร้ซึ่งเสียงเบส ไม่มีบีตจาก percussion มีเพียงเสียงประสานคอร์ดจาก synthesizer ที่ไม่ได้ลากคอร์ดนิ่ง ๆ แต่มีการขยับไปมาเหมือนกับเป็นความรู้สึกตื่นเต้นที่ถูกซ่อนอยู่ลึก ๆ ในใจ นอกจากนี้ก็มีเสียง sound effect ลักษณะคล้ายกับเสียงน้ำหยด ผู้เขียนเดาว่าผู้แต่งอาจจะต้องการสื่อถึงความสงบที่เงียบจนสามารถได้ยินเสียงน้ำหยดดังติ๋งได้อย่างชัดเจน เสียงนี้มันฝังลึกเข้าไปในจิตใจของคนฟังได้เลย

    • ทำนองร้องเริ่มต้นมาด้วยความสุขสดใส แนว background vocals เองก็สร้างคอร์ดที่ช่วยส่งเสริมกันได้เป็นอย่างที่ ก่อนที่ในประโยคที่สอง 눈을 떠 봐 ดนตรีกลับเปลี่ยนโทนไปเป็น Minor จากโน้ตตัวสุดท้ายตัว D# กับเสียง background vocals โน้ตตัว F# พร้อมด้วยการเพิ่มเสียง synthesizer ขึ้นมาอีกแนวที่เล่นโน้ตตัว A  โอ้โห คอร์ดแบบนี้มันสร้างให้เกิดเสียงกัดกันทำให้คนฟังรู้สึกอึดอัด ..น่าสนใจที่เสียงนี้ตรงกับคำที่บอกว่าให้ลืมตาขึ้นพอดี มันเหมือนกับว่าเรากำลังจะก้าวข้ามไปสู่โลกแห่งอนาคตที่หลายคนมองว่าน่ากลัว และเต็มไปด้วยความไม่มั่นใจ เป็นจุดที่สะท้อนผ่านดนตรีออกมาได้ดีมากเลย

    • หลังจากนั้นกลับมาสู่ Major อีกครั้งช่วงสั้น ๆ ก่อนที่ประโยคสุดท้ายของช่วงนี้จะพาเราเข้าไปสู่บรรยากาศที่อึดอัดอีกครั้งด้วยดน้ตตัว A ตัวเดิม ความ Blues นี้สร้างอารมณ์ที่เหมือนกำลังจะขาดใจ เสียงร้องเดี่ยว ๆ โดยไร้ซึ่งเสียงประสานและดนตรีที่คอยซัพพอร์ต ราวกับว่ากำลังกรีดร้องประกาศกู่ก้องให้ทั้งโลกได้รับรู้ถึงความต้องการอันเด็ดเดี่ยวอย่างไม่ยอมใคร ฉันยืนด้วยตัวของฉันเองได้ และจะไปสู่อนาคตด้วยขาของฉันเองเช่นกัน

    • ท่อน Bridge ยังคงไม่จบแค่นี้ ดนตรีแบบตอนต้นกลับมาอีกครั้งพร้อมด้วยเสียงจังหวะที่คล้ายกับเสียงปรบมือ ดนตรีไม่หนักมากแต่จังหวะกลับ build up เตรียมพร้อมไปสู่จุดที่พีคที่สุดของเพลงอีกครั้ง ในตอนท้ายนาทีที่ 2:44 เบสสไลด์เสียงลงถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง เสียงจังหวะต่าง ๆ หายไปหมดในขณะที่แนวแร็พกลับร้องในจังหวะที่แปลกประหลาดไปจากปกติเป็นครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีคนหลงกันไปไม่มากก็น้อยเลยเนื่องจากจังหวะร้องเองก็ค่อนข้างซับซ้อน มีทั้ง triplets (3 โน้ตต่อ 1 จังหวะ) ทั้งจังหวะ syncopation (จังหวะคร่อม) หลังจากนั้นก็แทรกมาด้วยเสียงแอดลิบไฮโน้ตที่ไต่สูงขึ้นไปหาตัวดน้ตหลักสวนทางกับเบสอย่างสวยงาม

    • Bridge ที่ยืดยาวและมีความหลากหลายขนาดนี้สมัยก่อนมีไม่มากนัก แต่ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมามีการยืดต่อขยายท่อน Bridge เพื่อเป็นการโชว์ทั้งความสามารถของผู้แต่งในการใส่สารพัดไอเดียความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการเล่นกับอารมณ์ของคนฟัง รวมไปถึงแสดงความสามารถของตัวนักร้องเองที่ไม่ใช่แค่ vocal อีกต่อไป แต่มีการแร็พเพิ่มเข้ามาเป็นส่วนนึงของท่อนนี้ด้วยเช่นกัน


    ตัวอย่าง เพลง NCT 127 - Superhuman ซึ่ง Bridge เริ่มตั้งแต่นาทีที่ 2:35-3:18


    ตัวอย่าง เพลง EXO - Tempo ซึ่ง Bridge เริ่มตั้งแต่นาทีที่ 2:17-3:25


    ตัวอย่าง เพลง aespa - Next Level ซึ่ง Bridge เริ่มตั้งแต่นาทีที่ 1:36-2:51



    ..기다렸어 어서 와..


    • ในที่สุดเราก็เดินทางมาถึงท่อน Chorus สุดท้ายที่อัดแน่นไปด้วยดนตรี จังหวะ เสียงร้อง เสียงประสาน และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือเสียงร้องแอดลิบที่ทำให้ท่อนนี้กลายเป้นท่อนที่อารมณ์พลุ่งพล่านจนอะไรก็หยุดไม่ได้ฉุดไม่อยู่ ไม่ว่าจะในนาทีที่ 2:51 ที่ร้องประสานเพิ่มให้เกิด harmony ที่ไพเราะ, นาทีที่ 2:55 ที่โน้ตสูงถึงตัว D#5 และไล่กลับลงมาอย่างมีชั้นเชิง, นาทีที่ 3:00 เสียงตะโกนโน้ตตัวหลักของเพลง ตัว C# เพื่อยืนยันความมั่นใจในตัวเอง รวมไปถึง นาทีที่ 3:05 แอดลิบในข่วงเสียงต่ำสร้าง dynamic ทำให้เพลงมีความน่าสนใจและบาลานซ์มากขึ้น ก่อนที่ตอนท้ายของท่อนจะเป็นการตะโกนให้โลกได้รับรู้ว่า We're going way up เราจะไม่หยุดแค่นี้ เราจะขึ้นไปต่ออีก!!

    • ท่อนตะโกนไฮโน้ตนี้มาพร้อมกับการที่ดนตรีดรอปเงียบไปก่อนที่จะตามมาด้วยเสียงเบสเล่นโน้ต triplets ส่งเพื่อไปต่อ เรายังไม่พอแค่นี้ เมื่อกี้แค่การเบรคเพื่อให้คนฟังได้หายใจช่วงสั้น ๆ เท่านั้น เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจซึ่งก็เคยถูกใช้อยู่เรื่อย ๆ ในเพลงของ SM เช่น เพลงของ WayV ที่มีลักษณะดนตรีในท่อน Chorus คล้ายกันกับเพลง Hello Future ซึ่งเต็มไปด้วยเสียงประสานอัดแน่นไปหมด

    ตัวอย่างเพลง WayV - Turn Back Time นาทีที่ 3:25 มีการดรอปในลักษณะเดียวกัน ก่อนจะใช้เบสส่งเพื่อดำเนินดนตรีต่อ


    • 3:11 Outro เพลงนี้ถือว่าจัดเต็มในด้านดนตรีมาก มีอะไรใส่มาหมด ของเดิมทั้งเสียงสังเคาะห์ที่เล่น C# กับเบสขยับไปมามาหมดเลยจริง ๆ แต่ยังไม่พอ ยังมีเพิ่มให้ด้วย โดยจะได้ยินเสียงร้อง hu hu huuu สูง ๆ ซึ่งก็น่าแปลกที่การไล่โน้ตมันมีการผสมผสานความห่างช่วงเสียงที่ก่อให้เกิดทั้ง Major และ Minor และยังมีการเพิ่มเสียง synthesizer หลอน ๆ คล้ายกับช่วง verse 2 แต่เล่นโน้ต C# กับ D สลับกันไป โอ้โหตอนนี้กลายเป็นว่าสีสันของเพลงมันผสมผสานกันจนงงไปหมดว่าสรุปมันจะยังไงกันแน่ ไม่ต่างกันกับอนาคตที่ไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าจะออกมาเป็นอย่างไร จะดีหรือจะร้าย

    • ท่ามกลางความวุ่นวายของดนตรี แนวร้องกับเต็มไปด้วยความมั่นคง แข็งแรง สลับกันไปมาระหว่างเสียงสูงและต่ำซึ่งผู้เขียนยังคงประทับใจในจุดนี้ที่คนแต่งเพลงบาลานซ์เสียงร้องให้พอเหมาะกับเพลง เป็นการร้องที่แสดงจุดยืนชัดเจนว่าพร้อมที่จะก้าวไปต่อไม่ว่าข้างหน้าจะต้องเจอกับอะไร โลกจะเต็มไปด้วยอุปสรรคแค่ไหน

    • นาทีที่ 3:23 คำว่า Hello Future นี้น่าสนใจมากอีกเช่นเคย มีการใช้ autotune ปรับเนื้อเสียงให้มันมีความเป็น electronics คล้ายกับเสียงพูดผ่านเครื่องอะไรสักอย่างหรือเสียงของหุ่นยนต์ แถมโน้ตยังมีออกไปทางโทนดาร์ค กลายเป็นว่าเอ๊ะ อนาคตตกลงมันน่ากลัวรึเปล่านะ ไม่แน่ใจเลย แต่ก็ถูกสลับด้วยเสียงร้องที่สดใสและแข็งแรงมั่ยใจมาก ต่อมานาทีที่ 3:28 แอดลิบนี้ก็เริ่มมาด้วยการไล่โน้ตที่อยู่ใน Minor scale ก่อนที่จะจบลงโน้ตสุดท้ายตัว C# พร้อมกับคอร์ด C# Major.. โอ๊ย ช่างเล่นกับอารมณ์คนฟัง เหวี่ยงไปเหวี่ยงมาไม่หยุดเลยจริง ๆ

    • ถ้าคุณคิดว่าเพลงนี้จบแบบ Happy Ending สดใสซาบซ่าที่ตรงนี้ คุณอาจจะคิดผิด หลังจากลงคอร์ดแล้วก็ตามมาด้วย synthesizer ที่เล่นโน้ตตัว F# ต่อด้วย A อีกเช่นเคย โอ๊ย โน้ตนอกสเกล Major อีกแล้ว ไหนจะคำว่า Hello Future อีกเล่นเอาเพลงเปลี่ยนมู้ดไปเป็นสีมืดหม่นแบบสุด ก่อนที่จะลงตู้มจบดน้ตสุดท้ายด้วยตัว C# พร้อมกับเสียง synthesizer ที่ค่อนข้างเสียดแทงหูที่คนอาจไม่ให้ความสนใจนักเนื่องจากมันเหมือนเป็นแค่ sound ประกอบ แต่หารู้ไม่ว่าเสียงนี้ซ่อนตัวโน้ตเอาไว้ที่ในวินาทีสุดท้ายท้ายสุดมันสไลด์ไปจบที่ตัว F.. เมื่อนำมารวมกับโน้ต C# ก่อนหน้านี้จะทำให้ค้นพบว่า เพลงนี้จบด้วยคอร์ด C# Major อ้าว สรุปจบแฮปปี้นะเห้ย แต่เป็นความสุขสดใสแบบที่โลกเหวี่ยงเราไปมาราวกับต้องการจะบอกว่าอนาคตที่สดใสรอเราอยู่ แต่ก่อนจะไปถึงต้องผ่านอุปสรรคล้านแปด ทุกข์สุขสลับกันไปก่อนนะ




      - จบเพลง -




      โครงสร้างของเพลง Hello Future

      INTRO                          0:04-0:15

      VERSE 1                       0:15-0:26

      VERSE 2                       0:26-0:37

      PRE-CHORUS              0:38-0:49

      CHORUS                      0:49-1:11

      POST-CHORUS            1:11-1:17

      VERSE 3                       1:17-1:28

      VERSE 4                       1:28-1:39

      PRE-CHORUS              1:40-1:51

      CHORUS                      1:51-2:13

      BRIDGE                       2:14-2:47

      CHORUS                      2:47-3:10

      OUTRO                        3:10-3:42



      บทสรุป


      "น่าสนใจ" เป็นคำที่ถูกใช้บ่อยมากในบทความนี้เนื่องจากนั่นเป็นสิ่งที่ผู้เขียนรู้สึกได้ตลอดการฟังเพลง มีรายละเอียดยิบย่อยหลายอย่างที่น่าสนใจ มีการใช้ sound ที่ทันสมัย สื่อถึงความ futuristic ตามเนื้อหาเพลง และแม้ว่าเสียงเหล่านี้จะฟังยากแต่ผู้แต่งมีวิธีการจัดการวางรูปแบบให้มันผสมกลมกลืนไปกับองค์ประกอบอื่นของเพลงได้อย่างลงตัว นั่นทำให้เพลงที่เหมือนจะมีแค่ความสดใสไพเราะเกิดความหลากหลาย ฟังแล้วไม่น่าเบื่อ กลายเป็นเสียงที่สร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังได้รู้สึกถึงประสบการณ์ที่แตกต่างตลอดเวลา และแต่ละท่อนของเพลงเองก็มีการสลับปรับเปลี่ยนไปมา เพิ่มบ้างลดบ้างอยู่เรื่อย ๆ

      ความน่าประทับใจอีกอย่างคือการที่เพลงนี้ยังคงเอาไว้ซึ่งความเป็น NCT Dream ที่สนุกสนาน แสดงออกถึงวัยรุ่นที่เต็มไปด้วยพลังงานบวก มีการใช้องค์ประกอบซึ่งมีในแทบทุกเพลงไตเติ้ลของน้องดรีมไม่ว่าจะเป็นการใช้ Chromaticism การเน้นเสียงเบสที่โดดเด่นไปพร้อมกับเสียงร้องในช่วงเสียงสูง การใช้คอร์ดที่ค่านข้างเรียบง่ายในหลายช่วงของเพลง เสียงเบสสไลด์ไปมา เทคนิคการร้อง speaking-singing ที่สอดแทรกเป็นแอดลิบอยู่มากมายหลายจุดของเพลง และที่น่าตื่นเต้นคือการเพิ่มมาของ harmony เสียงประสานที่เรียกได้ว่ามากและซับซ้อนกว่าทุกเพลงที่ผ่านมาของน้องดรีมทั้งหมด สร้างความเป็นผู้ใหญ่และสีสันที่แตกต่างไปจากเดิมในเวลาเดียวกัน

      และต้องยอมรับว่าเพลงนี้ช่างเป็นบทเพลงที่เต็มไปด้วยอารมณ์อันหลากหลายที่ประดังประเดผสมมาพร้อมกันหมด เพลงหลายเพลงมักมีท่อนที่นำเสนออารมณ์สุขและเศร้าแบ่งแยกสลับกันอย่างชัดเจน นั่นทำให้เพลงนี้มีความพิเศษและสามารถตีความได้อย่างหลากหลาย น่าสนใจ แต่เมื่อได้อ่านเนื้อเพลงกับดูภาพใน MV ประกอบก็จะค้นพบว่ามันคือความมุ่งมั่นตั้งใจอันแรงกล้า ความหวังแห่งมวลมนุษยชาติที่แม้ว่าระหว่างทางจะต้องพบเจออุปสรรคมากแค่ไหนก็จะไม่ย่อท้อหยุดอยู่แค่นี้ อนาคตข้างหน้ายังรออยู่ อนาคตที่ไม่มีทางล่วงรู้ได้แต่เราจะวาดมันออกมาให้สวยงามที่สุดด้วยตัวเอง




    แล้วคุณล่ะ พร้อมจะก้าวไปสู่ดนตรีแห่งโลกอนาคต
    พร้อมกับ NCT Dream แล้วหรือยัง?




    อ่านจบแล้วอย่าลืมกดดู MV เพลง Hello Future อีกรอบด้วยนะ!



    อ่านบทความวิเคราะห์ดนตรีเพลงอื่น ๆ Click
    อ่านบทความความรู้เรื่องดนตรีในวงการ K-pop Click

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
hpikic3si (@hpikic3si)
https://twitter.com/itsnewmovieyara
https://www.facebook.com/Yara2021watchonlineforfree/
https://www.imdb.com/list/ls538495220/
https://www.imdb.com/list/ls538495269/
https://www.imdb.com/list/ls538495264/
https://www.imdb.com/list/ls538495262/
https://www.imdb.com/list/ls538495219/
https://www.imdb.com/list/ls538495214/
https://www.imdb.com/list/ls538495212/
https://www.imdb.com/list/ls538495213/
https://www.imdb.com/list/ls538495258/
https://www.imdb.com/list/ls538495259/
https://www.imdb.com/list/ls538495256/
https://www.imdb.com/list/ls538495253/
https://www.imdb.com/list/ls538495257/
https://www.imdb.com/list/ls538495699/
https://www.imdb.com/list/ls538495692/
https://www.imdb.com/list/ls538495696/
https://www.imdb.com/list/ls538495693/
https://www.imdb.com/list/ls538495691/
https://www.imdb.com/list/ls538495638/
https://www.imdb.com/list/ls538495634/
https://www.imdb.com/list/ls538495632/
https://www.imdb.com/list/ls538495636/
https://www.imdb.com/list/ls538495619/
https://www.imdb.com/list/ls538495612/
https://www.imdb.com/list/ls538495613/
https://www.imdb.com/list/ls538495611/
https://www.imdb.com/list/ls538495678/
https://twitter.com/itsnewstrange